นายกเทศมนตรี ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข เจ้าหน้าพนักงานวิชาการ และเลขานุการ(นายยกเทศมนตรี) เทศบาลท่าขอนยาง ชุมชนติดมหาวิทยาลัย ให้เกียรติมาร่วมแลกเปลี่ยน และเล่าปัญหาชุมชนที่คนส่วนใหญ่ก็คือนิสิตในมหาวิทยาลัย อาศัยอยู่ ให้ฟัง ... ผมสรุปประเด็นสำคัญของปัญหา ได้ดังนี้ครับ
ปัญหาที่สะท้อนจากตัวแทนชุมชน มี ๒ ประการหลัก ได้แก่ ปัญหาขยะ และปัญหาวินัยจราจร โดยมีลักษณะปัญหา สาเหตุปัญหา และมาตรการณ์ในการแก้ปัญหาที่มีอยู่ ดังนี้
๑) ปัญหาขยะ
ขยะกำลังเป็นปัญหาสำคัญที่สุดปัญหาหนึ่งของชุมชนรอบๆ มหาวิทยาลัย โดยเฉพะาบริเวณพื้นที่ชุมชนที่กำลังเกิดใหม่ บริเวณริมถนนมหาวิทยาลัยไปบ้านดอนยม ลักษณะของปัญหาคือ
- ขยะล้น จนจัดเก็บไม่ทัน (ปัญหาปริมาณขยะมาก)
- เทศบาลไม่มีสถานที่ทิ้งขยะของตนเอง ปัจจุบันต้องนำขยะไป "จ้างทิ้ง" ที่บ่อขยะหนองปริง ของเทศบาลเมืองมหาสารคาม ในราคาตันละ ๔๐๐ บาท ซึ่ง....
- เทศบาลเมืองมหาสารคามเอง ต้องการจะลดปริมาณขยะเช่นกัน จึงกำหนดรอบการทิ้งขยะไว้ที่วันละ ๑ รอบ
- เทศบาลท่าขอนยาง มีรถขนขยะ ๓ คัน วันหนึ่งขนขยะได้ประมาณ ๓๐ ตัน วันละ ๒ รอบ (ต่อรองกับเทศบาลเมืองฯ ชั่วคราว)
- ไม่มีการแยกขยะใดๆ ขยะทั้งหมดถูกทิ้งรวมไว้ในถุงดำ หากเก็บไม่ทันจะถูกทิ้งเกลื่อนเป็นกอง
- ขยะที่เป็นปัญหามากๆ คือ ถุงพลาสติก ถุงก๊อปแก็ป
- สิ่งที่ทำให้ขยะมีน้ำหนักมาก ทำให้จัดเก็บยาก และทำให้ขยะเน่าเสียเกิดกลิ่นเร็ว คือ แก้วน้ำพลาสติกที่ไม่เทน้ำแข็งออกก่อนทิ้ง .... ตรงนี้แก้ได้ที่นิสิตผู้ทิ้ง
- ทิ้งขยะไม่เป็นเวลา เทศบาลกำหนดเวลาทิ้งขยะในช่วงเช้า (๕.๐๐ น. - ๗.๐๐ น.) แต่จากการสังเกต คนมาทิ้งขยะไม่เลือกเวลา และใส่ท้ายรถกระบะมาจากระยะไกลด้วย ... วันหนึ่งขณะผมไปคุยกับพี่น้องผู้เก็บขยะ มีคนขับรถเอาขยะมาทิ้งต่อหน้าต่อตา โดยผู้ทิ้งเองก็คงไม่รู้ว่าไม่ใช่เวลาทิ้งขยะ
- เทศบาลไม่สามารถจัดเก็บ "ค่าเก็บขยะ" ได้ เนื่องจากปัญหาว่า...
- เจ้าหน้าที่จัดเก็บขยะไม่เพียงพอ
- เมือไปจัดเก็บ เจ้าของบ้าน ร้าน อาคาร หอพัก ฯลฯ ไม่อยู่ อยู่แต่แม่บ้าน หรือคนงานดูแลบ้าน ซึ่งจะบอกว่าไม่มี
- แม้ว่าค่าจัดการขยะจะอยู่ที่ ๑๐ บาทต่อบ้าน ๕ บาท ต่อหอพัก ๑ ห้อง เท่านั้น
๒) สาเหตุของปัญหาขยะ
- การก่อขยะ นิสิตและประชากรแฝง เป็นเรือนแสนคนในเทศบาลท่าขอนยาง ก่อขยะวันละอย่างน้อย ๓๐ ตัน ..... ต้องลดปริมาณขยะ
- ไม่มีการแยกขยะ ขยะทุกอย่างรวมมาในถุงดำ ไม่ได้แยกขยะย่อยสลาย-ไม่ย่อยสลาย ไม่ได้แยกขยะเปียกขยะแห้ง ไม่ได้แยกว่ารีไซเคิลไม่รีไซเคิล
- ทิ้งขยะไม่ถูกวิธี ไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบใดต่อขยะที่ทิ้งไป ไม่ได้คำนึงว่าจะลำบากคนเก็บขยะ ไม่คำนึงว่า ที่ทิ้งขยะไม่มี ... ถ้าเทน้ำแข็งออกก่อนจะลดน้ำหนักได้มาก ถ้าพักก่อนจะลดปริมาตรขยะได้มาก
- ไม่มีสถานที่ทิ้งขยะ ไม่มีโรงเผาขยะ ไม่มีระบบการจัดการขยะแบบวงจร
- ไม่มีงบประมาณในการจัดการขยะ ไม่สามารถจัดเก็บได้ตามระเบียบ
- วินัยและความใส่ใจของประชากร(แฝง) ส่วนใหญ่ที่อยู่ในพื้นที่
- ฯลฯ
๓) มาตรการการจัดการขยะที่มีอยู่
- มีรถเก็บขยะ ๓ คัน (มี ๔ คัน ใช้งานไม่ได้ ๑ คน กำลังซ่อม)
- กำหนดเวลาทิ้งขยะเป็นตอนเช้าของทุกวัน
- กำลังจัดหาสถานที่ทิ้งขยะของเทศบาลเอง
- รณรงค์ให้แยกขยะและลดการก่อขยะ
๔) แนวทางและข้อเสนอแนะ เพื่อแก้ปัญหาขยะ
หลังจากคุยเสวนาแลกเปลี่ยนกัน ได้แนวทางหรือข้อเสนแนะในการแก้ปัญหาดังนี้ว่า
- ส่งเสริม/หนุนเสริม ให้หน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ เช่น ภาควิชา สาขา คณะ มหาวิทยาลัย ชุมชน หรือรวมทั้งทิศทางการทำโครงการบริการวิชาการหรือบริการสังคมของรายวิชาหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน ฯลฯ ให้กำหนดเป็นนโยบาย หรือเป็นวาระเร่งด่วน สำคัญ .... ตั้งท่าอย่างจริงจัง
- สร้างระบบและกลไกให้หอพักเครือข่าย ดำเนินการจัดการขยะเบื้องต้น ทั้งลดปริมาณขยะ และแยกชนิดของขยะ โดยดำเนินการผ่านสำนักงานดูแลหอพักของมหาวิทยาลัย... สำนักศึกษาทั่วไปรับไปประสานงาน
- หาทาง/แสวงหาความร่วมมือ/ร่วมมือกัน สร้างโรงไฟฟ้าจากการเผาขยะ
- เทศบาลจัดหาสถานที่จัดเก็บขยะของเทศบาลเอง
- รายวิชาหนึ่งหลักสูตรฯ กำหนดให้เป็นแนวทางให้นิสิตทำโครงการหรือโครงงานเกี่ยวกับการจัดการปัญหาขยะในมหาวิทยาลัยและชุมชนรอบๆ มหาวิทยาลัย
ก่อนจะจบเสวนา ผมในฐานะผู้ประสานงานรายวิชาฯ ละผู้บริหารคนหนึ่งของมหาวิทยาลัย ได้ประกาศอย่างตั้งใจว่า ปีนี้เราจะมาลุยสร้างเครือข่ายและทุ่มเทพยายามจัดการกับปัญหานี้ร่วมกับชุมชน โดยก้าวแรก คือการจัดประชุมเสวนาเรื่องจัดการขยะ โดยเชิญตัวแทนชุมชนจากรอบๆ มหาวิทยาลัยมาร่วมกันให้มากที่สุด กะว่าจะเป็นเดือนตุลาคมนี้ครับ
ท่านนายกมาอธิบายด้วยตนเองเลยครับ
ผอ.กองสาธารณสุขก็มาด้วยตนเองครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น