บันทึกที่ ๒ กลุ่ม จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตช์
กลุ่ม ตูน บอดี้สแลม (อาทิวราห์ คงมาลัย)
กลุ่มตูน บอดี้สแลม วิเคราะห์ปัญหา สาเหตุ และผลกระทบไว้ได้อย่างเชื่อมโยง โดยใช้สีให้สังเกตเห็นได้ชัดยิ่ง หากสรุปข้อความด้วยลูกศรจาก สาเหตุปัญหา -> ปัญหา -> ผลกระทบ ดังนี้
- ไฟไม่เพียงพอ (หมายถึงติดตั้งหลอดไฟฟ้าไม่เพียงพอ) หรือ บางจุดมีแต่ไม่เปิด -> แสงสว่างไม่เพียงพอ -> ผู้คนไม่ปลอดภัย เกิดอุบัติเหตุ เอื้อให้กระทำผิด (จุดล่อแหลม)
- รถมอเตอร์ไซด์เยอะ -> ที่จอดรถไม่เพียงพอ -> การจอดรถติดขัด เสียเวลานานในการหาที่จอด
- ถังขยะไม่เพียงพอ ทิ้งขยะไม่เป็นที่ -> ปัญหาขยะ -> ท่อน้ำตัน น้ำขัง เชื้อโรค มลภาวะ เหม็น
ภายในเวลาที่จำกัด ๔๕ นาที กลุ่มนี้สามารถทำงานเสร็จภายในเวลาได้อย่างสมบูรณ์ และให้คะแนนตนเอง ๑๐ คะแนนเต็ม ความจริงสมาชิกกลุ่มได้ช่วยกันทำ Mind Mapping ปีญหาและวิธีแก้ไขไว้แล้วตั้งแต่ต้น ดังภาพ และมีปัญหาเรื่องน้ำเน่าเสีย ที่ไม่ได้นำมาแสดงไว้ในต้นไม้เจ้าปัญหา
อย่างไรก็ดี การระดมปัญหาสามารถวิเคราะห์ แยก ย่อย ลงลึกได้อีก หรือให้แตกแขนงให้กว้างออกไปได้อีก เช่น หากแยกปัญหาออกเป็นด้าน ๆ ก่อน เช่น ด้านกายภาพ ด้านสังคม ด้านคุณธรรม ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านวัฒนธรรม เป็นต้น
วิธีหนึ่งที่ใช้ได้ผลดี ในกรณีที่ต้องการวิเคราะห์ปัญหาให้ละเอียดลงลึกหรือรอบด้านมากขึ้น คือการใช้ตารางวิเคราะปัญหา-ปัญญา เป็น ๔ มิติ ดังภาพ
กลุ่มตูน บอดี้สแลม เลือกที่จะศึกษาปัญหาเกี่ยวกับ "แสงสว่างไม่เพียงพอ" เข้าใจ้ว่า น่าจะมีพื้นที่เป้าหมายแล้วในใจ และวิธีแก้ไขคงเป็นการไปเดินสายไฟ ติดตั้งหลอดไฟให้แสงสว่าง ... เพื่อหลีกเลี่ยงวิธีการที่ต้องรบกวนงบประมาณมาก อาจารย์จึงขอเสนอให้ดึงเอาปัญหาเรื่องน้ำเน่าเสีย ณ บริเวณข้างตึก RN มาพิจารณาหาทางต่อยอดจากกลุ่มเดิมที่เคย พยายามนำเอาผักตบชวามาบำบัดเบื้องต้น ....
หากทางกลุ่มสนใจ อาจารย์เคยนำเสนอปัญหาไว้ที่นี่ และมีนิสิตชมรมตามรอยเท้าพ่อ ที่มีเรือพายให้สามารถลงสำรวจได้ ประเด็นที่ควรพิจารณาคือ
- ศึกษาสภาพปัญหา
- การแก้ปัญหา แนวทางแก้ปัญหา ความสำเร็จที่มีผู้ทำมา ศึกษาจุดอ่อน จุดบกพร่อง
- ลองหาวิธีแก้ไข ต่อยอด ไปสู่เป้าหมาย
- ระบบราชการหรืองานภายในมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง
เชียร์ครับ .... กลุ่มต่อไป ไว้ในบันทึกหน้าครับ ....
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น