- การฟังอาจแบ่งเป็น ๓ ระดับ ได้แก่
- การฟังแบบ Hearing คือฟังแบบได้ยิน ใช้หูฟัง
- การฟังแบบ Listening คือ ฟังเพื่อจะตอบ ฟังเพื่อให้คำแนะนำ และฟังเพื่อที่จะเข้าใจ เป็นการฟังที่สมองทำงานหนักมาก หรืออาจเรียกว่า ฟังด้วยสมอง มีลักษณะที่แตกต่าง สวนทางกับ Hearing ๓ อย่างคือ
- Intentional ตั้งใจ
- Voluntary สมัครใจฟัง
- Focused จดจ่อ
- การฟังแบบ Deep Listening คือ ฟังอย่างลึกซึ้ง ฟังด้วยหัวใจ มีลักษณะดังนี้
- ฟังด้วยความรู้ตัวทั่วพร้อม Listening with the whole being
- ฟังด้วยใจ ใช้ตา ใช้หู ใช้ผิวกาย
- ฟังเพื่อทำความเข้าใจ และเพื่อเชื่อมโยง
- อยู่กับปัจจุบัน
- ฟังจนได้ยินเสียงภายใน (inner voice)
- ติส นัท ฮัน บอกว่า Deep Listening คือการฟังอย่างเมตตา ฟังอย่างรู้ตัวทั่วพร้อม
- KPI ตัวแรกของ Deep Listening คือ การได้ยินเสียงในหัว เสียงตัดสิน เสียงตำหนิ เสียงบ่น ฯลฯ
- KPI ตัวที่สองของ Deep Listening คือ ความเงียบ (Silent) คือไม่มีเสียงในหัว ซึ่งจะเกิดขึ้นจาก การเจริญสติ ตามรู้ตามดู จนเสียงน้อยลงๆ เรื่อยๆ และเงียบไป
- สิ่งที่น่าสนใจคือ คำว่า "Listen" กับคำว่า "Silent" มีตัวอักษรเหมือนกันทุกตัว เพียงแต่สลับที่ อีกคำหนึ่งคือคำว่า หู ear แค่เติม H จะได้ Hear ทันที
- ศาสตราจารย์ Ram Dass ที่ไปแสวงหาสัจธรรมที่อินเดีย เขียนหนังสือชื่อ Listen and Silent บอกว่า ยิ่งเงียบเท่าไหร่ ยิ่งจะได้ยินมากขึ้นเท่านั้น
- จอห์น กรอสซ์แมน บอกว่า "Silence is not the absence of something but the presence of everything" แปลว่า ความเงียบมิใช่การหายไปของบางสิ่งบางอย่าง หากแต่มันคือการปรากฎขึ้นของทุกสิ่งทุกอย่าง" .... ว่างั้น
- "เสียงผัดไทย กับเสียง น้ำไหล ไม่ได้แตกต่างกัน" ดร.ประพนธ์ กล่าว
- Frank Ostaseski ผู้ก่อตั้งสถาบันเมตตา (www.mettainstitute.org) เล่าว่า มีพยาบาลจบใหม่คนหนึ่ง หลังจากที่ต้องเจองานหนักๆ ครั้งหนึ่งเธอกลับบ้านไป เธอพบว่า ประสบการณ์อันทุกข์ทรมานของคนไข้ได้กลายมาเป็นเสียงในหัวของเธอตลอดเวลา วันรุ่งขึ้นเธอเล่าเรื่องนี้ให้หัวหน้าฟัง หัวหน้าบอกเธอว่า "คุณจะต้องสร้างกรอบขึ้นมาปกป้องตัวเธอไว้บ้าง" พยาบาลสาวคนนั้นเข้าใจไปเองว่า เธอต้องถอยห่างออกมาจากคนไข้รายนั้น ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วเธอก็ห่วงใยและรักใคร่คนไข้ค่อนข้างมาก สุดท้ายการตายของคนไข้คนนั้น ทำให้เธอรู้สึกผิดอย่างมาก
- Frank Ostaseski บอกว่า การฟังอย่างลึกซึ้ง จะทำให้เราได้สัมผัสกับตัวตนและสภาวะชั่วขณะปัจจุบันของเราด้วย
- การฟังที่ดีต้อง Check in ที่ฐานทั้ง ๓ คือ ที่หัว ที่ใจ และที่กาย ที่ฐานหัว มักวิ่งไปในอดีตอนาคต แต่ที่ฐานกายจะอยู่กับปัจจุบันเสมอ การฟังอย่างลึกซึ้งจึงเป็นสิ่งที่จะทำให้ผู้ฟังเกิดปัญญาญาณ (Intuitive)
- แล้วการฟังแบบไหนที่จะใช้ KM ตอนแรกๆ ที่มาช่วยงานหมอวิจารณ์ ท่านคิดว่า ปัญหาน่าจะเป็นไม่มีผู้แชร์ แต่ผิด จริงๆ แล้ว การแชร์เกิดขึ้นได้ดี หากมีบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ดี โดยเฉพาะต้องมีผู้ฟังที่ดี เพราะท่านพบว่า การแชร์ที่ไม่ได้ ไม่สำเร็จ เพราะเหตุคือ ผู้ฟังฟังไม่ดี
- บางครั้งการฟังแบบไหน อาจขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของวง
วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2561
เรียนรู้ "การฟัง" จาก ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด
ผมกำลังสืบค้นเรื่อง "การฟังอย่างลึกซึ้ง" หรือ Deep Listening พอดีไปเจอคลิปการบรรยายของ ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด อดีตผู้นำด้านการจัดการความรู้ (KM) ของไทย น่าสนใจว่า "คน KM กับ ศาสตร์ด้านจิตตปัญญาศึกษา จะว่าเรื่องการฟังอย่างลึกซึ้งตรงกันต่างกันอย่างไร ... จึงใช้เวลานั่งดู แลจับประเด็นได้ ดังนี้
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น