ผู้ร่วมเสวนาวันที่ ๒๕ มี อ.จักรพันธ์ จากจุฬาฯ อ.ปริญญ เทวานฤมิตรกุล จาก ม.ธรรมศาสตร์ อธิการพรชัย จาก ม.สยาม และ อ.เอกชัย จาก ม.เชียงใหม่ ผมนั่งฟังอย่างตั้งใจ พร้อมๆ กับ จับประเด็น และเดินไปขอสไลด์ มาประกอบ เพื่อนำมาเผยแพร่ให้ท่านที่สุดใจ (ไม่ต้องสีค่ารถค่าที่พักมาฟัง)
อ.ปริญญา เล่าเรื่องประกอบภาพ
- ISCN 2018 หัวข้อหลักของเขาคือ Acting to purpose
- หลังจากเขาประชุม 2016
- ปัญหาของเราคือ ไปดูงานกันมาก ส่งคนไปเรียนก็มาก แต่เรานำมาทำในเมืองไทยได้น้อย
- อุปสรรคคือคน คน ๓ กลุ่ม
- กลุ่ม ๑ ไม่มีทั้ง purpose แต่ ไม่มี Acting
- กลุ่ม ๒ มี purpose แต่ไม่มี Acting
- กลุ่ม ๓ มี Acting แต่ไม่มี Purpose
- ในประเทศไทย ม.ธรรมศาสตร์ทำแล้วตั้งแต่ 2014 เป็นแห่งแรก
- เป้าหมายของการจัดงานคือ ต้องการไอเดียใหม่ๆ จากท่าน และสิ่งที่ได้จะสร้างบันดาลใจผู้เข้าร่วมได้
- งานนี้ไม่แจกถุงผ้า เป็นแก้วล้างทั้งหมด ทำไมบ้านเราจึงแจกถง้า และแจกแก้วกระดาษ
- กระดาษดีกว่าพลาสติกตรงที่มันย่อยสลาย แต่มันก็เป็นขยะเหมือนกัน
- ความเคลื่อนไหวใหม่ที่น่าสนใจคือ เขาลดการบริโภคเนื้อสัตว์ อาหารที่เสริฟในเงาน เป้นผัก
- เคีกอร่อย ไม่ได้หวานเกินไป
- งานวันสุดท้ายมี การจัดงานเลี้ยงให้รางวัล เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
- เป้าหมายที่แท้จริงของเขาคือ เครือข่าย การติดต่อกัน (Connection)
- กิจกรรมที่น่าสนใจคือ Cover Station แบ่งกลุ่มเป็นโต๊ะๆ ละ ๘ คน เวียนกัน ๕ รอบ
- โดยใช้การ์ดเป้นสัญลักษณ์ในการสลับเรื่อง
- Amtropocene คือมนุษย์ ยุคที่มนุษย์เปลี่ยนโลก เปลี่ยนในทางแย่
- มีการเปิดโอกาสให้ทุกมหาวิทยาลัยมาแสดง BP
- Panel ที่ชอบที่สุด คือ การร่วมกันกำหนดเป้าหมาย ไม่ให้อุณหภูทิเกิน ๒ องศา เขาเสนอให้ประชุมกันออนไลน์ ลดการนั่งเครื่องบิน
- สัตว์ปล่อยมีเทนมากกว่าพืช
- โลกเราเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบสุดกู่แล้ว ๕ ครั้ง ครั้งที่ ๕ ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์
- Act with purpose -> Act with us prupose
- เป็นปีแรกที่จัดแยกห้อง แล้วถ่ายทอดเทเลมารวมกัน
- มี Charter Lab เพื่อทำร่วมกันทำข้อบังคับอย่างมีส่วนร่วม ตอนช่วงเบรค พัก มีการเปิดโอกาสให้เสนอ แล้วมีฝ่ายรวบรวม จบด้วยการปริ๊นมาลงนามร่วมกัน
- แนวทางที่เราสามารถนำมาต่อยอดได้
- SDGs ของเรา คือข้อที่ 4 Quility Education
- มหาวิทยาลัยกำลังอยู่ในยุคหดตัวอย่างรวดเร็ว
- Inputbased Education ผ่านไปแล้ว
- ความยั่งยืนไม่ใช่สิ่งแวดล้อม แต่เเป็น สิ่่งแวดล้อม+ คน
- มหาวิทยาลัยสู่ความยั่งยืนนั้น เป็นเรื่องของทุกสิ่ง ทุกเป้าของ SDGs
อ.เอกชัย จาก ม.เชียงใหม่
- ไป ISCN มาแล้ว ๔ ครั้ง
- ปีที่ ๒ ไปที่ฮ่องกง ส่วนใหญ่มีสปอนเซอร์ เข้ากีเบต ส่วนใหญ่ยัง Plan แต่ยังไม่ได้ดู
- ปีที่ ๓ ไปที่แคนนาดา ตอนนั้นก็ยังไม่ชัด โดยเฉพาะประเทศไทย ต่างประเทศเขาทำมาแล้ว ๒๐ ปี
- ปีที่ ๔ ไปที่สวีเดน เขาไปไกลมาแล้ว มีมหาวิทยาลัยในเอเชีย ๒ แห่งที่ทำดีมาก คือ NUS และ มหาวิทยาลัยนันยาง สิงคโปร์
- สิ่งที่เห็นและประทับใจคือ
- ทำอย่างครอบคลุมที่ง ๑๗ ตัวแล้ว
- เขาทำเป็นเรื่องปกติแล้ว
- สิ่งที่เขานำมาเสนอ ได้ผ่านการทดลองทำมาแล้ว
- มีการลงทุนและนำเทคโนโลยีมาใช้ในการนี้ด้วย
- มีการบริหารจัดการเข้าไปถึงเมือง ถึงคน (การศึกษา)
- เขาทำแบบ หุ้นส่วนสังคม โดยมีชุมชนเป็น Steckholder ใหญ่ด้วย
- เขามีโกลที่ชัดเจน และประกาศของ UN-SDGs เข้าไปในแผนชัด มีปฏิทิน
- มีการทำวิจัย ร่วมกับรัฐบาลของท้องถิ่นในการขับเคลื่อน
- มีการตั้งแลปทดลอง นำเทคโนโลยีเข้ามา หาทุนมาให้ดำเนินการ คิดเป็นเงิน 2.0 ของ GDP (แต่ของเรา 0.2)
- มีการตั้งสำนักงานแห่งความยั่งยืน ของไทยก็มีบ้างแล้ว คือธรรมศาสตร์ จุฬาฯ มหิดล
- Social Engagement ของเขาแข็งแรงมาก
- การนำมาใช้กับเรา คือ เราต้องไม่ทำเฉพาะนโยบายเท่านั้น ต้องทำจากล่างขึ้นบนด้วย วิธีการ Copy & Development อาจจะใช้ได้ และต้องเริ่มต้นในสิ่งที่เราทำได้ก่อน และต้องไม่ลืมองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
- ขอนแก่นโมเดล อบจ.ขอนแก่น มีการตั้งส่วนงานขนส่งขึ้นเป็นผู้นำ
อ.ปริญญา
- การวิจัยของเขาทั้งหมด มีการตั้งเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหา และทำวิจัยเพื่อไปแก้ปัญหา แต่เราทำวิจัยเพื่อตีพิมพ์
- เขาใช้ Living Lab คือใช้ชุมชนเป็นสถานปฏิบัติการ ดำเนินการอย่างมีส่วนร่วม
อ.จักรพันธ์ จากจุฬาฯ
- ทางยุโรป เขาเน้นทางเทคโนโลยีค่อนข้างเยอะ มีการนำเอาเทคโนโลยีไปใช้
อ.ปริญญา
- ส่วนทาง่แคนนาดา จะเน้นไปที่ ไอเดียใหม่ และการบูรณาการกับธรรมชาติ เช่น เขามี Wood Wild Web ที่เน้นเรื่องต้นไม้ เขาให้ความสำคัญกับต้นไม้ หันมาใช้ไม้ ใช้ต้นไม้มากขึ้น แต่ใช้แบบมีแผน
อ.จักรพันธ์
- สิงค์โปร์จะมีข้อจำกัดเรื่องของเมือง ทำให้การวางผังของมหาวิทยาลัยจะเป็น City University
- ส่วนแคนนาดา เขาจะพยายามผูกหลายๆ เรื่องเข้าด้วยกัน เช่น เรืองประวัติศาสตร์ เรื่องภูมิศาสตร์ ฯลฯ เทคโนโลยีจะกลายเป็นเรื่องรองลองมา
- ส่วนปีนี้ที่สตอกโฮม ดูเหมือนจะเพิ่งเริ่มเปลี่ยนกลับมาหลังจากเจอกับปัญหาแล้ว
- เราต้อง
- หันมาดูว่า เราอยู่จุดไหน เราต้องเริ่มอย่างไร
- เช่น เรื่องขยะ คนไทยจะมีความฝังใจว่า จะแยกขยะทำไม ในเมื่อเราเอาไปรวมกัน แต่ความจริง คนเก็บขยะเองเขาก็แยกอยู่แล้ว
- มหาวิทยาลัยในเคนยา เขามีปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมเนื่องจาก ไม่มีกลไกในการจัดการของเสียในอุตสาหกรรม ซึ่งบ้านเรามีแล้ว
อธิการพรชัย ม.สยาม
- ม.สยาม เป็นเครือข่ายใน SUN Thailand
- เราต้องทำเปเปอร์เพื่อแก้ปัญหาของเราและของโลก ไม่ใช่เพื่อตีพิมพ์
- มหาวิทยาลัย KTH Campus Plan
- เขามี Academic House คือ Land Lord ของมหาวิทยาลัย โดยรัฐจะตั้งบริษัทขึ้นมาเป็นเจ้าของทรัพยากร แล้วให้มหาวิทยาลัยเช่าที่ และมีหน้าที่ในการเช่าตึก สร้างตึก สร้างสิ่งต่างๆ ในสวีเดน โดยมีเป้าหมายให้มหาวิทยาลัยกับเมืองเป็นหุ้นส่วนของกันและกัน
- ซึ่งแต่ละวิทยาเขตก็จะดำเนินการแตกต่างกันตามทุนเดิมในพื้นที่
- กระบวนการในการทำแผนของเขา จะนำโนโลยีเข้ามา มี VR เข้ามาช่วย หลังจากที่ได้ร่วมกันคิด ระดมสมอง และออกแบบกัน
- ในการสร้างอาคารหรือทรัพยากรแต่ละอัน มีการใช้งานกี่เปอร์เซ็นต์
- MIT Living Lab มีการนำเอาชุมชน ทั้งหมดมาเป็นสถานปฏิบัติการ
- เขาทำเรื่องนี้ต่อเนื่อง
- ในมหาวิทยาลัยมีคนสองประเภท คือ Facilitator และ อาจารย์หรือนักวิจัย
- เขามุ่งใช้สถานที่ในมหาวิทยาลัย
- กำหนดเลยว่าต้องมีส่วนร่วมกับชุมชน
- ให้ความสำคัญกับ Recycle
- มีการประเมินผลสำเร็จหรืออิมแพ็ค
- เขาไปซื้อไฟฟ้าจากโรงงานในชุมชนใกล้ๆ ช่วยลดคอสหลายอย่าง
- กงล้อของ Living Lab จะต้องมี ไอเดีย มีการทำ มีการวัดผล และมีการทำวิจัยสนับสนุน
- ขับเคลื่อนโดย Facilitator วิจัยโดยอาจารย์และนักวิจัย หน่วยงานภายนอกและชุมชน เป็นฝ่ายสนับสนุนทุน
สรุปรอบแรก
- เห็น BP ที่ชัดเจน
- ในประเทศไทยมีวงใหญ่ๆ อยู่ ๓ วง คือ Social Engagement, SUN Thailand, ISCN
รองอธิการ มศว.
- บริบทของ มศว. จะค่อนข้างแตกต่าง มศว. มีวิทยาเขตที่ใกล้ชิดชุมชน
- สิ่งนี้เป็นเป้าหมายที่มหาวิทยาลัยต้องทำ
อ.จักรพันธ์ จุฬาฯ
- ทำชุมชนในเมือง
- เริ่มต้นทำจากการสำรวจด้วยแบบสอบถามห ชุมชนที่ให้ความร่วมมือน้อยที่สุด คือชุมชนสยาม
หากมองไปที่โกเตนเบิร์ก ที่เปลี่ยนแปลงจาก "ขุมนรก" มาเป็น "เมืองสวรรค์" มีความเป็นมาอย่างไร เชิญค่ะ
อ.เอกชัย
- เห็นตัวอย่างที่เป็นของจริง รู้สึกว่า เขาทำได้อย่างไร เราก็มีปัญหาแบบเดียวกัน ทำไมเราทำไม่ได้
- ของเขาทำครอบคลุมทั้งหมดแล้ว ๑๗ ตัว แต่เราทำแบบเตาะแตะอยู่เพียง ๓-๔ ตัว
- เขาทำ Social Engagement เข้มแข็งมาก
- เขาทำชัดเจนและต่อเนื่อง
- ชัดเจนคือมีแผนชัดเจน มีปฏิทิน เพื่อให้ทุกคนเข้าใจว่าจะเดินอย่างไร อะไรคือแกนหลัก อะไรคืองาน อะไรคือสิ่งที่ต้องปฏิบัติ อะไรคือนโยบาย จะทำเมื่อไหร่ ใครจะเป็นคนดูคนประเมิน
- เขารวมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยในโกเตนเบิร์ก และส่งเรื่องให้กระทรวงศึกษาให้เปลี่ยนนโยบาย เกิดเป็นหลักสูตรระดับสูง จึงทำให้เกิดความต่อเนื่อง
- ตอนนี้ อ.กฤษกร กำลังทำวิจัยเรื่องนี้อย่างจริงจัง หากเสร็จแล้ว สกอ.ยอมรับ อาจจะเกิดขึ้นในประเทศเรา
- หอการค้า เป็นแหล่งรวมพ่อค้า เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนามหาวิทยาลัย นโยบายจึงมาจากภาคเอกชน มหาวิทยาลัยจึงต้องตอบโจทย์เอกชน
- บัณฑิตของ Chalmers U. นั้นจะมีค่านิยมเป็น กะลาสีเรือที่จะต้องทำเรื่องความยังยืนต่อ ศิษย์เก่าต่างๆ
- เขามีการวางแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาศึกษาทั่วไป เพื่อรองรับเรื่องนี้
- ทั้ง Godenberge และ Chalmers มีอธิการเป็นผู้หญิง และเข้มแข็งมาก มีการมอบตำแหน่งเหมือนผู้ช่วยอธิการให้รับผิดชอบเรื่องนี้โดยเฉพาะ
- U of Godenberge และ U of Chalmers เขาร่วมมือกันในเมืองเดียวกัน มีการตั้งบอร์ดร่วมกัน (๖-๗ คน) มีหน้าที่เช็คว่าทำเรื่องนี้ไปถึงไหน มหาวิทยาลัยทั้งสองจะต้องทำอย่างไรบ้าง คือตั้งของดีมารวมกัน แล้วช่วยกันทำ
- มองมาที่เรา
- ความจริงในระดับมัธยมเขาทำมาพอสมควรแล้ว
- มหาวิทยาลัยต้อง Action ทำต่อ
- เขาอาตัวแทนของทุกๆ มหาวิทยาลัย มารวมกัน มาตั้งกติการ่วมกัน มีเป้าหมายร่วมกัน
- Goldenberge คือเมืองที่ผลิตรถวอลโว่ เขาบอกว่า ๒๐๒๑ จะเป็นเมืองที่ใช้รถไฟฟ้าทั้งหมด
อ.พรชัย พูดถึงโกเตนเบิร์ก
- ท่านได้แวะไปไม่นาน เพราะแวะไปหาลูกชาย ที่เป็นรุ่นน้องอาจารย์ณรงค์
- ในต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวกับ SDGs เขาจะมีระบุเครื่องหมายไว้อย่างชัดเจน
- การทำ Sustanability Report ให้ผู้คนรู้อย่างชัดเจนในการปฏิบัติต่างๆ ว่าเกี่ยวกับเรื่องใดบ้าง
- เขาจะทำงานในลักษณะของโครงงาน
- มีการทำสื่อการเรียนรู้ เอื้อให้นักศึกษาหรือผู้มายืนสามารถอ่านได้ เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
อ.จักรพันธ์
- เรื่องหลักสูตรที่เขาทำ เขามีระบบกลไกที่ง่ายมาก สะดวกมาก ผ่านรองอธิการเพียงท่านเดียว
- รองอธิการที่ทำนี้ จะดูละเอียด อยู่ต่อเนื่องเป็นวาระที่ ๒
- มีการสนับสนุนเรื่องความเท่าเทียมอย่างมาก
- เรื่องความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย ไม่เหมือนเราที่ มีปัญหาแม้แต่ระดับภาควิชา
- เห็นด้วยกับการผลักดัน SDGs โดยใช้คนรุ่นใหม่ ไม่ใช่การ Top-down ลงไป
คำถาม: เราจะกลับมาทำอะไรที่มหาวิทยาลัยของเรา
อ.เอกชัย ม.เชียงใหม่
- เมื่อพิจารณา SDGs ทั้ง ๑๗ ข้อนี้ องค์กรของเราทำกี่ตัว
- เรามักเริ่มจากผู้บริหารที่ดูแลพื้นที่ทางกายภาพ
- แต่เขาเริ่มจากการมองภาพองค์รวมทั้งระบบ
- สิ่งที่เราต้องทำก็คือ ต้องกลับมาคิดกันใหม่ให้เชื่อมโยงบูรณาการ
- ที่ ม.เชียงใหม่
- เมื่อ ๕ ปีที่แล้ว ม.เชียงใหม่ ยังไม่มีมาสเตอร์แพลน การบริหารจัดการขึ้นอยู่ "รสนิยม" ของผู้บริการ
- เมื่อมาเป็นผู้บริหาร ท่านทำงานอย่างหนักในการวางผังแม่บทใหม่ อะไรที่ไม่ครบก็เตรียมผน อะไรที่ควรมีแต่ไม่มีก็ต้องทำ อะไรที่มีแล้วก็เอามาเป็นฐาน เรียกว่า SMART Growth
- ความคิดรอบยอดคือ ทำอย่างไรให้คุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุด
- กระทรวงพลังงานและสำนักงานที่ดูพิมพ์เขียวมาเริ่มจับ จึงได้นำเอาแพลนเขียวที่ทำไว้มานำเสนอ
- ในแผนนั้นดูทั้งหมด ๘ เรื่อง (เอาสไลด์มาเติม) ซึ่งร่วมถึง Governance ด้วย
- ม.เชียงใหม่ ได้บูรณาการดับครีเอทีฟล้านนา เรื่องอาหาร
- ม.เชียงใหม่ ตอบข้อ ๔ ๑๑ ๑๓ .... ทั้งหมด ๗ ตัว
อ.พรชัย ม.สยาม
- SDGs ไม่ใช่ CSR
- เราจะมุ่งไปที่การเรียนการสอน
- เราจะนำ Campus และ Community เป็น Test Based
- เราจะมีกลุ่มที่เรียกว่า SUSDGs ตั้งเป็นคลัสเตอร์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยในพื้นที่ มีการประชุมออไลน์เดือนละครั้ง
อ.จักรพันธ์
- เราจะทำ SDGs report ให้ชัดเจนก่อน แล้วค่อยดูว่า อะไรทำมากทำน้อย แล้วค่อยเริ่มทำ
- หลังจาก Mapping แล้ว ต้องมองหาว่าใครคือ Player ในมหาวิทยาลัย แล้วค่อยเซ็ตทีมกัน
- เราจะทำแบบ ล่างขึ้นบนให้มากขึ้น เน้นไปที่คนที่สนใจจริง ๆ ทำจากเล็กไปใหญ่
- ในขณะเดียวกันเราจะทำกับนิสิตเลย ตอนนี้เราเริ่มมีคลับเกี่ยวกับ SDGs มากขึ้น
- เราพยายามถ่ายทอดแนวคิดไปสู่นิสิต เช่น ประชาสัมพันธ์ผ่านรถบัสในมหาวิทยาลัย
- เราเป็นหนึ่งใน SUN Thailand
อ.ปริญญา
- ม.ธรรมศาสตร์ เป็นประธาน SUN Thailand
- SUN
- เริ่มต้นเอา SDGs มาเป็น Purpose ของมหาวิทยาลัย ทุกตัว
- SUN หนุนให้ เกิดความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย เน้นไปที่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเริ่ม Acting ในปีที่ ๓ เช่น มีการเซ็น MOU ร่วมกันล้วของมหาวิทยาลัยชั้นนำกับ CP
- SUN จัดประชุมเสวนาเวทีระดับชาติ แต่จะเน้นไปที่การนำเสนอ BP เป็นวง Acting แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ใกล้ที่สุดคือ ๒๕-๒๖ สิงหาคม ที่ ม.ธรรมศาสตร์
- และเวทีนี้จะเน้นนักศึกษาให้มีบทบาทมากขึ้น ให้แต่ละมหาวิทยาลัยประกวดกันเอง แล้วคัดมา แล้วนำมาแข่งขั้นกันระดับชาติ
- ทั้งหมดที่ท่านได้ฟังไปทั้งวันนี้ คือการเรียนรู้จากผู้ที่เขาทำมาแล้ว
อ.ปริญญา
- " เราไม่ทางตามทันหรอกครับ เราตามเขาไม่ทัน ... อย่าไปวิ่งตามครับ เราต้องวิ่งไปดักหน้าครับ...."
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น