วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561

ร่วมขับเคลื่อน "มหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่"

วันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๖๑ ผมไปช่วย ทีมขับเคลื่อน "มหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ของมหาวิทยาลัย" (ด้วยจิตอาสา) จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผู้นำนิสิตและบุคลากรผู้รับผิดชอบ มีผู้มาร่วมเวทีนี้ทั้งหมด ประมาณ ๖๐ คน  เป็นกิจกรรมครึ่งวัน ....

วัตถุประสงค์ของเวที 

วัตถุประสงค์หลักของเวที (ที่ผมสังเกตและเข้าใจ) เหมือนมีคำถาม ๓ ประการหลักๆ ได้แก่ ๑) แต่ละคณะทำอะไรอย่างไรที่ผ่านมา กิจกรรมคือให้ตัวแทนนิสิต&บุคลากรขึ้นไปเสวนาบนเวที ๒) จะแนะแนวทางวิธีรณรงค์ที่ดีให้กับแกนนำกลุ่มนี้ และ ๓) ต้องการจะระดมสมองกันว่าจะทำอย่างไรต่อไป  ... โดยเหตุนี้จงแบ่งกิจกรรมออกเป็น ๓ ตอน ดังจะได้สรุปพอสังเขปต่อไป


ผม AAR ว่า เวทีนี้แม้จะได้ผลดีมีคนมาร่วมเยอะ ได้ประเด็นเห็นชัด แต่ในตัวผมไม่มีพลังเท่าที่ควร อาจเป็นเพราะไม่ได้ไปเตรียมตัวกับทีมท่านเท่าที่ควร และเนื่องจากภาระงานที่ลุยอยู่  น่าจะดีกว่าหากตนเอง "นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง"

กิจกรรม Before Action Review (BAR)

กิจกรรม BAR (ฺBefore Aciton Review) ด้วย ๓ คำถามว่า ๑) คาดหวังอะไรในวันนี้ ๒) อยากจะทำอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ และ ๓)มีคำถามอะไรในใจที่อยากจะรู้  ประเด็นที่เห็นจากการเขียนตอบที่น่าสนใจคือ

๑) คาดหวังอะไรในวันนี้

  • ความรู้เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่
  • อยากได้ความรู้เกี่ยวกับบุหรี่มากขึ้น จะได้สามารถบอกคนรอบข้างที่สูบบุหรี่ได้ว่ามันเป็นอย่างไร 
  • ความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า และข้อเสีย รวมถึงข้อดี 
  • ข้อดีข้อเสียของบุหรี่ 
  • แนวทางที่ชัดเจนในการทำให้ มมส.เป็นมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ 
  • วิธีการเลิกบุหรี่ที่ถูกต้องทำอย่างไร
    • "อยากรู้จักวิธีการเลิกบุหรี่ เนื่องจากตัวผมเองนั้น ติดบุหรี่จัด อัตรา ๑ ซอง ต่อวัน แต่กำลังเลิกแต่ก็หายขาดยังไม่ได้" .... "สาเหตุที่ติดเพราะคำว่า ลองดู และเมื่อเครียดก็สูบ" 
    • วิธีการเลิกให้ง่ายและเร็วที่สุด
  • ระหว่างคนที่สูบบุหรี่และคนที่รับควัน ใครจะได้รับโทษมากกว่า 
  • แนวทางหรือวิธีการพูดโน้มน้าวให้คนที่สูบบุหรี่เลิกสูบ 
  • ความรู้เรื่องสิทธิของคนที่สูบและคนที่ไม่สูบ
  • อยากรู้เรื่องผลกระทบกับคนรับควัน คนรอบข้าง 
  • กระบวนการสร้างบุหรี่ ใช้สารอะไร ทำไมคนถึงติด
  • ทักษะการพูดหรือการบอก จะบอกอย่างไรให้คนรอบข้างหรือคนรู้จัก หรือแม้แต่บุคคลในครอบครัวเลิกบุหรี่

๒) อยากจะทำอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ 
  • ให้มหาวิทยาลัยจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ 
  • อยากจะไปพูดโน้มนาวคนให้เลิกบุหรี่ 
  • อยากให้นิสิตออกมาทำกิจกรรมรณรงค์ทุกคณะร่วมกัน
  • อยากจะรณรงค์ให้คนเลิกบุหรี่
  • อยากทำให้ทุกคนเลิกบุหรี่และสุราอย่างครอบคลุม
  • น่าจะเข้มงวดกว่านี้
  • อยากลองสูบ ลองติด ลองเลิก 
  • อยากนำข้อมูลไปวิเคราะห์ และทำแอปพลิเคชั่นแก้ปัญหา
  • เปลี่ยนจากการรณรงค์ มาเป็นการพัฒนาผู้ที่จะเลิกบุหรี่ในอนาคต 
  • คิดใหม่ทำใหม่ในการรณรงค์การเลิกบุหรี่ในวัยรุ่น ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกวัน 
  • อยากทำโครงการหรือจัดอบรมการต่อต้านบุหรี่
  • อยากรณรงค์ให้ร้านเหล้าร้านเบียร์ ทำจุดสูบบุหรี่ให้เป็นกิจลักษณะ

๓) คำถามที่อยากจะรู้คำตอบ

  • อัตราการเสียชีวิตเพราะบุหรี่เป็นเท่าไหร่ 
  • โรคที่เกี่ยวกับบุหรี่มีอะไรบ้าง 
  • อยากรู้ว่า ทางหนีไฟภายในอาคาร เป็นที่สูบบุหรี่ได้หรือไม่ 
  • หากเกิดกลุ่มนิสิตหรือองค์กรนิสิต หรือชมรม ที่จะขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ จะมีการสนับสนุนกลุ่มองค์กรนิสิคอย่างจริงจังหรือไม่ ด้านใดบ้าง 
  • ไม่นานมานี้เหมือนมีข่าวว่า มีการใช้งบกว่า ๔,๐๐๐ บาท ในการพัฒนาโรงงานผลิตบุหรี่ อยากรู้ว่าทำไมๆ สรุปจะให้เลิกหรือสนับสนุน
  • "โครงการนี้ทำมา ๔-๕ ปี ได้ผลหรือไม่อย่างไร 
  • การเลิกบุหรี่ของคณะฯ มีผลอะไรกับการพัฒนา
ข้อสังเกตจากกิจกรรม BAR
  • จากข้อเขียนตอบ มีเพียงนิสิต ๑ คนเท่านั้น ที่บอกว่าตนเองสูบบุหรี่ (ติดบุหรี่)  นิสิตและผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมด ไม่ใช่ผู้สูบบุหรี่ ไม่ใช่ผู้ติดบุหรี่   
  • จากการสังเกต ผู้ที่มาร่วมงานนี้เหมือนมี "บุพเพสันนิวาส" บ้างอาจถูก "ส่งมา"  ว่างพอดีเลยถูก "ให้มา" บางคนสมัครใจมา หลายคนเป็นหน้าที่โดยเฉพาะบุคลากร  .... ด้วยเหตุนี้จึงต้องการพลังมากๆ ในการขับเคลื่อน 
  • ความคาดหวังส่วนใหญ่บอกว่า  ผู้มาร่วมคือ "ผู้มาใหม่" ยังไม่ชัดว่าจะให้มาทำอะไร คาดหวังอะไร คำตอบที่ได้จึงเน้น ตามลำดับความถี่ดังนี้ 
    • โทษและประโยชน์ของบุหรี่
    • วิธีการเลิกบุหรี่ 
    • วิธีการโน้มน้าวผู้สูบบุหรี่
    • มหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่เป็นอย่างไร
    • ฯลฯ
  • คนเกือบทั้งหมดเห็นด้วยว่าควรเลิกบุหรี่ และจะช่วยด้วยหากมีโอกาสในการทำให้มหาวิทยลัยเป็นมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ 
กิจกรรมเสวนา "เราทำอะไรมาแล้วบ้าง ผลเป็นอย่างไร"


(ขอบคุณภาพจากเว็บไซต์ กองกิจการนิสิต มมส. คลิกภาพทั้งหมดทีนี่)

ท่านอาจารย์อิสเรส สุขเสนี เป็นผู้ดำเนินรายการ เชิญตัวแทนจากทุกคณะ-วิทยาลัย ขึ้นไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเวที ... ผมทำหน้าที่ "จับประเด็น" เห็นข้อสรุปดังต่อไปนี้ 
  • ทุกคณะ-วิทยาลัย ได้ติดป้ายรณรงค์ไม่ให้สูบบุรี่ ไว้ ณ ตำแหน่งต่างๆ  เช่น หน้าลิฟท์ หน้าห้องน้ำ ข้างบันได ฯลฯ   ตามข้อกำหนดของมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ คือ ห้ามสูบบุหรี่ภายในอาคาร หากทำผิดถูกจับปรับ ๒,๐๐๐ บาท 
  • หลายคณะ-วิทยาลัย พบว่า มีการสูบบุหรี่ในห้องน้ำ แม้จะมีป้ายติดไว้แต่ยังไม่ได้ผล 
  • ในบรรดานิสิตเพื่อนผู้ใกล้ชิดกัน จะรู้กันว่า "ใครเป็นใคร" ... หมายถึง นิสิตจะรู้ว่ใครสูบใครไม่สูบ 
  • ตัวแทนจากคณะวิทยาศาสตร์ พยาบาลศาสตร์  บัญชีและการจัดการ เภสัชศาสตร์  แพทย์ศาสตร์ เทคโนโลยี ศึกษาศาสตร์ และกองกิจการนิสิต สะท้อนว่า ไม่พบนิสิตสูบบุหรี่ มีเพียงบุคลากรบ้างเท่านั้น
  • บุคลากรจาคณะสิ่งแวดล้อมเล่าประสบการณ์ความสำเร็จของการดำเนินการเรื่องนี้  ท่านบอกว่า เมื่อ ๒ ปีก่อน มีปัญหาการสูบบุหรี่ในห้องน้ำ แต่ปัจจุบันนี้ไม่มีแล้ว ... ปัจจัยความสำเร็จน่าจะอยู่ที่ผู้บริหารและบุคลากรของคณะเอาจริงเอาจัง มีการประการเป็นนโยบายและประชุมกันอย่างจริงจัง 
  • โดยภาพรวม นิสิตสูบบุหรี่มีจำนวนน้อยมาก (ความจริงข้อมูลของทีมขับเคลื่อนบอกว่า มีถึงร้อยละ ๗ ของนิสิตทั้งหมด) ผู้สูบเป็นนิสิตชาย
  • เกือบจะทุกคณะ-วิทยาลัย สะท้อนว่า ได้จัดพื้นที่สำหรับสูบบุหรี่ไว้ให้แล้ว ... ปัญหาคือมีบางคนไม่ไปสูบในที่จัดไว้ให้ 
  • หลายคนสะท้อนว่า ป้ายมีจำนวนมาก และไม่ได้ผล 
  • ไม่เคยมีการปรับโทษผู้ฝ่าฝืน ตามที่ติดป้ายไว้ว่าจะปรับ ๒,๐๐๐ บาท 
  • พบปัญหานักเรียนมัธยมสูบบุหรี่ในพื้นที่มหาวิทยาลัย
  • มีการกล่าวตักเตือนบ้าง แต่เป็นบุคลากรเท่านั้นที่กล้ากล่าวตักเตือน 
สื่อแบบไหนที่จะรณรงค์ได้ผล

อาจารย์พฤฒ ธนรัช จากคณะวิทยาการสารสนเทศ ได้เปิดคลิปด้านล่างนี้ให้ดู  และชี้ให้เห็นว่า สื่อที่จะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้จะต้องมีลักษณะดังคลิปนี้ (เป็นตัวอย่าง)  ...  ผมดูแล้วประทับใจมาก 


ท่านเน้นว่า สื่อที่ดีมีลักษณะสำคัญคือ ให้ผู้ดู "คิดได้เอง"  อาจสร้างให้ "เห็นตัวอย่างที่ดี" ซึ่งแต่ละคนอาจจะมีวิธีสร้างสื่อสร้างสรรค์ได้อย่างอิสระ แต่สำคัญคือ "อย่าเงียบ" อย่าเฉยต้องทำอะไรสักอย่าง "เริ่มจากเรา" เริ่มจากตนเอง และ "ร่วมด้วยช่วยกัน"

จะทำอย่างไรต่อไป

ผศ.ดร.ภญ.พยอม สุขเอนกนันท์ หัวหน้าทีม "มหาวิทยลัยปลอดบุหรี่" พาทำกิจกรรมนำสมาธิและสติให้ตื่นขึ้นเล็กน้อยก่อนจะแจกกระดาษให้เขียนตอบด้วย ๒ คำถาม คือ ๑) รู้สึกอย่างไร ๒) อยากเห็นอะไร และ ๓) จะทำอะไร  คำตอบส่วนใหญ่ประทับใจและให้กำลังใจทีมขับเคลื่อนฯ และรู้สึกดีที่ได้รับรู้ว่ามหาวิทยาลัยให้ความสำคัญและจริงจังกับเรื่องนี้ และอยากเห็นมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์  
  • เริ่มจากเราไม่สูบบุหรี่
  • ทำกิจกรรมรณรงค์ จะเป็นตัวแทนในการรณรงค์
  • ทำสื่อให้มหาวิทยาลัยตระหนักถึงโทษของบุหรี่ ทำสื่อประชาสัมพันธ์
  • สร้างกลุ่มรวมพลังเพื่อทำกิจกรรมให้ มมส. "ไม่มีควันบุหรี่"
  • หากเจอใครสูบในที่ห้ามสูบ จะ "ทัก" หรือ "ด่า" ...   (อันนี้ให้ระวัง)
  • ส่งเสริมให้คณะจัดที่สูบบุหรี่ให้ชัดเจน
  • อยากให้มีเวทีสำหรับคนติดบุหรี่ (เวทีบำบัด) 
  • ฯลฯ



AAR (After Aciton Review)

ผมไม่มีเวลาเหลือพอจะทำกิจกรรม AAR แต่เท่าที่ประเมินเอง (ด้วยการสังเกตและฟัง) นี่เป็นจุดเริ่มต้นของการขับเคลื่อนไปสู่ "ตัวคน" ที่ดีมาก  ด้วยเหตุว่า 
  • บุคลากรที่เป็นตัวแทนคณะ-วิทยาลัย ที่มาในวันนี้ คือผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลนิสิตในคณะเป็น "มืออาชีพ" คือเป็นอาชีพของท่านอยู่แล้ว  หากมีเครือข่ายโดยตรงที่ไม่ต้องผ่านการ "สั่งการ" ผ่านการบริหารระดับรองคณบดี  ข้อมูลที่ได้จะรวดเร็ว แม่นยำ และมีเยอะ ...  ผมจึงรีบเสนอให้สร้างกลุ่มไลน์รวบรวมบุคลากร "ผู้ดูแลนิสิต" ไว้  .... ไม่แน่ใจว่าอยู่ในกลุ่มไลน์ "มมส. มหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่กันกี่คน"
  • ตัวแทนนิสิตผู้สูบบุหรี่ที่มาเป็นตัวแทนวันนี้ (ผมสังเกตว่ามีชัดๆ ๑ คน อีก ๒-๓ คน ไม่ได้บอกว่าสูบบุหรี่ แต่น่าจะมีประสบการณ์เรื่องนี้ เช่น สังเกตจากคำว่า "รู้กันอยู่ว่าใครเป็นใคร" เป็นต้น)  ควรจะได้มาคุยต่อ แบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันลึกๆ อีก ในเวทีหน้า ...  ประมาณว่า เวทีวันนี้เป็นเวทีของผู้ไม่สูบบุหรี่ เวทีที่ต้องมีคือเวทีของผู้สูบบุหรี่  และต่อไปก็ควรมีเวทีให้ผู้นำนิสิตที่ไม่สูบบุหรี่ไปเรียนรู้ในวงผู้สูบบุหรี่ด้วย 
  • สำหรับเวทีผู้ไม่สูบบุหรี่ในวันนี้  สรุปได้ว่า ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีความรู้ลึกเรื่องบุหรี่  เพียงแต่รู้ว่าไม่ดี มีโทษ และไม่คิดว่าจะสูบบุหรี่ ... ตรงนี้สำคัญ เพราะสำหรับคนที่เขาคิดว่าจะสูบบุหรี่อยู่แล้ว เกรงกลัวโทษของบุหรี่อยู่แล้ว จากที่ได้ดูในทีวีและการรณรงค์ทั่วไป ก็ไม่จำเป็นเลยที่ต้องรู้เรื่องบุหรี่  ดังนั้น ความแม่นยำและเหตุผลของการรวมกลุ่มผู้นำนิสิตที่มีจิตอาสาจะช่วยเพื่อนผู้สูบบุหรี่ต้องชัดเจน ... ยิ่งคิดว่าผู้ไม่เคยสูบ จะไปบอกหรือ "ถ่ายทอด" ให้ผู้สูบฟัง ยิ่งต้องระวังต่อความล้มเหลว 
ถาม-ตอบ
  • บุหรี่ไฟฟ้ามีอันตรายหรือไม่.....  
    • มี เพราะบุหรี่ไฟฟ้ายังคงมีนิโคติน 
  • ทำไมคนติดบุหรี่ ... 
    • จริงๆ แล้วคนติดบุหรี่คือ คนเสพติดความสุข สารนิโคติน จะทำให้สารแห่งความสุขชนิดหนึ่งชื่อ "โดพามีน" หลั่งออกมา  แต่ปัญหาคือ นิโคตินไม่ได้ส่งผลนี้อย่างเดียว แต่พ่วงการเป็นเหตุแห่งสารพัดโรคมาด้วย โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดและหัวใจ ที่เป็นเหตุให้คนไทยเสียชีวิตมากเป็นอันดับ ๓ รองจากโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม 
  • บุหรี่ไฟฟ้ากับบุหรี่จริงๆ มีโทษเท่ากันหรือไม่อย่างไร 
    • บุหรี่มีโทษมากกว่า แต่บุหรี่ไฟฟ้าก็ยังมีโทษอันตราย
  • ผู้รับควัน หรือ "บุหรี่มือสอง" คือ ไม่สูบแต่ใกล้คนสูบ จะมีอันตรายเพียงใด 
    • .......
  • จะทำอย่างไรดีเมื่อพบมีคนกำลังสูบบุหรี่ในที่ห้ามสูบ 
    • .......
ผมเข้าใจว่า คำตอบของปัญหาต่างๆ หาได้ไม่ยากเลยในยุคอินเตอร์เน็ตนี้  ปัญหาคือเราจะมีแรงบันดาลใจให้เวลากับการหาคำตอบหรือไม่  และยากกว่านั้นคือจะลงมืออะไรสักอย่างหรือไม่  การรวมพลังกันเป็นกลุ่ม คือทางออกที่จะช่วยให้แต่ละคน "ออกแรง" ไม่มาก แต่มีพลังมาก  

ขอขอบคุณรองอธิการบดี ที่ให้โอกาสผมได้เข้าร่วมกิจกรรมนี้ครับ ขอบคุณครับ 


ขอบคุณภาพจากกองกิจการนิสิต มมส. ครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น