กลุ่ม จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ทำไมจึงเลือก จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นผู้นำในดวงใจ? ภาวะผู้นำที่โดดเด่นอะไรที่ประทับใจของสมาชิกในกลุ่ม? ... จะรออย่างใจจดจ่อ.. (ขอให้สมาชิกเข้ามาแลกเปลี่ยนโดยใช้ช่องทางใดช่องทางหนึ่งนะครับ)
ปัญหาและสาเหตุ
- ไม่มีที่จอดรถ <- พื้นที่จอดรถมีน้อย, นิสิตจอดรถไม่เป็นระเบียบ <- จอดในที่ห้ามจอด <- ช่องจอดรถไม่พอ
- ทัศนียภาพไม่ดี <- ขยะล้นและไม่ทิ้งลงถัง, ห้องเรียนไม่สะอาด, ไม่เก็บจาน (ตลาดน้อย)
- นิสิตขาดจิตสำนึก <- นิสิตทำลายทรัพย์สินมหา'ลัย, ขับรถย้อนศร, ไม่รักษาความสะอาดในห้องน้ำ
ผลกระทบ
- ไม่มีที่จอดรถ-> มีปัญหาจราจร -> รถติด, เกิดอุบัติเหตุ, รถเมล์ไม่มีที่จอด
- ทัศนียภาพไม่ดี -> สูญเสียภาพลักษณ์ที่ดี -> มหา'ลัย ขาดความน่าอยู่, ไม่น่ามอง, ขาดแรงจูงใจในการเรียน
- นิสิตขาดจิตสำนึก -> ขาดบัณฑิตที่มีคุณธรรม -> สังคมไม่เกิดการพัฒนา, เกิดปัญหา, เป็นแบบอย่างที่ไม่ดีให้กับคนรุ่นหลัง
วิธีแก้ไขที่เสนอโดย กลุ่ม จอมพล ป.
วิธีการแก้ไขปัญหาที่เสนอ แสดงใน Mind Mapping มีจุดเด่นที่ การมองมาที่ตนเอง และหลายวิธีเริ่มที่ตนเอง (ข้อ ๑ - ข้อ ๗) หากทางกลุ่มสนใจที่จะเลือกปัญหาขยะ และเลือกที่จะรณรงค์เก็บขยะ ก็สามารถทำได้ แต่ต้องภายใต้เงื่อนไขว่า จะต้องนำเอาหลักคิด ๓ ห่วงไปพิจารณาประกอบ (อ่านที่นี่)
การรณรงค์มักจะมีจุดอ่อนเรื่องความยั่งยืน แต่สามารถกำหนดวัตถุประสงค์ให้กลุ่มเป้าหมาย นิสิตจิตอาสาที่เราระดมมาเก็บขยะ ได้เรียนรู้ข้อมูลจริง ๆ สถานการณ์จริง ๆ ใกล้ตัว เพื่อที่สร้างแรงจูงใจและแรงบันดาลใจ สำนึกรับผิดชอบร่วมกัน เช่น
- ศึกษาสภาพปัญหา ให้เห็นความรุนแรง บอกได้ว่า แต่ละวันนิสิตแต่ละคนผลิตขยะเฉลี่ยวันละเท่าใด
- เห็นองค์รวม ความเชื่อมโยง ของระบบจัดการขยะ ตั้งแต่เริ่มก่อขยะจนถึงการกำจัดขยะ กระบวนการเหล่านั้นเกิดขึ้นที่ไหน อย่างไร ใครเป็นผู้เอาขยะไปทิ้ง ฯลฯ
- นำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาผลิตคลิป สื่อทันสมัย สร้างความสนใจของนิสิต Gen Z ให้ได้
และสำคัญว่าต้องมีกระบวนการประเมินโครงการว่า ได้ผลหรือไม่อย่างไรด้วย
ขอแนะนำให้สมาชิกในกลุ่มเดินทางไปเยี่ยมชม กองภูเขาขยะที่หนองปริง (ในกรณีที่เลือกหัวเรื่องนี้)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น