ผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในปีการศึกษานี้ มีคอมเมนต์ที่สำคัญที่สุดคือ สำนักศึกษาทั่วไปจะต้องนำเอา OBE (Outcome-based Learning) มาใช้อย่างจริงจัง โดยแนะนำให้เริ่มจากการเขียน ELO (Expected Learning Outcome) ใน มคอ.๓ ให้ชัดเจน ... ผมสรุปสิ่งทีกรรมทวนสอบไว้เป็นสไลด์ สำหรับการสื่อสารกับอาจารย์ผู้ประสานงานและอาจารย์ผู้สอน ดังนี้
การเขียนจุดมุ่งหมายของรายวิชา
- คณะกรรมการฯ เน้นย้ำว่า การทวนสอบผลสัมฤทธิ์นั้น หากจะทำให้ถูกต้องตามหลักการและทฤษฎีทางการศึกษานั้น ต้องยึด ELO วิธีการสอน และวิธีการประเมินผล ใน มคอ.๓ เป็นหลัก
- ในวันทวนสอบฯ นอกจาก มคอ.๓ และ มคอ.๕ แล้ว สิ่งที่อาจารย์ต้องเตรียมนำเสนอคือ รายละเอียดการบันทึกคะแนนในการประเมินผลการศึกษา ทั้งตารางคะแนน และตัวอย่างผลงาน ชิ้นงาน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน หรือรวมถึงตัวอย่างสื่อการสอน
- การเขียน มคอ.๓ เริ่มต้น การกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ต้องถูกต้อง โดยมีลักษณะ ๓ ประการ ได้แก่ สอคล้องกับ KPA ครอบคลุม TQF และเขียนให้เป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
สอดคล้องกับ KPA
การเขียนจุดมุ่งหมายรายวิชา ให้ยึดตามทฤษฎีการเรียนรู้ (แบบขั้นบันได) ของบลูม (Bloom's Taxonomy) ซึ่งแยกปัญญาของคนเป็น ๓ ด้าน ได้แก่ ด้านพุทธิพิสัย (Cognetive ) ด้านทักษะพิสัย (Psychromotor) และด้านจิตพิสัย (Attitude)
ด้านพุทธิพิสัยแยกระดับการเรียนรู้ไว้ ๖ ขั้นได้แก่ รู้จำ เข้าใจ นำไปประยุกต์ใช้ วิเคราะห์ ประเมินค่า และสร้างสรรค์ ดังรูป
ส่วนด้านจิตพิสัย แบ่งลำดับการเรียนรู้เป็น ๕ ขั้น ได้แก่ รับ ตอบสนอง เห็นคุณค่า เกิดศรัทธา และเปลี่ยนนิสัย
ครอบคลุม TQF
- เขียนตามกรอบและครอบคลุม TQF คือ จุดมุ่งหมายรายวิชาจะต้อง ครอบคลุมความคาดหวังตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา หรือ Thailand Quality Framwork (TQF) ที่รายวิชารับผิดชอบ ตามหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป (มคอ.๒) (จุดทึบ หรือ จุดดำ) โดยเขียนเป็นข้อๆ เป็นด้านๆ เป็นประเด็นๆ
เขียนเป็นลักษณะจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม
จุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม จะถูกนำไปเป็นเป้าหมายในการสร้างเครื่องมือประเมิน โดยเฉพาะข้อสอบ ในระบบคลังข้อสอบจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ ข้อสอบที่มีคุณภาพจะช่วยให้การเรียนการสอนจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
จุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม คือ พฤติกรรมที่คาดหวัง ที่ผู้เรียนแสดงออกหรือกระทำหลังการเรียนรู้ ที่สามารถสังเกตเห็นได้ จุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรมที่ดีมี ๓ องค์ประกอบได้แก่ พฤติกรรม เงื่อนไข และเป้าหมายหรือเกณฑ์ความสำเร็จ (ดูรายละเอียดในสไลด์) .... การเขียนจุดมุ่งหมายรายวิชา ให้เขียนเฉพาะส่วนพฤติกรรมที่คาดหวังเท่านั้น ไม่ต้องเขียนส่วนเงื่อนไขและเกณฑ์
คำสำคัญที่แสดงถึงพฤติกรรม ในแต่ละขั้นการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย แสดงในคอลัมน์ซ้ายมือในสไลด์ต่อไปนี้
ตัวอย่าง จุดมุ่งหมายรายวิชา ๐๐๓๒๐๐๕ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
คำอธิบายรายวิชาแสดงในสไลด์
1.นิสิตสามารถบอกอธิบายที่มาของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้
2.นิสิตเห็นความสำคัญของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3.นิสิตสามารถอธิบายหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างถูกต้อง
4.นิสิตสามารถอภิปรายและตัดสินใจบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวันได้
5.นิสิตสามารถอธิบายถึงศาสตร์พระราชาและหลักการทรงงานได้
6.นิสิตสามารถอภิปรายและยกตัวอย่างเกี่ยวกับศาสตร์พระราชาและการนำศาสตร์พระราชามาพัฒนาท้องถิ่นได้
7.นิสิตสามารถอธิบายความหมายและแนวปฏิบัติในการทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ได้
8.มคอ2(2.3) นิสิตสามารถอธิบายความรู้เบื้องต้นด้านการเงิน การทำบัญชีรับ-จ่าย และการประกอบการ และสามารถเปรียบเทียบและอภิปรายระหว่างเศรษฐศาสตร์กับความพอเพียงได้
9.สามารถอภิปรายความชื่อมโยงระหว่างปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาท้องถิ่นและการพัฒนาที่ยั่งยืนได้
10.มคอ2(1.1) มีความซื่อสัตย์สุจริต
11.มคอ.2(1.2) มีความรับผิดชอบ ขยันหมั่นเพียร และอดทน
12.มคอ2(1.3) มีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา เคารพกติกาขององค์กรและสังคม ยึดมั่นในหลักประชาธิปไตย
13.มคอ2(1.5) มีจิตสำนึกที่ดีต่อการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์และสังคม มีน้ำใจและความเสียสละ จิตอาสา จิตสาธารณะ
14.มคอ2(3.1) สามารถควบคุมและพัฒนาตนเองทั้งด้านร่างกายและจิตใจได้ดี
15.มคอ2(3.2)สามารถค้นหาข้อมูล/หลักฐาน รวบรวมข้อมูล แปลความหมาย ลงความเห็น และสื่อความหมาย ข้อมูลได้อย่างน่าเชื่อถือ
16.มคอ2(3.3) มีทักษะการคิดอย่างเป็นองค์รวม มีวิจารณญาณ สามารถคิดวิเคราะห์ และบูรณาการความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นระบบ มีทักษะการแสวงหาความรู้ตลอดชีวิต
17.มอค2(3.4) มีทักษะในการทำงาน สามารถวางแผน จัดการ และปฏิบัติงานให้สำเร็จลุล่วงได้อย่างดี สามารถบูรณาการความรู้และนำความรู้ไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตได้
18.มคอ2(3.5) มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีแรงบันดาลใจในการสร้างนวัตกรรม การสร้างอาชีพ การเป็นผู้ประกอบการ และการพึ่งตนเอง
19.มคอ2(4.1) เข้าใจตนเองและผู้อื่น มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
20.มคอ2(4.2) มีวินัยในตนเอง มีความรับผิดชอบต่อตนเอง มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ รับผิดชอบต่อชุมชน และสังคม มีจิตสาธารณะ
21.มคอ2(5.4) สามารถประเมินสถานการณ์ต้นทุน กำไร และความคุ้มค่าได้
การเขียนวิธีสอนและวิธีประเมินผลในหมวด ๔ ของ มคอ.๓
นอกจากจุดมุ่งหมายแล้ว กรรมการทวนสอบฯ ยังเน้น ลักษณะการเขียนวิธีสอนและวิธีประเมินผล ดังแสดงในสไลด์ต่อไปนี้
ในฐานะที่ผมทำงานเป็นผู้ขับเคลื่อนด้านการเรียนการสอนของ GE ตั้งใจว่า จะนำเอาประสบการณ์การทำ PLC มาใช้ในการสร้าง PLC ของอาจารย์มหาวิทยาลัย โดยกำหนดแนวทางเดินไว้ ๕ ประการดังสไลด์
ขอจบบันทึกไว้เท่านี้ครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น