วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2561

PLC อบจ. ขอนแก่น _๐๙ : ค่ายพัฒนาครูผู้จะไปจัดค่ายเรียนรู้ภาษาไทย (๒) "กิจกรรมนำการเรียนรู้ภาษาไทย"


ฐานการเรียนรู้ที่คุณครูให้ความสนใจที่สุดในค่ายนี้คือ "ฐานสร้างสรรค์" วิทยากรคือคุณครูเต้ง (สุริยนต์ ฉิมพลี) จากโรงเรียนเทศบาลบูรพาพิทยาคาร เทศบาลเมืองมหาสารคาม  และครูช้าง (ธีรยุทธ จันทนะ) (จะมาแจ้งต้นสังกัดท่านทีหลังครับ) ผลการทำ AAR ช่วงจะจากกัน คุณครูผู้ร่วมค่าย สะท้อนกันจำนวนมากว่า จะนำเอากิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยที่ได้เรียนรู้จากครูเต้งและครูช้าง และกิจกรรมที่เพื่อนครูแต่ละท่านได้ออกแบบไว้ ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน  บันทึกนี้ขอนำเอาเครื่องมือ ๑๑ ชิ้น ที่ได้จากค่ายนี้ มาเรียงไว้ให้ครูนำไปใช้ครับ .... เพียงแค่ปริ๊้นเอาท์แล้วก็เอาไปลองใช้ดู จะดีมากถ้าสะท้อนให้รู้ว่าผลเป็นอย่างไร

๑) กิจกรรม "เขียนถูกหรือเขียนผิด" 

เป็นกิจกรรมที่ครูเต้งและครูช้าง นำมาสาธิตเชิงปฏิบัติ (ครูมีส่วนร่วมในการสาธิต) อย่างสนุกสนาน ... ผมสังเกตอยู่ข้างๆ รู้ตัวเลยว่าตนเองยังต้องเรียนภาษาไทยอีก 

กิจกรรมนี้ครูต้องเป็นเตรียมคำศัพท์เอง  ผมจำไม่ได้ว่าครูเต้งและครูช้างใช้คำว่าอะไรบ้าง จึงไม่ได้เขียนไว้ในใบกิจกรรม  ถ้าครูเต้งเห็นบันทึกนี้ ตอบต่อไว้ท้ายความเห็นจะเด่นดีนักครับ 


๒) กิจกรรม "คำประพันธ์หรรษา" 

เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ครูเต้งและครูช้างนำมาสาธิตเชิงปฏิบัติการ  มีตัวอย่างกาพย์ยานีที่คุณครูแต่งได้อย่างดีมาก แต่ไม่กล้านำมาออนไลน์ .... 

ผมว่ากิจกรรมนี้สนุกตรงที่มีชื่อเพื่อนครูมาเกี่ยวข้องนั่นเอง ถ้าเป็นนักเรียนทำคงสนุกดีกว่านี้ไหม?  ผมว่าใช่ แต่ต้องอยู่บนเงื่อนไขว่า พวกเขา "ทำได้" นะครับ 



๓) กิจกรรม "คำไวพจน์ (สืบค้น)" 

ใบกิจกรรม "คำไวพจน์ (สืบค้น)" ออกแบบโดยคุณครูศุภะ สุนทราวิวัฒวงศ์ จากโรงเรียนพูวัดพิทยาคม  เน้นให้นักเรียนสืบค้นคำที่มีความหมายเหมือนกันแต่เขียนในรูปต่างกัน (คำไวพจน์) โดยใช้เทคนิคการขยายความรู้จากสิ่งที่ครูสอน 


๔) ใบกิจกรรม "คำไวพจน์ (จับกลุ่มคำ)"

ใบกิจกรรม "ไวพจน์ (จับกลุ่มคำ)" ออกแบบดยครูศุภะ สุนทราวิวัฒวงศ์ จากโรงเรียนพูวัดพิทยาคม เช่นกัน เป็นภาคต่อจากใบกิจกรรม "คำไวพจน์ (สืนค้น)"  กิจกรรมนี้ครูต้องเตรียมบัตรคำไวพจน์จากภาษาต่างๆ ใส่ไว้ในกล่องถึง ๕๐ คำ และความยากอยู่ที่การทำให้นักเรียนเข้าใจทักษะความคิดวิเคราะห์หลักการของแต่คำที่มาจากภาษาต่างประเทศต่างๆ 


๕) ใบกิจกรรม "เกร็ดภาษาในวรรณคดี"

กิจกรรม "เกร็ดภาษาไทย" ที่ครูเต้งและครูช้าง นำมาแลกเปลี่ยนกับเพื่อนครู  แม้จะดูลึกในหลักวิชาการด้านวรรณคดี แต่ผมมีความเห็นว่า เยาวชนไทยน่าจะได้เรียนรู้และภาคภูมิใจในสิ่งเหล่านี้ 


๖) ใบกิจกรรม "วรรณคดีบูรณาการกับงานศิลปะ"

ครูเต้งยกตัวอย่างการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับวรรณแบบบูรณาการ ด้วยงานบูรณาการกับการวาดภาพระบายสีของ "เวตาล" จากเรื่อง "นิทานเวตาล" 


๗) ใบกิจกรรม "วรรณคดีบูรณาการกับภูมิปัญญาท้องถิ่น"

อีกตัวอย่างหนึ่งที่ครูเต้งนำเสนอต่อเพื่อนครูคือ การสอนภาษาไทยบูรณาการกับการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น นอกจากเด็กจะได้สืบสานภูมป้ญญาฯ สามารถขับร้องสารภัญญ์ได้แล้ว ยังได้เรียนรู้พระเวสสันดรชาดก และที่ผมชอบที่สุดคือช่วงท้าย ที่มีการตั้งคำถามให้นักเรียนได้ฝึกคิดและแสดงความคิดเห็นของตนเองในเรื่องที่ไม่มีคำตอบถูกผิด



๘) ใบกิจกรรม "หลักคำคล้องจอง (เพลงห่อหมกฮักไปฝากป้า)

กิจกรรมนี้ออกแบบโดย คุณครูสุจินต์ หาญโสภา จากโรงเรียนเมืองพลพิทยาคม  ผมก็เพิ่งจะมาชอบเพลงนี้ตอนที่มาถอดบทเรียนกิจกรรมนี้เอง  .... ฟังแล้วคิดฮอดบ้านหลาย....


๙) ใบกิจกรรม "เกมโดมิโนภาษาต่างประเทศ"

เกมโดมิโนภาษาต่างประเทศ ออกแบบโดยคุณครูเรไร เพ็งวิชัย จากโรงเรียนซำสูงพิทยาคม วัตถุประสงค์คือทำให้ผู้เรียนรู้คำภาษาต่างประเทศต่างๆ ที่เราใช้กันอยู่  ท่านออกแบบว่าครูต้องเตรียมสื่อเป็นตัวโดมิโน ผมปรับให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมมากขึ้น คือให้นักเรียนช่วยทำตัวโดมิโนด้วย 


๑๐) ใบกิจกรรม "แต่งกาพย์ยานี ๑๑ บูรณาการทักษะชีวิต "

กิจกรรมนี้ออกแบบโดย คุณครูวชิราภรณ์ มะโนดี จากโรงเรียนพระยืนวิทยาคาร  กิจกรรมนี้ดูเหมือนจะไม่ยาก และนักเรียนทุกคนจะสนุกและมีความสุขจากความสำเร็จในการแต่งกลอน เพื่อให้ท้าทายมากขึ้น ผมจึงปรับให้นักเรียนต้องแต่งเพิ่มเติมอีก ๒ บท ในตอนท้าย 


๑๑) ใบกิจกรรม "คำประสม"

กิจกรรมเรียนเรื่อง "คำประสม" จากเนื้อเพลง "ระเบิดเวลา" ออกแบบโดยคุณครูจงจิตร ศรีสารคาม จากโรงงเรียนหนองโนประชาสรรค์ และคุณครูเนติมา ศรีรักษา จากโรงเรียนนางิ้ววิทยาสรรค์ ... ผมเพิ่งจะได้ฟังเพลงนี้ ฟังวนไปเรื่อยๆ เป็นสิบรอบ (มิน่าล่ะ ทำไมครูถึงเลือกมา) สารเอนโดร์ฟินหลั่งไหลเลยเทียว....


เจอกันใหม่บันทึกหน้าครับ 












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น