๑) ความหมายของจิตอาสา
พจณานุกรมฉบับราชบัณฑิต พ.ศ.
๒๕๕๔ ไม่ได้กำหนดความหมายของคำว่า “จิตอาสา” หรือ “จิตสาธารณะ” ไว้โดยตรง
แต่ให้นิยามคำที่เกี่ยวข้อง ได้แก่คำว่า “จิต” “จิตสำนึก” “อาสา” และ “สาธารณะ”
ไว้ดังนี้
“จิต” เป็นคำนาม คือ ใจ คือ
สิ่งที่ทำหน้าที่รู้ คิด และนึก
“จิตสำนึก” (conscious) เป็นคำนาม คือ ภาวะที่จิตตื่นและรู้ตัว สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าจากประสาทสัมผัสทั้ง
๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่สัมผัสได้ด้วยกาย.
“อาสา” เป็นคำกิริยา คือ
การเสนอตัวเข้ารับทำ
“สาธารณะ” เป็นคำวิเศษ คือ
เพื่อประชาชน เช่น สวนสาธารณะ บ่อน้ำสาธารณะ เป็นต้น
ดังนั้น
จึงมีผู้ให้ความหมายของคำว่า “จิตอาสา” และ “จิตสาธารณะ” ไว้หลากหลาย
แม้จะแตกต่างกันบ้างแต่สาระหลักจะคล้ายกัน จากการศึกษาพบว่า
ผู้ที่ให้คำจำกัดความของคำทั้งสองไว้ได้อย่างชัดเจนที่สุดท่านหนึ่งคือ
รองศาสตราจารย์ ดร.วิชัย วงใหญ่ (๒๕๕๕) ดังนี้
“จิตอาสา” (volunteer mind) หมายถึง จิตใจที่คิดช่วยเหลือผู้อื่น จิตใจที่เป็นผู้ให้ เช่น ให้สิ่งของ
ให้เงิน ให้ความช่วยเหลือด้วยกำลังแรงกาย แรงสมอง ซึ่งเป็นการเสียสละ สิ่งที่ตนเองมี
แม้กระทั่งเวลา โดยมีปัญญาเป็นเครื่องกำกับ เป็นการกระทำที่ไม่รู้สึกว่าเป็นการเบียดเบียนตนเอง
ส่งผลให้แสดงพฤติกรรมหลัก ๓ ด้าน ได้แก่
- การช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน
- การเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม และ
- การมุ่งมั่นพัฒนาสิ่งรอบตัวให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
“จิตสาธารณะ” (public
mind) บางครั้งอาจใช้คาว่า จิตสำนึกสาธารณะ หมายถึง จิตใจที่คำนึงถึงส่วนรวมร่วมกัน
คำนึงถึงบุคคลอื่นที่ต่างมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกัน รวมทั้ง มีความสานึกและยึดมั่นในระบบคุณธรรม
และจริยธรรมที่ดีงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ประหยัด และมีความสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ
ส่งผลทำให้แสดงพฤติกรรมหลัก ๓ ด้าน ได้แก่
- การงดเว้นการกระทำที่จะส่งผลทำให้เกิดความชารุดเสียหายของทรัพย์สินส่วนรวม
- การมีส่วนร่วมดูแลรักษาทรัพย์สินส่วนรวม และ
- การเคารพสิทธิของบุคคลอื่นในการใช้ทรัพย์สินส่วนรวม บางครั้งหมายถึงจิตอาสา
การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างจิตอาสาและจิตสาธารณะ
ถ้าใช้มุมมองของการคิดที่เป็นระบบ ไม่มองแยกส่วน จะพบว่า จิตอาสาและจิตสาธารณะเป็นสิ่งที่เกื้อกูลซึ่งกันและกัน
การมีจิตอาสาทำให้แสดงพฤติกรรมออกมาซึ่งอาจเป็นประโยชน์ในระดับส่วนบุคคลหรือในระดับส่วนรวม ถ้าเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมสิ่งนั้นจะกลายเป็นจิตสาธารณะ
ส่วนการมีจิตสาธารณะ บางครั้งต้องอาศัยจิตอาสาเป็นสิ่งกระตุ้นให้แสดงพฤติกรรมเช่นกัน
(วิชัย วงใหญ่, ๒๕๕๕)
๒) แนวทางการพัฒนาจิตอาสา
การพัฒนาตนเองให้เป็นผู้มีจิตอาสาไม่มีวิธีการหรือรูปแบบตายตัว
สิ่งสำคัญคือการตั้งเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงตนเองไปสู่การเป็นผู้มีจิตอาสา
และเริ่มต้นทันทีกับการคิดและการกระทำในชีวิตประจำวัน โดยปฏิบัติให้ต่อเนื่อง
สม่ำเสมอ จนเกิดเป็นกิจวัตรที่ส่งเสริมให้เป็นผู้มีจิตอาสา เช่น
การฝึกให้โดยไม่หวังผลตอบแทน การฝึกตัดสินใจโดยคำนึงถึงผู้อื่นก่อนตนเอง ฯลฯ
จิตอาสา ไม่สามารถสอนได้โดยการ
“ถ่ายทอดความรู้” หรือ “บังคับ” ต้องใช้วิธีการปลูกฝังหรือบ่มเพาะให้เกิดเป็นนิสัย
แนวทางที่รองศาสตราจารย์ ดร.วิชัย วงใหญ่ ได้นำเสนอไว้ ๖ ประการ
มีดังต่อไปนี้
- การตั้งเป้าหมายในการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้มีจิตอาสา ซึ่งสังคมสากลยอมรับและตั้งเป้าหมายร่วมกันในการพัฒนาพลเมืองโลก จะนำพาให้นิสิตพัฒนาตนเองไปสู่การเป็นผู้มีคุณประโยชน์ต่อผู้อื่น ต่อสังคมและชุมชน และเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของโลก เป็นเส้นทางแห่งการค้นหาความหมายในชีวิต ซึ่งเป็นจะนำให้เข้าสู่ความสุขที่แท้จริงของชีวิตมนุษย์ต่อไป
- การมีแบบอย่างที่ดีด้านจิตอาสา การได้เห็นและมีศรัทธา ชื่นชมตัวอย่างบุคคลผู้ที่มีจิตอาสาเป็นประจำจะช่วยส่งเสริมให้เกิดจิตอาสาขึ้นในใจ สังคมควรให้ความสำคัญกับเรื่องจิตอาสาจะยกย่อง เชิดชู และยกเอาผู้มีจิตอาสาเป็นต้นแบบ
- พัฒนาจิตอาสาจากการลงมือปฏิบัติทั้งในกิจวัตรประจำวันและผ่านกิจกรรมทางสังคมต่างๆ เช่น กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมจิตอาสา เสียสละ การเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ (Learning by doing) ผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น การเรียนรู้ผ่านโครงการ (Project-based Learning) การเรียนรู้ผ่านการบริการสังคม (Service Learning) ฯลฯ ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในขณะปัจจุบัน ว่าสามารถยกรับจิตอาสาอย่างได้ผล
- เรียนรู้ภายในตนเองผ่านการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) สะท้อนการเรียนรู้ของตนเอง (Self-Reflecting) เกี่ยวกับพัฒนาการด้านจิตอาสาของตนเองอย่างสม่ำเสมอ
- อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาจิตอาสา หากอยู่ในสังคมที่ส่งเสริมจิตอาสาและเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงภายใน จะมีพลังทางสังคมสนับสนุนให้เป็นผู้มีจิตอาสาได้ง่าย การเลือกคบเพื่อนหรือกัลยาณมิตรที่ดีมีความสำคัญมาก
สำหรับครู-อาจารย์ หรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาจิตอาสา มีวิธีการ ๖ อย่างที่สามารถปลูกฝังจิตอาสาได้
- ทำตนเป็นแบบอย่าง .... หรือก็คือ "ความเสียสละ"
- ใช้กิจกรรมในชั้นเรียน เช่น กิจกรรม "หากฉันเป็น.... " หรือ "หากฉันมี......" ให้เขียนคำตอบของตนเอง เช่น "หากฉันมีเงิน ๑๐๐ บาท ฉันจะ..... " ฉันจะ แล้วยกตัวอย่างบุคคลผู้มีจิตอาสาต้นแบบมาเป็นกรณีตัวอย่าง
- ลงมือช่วยเหลือคนอื่น บำเพ็ญประโยชน์
- ถอดบทเรียนหรือสะท้อนด้านจิตอาสาของตนเอง กอปรกับการตั้งเป้าหมายที่จะเป็นจิตอาสา
- แลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำเสนอผลงานเกี่ยวกับจิตอาสา
- เรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงภายในอย่างแท้จริง เช่น ปฏิบัติธรรม เจริญสติ ศึกษาธรรมะ จิตตปัญญาศึกษา เป็นต้น
อ้างอิง
วิชัย วงษ์ใหญ่. (๒๕๕๕). จิตอาสา ในสารานุกรม วิชาชีพครู เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในโอกาสพระราชพิธี มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : สํานักงานเลขาธิการคุรุสภา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น