วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

นิเทศนิสิตฝึกงาน ฟิสิกส์ ประจำปี ๒๕๖๐ (๑)

๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๑  ผมและ อ.ไพรัตน์  มีภารกิจสำคัญ ออกนิเทศนิสิตฝึกงาน ตามหลักสูตร วท.บ. (ฟิสิกส์) ของ มมส.  ผ AAR ว่า เรามาถูกทาง  ตรงกับความต้องการของสังคมอย่างยิ่ง นิสิตสะท้อนถึงการ "เติบโต" ภายในตนเอง  มาก .... อย่างไรก็ดี ก็มีข้อมูลบางอย่างที่อยากฝากถึงน้องๆ รุ่นต่อไป  จึงขอนำมาบันทึกไว้ตรงนี้ครับ

วัตถุุประสงค์ของการนิเทศ

เป้าหมายในการนิเทศนิสิตฝึกงาน สำคัญๆ คือ การติดตาม ดูแล และเรียนรู้ เพื่อนำเอาองค์ความรู้หรือปัญหาอุปสรรค ที่เกิดขึ้นทั้งกับงานและการดำเนินชีวิตการฝึกงานของตัวนิสิต  ของพี่เลี้ยงพี่ๆในที่ฝึกงาน และขององค์กรที่นิสิตไปฝึกงาน มาเป็นบทเรียนสำคัญในการแก้ปัญหาและวางแผนพัฒนาทั้งแบบเฉพาะหน้าทันทีและแผนระยะยาว สำหรับน้องๆ นิสิต ที่จะไปฝึกงานต่อในปีถัดไป

กระบวนการนิเทศ

กระบวนการนิเทศ ใช้การติดต่อประสานงานอย่างเป็นทางการในระบบราชการ มีน้องๆ ธุรการของภาควิชาดำเนินการ ภายใต้การบริหารจัดการของอาจารย์ผู้ดูแล (ดร.วุฒิศาสตร์ โชคเกื้อ) ดังนั้นอาจารย์ที่มานิเทศจึงสบายพอควร ถึงเวลาก็ออกเดินทางทำหน้าที่ให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้เลย

วิธีการง่ายๆ ที่เราใช้คือการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructed Interview) กับนิสิตผู้ฝึกงาน และพี่เลี้ยงฝึกงาน กลุ่มละ ๑๕ นาที  และการเข้าเยี่ยมชมสถานที่ทำงานจริงของนิสิต  โดยมีอาจารย์ในสายนิเทศแต่ละสาย ๒ ท่าน   มีการกำหนดแบบบันทึกการนิเทศ (ดาวน์โหลดได้ที่นี่) เพื่อประกอบการสัมภาษณ์ และนำส่งต่อผู้รับผิดชอบเพื่อประมวลผลภาพรวมต่อไ​ป

ต่อไปนี้ เป็นประเด็นสำคัญๆ ที่ได้จากการสะท้อนการเรียนรู้จากการสัมภาษณ์


คนที่ ๑  น.ส.ชนิกานต์ ญาณผาด  ฝึกงานที่ โรงเรียนอนุกูลนารี จ.กาฬสินธุ์

สิ่งที่ได้ทำ

  • ซ่อมอุปกรณ์ เครื่องมือวัด ในห้องแลปฟิสิกส์  ได้แก่
    • แอมมิเตอร์ 
    • ดิจิตอล ซ่อมมี ๖ เครื่อง ซ่อม ๓ เครื่อง 
    • สายไฟต่อๆ 

  • จัดห้องแลปใหม่ จัดตู้แลปใหม่ 
  • เป็นผู้ช่วยแลปบอย 
  • กระตุ้นให้สอบโดยใช้การทดลอง ได้แก่  เครื่องเคาะกระดาษ 
  • ช่วยแลปเคมีด้วย 
  • ในบางโอกาส ได้ช่วยสอนแลปบ้าง 

สิ่งที่ประทับใจได้เรียนรู้ 
  • สามารถทำให้เกิดการเรียนการสอนจากการทดลอง  ซึ่งแต่ก่อนตอนสมัยที่ตนเองเป็นนักเรียน (ชนิกานต์ เป็นศิษย์เก่าที่ ร.ร.อนุกูลนารี) ยังไม่ได้ทำอย่างเข้มข้น 

คำแนะนำถึงน้องๆ
  • น้องๆ ต้องมีพื้นฐานด้านฟิสิกส์ให้แน่นมาก ๆ  สามารถอธิบายน้องๆ ได้  อธิบายภาพได้ 
  • ทักษะพื้นฐานที่จำเป็นด้านอิเล็คทรอนิคส์  เช่น การบัดกรี การต่อวงจร เป็นต้น 




  • ที่ ร.ร.อนุกูลนารี มีห้องปฏิบัติการฟิสิกส์แยกไว้ชัดเจนมาก 



  •  โต๊ะทำงาน (ฝึกงาน) ของชนิกานต์  (ดูเธอพอใจและภูมิใจมาก)



  •  อุปกรณ์ในการปฏิบัติการฟิสิกส์พื้นฐาน ที่ชนิกานต์ ซ่อมด้วยตนเองบางส่วน  ....  (เราต้องสอนให้นิสิตเราซ่อมเป็นครับ)


  • ที่นี่อุปกรณ์ครบพอสมควร ต่อการจัดการเรียนรู้สมัยใหม่ 

คนที่ ๒  น.ส.บุษบา บุญเรืองลือ  และ น.ส.สิริวรรณ อาจคำพัน  สำนักงานพลังงานจังหวัด กาฬสินธุ์   พี่เลี้ยง พี่จิตตศักดิ์ ภูศรีเมือง นักวิชาการพลังงานชำนาญการ 

(ตัวอักษรสีน้ำเงิน คือความเห็นจากพี่เลี้ยง คือคุณจิตตศักดิ์ ภูศรีเมือง ศิษย์เก่า มมส.เราเอง)

สิ่งที่ได้ทำ

  • ลงพื้นที่ไปเก็บข้อมูลเพื่อนำมาประกอบการทำแผนพัฒนาพลังงานของประเทศ 
  • ให้ศึกษาเรื่องแผนเกี่ยวกับพลังงาน  ดูความเชื่อมโยงแผนของประเทศกับแผนพลังงานของจังหวัด  แช่น แผนก๊าซ 
  • ให้ช่วยเตรียม ppt ในการนำเสนอ
  • ให้ช่วยโครงการลดพลังงานภาครัฐ  ซึ่งต้องรายงานข้อมูลทุกเดือน  นิสิตได้ช่วยติดตามเป็นรายวัน  โดยสลับกันทำงาน 
  • ครึ่งเดือนแรกศึกษาเรื่องแผน  ครึ่งเดือนถัดมาดูเรื่องลดใช้พลังงานภาครัฐฯ  
  • ศึกษางานตามระบบราชการ ซึ่งแตกต่างจากงานเอกชน 
  • ในการออกพื้นที่ ได้อธิบายถ่ายทอดความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับ พลังงานชีวมวล เตาพลังงาน ระบบพลังงานแสงอาทิตย์  ให้กลุ่มเป้าหมายฟัง 

สิ่งที่ประทับใจได้เรียนรู้
  • คนอีสาน  ดีที่อึด ทน 
  • ได้ใช้ความรู้ที่เรียนมา  เห็นความสำคัญของสิ่งที่เรียนมามากขึ้น   รู้มากขึ้นมาว่า จะต้องรู้อะไรเพิ่ม 
  • รู้ว่าความเชื่อมโยงของสิ่งที่เรียนกับงานที่ต้องใช้ 
  • ได้รู้จักสังคมของการทำงาน ได้รู้จักระบบราชการ  
  • ได้ฝึกพูด กล้าพูดมากขึ้น 

คำแนะนำถึงน้องๆ
  • เรื่องความตรงต่อเวลาใช้ได้  
  • แต่เรื่องความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น ใฝ่เรียนรู้ ยังน้อย  
  • ต้องทำงานเชิงรุก ต้อง "คิดต่อ" ไม่ใช่แค่ทำตามคำสั่ง ต้องคิดว่า ท่านมอบหมายอะไร ทำแล้วเจอปัญหาตรงนั้น สงสัยอะไร ได้เรียนรู้อะไร  
  • ประสบการณ์ไม่เยอะไม่เป็นไร  แต่ต้องเรียนรู้ ต้องเข้าใจ ไม่ "เฉีื่อย" ต้อง "กระตือรือร้น
  • เตรียมความรู้เกี่ยวกับเตาพลังงาน การออกแบบเตาพลังงานต่างๆ ให้แม่นๆ 
  • การพูดถ่ายทอด การอธิบาย 
คำบอกเล่าที่น่าประทับใจจากพี่เลี้ยง
  • เขาถามถึงว่า "มีรุ่นน้องนี้อีกไหม"
  • ภาพในสายตาของคนแม้จะมอกว่า เราจบจากสถาบันโนเนม ถูกมองว่าเราเล็กมาก แต่ตอนนี้ตัวท่านเองที่เป็นศิษย์เก่า ทำให้ภาพของเราต่อคนนอกตอนนี้ดีขึ้นมาก 
  • ตอนแรก จบใหม่ๆ  หางานยาก ต้องไปสมัครงานหลายที่ลำบาก  แต่พอเราได้โอกาสทำงานแล้ว เราก็สามารถที่จะทำให้เขารู้ว่า จบจากเราไม่ได้ขี้เหร่เลย  "หลักสูตรของเราไม่แพ้ที่ใด"  
ทักษะที่ควรจะพัฒนา
  • ความกล้า กล้าพูด กล้าแสดงออก 
  • ทักษะการนำเสนอ ทักษะการถ่ายทอด 
  • ทักษะในการพูดกับชุมชน 
  • ติดต่อประสานงานในชุมชน  
  • ทักษะในการจัดการและติดตาม



การนิเทศยังไม่จบครับ ยังเหลืออีก ๑ แห่ง ช่วงบ่าย  ... ขอมาสะท้อนการเรียนรู้รวมทีเดียวในบันทึกหน้า ครับ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น