วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2561

เรียนรู้ (แบบประหยัด)เรื่อง "มหาวิทยาลัยหุ้นส่วนสังคม" (Engagement University)

ศาสตราจารย์ นพ.วิจารณ์ พานิช ท่านรับเชิญไปบรรยายเรื่อง "Public Engagement : มหาวิทยาลัยหุ้นส่วน" แล้วท่านนำมาเผยแพร่ใน G2K ในบันทึกนี้  ผมถอดบทเรียนจากการฟังท่านผ่านอินเตอร์เน็ต (แบบไม่ต้องเสียค่าเดินทาง ที่พัก หรือค่าอาหารใดๆ)  ...  นำมาเขียนบันทึกไว้แลกเปลี่ยนครับ

ท่านเล่าประสบการณ์การไปศึกษาดูงาน Public Engagement ที่ประเทศอังกฤษ ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา และให้ข้อควรระวังไว้ (เหมือนที่ท่านเตือนเสมอ) ว่า ท่านไม่ใช่ผู้ปฏิบัติ ท่านไปดูไปเห็น ได้อ่าน ได้ศึกษา แล้วนำมาตีความ ดังนั้น อาจเข้าใจไม่ครบ และอาจมีอคติ จึงเน้นว่าให้ใช้วิจารณญาณในการฟัง

หลักการของ "มหาวิทยาลัยหุ้นส่วน"

ในเว็บไซต์ของ Engagement Thailand (EnT) (พันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม) (คลิกที่นี่) ใช้คำว่า Social Engagment (SE) ส่วนวันนี้ที่ (ม.เกษตรฯ) ใช้คำว่า Public Engagement (PE)  แต่น่าจะมีความหมายและหลักการเดียวกัน หลักการ ๔ ประการของการเป็น "มหาวิทยาลัยหุ่นส่วนสังคม" (University Engagement) ได้แก่ 
  • ๑) การร่วมคิดร่วมทำแบบหุ้นส่วน (Partnership) 
  • ๒) เกิดประโยชน์ร่วมกันกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย (Mutual benefit) 
  • ๓) มีการใช้ความรู้และเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน (Schoraship) 
  • ๔) เกิดผลกระทบต่อสังคมที่ประเมินได้ (Socail Impact)
โดยนิยามคำว่า "สังคม" ว่า รวมถึงกลุ่มบุคคลที่อาจเชื่อมโยงกับชุมชนในมิติของพื้นที่ เช่น สถานที่ทำงาน ชุมชนใกล้เคียง ทั้งที่เป็นทางการหรือไม่ทางการ หรือในมิติสังคม อยู่ในภาคส่วนเดียวกัน มีความสนใจร่วมกัน เช่น ชุมชนพื้นเมือง ชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) สมาคมวิชาชีพ โรงเรียน รัฐบาล ศิษย์เก่า เป็นต้น โดยไม่มีข้อจำกัดทั้งในเชิงพื้นที่ ภูมิภาค และประเทศ เป็นต้น ...

วิธีการของมหาวิทยาลัยไทย ในการก้าวไปเป็น "มหาวิทยาลัยหุ้นส่วนสังคม" 

EnT กำหนดแนวปฏิบัติสำหรับการก้าวสู่ "มหาวิทยาลัยหุ้นส่วนสังคม" (SEU) ไว้ดังนี้ว่า

  • รับรู้และยอมรับในคุณค่า (value) ของสังคม วัฒนธรรม (Culture) ความรู้และทักษะของสังคม (น่าจะหมายรวมถึง ภูมิปัญญาท้องถิ่น) และ(ตั้งใจว่าจะ)ทำงานที่เกิดประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย 
  • กำหนดเรื่อง "พันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม" (TE) ให้เกิดเป็นระบบและกลไกในการปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัย ได้แก่ นโยบาย แผนปฏิบัติราชการ แผนงบประมาณ (ตัวชี้วัดของ) หลักสูตร  สร้างให้เกิดเป็น "วิถี" ในมหาวิทยาลัย 
  • พัฒนาโจทย์วิจัยและวิธีดำเนินการวิจัยร่วมกับสังคม ให้ครอบคลุมทั้งในเชิงวิชาการและประเด็น(ปัญหา)ของสังคม 
  • บูรณาการการจัดการเรียนการสอนและกับ TE โดยบูรณาการเป้าหมายการเรียนรู้และผลิตบัณฑิตกับความต้องการของสังคม 
  • ติดตาม ประเมินผลการทำงาน TE ร่วมกับสังคม และร่วมกันปรับปรุงและพัฒนากิจกรรมที่ทำร่วมกันอย่างต่อเนื่อง 
  • กำหนดเป้าหมายร่วมกันในการทำให้สังคมดีขึ้น และสร้าง "Engagement Citizen" (น่าจะหมายถึงความเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าต่อสังคม) ให้เกิดกับสมาชิกทุกคนสังคม โดยเฉพาะนิสิตนักศึกษา บัณฑิต และบุคลากรในมหาวิทยาลัย 
University Engagement ที่ประเทศอังกฤษ


ที่อังกฤษให้นิยามของ Engagement ไว้ว่า

แนวปฏิบัติ /
การฝึกทักษะ
เพื่อ PE
ที่แข็งแรง
https://www.publicengagement
.ac.uk/sites/default/files/public
ation/an_attri...
สังเกตว่า เขาเน้นว่า PE นั้นเป็นกระบวนการแบบสองทาง (two-way process) รวมถึงองค์ความรู้ที่่เกิดขึ้นก็เป็นความรู้ที่ร่วมกันสร้างขึ้น ใช้ความรู้ร่วมกัน มีการปฏิสัมพันธ์กัน (interation)  ฟังกัน (listening)  โดยมีเป้าหมายให้เกิดประะโยชน์ร่วมกัน 

ยกตัวอย่างการร่วมกันทำ PE  ของมหาวิทยาลัยสองแห่งในอังกฤษ คือ University of Bristol (UoB) ซึ่งเป็นที่ตั้งของ NCCPE (Natinoal Co-ordinating Center for Public Engagement) หน่วยงานที่ท่านไปดูงานครั้งนั้น และอีกมหาวิทยาลัยหนึ่งคือ University of West of England สองมหาวิทยาลัยนี้ร่วมกันจัดการ NCCPE ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 ถึงปัจจุบัน สิ่งที่ทำร่วมกัน(แสดงในสไลด์) คือ ร่วมกันสอนและวิจัย ทำให้การทำงานของอาจารย์ นักศึกษา และบริการต่างๆ ให้แก่กิจการสาธารนะ ให้คุณค่าและการเรียนรู้จากความเชี่ยวชาญนอกมหาวิทยาลัย และสร้าง "ชาลา" (platform) เพื่อขยายความรู้สาธารณะ โดยเน้นความต่อเนื่อง

http://www.knit.or.th/web/wp-
content/uploads/2018/03/PE-in-
UK-book.pdf
https://www.gotoknow.org/posts/t
ags/เรียนรู้มหาว...














โดยใช้ ยุทธศาสตร์ร่วมกัน เชื่อมโยงหุ้นส่วนนอกวงการวิชาการในเชิงลึก คุณภาพสูง และต่อเนื่อง เชื่อมโยงกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสาธารณะ  นิยามคำว่า Engagment เป็นกระบวนการหรือปฏิสัมพันธ์ที่มีการรับฟังกันสองทาง มีเป้าหมายเพื่อประโยชน์ร่วมกัน และใช้มุมมองแบบ "ครบด้าน" (holistic) ต่อวิธีการเชื่อมโยงหุ้นส่วนสังคมออกไปนอกวงการวิชาการ

การนาเสนอ
• งานบริการสังคมกับ PE
• งานธารงความดีงาม
• เปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการ
ทาภารกิจหลัก
• สรุป
• ความอยู่รอดของมหาฯ ใน
...
หากจะทำเรื่อง PE อย่างจริงจัง มหาวิทยาลัยต้องมี Framwork ของตนเอง เพื่อให้ได้ "คิดใหญ่" คิด "ครอบคลุม"  UoB มี Framwork ประกอบด้วย ๕ ห่วง ได้แก่

  • Partnership  ร่วมมือด้านวิจัยและการศึกษา, พัฒนากิจกรรมที่ทำให้เกิดสุนทรียสนทนา, ร่วมมือประสานงาน ประชุม สัมมนา ออกไปนอกวงวิชาการ, และ เผยแพร่ผลงานวิชาการออกไปนอกวงวิชาการ (ต้องไม่ใช่เผยแพร่ผลงานเพื่อตนเอง แต่ต้องเผยแพร่ในภาษาของหุ้นส่วน)
  • Infrastructure คือ มีการทำให้เข้าไปอยู่ในโครงสร้างของมหาวิทยาลัย เช่น มียุทธศาสตร์ มีการจัดสรรทรัพยากร มีการส่งเสริมให้มีการทำวิจัย PE และส่งเสริให้เกิด Impact ต่อสังคม 
  • Internal capacity building  คือสร้างขีดความสามารถภายใน อบรมให้รู้จัก PE  ทำให้ PE เข้าไปอยู่ในใจ เสริมแรงและส่งเสริมผลงานเกี่ยวกับ PE สร้างนักวิชาการเรื่อง PE ขึ้น และให้รางวัลสำหรับความสำเร็จ  
  • Student experience คือ นักศึกษาต้องเป็น Part ต้องทำให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์ PE ทำให้อยู่ในหลักสูตร บ่มเพาะวัฒนธรรมอาสาสมัคร  (ประเทศที่มีความโดดเด่นด้านนี้ที่สุดคือเดนมาร์ก คนร้อยละ ๗๐ ของผู้มีงานทำ ทำงานอาสาสมัคร ประเทศที่มีจิตอาสาสูงจะเป็นประเทศที่น่าอยู่ สังคมดี) นักศึกษาต้องได้ทำงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 
  • Reflection mornitoring and communication  ต้องเรียนรู้ (สะท่อนการเรียนรู้ ตกผลึกความรู้) เก๋็บข้อมูล บันทึกความรู้ และสื่อสารความรู้ออกไป 

พันธกิจ ๔ เดิมของมหาวิทยาลัย จะไม่ได้ผล

 ศตวรรษแรกของมหาวิทยาลัยไทย สร้างคุณูปการอันยิ่งใหญ่ แต่หากจะก้าวไปสู่เป้าหมาย "ประเทศไทย ๔.๐" ด้วยพันธกิจตามกระบวนทัศน์เดิม จะไม่ได้ผล วิธีที่จะได้ผลคือมหาวิทยาลัยต้องเป็นหุ้นส่วนสังคม

ศ. ดร. วิจิตร ศรีสะอ้าน
ศตวรรษที่สองของมหาวิทยาลัยไทย เหมือนได้รับพรจากฟ้า (ฟ้าประทาน) (ผมตีความว่า ท่านหมายถึง หากไม่มีรัฐบาลเข้ามาจัดการปัญหาเรื้อรังของไทย คงไม่มีวันได้วางแผนประเทศ ๒๐ ปี จนได้เป้าหมายที่จะก้าวไปสู่ ประเทศไทย ๔.๐)  กลายมาเป็นความท้าทายอย่างยิ่งต่อมหาวิทยาลัย ที่จะต้องปัจจัยให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อม  ให้ประเทศก้าวสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

แต่หากมหาวิทยาลัยทาตามกระบวนทัศน์เดิม

สไลด์ของ ศ.ดร.วิจิตร ศรีสะอ้าน ที่ท่านนำมาเล่าต่อ สะท้อนสภาพปัจจุบันของปัญหาประเทศไทยได้น่าสลดใจยิ่งนัก
แต่หากมหาวิทยาลัยทาตามกระบวนทัศน์เดิม
จะไม่ได้ผล
รัฐบาลบอกว่า สิ่งที่จะทำให้ประเทศก้าวสู่ "ประเทศไทย ๔.๐" คือ  การสร้างนวัตกรรม การบูรณาการ และการสร้างคุณค่า (Value Creation)  ... ปัญหาคือ มหาวิทยาลัยจะทำอย่างไรล่ะ?

ถ้าทำในกระบวนทัศน์เดิม คือ มหาวิทยาลัยมีหน้าที่ ๔ อย่างคือ ผลิตบัณฑิต ทำวิจัย บริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม นั้น จะไม่ได้ผล
ต้องการการเปลี่ยนกระบวนทัศน์
จาก Technology Transfer สู่ Engagement Paradigm
ร่วมคิด
ร่วมทา / ร่วมลงทุน
ร่วมสร้าง & ใช้ค &...
ต้องเปลี่ยนใหม่ หากจะให้ได้ผล ต้องใช้หลักการ "Engagement"

การนาเสนอ
• งานบริการสังคมกับ PE
• งานธารงความดีงาม
• เปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการ
ทาภารกิจหลัก
• สรุป
• ความอยู่รอดของมหาฯ ใน
...
เปลี่ยนจาก Technology Transfer สู่ Engagement Paradigm  มหาวิทยาลัยต้องเปลี่ยนจากเน้นทฤษฎีไปสู่การเน้นการปฏิบัติ ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ร่วมลงทุน ร่มสร้าง ใช้ความรู้และนวัตกรรม รับผลร่วมกัน ไม่ใช่ช่วยเหลือ

เปลี่ยนกระบวนทัศน์ต่อนิสิต
•จาก ผู้รับ เป็น ผู้ให้
•จาก ผู้เสพ เป็น ผู้สร้าง
มหาวิทยาลัย ๔.๐

นิสิตเรียนรู้จากการร่วมกิจกรรม PE
• เรียนจาก “สหกิจศึกษา” ใน E Partner
• เรียนจาก service learning ในชุมชน / พื้นที่
• เรี...


การจัดการเรียนรู้สู่ University Engagement

ความคิดสำคัญคือ ต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของมหาวิทยาลัยต่อนิสิต เปลี่ยนจากมองว่านิสิตเป็น "ผู้รับ" (รับความรู้) เป็น "ผู้ให้" (นิสิตแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอด) เปลี่ยนจาก "ผู้เสพ" (เสพความรู้ของผู้อื่น) เป็น "ผู้สร้าง" (สร้างความรู้ด้วยตนเอง) วิธีการคือ ทำให้นิสิตเรียนรู้จากการร่วมกิจกรรม PE  ซึ่งสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ

TORCH : The Oxford Research Centre in the Humanities
• Supports and promotes research activity of the very highest quality...



วิธีการตรวจสอบว่า การทำ Engagement ได้ผลหรือไม่ สามารถตรวจสอบน ๕ ประเด็น ได้แก่ ๑) มีการสร้างความรู้ร่วมกันหรือไม่ ๒) มีการจัดการร่วมกันหรือไม่ ๓) มีความตระหนักในตัวตนร่วมกันหรือไม่ ๔) มการสื่อสารเผยแพร่ต่อเนื่องหรือไม่ และ ๔) มีการตกผลึกความรู้หรือประสบการ สะท้อนการเรียนรู้ร่วมกันหรือไม่
การนาเสนอ
• งานบริการสังคมกับ PE
• การธารงความดีงาม
• เปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการ
ทาภารกิจหลัก
• สรุป
• ความอยู่รอดของมหาฯ ใน
...

ในการจัดการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัย สิ่งที่สำคัญที่สุดไม่ใช่ความรู้ แต่เป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียน  มีผลงานวิจัยชี้ว่า วิธีการสร้างแรงบันดาลใจที่ดีที่สุดคือ การสร้างเป้าหมายที่อยู่เหนือผลประโยชน์ของตนเอง

New Paradigm of Extension Services
• Engagement Paradigm of Extension Services?
•?Extension Specialists as PEP (Public Eng...


ในการทำวิจัยของมหาวิทยาลัย ต้องสังเกตผลกระทบใน ๓ ประเด็น ได้แก่

PE ด้านศิลปะและวัฒนธรรม กีฬา และการ
ท่องเที่ยว
• งานเทศกาล
• พิพิธภัณฑ์
• PE เชิงพื้นที่
• PE อุตสาหกรรมท่องเที่ยว
• RBL, ...

การทำวิจัยต้องพัฒนาโจทย์ร่วมกันกับหุ้นส่วน มีรายได้จากการทำวิจัยให้แก่หุ้นส่วน นิสิตเรียนโดยสร้างความรู้ในสภาพจริง

เปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการทาภารกิจหลัก
•การเรียนรู้ / ผลิตบัณฑิต
•การสร้างความรู้ / วิจัย
•บริการวิชาการ
•ธารงความดีงาม
“การท...

การทำงานบริการวิชาการ จะต้องเปลี่ยนจาก "ผู้ให้" "ผู้รับ" แต่ต้องเป็น "หุ้นส่วน" กัน

เปลี่ยนกระบวนทัศน์การทางานวิชาการ
ทางานตามความรู้
ความถนัดของตน
ทางานตามความ
ต้องการหลักของ
ปทท. ๔.๐
เอาความรู้เป็นหลัก เอ...
การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม  ต้องไม่ใช่เพียงติดอยู่เพียงรูปแบบประเพณีสืบทอนเท่านั้น แต่ต้องเป็นการธำรงความดีงามในทุกิจกรรมหรือการปฏิบัติ  การธำรงความดีงามจะไม่สามารถทำได้ด้วยการสอน แต่ต้องได้จากการลงมือปฏิบัติ

Engagement Structure
• VP for Engagement
• Engagement Steering Board
• Engagement Office (EO) with
professional staffs
• E...
มหาฯ ก
อธิการบดี
คณะ ก คณะ ข คณะ ค
รอง
อธิการบดี ฝ่าย ...

สิ่งที่ต้องเปลี่ยนแปลง

Effect Size Assessment
•แต่ละ Program / Project หวัง Effect /
Impact อะไร ต่อ Th 4.0 เป็นเป้าหมาย
หลัก
•ทาเสร็จแล้ว วัดว่า...
เปลี่ยนโครงสร้างคนในมหาวิทยาลัย ให้หุ้นส่วนเข้ามามีบทบาท

มีงบประมาณประจาปี
• เพื่อดาเนินการกิจกรรมข้างต้น
• มีบุคคล / หน่วยงาน รับผิดชอบเป็นรายกิจกรรม
• กาหนดผลลัพธ์ที่คาดหวัง
• ห...

เปลี่ยนเป็น (เช่น)


ในระยะยาว
• ค่อยๆ บูรณาการเป็นระบบหลัก
• ที่มีการปรับตัวไปเรื่อยๆ
• โดยอาศัยการวิจัย ES – Effect Size สาหรับปรับ
วิธีการให...
ท่านสรุปด้วย ๒ สไลด์ นี้ครับ

University ku 610507

University ku 610507

ศึกษาจากการฟังท่านทั้งหมดแล้ว ผมตระหนักว่า การพัฒนามหาวิทยาลัยไปสู่ TUE นั้นเป็นสิ่งจำเป็น และเป็นความหวังเดียวของการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ "ประเทศไทย ๔.๐"  (TUE เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนไปสู่เป้า)  และผมเริ่มมีความกล้าเพิ่มขึ้นที่จะใช้โอกาสที่ผมเป็นผู้ประสานงานรายวิชาหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน ขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไปสู่ TUE

ตอนที่ท่านพูดว่า สวีเดน มีคนทำงานอาสาถึงร้อยละ ๗๐ ของคนมีงานทำ  ผมสงสัยว่าประเทศไทยเราจะมีคนแบบนี้อยู่สักกี่ร้อยละ

ขอบคุณความรู้จากท่านครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น