วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

นิเทศนิสิตฝึกสอน_๐๑: โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร

วันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๑  ผมไปทำหน้าที่บทบาทอาจารย์นิเทศก์การฝึกประสบการณ์สอน ในรายวิชา ๐๕๐๖๕๐๑ การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ๑ (Intensive ๑) ของนิสิต ๒ คน ณ โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์

ผู้เขียน ต้องการบันทึกข้อสะท้อนกลับ (Feedback) ของตนเอง จากมุมมองของผู้ไปสังเกต เพื่อเป็นประโยชน์ให้นิสิตผู้ฝึกสอนได้นำไปปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของตนเอง และเผื่อว่า เพื่อนอาจารย์

ศูนย์ฝึกและพัฒนาประสบการณ์วิชีพครู ได้กำหนดคู่มือและเกณฑ์ในการประเมินเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามประเด็นต่างๆ อย่างชัดเจน   ผมประเมินและสะท้อนป้อนกลับดัวยวาจากับนิสิตไปทีละข้อ ทีละประเด็นๆ  และสรุปเป็นข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ดังนี้

คนที่ ๑




จุดเด่น
  • เป็นการสอนที่นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ เป็นการเรียนรู้จากการลงมือทำ (Learning by Doing) ทำให้นักเรียนได้ฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นหัวใจของการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 
  • สอนด้วยการตั้งคำถาม   นิสิตคนที่ ๑ นี้ ใช้การตั้งถามสลับกับการเฉลยคำตอบ โดยไม่ได้มอบหมายให้เป็นภาระว่านักเรียนต้องตอบออกมาก ....  ทุกครั้งที่ตั้งคำถามนิสิตจะได้มีส่วนร่วม (ในใจ) ทันที 
  • มีการจัดการเรียนรู้บางช่วงด้วยกระบวนการที่นี่แบบซ้ำๆ ทวนทุกๆ ครั้ง จนผู้เรียนเกิดวัฒนธรรมที่ดีในการเรียนรู้  เช่น ช่วงหนึ่งที่นิสิตถามว่า "ก่อนเรียนเป็นช่วงอะไร?" .....  นักเรียนตอบว่า "ช่วงนักเรียนรู้อะไรบ้าง"  เพื่อทบทวนความรู้เดิม ก่อนจะเพิ่มความรู้ใหม่
  • การสอนเป็นการสอนแบบ "อุปนัย" ที่เน้นให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ สังเกต และหาคำตอบด้วยตนเอง ภายใต้การ "นำ" ของผู้สอน   ผู้สอนเริ่มเปลี่ยนบทบาทจากสอนไปเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้มากขึ้น 
  • เสียงดัง ฟังชัด ดีมาก 





จุดที่ควรพัฒนา
  • ควรมีการสร้างเงื่อนไข (ทั้งเชิงบวกและเชิงควบคุม) กับผู้เรียนทุกๆ ก่อนเริ่มกระบวนการเรียนรู้ โดยเฉพาะเงื่อนไขด้านความปลอดภัยหรือข้อควรระวังเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ เพื่อป้องกันอันตรายและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น 
  • ควรออกแบบกิจกรรมหรือขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ลองผิดลองถูกด้วยตนเอง (ภายใต้เงื่อนไขตามข้อแรก) เพื่อเอื้อให้ผู้เรียนได้ค้นหาคำตอบ (ความรู้) ด้วยตนเอง  ลดกาารบรรยาย หรือสั่งกายให้ทำตามลง ... อาจต้องออกแบบกิจกรรมให้เหมาะสมกับศักยภาพของผู้เรียน ไม่ยากหรือซับซ้อนเกินไป แต่ต้องท้าทายความสามารถ 
  • เป้าหมายที่สำคัญที่สุดเสมอสำหรับการสอนวิทยาศาสตร์ คือ  การฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และวิธีการทางวิชาศาสตร์ให้ผู้เรียน  ดังนั้น การสอนวิทยาศาสตร์ต้องเน้นกระบวนการมากกว่าเนื้อหาเสมอ 
  • ควรใช้กระบวนการกลุ่ม เมื่อมอบงานกลุ่มเสมอ  เพื่อเป็นการควบคุมห้องเรียนแบบไม่ให้ผู้เรียนรู้ตัว   ครูโดยทั่วไปมักใช้วิธีการเชิงควบคุม (โดยตรง) กับผู้เรียน เช่น  ดุ ตะคอก ตะหวาด ทำโทษ เป็นต้น  ครูส่วนหนึ่งใช้เทคนิคการเปลี่ยนอารมณ์ คือใช้วิธีเบี่ยงเบนความสนใจผู้เรียน เช่น สั่งให้ปรบมือ ให้นับเลข ฯลฯ   ครูจำนวนไม่มากที่ใช้กลยุทธ์ที่แยบยลจนนักเรียนไม่รู้ตัว  กระบวนการกลุ่ ม เป็นหนึ่งในกลยุทธ์นี้ เช่น ในการมอบหมายงานกลุ่ม ให้เพิ่มเงื่อนไขเอื้อให้ผู้เรียนมีทุกคนมีบทบาทหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ  และมีความสำคัญๆ พอๆ กัน  เป็นต้น 
  • ในการทำการทดลองนั้น ไม่จำเป็นว่า นักเรียนทุกกลุ่มจะต้องทำงานสำเร็จเหมือนกันหมดในครั้งแรก  ต้องกันเวลาให้แต่ละกลุ่มได้สะท้อนการเรียนรู้ (Learning Reflection) ของตนเอง และสะท้อนกระบวนการทำงานของกลุ่ม  เพื่อให้เกิดพัฒนาการงานกลุ่มดีขึ้นเรื่อยๆ 



คนที่ ๒


จุดเด่น

  • บุคลิกภาพที่สุขุม นิ่ง พูดจามีจังหวะจะโคน ไม่รน ไม่ร้อน ควบคุมอารมณ์ได้ดี
  • เจคติต่อการทำนหน้าที่ครูดีมาก ... สัมผัสถึงความภาคภูมิใจที่จะได้เป็นครู
  • การสื่อสารด้วยน้ำเสียงที่ชัดเจน เป็นธรรมชาติ 
  • ห้องเรียนพร้อม มีเครื่องปรับอากาศ 



จุดที่ควรพัฒนา
  • การจัดการเวลาในการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ โดยให้ความสำคัญให้สอดคล้องกับศักยภาพและความสนใจของผู้เรียน 
  • จัดกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับทักษะและความรู้เดิมของผู้เรียน 
  • สร้างบรรยายกาศให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างทั่วถึง ควรใช้กระบวนการกลุ่ม ดังได้แนะนำไปแล้วกับคนที่ ๑
  • ควรจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยให้มากขึ้น 
  • ในการเขียนบอกคำเฉพาะในฟิสิกส์ ควรวงเล็บภาษาอังกฤษเสมอ 
  • ในการเขียนอธิบายหรือแสดงวิธีคำนวณในสมการฟิสิกส์   ให้เขียนหน่วยด้วยเสมอ
  • ควรมีการทบทวนความรู้เดิมที่เกี่ยวข้องในหน่วย ให้ผู้เรียนได้เห็นภาพรวมด้วยเสมอ 
  • ต้องจัดเวลาให้มีการสะท้อนการเรียนรู้  
  • ฯลฯ 




การไปนิเทศครั้งถัดไป จะนำเอาประเด็นเหล่านี้ไปถามว่า มีความเห็นอย่างไร หรือได้นำไปพัฒนาปรับปรุงอย่างไรหรือไม่ครับ 

สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณคุณครูพี่เลี้ยงทั้งสองท่านครับ ที่ช่วยดูแลและสอนนิสิตที่มาฝึกประสบการณ์อย่างดีเยี่ยม  ขอขอบพระคุณครับ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น