วันเสาร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ๒-๒๕๖๐ (๔) ระดมปัญหาในมหาวิทยาลัย (กลุ่มจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัตช์)

บันทึกที่ ๑ กลุ่ม จอร์จ วอชิงตัน

กลุ่มจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตช์

ขอเสนอให้สมาชิกกลุ่ม จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัตช์ ศึกษาประวัติศาสตร์การปกครองของจอมพลสฤษดิ์ แล้วสรุปภาวะผู้นำและยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่สำคัญ ๆ  มาเขียนเป็นบันทึกต่อท้ายบันทึกนี้ ... เพื่อเรียนรู้แลกเปลี่ยนประเทืองปัญญาเถิด



ปัญหา 

  • มอเตอร์ไซด์ล้น (มากเกินไป)
  • มอเตอร์ไซด์จอดไม่เป็นระเบียบ
  • ถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ 
ผลกระทบ 
  • ที่จอดรถไม่เพียงพอ
  • การจราจรติดขัด 
  • เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง 
  • รถวิ่งไม่สะดวก 
  • รถเสียหาย จากหลุม
  • ฝุ่นละอองจากถนน
  • ขวางทางเข้าออกอาคาร
สาเหตุ
  • นิสิตต้องการความสะดวกสบาย 
  • รถรางไม่เพียงพอ
  • ช่องจอดรถมีเส้นแบ่งไม่ชัดเจน
  • ผู้คนมักง่าย
  • นิสิตจอดรถอย่างเร่งด่วน 
  • การบรรทุกน้ำหนักเกิน ทำให้ถนนชำรุด
  • ไม่มีผู้รับผิดชอบ ซ่อมแซมถนน
  • คนที่มีหน้าที่ทำไม่ดีตั้งแต่แรก (น่าจะหมายถึงคอรัปชั่นการสร้างถนน)

เมื่อพิจารณาปัญหาและสาเหตุตามการวิเคราะห์ของกลุ่มจอมพลสฤษดิ์ ปัญหาถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ น่าจะเกินศักยภาพของนิสิต การจำกัดหรือลดปริมาณของรถมอเตอร์ไซด์ หรือเพิ่มปริมาณรถรางในมหาวิทยาลัยนั้น ก็เป็นไปได้ยากยิ่งเช่นกัน เหลือเพียงการทำให้ช่องจอดรถชัดเจนขึ้น แต่การไประบายสีช่องจอดรถนั้น ถือว่าไม่ใช่ความคิดสรัางสรรค์มากนัก เพราะมีเจ้าหน้าที่ดูแลอยู่แล้ว และนิสิตเองก็ต้องใช้งบประมาณ

กรณีถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ หากกลุ่มจอมพลสฤษดิ์ กำหนดพื้นที่เป้าหมาย แล้วศึกษาสภาพปัญหา ในประเด็นต่าง ๆ เช่น 
  • ความรุนแรงและความเดือดร้อนของปัญหาอยู่ในระดับใด หาข้อมูลจากหลากหลายแหล่ง สังเกต ถ่ายภาพ สัมภาษณ์  (จัดเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ)
  • พื้นที่ถนนนั้น อยู่ในพื้นที่ของส่วนราชการใด 
  • หน่วยงานนั้นมีแผนการซ่อมบำรุงหรือไม่อย่างไร 
  • หากจะดำเนินการซ่อมแซม เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เป็นไปได้หรือไม่ ปัญหาคืออะไร
  • กรณีที่เป็นไปได้ หากมีกำลังของนิสิตจิตอาสามาช่วย หน่วยงานสามารถจะสนับสนุนวัสดุและช่างผู้นำทำได้หรือไม่ 

หากทำได้ดังนี้นั้นท้าท้ายยิ่งนัก....

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น