คนที่ ๑
จุดเด่น
- นิสิตใช้เลือกใช้สื่อที่น่าสนใจมาก มีทั้งคลิปวีดีโอการ์ตูน ชุดทำโมเดลจากวัสดุง่ายๆ เช่น จานกระดาษและดินน้ำมัน
- การเตรียมตัวที่ดี และท่าทีเอาจริงเอาจัง ทำให้เห็นถึงความตั้งใจและใส่ใจในการสอนของตนเองอย่างมาก
- การควบคุมอารมณ์ ไม่แสดงอาการฉุนเฉียวใดๆ ไม่ตะคอก ตวาด หรือตะโกน ทำให้ดูแล้วมีบุคลิกภาพดี
จุดที่ควรพัฒนา
- สร้างเงื่อนไขอย่างมีส่วนร่วม สำหรับทุกคนในการเรียนรู้ น่าจะช่วยส่งเสริมให้ได้รับความร่วมมือในกิจกรรมการเรียนรู้มากขึ้น
- เมื่อใดที่แบ่งกลุ่มกันทำงาน หากนักเรียนยังไม่มีทักษะในการทำงานเป็นทีม จะต้องใช้กระบวนการกลุ่ม มอบบทบาทหน้าที่หรือเงื่อนไขให้ทุกคนได้มีหน้าที่เสมอ ให้สังเกตว่า หากนักเรียนยังเล่นกันหรือคุยกันนอกเรื่อง สันนิษฐานไว้เบื้องต้นว่า เงื่อนไขให้ทำงานกลุ่มอาจยังไม่เหมาะสม ให้สังเกตและค้นหาปรับจูนเงื่อนไขให้เหมาะสมในครั้งถัดไป
- ยกตัวอย่างเชื่อมโยงเนื้อหา ที่คิดว่าจะสามารถทำให้นักเรียนเห็นประโยชน์ของการเรียนรู้เรื่องนั้น ๆ ... ฝึกยกตัวอย่างเสมอ เปรียบเทียบอุปมา อุปมัย ให้เก่ง ... นี่คือวิธีสอนที่ได้ผลมาก โดยเฉพาะการเปรียบเทียบองค์ความรู้ใหม่ให้ใกล้เคียงกับองค์ความรู้เดิม
- จัดให้มีขั้นตอน (กระบวนการ) สะท้อนการเรียนรู้ (Learning Reflection) เสมอ ด้วยวิธีการต่างๆ
- "การเก็บนักเรียนรายบุคคล" มีเทคนิคหลากหลายมากมายในการดึงความสนใจ สร้างความสนใจ หรือแม้แต่ให้สนใจโดยไม่ให้รู้ตัว น่าจะแบ่งเป็น ๓ ประเภท ได้แก่
- กิจกรรมเชิงควบคุมหรืออาจเรียกว่าเชิงลบ เช่น การตวาด คาดโทษ โกรธ ฯลฯ
- กิจกรรมกระตุ้นความสนใจให้เปลี่ยนอารมณ์มาสนใจ เช่น ปรบมือ ลุงขึ้นยืน หลับตา นั่งสมาธิ ฯลฯ
- กิจกรรมเชิงกลยุทธ์ เป็นการสร้างเงื่อนไข สิ่งแวดล้อม หรือสถานการณ์ที่ทำให้ผู้เรียนสนใจและเกิดความต้องการจะเรียนรู้หรือมีส่วนร่วม ซึ่งรวมถึงการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่แยบคายด้วย
จุดเด่น
- ความนอบน้อมถ่อมตน คือคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์ของคนไทย รักษาบุคลิกภาพที่น้อบน้อมถ่อมตนที่แสดงออกทั้งทางกายและการพูดจาต่อไป
- "ความนิ่ง" สุขุม และการควบคุมอารมณ์ที่ดี เป็นคุณสมบัติเด่นอีกข้อหนึ่ง
จุดที่ควรพัฒนา
- สถานการณ์ห้องเรียนที่มีเสียงรบกวน จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องหาทางแก้ไขหรือจัดการโดยด่วน การหาไมโครโฟนเคลื่อนที่ การพูดให้เสียงดังขึ้น หรือการทำให้เสียงภายในห้องและนอกให้เบาลง ... ต้องหาทางสักวิธี แม้แต่ต้องติดต่อทางโรงเรียนผ่านการแจ้งคุณครูพี่เลี้ยง
- ในสถานการณ์ห้องเรียนที่ร้อน อบอ้าว ไม่น่าเรียนบางช่วงบางเวลา อาจออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน เช่น มาเรียนในบริเวณม้าหินหน้าอาคารที่ค่อนข้างร่มรื่น .... แต่ต้องหาไมค์ให้เสียงดังเพียงพอ พอที่นักเรียนจะได้ยินทุกคน
- ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้เป็นเชิง "อุปนัย" มากขึ้น
- ในสถานการณ์ที่พยายามแล้ว แต่การจัดบรรยายกาศการเรียนรู้ในชั้นเรียนยังไม่น่าเรียน อาจใช้วิธีการ Flip Classroom (ห้องเรียนกลับทาง) คือ ทำคลิปวีดีโอหรือสื่อให้นักเรียนไปเรียนที่บ้าน แล้วให้กลับมาร่วมกันทำการบ้านที่โรงเรียน ในสถานการณ์ที่ได้ไปพบในวันนิเทศ วิธีีนี้เหมาะสมที่สุด เนื่องจาก นิสิตทุกคนมีโทรศัพท์มือถือ และในบริเวณห้องเรียน มีสัญญาณอินเตอร์เน็ตทั่วถึง
- แนะนำให้สอนโดยใช้ Applications ในมือถือ เนื่องจากความพร้อมของนักเรียนและอินเตอร์เน็ต
- วงเล็บภาษาอังกฤษเสมอเมื่อเขียนคำเฉพาะทางฟิสิกส์
- เชื่อมโยงชีวิตจริงกับการเรียนการสอนให้มากขึ้น
- ทบทวนความรู้เดิมในหน่วยเดียวกัน (ที่เกี่ยวข้อง) ให้นักเรียนเห็นภาพรวมความเชื่อมโยงขององค์ความรู้เสมอ
- หัวใจสำคัญของการสอนวิทยาศาสตร์คือ ให้ระลึกเสมอว่า เรากำลังฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของผู้เรียน โดยการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น