การเปลี่ยนแปลงของโลกโลกาภวัตน์ ทำให้นิสิตกำลังปรับวิธีเรียนรู้ การเรียนรู้เปลี่ยนแปลงไปแล้วอย่างสิ้นเชิงทุกที่ทุกเวลา ยกเว้น "ในชั้นเรียน" อุปสรรคใหญ่ในการปรับวิธีเรียนรู้ของนิสิต คือ "การสอนของอาจารย์" สิ่งที่เราเหล่าอาจารย์ในมหาวิทยาลัยต้องช่วยกันคือ หันกลับมามองห้องเรียนของตนเอง แล้วเริ่มศึกษาหาวิธีช่วยกัน "ปรับวิธีเรียนของนิสิต" ด้วยการ "เปลี่ยนวิธีสอน" ของตนเอง
คำว่า "เปลี่ยนวิธีสอน" ในที่นี้ไม่ใช่เปลี่ยนแค่กิจกรรมการเรียนรู้หรือท่าทีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน แต่หมายรวมถึงการเปลี่ยนแปลงทั้งความคิดรวบยอด (Concept) ท่าที วิธีคิด (Minset) วิธีปฏิบัติ และกระบวนจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student Centered) และชุมชน(สังคม) มีส่วนร่วม (Socail Engagement)
ยุทธศาสตร์ ๕ ประการในการขับเคลื่อนให้เกิดการ "เปลี่ยนวิธีสอน" ได้แก่ ๑) พัฒนาห้องเรียนรวม โสตทัศณูปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ที่เอื้อให้เกิดการปรับวิธีสอน ๒) พัฒนาอาจารย์ผู้สอนให้เข้าใจในเป้าหมายหรือผลลัพธ์การเรียนรู้ และวิธีการจัดการเรียนรู้แบบเอาผลลัพธ์เป็นฐาน (Outcome-based Learning) ๓) ส่งเสริมและพัฒนาให้อาจารย์สอนแบบ Active learning ๔)พัฒนาการวัดผลประเมินผลการจัดการเรียนรู้ ๕) พัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาและสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ... บันทึกนี้จะมุ่งไปที่การถอดบทเรียนการพัฒนาอาจารย์ตามยุทธศาสตร์ที่ ๒ เท่านั้น
ในการอบรมพัฒนาอาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไป ผศ.ดร.จินดาพร จำรัสเลิศลักษณ์ ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) เรื่องนี้ของมหาวิทยาลัย ท่านรับเชิญมาเป็นวิทยากรด้วยตนเอง ผมขออนุญาตท่านเพื่อถอดบทเรียนการเรียนรู้ตนเอง และนำสไลด์ของท่าน มาแบ่งปันท่านที่ยังไม่ได้เข้าอบรมครับ
๑) การจัดการเรียนรู้แบบ OBE คืออะไร
OBE คือ การศึกษาที่เอาผลลัพธ์การฐานในการจัดการเรียนรู้ (Outcome-based Learning: OBL) คำถามคือ ผลลัพธ์ปลายทางที่สุดสำหรับการจัดการเรียนรู้ในระดับปริญญาตรีคืออะไร? ....
นิสิตที่จะมีงานทำเป็นอย่างไร? คือคำถาม โดยส่วนตัวผมตอบเลยว่า คนที่จะมีงานทำคือ "คนดี" โดยเฉพาะคนดีที่มีคุณค่าต่อสังคม คนที่จบไปแล้วใช้ความสามารถของตนเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน ตามปรัชญา "การเป็นที่พึ่งของชุมชนและสังคม" ของมหาวิทยาลัย .... แต่คุณสมบัติข้อนี้ "ประเมินได้ยาก" เป็นนามธรรม กว่าจะเห็นว่าดีหรือไม่ไดี อดทนหรือไม่ ต้องรอให้ลองทำงานก่อนสัก ๖ เดืิอน ๑ ปี หรือ ๕ ปี คุณสมบัติด้านนี้จึงไม่ใช่จุดตัดสิน "การมีงานทำ" ณ ขณะนี้
ปัจจัยที่สำคัญและเป็นรูปธรรมที่สุด จึงเป็น "ความต้องการของตลาดแรงงาน" คือ การผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถตรงกับความต้องการของตำแหน่งงาน .... ผู้ที่ต้องปรับตัวมากที่สุดก็คืออาจารย์และหลักสูตรในมหาวิทยาลัย ให้ทันการเปลี่ยนแปลงและความท้าทาย
ผมจับประเด็นการบรรยายของ ผศ.ดร.จินดาพร และขออนุญาตท่านสรุปไว้ในบันทึกนี้ เพื่อให้อาจารย์ที่ยังไม่ได้รับการอบรม เข้ามาศึกษาให้เข้าใจตรงกัน ต่อไป
- ขณะนี้ เรากำลังจะเข้าสู้สังคมผู้สูงอายุ ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมสูงวัยเต็มที่ในปี ๒๕๗๔ คือมีผู้สูงวัยสูงถึงร้อยละ ๒๘ ของคน
- หากพิจารณาตามช่วงอายุจะเห็นว่า ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น สวนทางกับจำนวนเด็กลดลง
- ข้อมูลจากธนาคารโลก บอกว่า กว่าร้อยละ ๗๒ ของงานที่มีอยู่ในโรงงานของประเทศ เสียงจะถูกแทนที่ด้วยเครื่องจักร
- โรงงานของไทเบฟ (โรงงานผลิตเบียร์ช้าง) จำนวน ๓๐ - ๔๐ โรงงานจะเปลี่ยนเป็นเครื่องจักรกว่าค่อนครึ่ง (70-90% automation)
- โรงงานผลิตชาโออิชิ ใช้คอมและเครื่องจักรร้อยละ ๙๐ (ต่อไปจะไม่ซื้อโออิชิ)
- เมื่อพิจารณาว่างานอะไรที่หุ่นยนต์หรือเครื่องจักรจะมาแทนมากที่สุด บิสสิเน็ตอินไซเดอร์ บอกว่า การขายหรือแนะนำสินค้าตามสายจะหายไป นักบัญชี นักตรวจสอบสินค้า จะหายไป ว่างั้น ....
- สำนักข่าว CBC บอกว่า อาชีพที่จะหายไปใน ๒๐ ปีข้างหน้าคือ ออฟฟิซให้เช่า พนักงานต้อนรับหรือบ๋อย ผู้ช่วยด้านกฏหมาย พ่อค้าขายปลีก คนขับแทกซี่ ยามรักษาความปลอดภัย ฯลฯ
- ประเทศที่เสี่ยงจะตกงานจากการเข้ามาแทนที่ของเครื่องจักร เรียงตามลำดับได้แก่ เวียดนาม เขมร อินโดนีเชีย ฟิลิปินส์ และไทย
- คนที่ศึกษาในสาขาอะไรที่จถูกแทนที่ด้วยเครื่องจักรและคอมฯ เรงลำดับจากเสี่ยงมากสุดไปน้อยสุด ได้แก่ บัญชี เศรษฐศาสตร์ การเมืองการปกครองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การจัดการ ฯลฯ
- การจัดการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัย ไม่ใช่เนื้อหาหรือความรู้ แต่เป็นการสร้างแรงบันดาลใจและพลังขับเคลื่อนให้นิสิตสร้างการเปลี่ยแปลงในชีวิตตนเอง
- สื่อการเรียนรู้แบบใหม่ .... เอกสารล้าหลังไปแล้ว
- Mindset การศึกษาที่ต้องเปลี่ยนไปให้เหมาะกับยุคสมัย ๖ ประเด็น ได้แก่
- เปลี่ยนจากยึดตัวผู้สอนเป็นยึดตัวผู้เรียน
- เปลี่ยนจากครบตรงตามหลักสูตรเป็นการเน้นตามความจำเป็นและต้องการของบุคคล
- เปลี่ยนจาก Cognetive-based Learning คือเน้นทักษะทางปัญญา เป็น Experience-based Learning หรือความรู้ที่ได้จากการคิด เป็นเน้นทักษะจากการลงมือปฏิบัติหรือประสบการณ์หรือความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติ
- การเรียนรู้ในห้องเรียน โรงเรียน หรือเรียนรู้ในระบบ เป็น การเรียนรู้นอกระบบ ทุกที่ทุกเวลา
- เปลี่ยนจากเน้นเรียนเพียงช่วงอายุ ๕-๒๒ ปี เป็นการเรียนรู้ทุกช่วงชีวิต
- เปลี่ยนจากปริญญาสำคัญ เป็นไม่สำคัญ
- สไลด์นี้บอกว่า มหาวิทยาลัย ไม่ใช่ที่ที่จะสอน และเป็นที่สำหรับเรียนรู้และสร้างแรงบันดาลใจ
- มหาวิทยาลัยต้องสร้างบัณฑิตให้สามารถทำงานที่ยังไม่เกิดขึ้น
- มหาวิทยาลัยต้องรับมือกับนักศึกษาที่ไม่เหมือนเดิม การเรียนการสอนที่เปลี่ยนรูปแบบไป รองรับความต้องการส่วนบุคคลของนักศึกษา
- มหาวิทยาลัยต้องปฏิรูปจึงจะอยู่รอด
- อาจารย์ต้องไม่สอนแบบถ่ายทอดความรู้ แต่เน้นที่การออกแบบการเรียนรู้และอำนวยการเรียนรู้
- รัฐบาล จะใช้โครงการที่ชื่อว่า "บัณฑิตพันธุ์ใหม่" เป็นโครงการสร้างคนตอบโจทย์ประเทศไทย ๔.๐
- กระทรวงอุดมศึกษา (อาจไม่ใช่ชื่อนี้) ที่จะตั้งขึ้น กำหนดรูปแบบการพัฒนาสร้างบัณฑิต ไว้ ๕ รูปแบบ ได้แก่
- บูรณาการหลายศาสตร์ เพื่อสร้างสมรรถนะเร่งด่วนของประเทศ (ดูสไลด์ด้านบน)
- บูรณาการรายวิชาศึกษาทั่วไปกับรายวิชาเฉพาะในสาขา
- พัฒนาสาขาวิชาเดิม ต่อยอดให้ได้สมรรถนะสอดคล้องกับ New S-Curve
- จัดการเรียนรู้ที่รองรับความต้องการส่วนบุคคล
- อื่นๆ
ดังสไลด์ต่อไปนี้
- ไม่น่าเชื่อว่า ปัจจุบันมหาวิทยาลัยไทย มีหลักสูตรถึง ๑๘,๘๓๔ หลักสูตร จากมหาวิทยาลัยของรัฐถึง ๑๕.๖๑๖ หลักสูตร
- มี ป.เอก ถึง ๑,๖๓๙ หลักสูตร จากมหาวิทยาลัยของรัฐ ๑,๔๕๔ หลักสูตร
- จำนวนนักศึกษาจำแนกตามกลุ่มมหาวิทยาลัย แสดงดังสไลด์ด้านบนนี้
- จำนวนนักศึกษารวมทั้งหมดในปี ๒๕๕๙ เป็น ๓,๘๒๘,๐๗๒ ลดลงเป็น ๑,๘๔๔,๗๔๗ คน ในปี ๒๕๖๐
- จำนวนนักศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐมีมากถึง ๑,๐๖๕,๒๖๗ คน ในปีการศึกษา ๒๕๕๙
- จำนวนนักศึกษาในมหาวิทยาลัยของรํฐลดลงกว่าครึ่งในปี ๒๕๖๐ เป็น ๔๓๔,๘๒๖ คน
- ผู้สำเร็จการศึกษารวมทั้งประเทศในปี ๒๕๖๐ มีงานทำแล้ว คิดเป็นร้อยละ ๖๒.๘๒ ยังไม่ได้ทำงานและยังไม่ได้ศึกษาต่อ ร้อยละ ๓๓.๖๔ กำลังศึกษาต่อ ร้อยละ ๒.๓๑ และทั้งเรียนและทำงาน คิดเป็นร้อยละ ๑.๒๔
- จำนวนผู้มีงานทำภายใน ๑ ปี หลังสำเร็จการศึกษารวมของประเทศ ค่อยๆ ลดลง ในขณะที่จำนวนผู้ไม่มีงานทำและไม่ได้ศึกษาต่อ ค่อยๆ เพิ่มขึ้น
- มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นิสิตมีงานทำภายใน ๑ ปีที่สำเร็จการศึกษา อยู่ที่ร้อยละ ๙๓.๖๘ ๘๘.๒๖ และ ๘๙.๔๒ ในปี ๒๕๕๗ ๒๕๕๘ และ ๒๕๕๙ ตามลำดับ
- ข้อมูลจำแนกรายคณะ-วิทยาลัย แสดงดังตารางต่อไปนี้
- หากเป็นผู้ปกครองอ่านบันทึกมาถึงตรงนี้ ก้น่าจะอุ่นใจว่า หากลูกหลานท่านมาเรียนที่ มมส. พ่อแม่ก็น่าจะได้พึ่งพาได้
- ข้อมูลการมีงานทำของบัณฑิต ปี ๒๕๖๐ สามารถ ดาวน์โหลดได้ที่นี่
- อย่างไรก็ดี สิ่งสำคัญคือ "คนดี" ที่มีคุณค่าต่อสังคมและชุมชน เป็นเรื่องสำคัญในระยะยาว ที่ประเมินได้ยากยิ่ง
- การได้งานทำคือสิ่งที่จำเป็นต้องเขียนใน มคอ.๒ อยู่แล้ว
- สไลด์นี้ท่านสรุปว่า เป้าหมายในการจัดการเรียนรู้แบบ OBE ของมหาวิทยาลัยในยุคนี้ ได้แก่
- ป.ตรี คือ ผลิตบัณฑิตที่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน (หมายถึง จบแล้วมีงานทำ)
- ป.โท คือ สามารถนำองค์ความรู้ใหม่ และกระบวนการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ไปประยุกต์ใช้พัฒนางานและสังคมได้
- ป.เอก มีความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ใหม่
- หลักสูตรโท และ เอก แตกต่างกันต่างกัน ต้องมีรายวิชาที่แตกต่างกัน
- เป้าหมายคือทำให้ "เป็นผู้มีงานทำ" ในความหมายใหม่คือ "เป็นผู้ทำงาน" ที่มีองค์ประกอบ ๒ อย่างคือ "เป็นผู้ทำงานได้" มีความสามารถ และ "เป็นผู้อยากทำงาน"
- เป้าหมายชัด คำถามคือแล้ว มหาวิทยาลัยจะทำอย่างไร คำตอบคือ ต้องสร้างหลักสูตรที่มี EOL (Expected Learning Outcome) แล้วต้องทำให้นิสิตสำเร็จการศึกษาภายในเวลาที่กำหนด
- แต่ที่ผ่านมา ตามหลักสูตรของ สกอ. ป.ตรี ๔ ปี ป.โท ๒ ปี ป.เอก ๓ ปี ระยะเวลาที่กำหนดแบบนี้ ทำให้มีอัตาการคงอยู่ (คงค้าง) จำนวนมาก หากใช้เกณฑ์ประกันฯ ของ สกอ. บางปีจะไม่มีผู้สำเร็จการศึกษาเลย .
- นอกจากนี้ยังมีอัตราการตกออก (drop out rate)
- ต้องเอาอัตราการได้งานทำ (Emploability) ตรงสาย มีรายได้เป็นไปตามเกณฑ์หรือไม่
- ทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ ตามสไลด์ด้านบนนี้นำเสนอโดย เครือข่ายความร่วมมือเพื่อทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ ของสหรัฐอเมริกา (อ่านรายละเอียดที่นี่ เขียนดีมาก)
- World Economic Forum กำหนดทักษะในศตวรรษที่ 21 ไว้ ๑๖ ประการ โดยแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม ได้แก่
- ทักษะพื้นฐานที่ทุกคนต้องมี (Foundational Literacies) มี ๖ ประการ ได้แก่
- อ่านออกเขียนได้ (Literacy)
- คิดเลขเป็น (Numeracy)
- มีทักษะทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Literacy)
- มีทักษะทางการเงิน (Financial Litercy)
- รู้เรื่องวัฒนธรรมและความเป็นพลเมือง (Cultural and Civic Literacy)
- สมรรถนะ (Copetencies)
- การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (critical thinking) และการแก้ปัญหา (Problem-solving)
- ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)
- การสื่อสาร (Communication)
- ทักษะความร่วมมือ (Callboration)
- คุณลักษณะของผู้มีคุณภาพ (Character Qulities)
- อยากรู้อยากเห็น (Curiousity)
- การริเริ่มสิ่งใหม่ (Initiative)
- ความมุ่งมั่นพยายามเพื่อบรรลุเป้าหมาย (Persistance/grit)
- ปรับตัวได้ดี (Adaptability)
- มีภาวะผู้นำ (Leadership)
- Social and Cultural Awareness)
- ลิงค์นี้เขียนดีครับ
- ทักษะ 4Cs ในศตวรรษที่ ๒๑ มีองค์ประกอบหรือคุณลักษณะของแต่ละด้านดังนี้ (ผู้เขียนแปลเอง)
- Critical Thinking
- ค้นพบสารสนเทศ (Information Discovery)
- ตีความและวิเคราะห์(Interpatition & Analysis)
- การคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล (Resoning)
- สังเคราะห์และประมวลข้อโต้แย้ง (Constructing Arguments)
- แก้ปัญหา (Problem Solving)
- คิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking)
- Communication
- ฟังอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective Listening)
- นำเสนอ (Delivering Oral Presentation)
- สื่อสารโดยใช้สื่อดิจิตอล (Communicat using Digital Media)
- สนทนาและอภิปราย (Engaging in Conversation & Discussion)
- สื่อสารได้แม้สิ่งแวดล้อมจะแตกต่าง หลากหลาย (Communicating in Diverse Environments)
- Callaboration
- ริเริ่ม และเป็นผู้นำ (Leadership & Initiative)
- ร่วมมือ (Cooperation)
- ยืดหยุ่น ปรับตัว(Flexibility)
- รับผิดชอบและสร้างผลงาน (Responsibility & Productivity)
- ความร่วมมือผ่านทางดิจิตอล (Colaborate Using Digital Media)
- สำนึกรับผิดชอบ และสะท้อนป้อนกลับที่เป็นประโยชน์ (Responsiveness & Constructive Feedback)
- Creativity
- เกิดไอเดียใหม่ๆ (Idea Generation)
- นำไอเดียมาออกแบบใหม่หรือต่อยอด (Idea Design and Retrement)
- ไม่ติดกรอบและกล้าที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ (Openess & Courage to Explor)
- ทำอย่างอย่างสร้างสรรค์กับผู้อื่นๆ (Work Creativity with others)
- สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ หรือสร้างนวัตกรรม (Creative production & Innovation)
- World Economic Forum เสนอว่า ทักษะที่จำเป็น ๑๐ ข้อ เรียงตามลำดับความสำคัญ ได้แก่
- การแก้ปัญหาที่ซับซ้อน
- การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
- ความคิดสร้างสรรค์
- การบริหารจัดการคน
- การทำงานร่วมกับคนอื่น
- ความฉลาดทางอารมณ์
- การตัดสินใจ
- การบริการ
- ความยืดหยุ่นด้านการคิด
- สไลด์นี้บอกว่า ๑๐ ทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานในปี 2020 (ผู้เขียนแปลเอง)
- ไหวพริบปฏิภาณ (Sense making) สามารถเข้าใจหรือตรวจสอบความหมายจริงๆ นัยยะ ของสิ่งต่างๆ ได้ รู้ถึงความสำคัญของสิ่งที่กำลังเผชิญอยู่
- ความฉลาดทางสังคม (Social Intelligence) สามารถเชื่อมโยงกับผู้คน เข้าใจและตอบสนองต่อสังคม
- การคิดใหม่ๆ และการปรับตัวกับสิ่งใหม่ๆ (Novel and Adaptive Thinking)
- มีสมรรถนะที่หลากหลายวัฒนธรรม (cross cultural competancy)
- คิดเชิงคอมพิวเตอร์ได้ (Computational Thinking)
- การรู้สื่อใหม่ๆ (New Media Literacy)
- เข้าใจวินัยร่วม (Trans Disciplinary)
- การออกแบบกระบวนทัศน์ (Design Minset)
- การจัดการภาระด้านพุทธพิสัย (Cognetive Load Management)
- ความร่วมมือเสมือน (Virtual collaboration)
- ศตวรรษที่ ๒๑ ของคนในศตวรรษที่ ๒๑ แบ่งเป็น ๓ ส่วน ตามการนำเสนอของ Katz (Katz's three-skill approach) ได้เป็น
- Conceptual Skills ทักษะเชิงหลักการ
- Technical Skills ทักษะการทำงาน
- Human Skills ทักษะเกี่ยวกับคน
ในการจัดการหรือดำเนินชีวิตเพื่อเอาตัวรอด จำเป็นต้องมี เก่งงาน (ทักษะการทำงานสูง) และเก่งคน (ทักษะเกี่ยวกับคนสูง)
ในการจัดการขั้นกลาง ต้องใช้ทักษะเชิงหลักการและทักษะการทำงานในระดับปานกลาง แต่ต้องเก่งคน
ในการจัดการขั้นสูงสุด ไม่ต้องเก่งงานมาก แต่ต้องมีทักษะเชิงหลักการสูง และต้องเก่งคน
- Technical Skill ก็คือ Hard Skill
- Human Skill ก็คือ Solf Skill
- ทักษะเรื่องเก่งคน สำคัญมาก ต้องสูงในทุกระดับการจัดการ
- รายวิชาศึกษาทั่วไป สำคัญมากในบริบทว่า ต้องสร้าง Soft Skill ให้ผู้เรียน
- เมื่อเปรียบเทียบความสำคัญของทักษะด้านต่างๆ ที่สร้างความสำเร็จในการทำงาน ซึ่งจำเป็นต้องมี สำหรับการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม พบว่า Social Skills หรือทักษะทางสังคม มีความสำคัญถึงร้อยละ ๔๔ ทักษะการจัดการทรัพยากร สำคัญร้อยละ ๒๓
- ทักษะทางสังคม ที่สำคัญ ได้แก่ การกำหนดบทบาทของตนเองต่อผู้อื่น การควบคุมอารมณ์ การเจรจาต่อรอง การโน้มน้าวชักชวน การบริการ การสอนหรือฝึกผู้อื่น
- ทักษะการจัดการ ที่สำคัญ ได้แก่ การบริหารจัดการทรัยากร งบประมาณ วัตถุดิบ คน และเวลา
- จุดสำคัญที่สุดของการศึกษาที่เอาผลลัพธ์เป็นตัวตั้งคือ เป้าหมายต้องชัดเจน ผลลัพธ์ต้องชัดเจน
- เมื่อเป้าหมายชัดแล้ว ค่อยเริ่มออกบบวิธีการสอน วิธีการเรียนรู้ว่า จะทำอย่างไรให้บรรลุเป้าหมายนั้น
- การศึกษาแบบ OBE ต้องตั้งเป้าสูงที่สุด ที่ผู้เรียนที่พร้อมที่สุดจะไปถึง ไม่ใช่ตั้งเป้ากลาง ๆ
- ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ จะต้องหลากหลายสอดคล้องกับธรรมชาติและความพร้อมที่แตกต่างกันของผู้เรียน
- ต้องเน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือทำ สร้างสรรค์ผลงาน พัฒนาความสามารถส่วนบุคคล และสะท้อนสมรรถนะที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ โดยใช้เนื้อหา สารสนเทศ ไอเดีย และเครื่องมือ ที่นำไปสู่ผลสำเร็จ
- เมื่อผลลัพธ์ที่ต้องการจะให้เกิดกับผู้เรียนชัดเจนแล้ว ค่อยออกแบบหลักสูตร วิธีสอน และกระบวนการประเมินผล
- ผลลัพธ์ชัดเจนหมายถึง สามารถกำหนดชัดเลยว่า ต้องการให้ผู้เรียน "รู้อะไร" "ทำอะไรได้"
- ทำไมต้องเปลี่ยนมาสอนแบบ OBE คำตอบคือ
- เพราะสิ่งที่ผู้เรียนทำได้นั้นชัดเจน ตรวจวัดได้ ได้รับการยอมรับจากผู้คน
- ความสามารถพื้นฐานของบุคคลเกิดขึ้นชัดเจน
- เพราะเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางจริง ๆ
- คำสำคัญของการจัดการเรียรู้แบบ OBE ได้แก่
- มุ่งความสนใจไปที่ ผลที่เกิดกับผู้เรียน เรียกว่า ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (Expected Learning Outcome; ELOs)
- ELOs จะต้องถูกสร้างขึ้นก่อนในการออกแบบหลักสูตร และจะต้องชัดเจน
- เป็นการออกแบบหลักสูตรแบบย้อนกลับ (ฺBackward design)
- ผู้เรียนคือจุดศูนย์กลางของการจัดการเรียนรู้แบบ OBE
- สิ่งที่สำคัญมากในการจัดการเรียนรู้แบบ OBE คือ ความสอดคล้องสอดรับกัน (contruction alignment) ระหว่างผลลัพธ์ทางการเรียน เนื้อหาและกระบวนการ กิจกรรมการเรียนรู้ และกระบวนการประเมินผล
- คำถามสำหรับอาจารย์ ในการจัดการเรียนการสอนแบบ OBE คือ
- ท่านอยากจะให้ผู้เรียนรู้อะไร
- ทำไมท่านจึงต้องการให้เรียนรู้เรื่องนั้น
- วิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องนั้น ทำอย่างไร
- ท่านจะรู้ได้อย่างไรว่า ผู้เรียนได้เรียนรู้แล้ว
- สามข้อนี้ต้องสัมพันธ์กัน ได้แก่
- Objective หรือ Learning Outcome
- Activity Instructional strategies
- Assessment Method
- หรือสรุปคำถามในเชิงรวบยอด ดังนี้
- ผลลัพธ์การเรียนรู้คืออะไร
- ขณะนี้ผู้เรียนมีคุณลักษณ์อย่างไร ห่างจากเป้าหมายการเรียนรู้มากหรือไม่ มีช่องว่างเท่าใด
- ทำอย่างไรจะทำให้ช่วงว่างนั้นลดลง
- จะรู้ได้อย่างไรว่า ช่องว่างนั้นลดลง
- การเรียนการสอนจะเปลี่ยนไปจากแบบด lecture based ที่ focus on teaching ไปเป็น focus on learning ดังสไลด์ด้านล่าง
- ดังนั้นวิธีการ สำหรับอาจารย์จะเปลี่ยนไป ดังสไลด์ด้านบนนี้
- วิธีคิดเพื่อกำหนด OBE เริ่มจาก
- คิดถึง สมรรถนะแกนก่อน ซึ่งประกอบด้วย สมรรถนะทั่วไป (Generic Competencies) และ สมรรถนะหลัก (Domain-Specific Competencies)
- คิดถึงว่า หากจะเกิดความสามารถนั้นๆ ต้องเรียนรู้อะไร ความรู้อะไร ทักษะอะไร เจคติอะไร
- แล้วคิดว่าจะเรียนอย่างไร โดยคิดถึง กิจกรรมการเรียนรู้ วิธีสอน สื่อและทรัพยากรการเรียนรู้ที่ต้องมี
- คิดว่าจะรู้ได้อย่างไรว่าสมรรถนะนั้นเกิดแล้ว โดยให้คิดวิธีวัดผล ประเมินผล ให้ครอบคลุมทั้ง การประเมินกระบวนการ (Formative Assessment) และการประเมินผลตามเกณฑ์ (Summative Assessment)
- การออกแบบ ILO ต้องย้อนกลับจากใหญ่ไปเล็ก ของประเทศ -> ของมหาวิทยาลัย ->ของหลักสูตร->ของวิชา->ของหน่วยการเรียนรู้ ->ของบทเรียน
- แต่ตอนทำต้องทำจากเล็กไปใหญ่
- หากวิเคราะห์ความต้องการสำหรับการกำหนด ELO จะเรียงลำดับความสำคัญดังนี้ เริ่มจาก ความต้องการของผู้เรียน ของผู้ใช้บัณฑิต หรือของอาชีพ ของรัฐบาล ของสังคม ของภาควิชา ของคณะ ของมหาวิทยาลัย
- แนวทางในการสร้าง ELOs ต้องคำนึงถึงหลายสิ่งอย่าง ตามสไลด์
- การเรียนรู้จะลู่เข้าไปสู่ Lifelong Learning (LLL) ซึ่งได้แก่
- ทักษะการเรียนรู้และการแก้ปัญหา
- การปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนและความร่วมมือกันทำงาน
- การเป็นผู้ประกอบการ ... การสร้างอาชีพของตนเอง
- การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยี และการใช้สื่อต่างๆ
- ความเป็นพลเมือง
- ความยั่งยืน
สรุป
สิ่งที่เรากำลังทำอยู่ตามกรอบ TQF ล้วนแล้วแต่เป็นกลไกที่มุ่งให้สอนแบบ OBE แต่ต้องเข้าใจ และลงมือทำ
- มคอ.๑ คือ ELO ของอาชีพ สาขา
- มคอ.๒ คือ ELO ของหลักสูตร
- มคอ.๓ ๔ คือ ELO วิธีการสอน วิธีการประเมิน แผนการสอน แผนการประเมิน ของรายวิชา
- มคอ.๕ ๖ คือ รายงานผลการประเมิน
- มคอ. ๗ คือรายงาน มคอ.๒
- มคอ.๘ (มีหรือเปล่า?) รายงานผล มคอ.๑
จบครับ ขอบพระคุณ ผศ.ดร.จินดาพร จำรัสเลิศลักษณ์ ที่ท่านไม่เคยหวงความรู้ ที่จะแบ่งปันเป็นวิิทยาทานเลย แม้แต่น้อย ... ขออนุโมทนาด้วยครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น