วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ร่วมรับการประเมินหลักสูตร (มคอ.๗)

วันที่  ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๑ มีการประเมินหลักสูตรประจำปีการศึกษา  (ประเมิน มคอ.๗) ผมมาทำหน้าที่เป็นกรรมการประจำหลักสูตร ระหว่างเข้าร่วม ผมจะจับประเด็นๆ สำคัญ ๆ  ที่ท่านประธานผู้ประเมิน (ตัวแทน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)) ได้ให้คำแนะนำไว้  เพื่อประโยชน์ต่อการเรียนรู้ต่อไป

๑)  รูปแบบ ของ มคอ.๗
  • สกอ. กำหนดรูปแบบชัดเจน ว่าต้องจัดทำ มคอ.๗ อย่างไร  ต้องมีหน้าลายมือชื่อของใครบ้าง 
  • หลักสูตรที่เรากำลังรับการประเมิน ใช้เกณฑ์ประเมินของ สกอ. ปี พ.ศ. ใด?
  • หากหลักสูตรปัจจุบันปรับปรุงหลังปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้ใช้รูปแบบการทำ มคอ.๗ หากหลักสูตรยังไม่ยังไม่ครบวงรอบ ๕ ปี ในการปรับปรุง ยังไม่ได้ปรับปรุง  ให้ใช้รูปแบบ มคอ.๗ ตามเกณฑ์ สกอ. ปี ๒๕๔๘
  • รูปแบบใหม่ จะมีการเช็คลิสท์ว่า ผลงานในรอบ ๕ ปี มีกี่เรื่อง  
๒) หมวดที่ ๑ ของ มคอ.๗  ข้อมูลทั่วไป 
  • กรรมการประจำหลักสูตร ป.ตรี ต้อง ๕ คน  คุณสมบัติเบื้องต้นคือ ต้องเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย และมีผลงานเผยแพร่อย่างน้อย ๑ ผลงาน ภายใน ๕ ปี 
  • จำนวนกรรมการประจำหลักสูตรจะต้องครบถ้วน ๕ คน ตลอด ๕ ปี หากมีการย้ายเข้า-ออก ต้องมีการทำเรื่องขออนุมัตจากสภามหาวิทยาลัย 
  • เกณฑ์ใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๘  จะเรียกอาจารย์ "ผู้รับผิดชอบหลักสูตร" ที่เขียนไว้ใน มคอ.๒ ว่า "อาจารย์ประจำหลักสูตร" 
  • ผลงานของอาจารย์ประจำหลักสูตร 
    • การเผยแพร่ในที่ประชุม (Proceeding) ผลงานระดับชาติ ๐.๒ ระดับนานาชาติ ๐.๔ ....   ผมเห็นว่าเกณฑ์นี้ น่าจะใช้เฉพาะองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ ที่ไม่มีมิติของสังคมหรือวัฒนธรรมเกี่ยวข้อง   แต่หากเป็นสาขาด้านสังคมหรือมนุษย์ศาสตร์ ควรจะใช้เกณฑ์คะแนนระดับเดียวกันเลยคือ ๐.๔ ทั้งสองระดับ (อย่าเหมาเข่งแบบไม่มีเหตุผล ไม่มีคนอ่าน)
    • ผลงานที่นำมาใส่ไว้ใน มคอ.๗ ต้องเผยแพร่ภายในปีการศึกษาที่ขอรับการประเมิน  เช่น  ประเมินประจำปีการศึกษา ๒๕๖๐  ผลงานที่เผยแพร่หลังจากวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๙ เท่านั้นที่จะเป็นไปตามเกณฑ์ 
    • วารสารต้องอยู่ในฐานข้อมูล Scopus (1.0) หรือ TCI  (Thaiand Citation Index) (TCI กลุ่ม 1=0.8, TCI กลุ่ม 2 = 0.6)
  • ผลงานที่กรรมการประจำหลักสูตรมีชื่อซ้ำกัน จะสามารถนำมานับคะแนนได้เพียงครั้งเดียว
๓) หมวดที่ ๒ อาจารย์
  • ๒.๑) คุณภาพอาจารย์  ตัดสินด้วย ๓ องค์ประกอบ คือ ร้อยละอาจารย์ที่จบปริญญาเอก  ร้อยละอาจารย์ที่มีตำแหน่งวิชาการ  และผลงานวิชาการในวงรอบของอาจารย์   ... คิดเทียบเป็นคะแนนเต็ม ๕ คะแนน ....  หากจะเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยต่อไป ต้องยอมรับเดิมตามทางนี้ไป 
  • ๒.๒) รายงานผลการดำเนินงาน การบริหาร และพัฒนาอาจารย์   .... ฟังว่า ต้องการที่จะสร้างระบบและกลไกในการทำหน้าที่อาจารย์ในการพัฒนานิสิต หากสามารถเล่าเรื่องให้กรรมการเห็นชัดว่า มีการสร้างระบบอะไรเด็กดีขึ้นอย่างไร หากอาจารย์ท่านใหม่เข้ามา มีระบบให้ปฏิบัติตามและพัฒนาต่อไป   สกอ. กำหนดประเด็น (ในสมมติฐานของตน) ว่าระบบที่ดีต้องมี ๔ สิ่งต่อไปนี้ 
    • ระบบการรับและแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตร  .... คำแนะนำคือ ให้เขียนเป็นขั้นตอนและโฟลชาร์ท (Flochart)  เพื่อผู้ที่จะมาทำงานต่อไปเข้าใจและปฏิบัติพัฒนาต่อเนื่องได้เลย 
    • ระบบบริหารอาจารย์ ... คือ การบริหารจัดการบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ในการบริหารหลักสูตร  มีการประชุม 
    • ระบบบริหารงานวิจัย ... คือ กระบวนการตั้งแต่ต้นจนจบในการ 
    • ระบบส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ ...  เป็นการส่งเสริมศักยภาพในการผลิตบัณฑิต ส่งเสริมศักยภาพของอาจารย์ หรือส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาชีพของอาจารย์ เช่น การส่งเสริมการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ โดยใช้ระบบพี่เลี้ยง  ฯลฯ
  • ๒.๓) รายงานผลการดำเนินงาน ผลที่เกิดกับอาจารย์  



เสียดายที่ไม่สามารถอยู่ร่วมได้ตลอดการประเมิน  จึงไม่สามารถจะนำเอาคอมเมนต์กรรมการแชร์  แต่หลังจากร่วมในภาคเช้า  เกิดแรงบันดาลใจจะสรุปตีความไว้ตรงนี้ว่า  สกอ. เขากำลังทำอะไรเพืี่ออะไรกันแน่ (ตามความเข้าใจของตนเอง)

ประเด็นทั้งหมดที่อยู่ในรูปแบบ มคอ.๗ ที่ สกอ.กำหนด (๒๕๔๔) มีดังนี้ครับ


  • หมวดที่ ๑ ข้อมูลทั่วไป  สกอ.กำหนดไว้  หากไม่เป็นตามนั้น หลักสูตรไม่ผ่านการรับรองตั้งแต่แรก 
  • หมวดที่ ๒ อาจารย์ 
    • ๒.๑) คุณภาพอาจารย์   วัดด้วยเกณฑ์ ๓ ข้อ ดังกล่าวไปแล้วคือ  วุฒิการศึกษา ตำแหน่งวิชาการ และผลงานตีพิมพ์  .... (ไม่มีเกณฑ์ด้านคุณธรรมอยู่ในนั้น)
    • ๒.๒) การบริหารและพัฒนาอาจารย์  เช็คว่า  รับอาจารย์ประจำฯ ยังไง  แบ่งหน้าที่กันบริหารหลักสูตรฯ อย่างไร บริหารการวิจัยอย่างไร ส่งเสริมหรือพัฒนาอาจารย์อย่างไร 
    • ๒.๓) รายงานผลที่เกิดกับอาจารย์ และความพึงพอใจของอาจารย์ 
  • หมวดที่ ๓ นิสิตและบัณฑิต 
    • ๓.๑) ระบบรับนิสิต 
    • ๓.๒) การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา 
    • ๓.๓) รายงานผลการดำเนินการส่งเสริมและพัฒนานิสิต
      • การควบคุมดูแลให้คำปรึกษา
      • ระบบพัฒนาศักยภาพนิสิตและการเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ ๒๑
        • กิจกรรมนอกห้องเรียน
        • กิจกรรมในห้องเรียน
    • ๓.๔) รายงานผลการประเมินคุณภาพบัณฑิตตามกรอบ TQF  เช็ค ความสำเร็จ ๕ ด้าน + ๑ ทักษะการจัดการเรียนรู้ 
    • ๓.๕) รายงานผลภาวการณ์ได้งานทำของบัณฑิต ....  ข้อนี้สำคัญที่สุด 
    • ๓.๖) รายงานผลที่เกิดกับนิสิต ได้แก่ การคงอยู่ การสำเร็จการศึกษา และความพึงพอใจ
  • หมวดที่ ๔ ข้อมูลสรุปรายวิชา  
    • ๔.๑) แสดงตารางผลการศึกษา (เกรด) ว่ามี A กี่คน B กี่คน
    • ๔.๒) มีวิชาใดมีผลการเรียนไม่ปกติหรือไม่ 
    • ๔.๓) รายวิชาที่สอนเนื้อหาไม่ครบ 
    • ๔.๔) รายวิชาที่มีการประเมินคุณภาพการสอน และปรับปรุงแผนการสอนจากผลการประเมิน
    • ๔.๕) ประสิทธิผลของกลยุทธ์การสอน 
    • ๔.๖) การปฐมนิเทศอาจารย์ใหม่
    • ๔.๗) กิจกรรมการพัฒนาวิชาชีพของอาจารย์ 
    • ๔.๘) การออกแบบหลักสูตรและสาระของรายวิชาในหลักสูตร 
    • ๔.๙) รายงานผลการวางระบบผู้สอนและการจัดการเรียนการสอน
    • ๔.๑๐) รายงานผลการดำเนินงาน การประเมินผู้เรียน 
    • ๔.๑๑) รายงานผลการดำเนินงาน ผลการดำเนินหลักสูตรตามกรอบ TQF
  • หมวดที่ ๕ การบริหารหลักสูตร
    • ๕.๑) การบริหารหลักสูตร 
    • ๕.๒) รายงานผล สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ 
  • หมวดที่ ๖ ข้อคิดเห็น
    • ๖.๑) ข้อคิดเห็นของกรรมการประเมินหลักสูตรเกี่ยวกับ คุณภาพ 
    • ๖.๒) สรุปการประเมินหลักสูตรจากผู้สำเร็จการศึกษา
    • ๖.๓) สรุปการประเมินหลักสูตรจากผู้เกี่ยวข้อง  (ผู้ใช้บัณฑิต)
  • หมวดที่ ๗ การเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อหลักสูตร 
    • ๗.๑) การเปลี่ยนแปลงภายใน
    • ๗.๒) การเปลี่ยนแปลงภายนอก
  • หมวดที่ ๘ แผนการดำเนินงานเพื่อพัฒนาหลักสูตร
    • ๘.๑) บันทึกแผนปฏิบัติการประจำปี
    • ๘.๒) ความก้าวหน้าของการดำเนินงานตามแผนและข้อเสนอแนะในการพัฒนาหลักสูตร 
ข้อสังเกตเชิงวิพากษ์

เพราะไม่เคยศึกษาละเอียดและลงมือเขียน มคอ.๗ ด้วยตนเอง (เพราะไม่เคยเป็นประธานหลักสูตร)  จึงมีหลายประเด็นที่เพิ่งเห็นและเข้าใจความเชื่อมโยงทางเจตนาของ สกอ. ต่อ มคอ.๒ มคอ.๓ และ มคอ.๗  อย่างไรก็ดี ก็มีข้อคิดเห็นเชิงวิพากษ์ ดังนี้  
  • ระบบการผลิตบัณฑิตแบบ OBE ที่กำลังรณรงค์กัน (ผมเขียนไว้ที่นี่) บอกว่า สิ่งที่เป็นเป้าหมายของการผลิตบัณฑิตคือการได้งานทำ  แต่ในเกณฑ์ของ สกอ. มคอ.๗ เรื่องนี้เป็นเพียง ข้อท้ายๆ ในหมวดที่ ๓ 
  • สิ่งที่เน้นใน มคอ.๓ คือ Learning Outcome ทั้ง ๕ ด้าน ไม่สอนคล้องกับการกำหนด "คุณภาพ" ของอาจารย์  ขาดด้าน "คุณธรรม" ไป ... คงจะมองว่ามีอยู่แล้วในจรรยาบรรณอาจารย์ 
  • กรรมการประเมิน มคอ.๗ มีพลังขนาดที่สามารถระดับกำหนดทิศทางหลักสูตรได้เลย เพราะ ข้อสุดท้าย กำหนดไว้ชัดว่า หากแนะนำอะไรไว้ ต้องให้ทำตาม ไม่ทำตามจะเสียคะแนน  ดังนั้น  กรรมการผู้ประเมินต้องเป็นปราชญ์ผู้ชี้ทางในสาขาที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ... 
  • การประเมินแบบนี้ ไม่น่าจะเรียกได้ว่า การประเมินเพื่อพัฒนา เพราะทุกประเด็นต้องตัดสินตอนท้ายให้กลายเป็นคะแนนได้-ตก ตามเกณฑ์ของสกอ.  ไม่ได้ปรับเมินพัฒนาการหรือลักษณะของการปรับตัว
โดยภาพรวม  การประเมินแบบนี้อาจจะหายไปเร็วๆ นี้  เพราะจะมีผู้มาเรียนก็เฉพาะหลักสูตรที่จบไปมีงานทำเท่านั้น 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น