บันทึกนี้ ผู้เขียนลองถอดบทเรียน เหตุการณ์ "วิกฤตต้มยำกุ้ง" เมื่อ ๒๐ ปีที่แล้ว โดยใช้หลักคิดของเศรษฐกิจพอเพียง ... ท่านผู้อ่านจะเห็นด้วยหรือไม่อย่างไร หากเขียนบันทึกแลกเปลี่ยนกันไว้น่าจะดี
๑) พิจาณา ๒ เงื่อนไข
- เงื่อนไขคุณธรรม
- ไม่มีใครตั้งใจผิดเงื่อนไขคุณธรรมโดยจงใจให้ประเทศไทยเกิดวิกฤต...เว้นแต่จะมีใครรู้ล่วงหน้าว่าจะมีการลอยตัวค่าเงินบาทแล้วไปแอบซื้อประกันความเสี่ยงไว้ หรือกักตุนเงินดอลลาร์ไว้แลกไทยบาททีหลัง
- อาจจะมีบ้างก็คือ ความโลภครอบงำทำให้มืดบอด ไปกู้เงินดอกเบี้ยงถูกจากต่างประเทศ มาปล่อยกู้ดอกเบี้ยแพง และอีกอย่างคือการเก็งกำไร ซื้อมาถูกไว้ขายแพง โดยไม่ลังเลใจว่าใครจะเดือดร้อนตามมา ... แต่ที่สุดคงไม่มีใครจงใจอยากให้เกิดวิกฤต
- เงื่อนไขความรู้
- ธนาคารแห่งประเทศไทยในขณะนั้น มีความรู้ไม่เพียงพอที่จะจัดการป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤต ไม่รู้ว่าควรจะปรับเปลี่ยนระบบแลกเปลี่ยนเงินของไทยให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของการไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศ
- นักธุรกิจและผู้ประกอบการของไทย ไม่มีความรู้และวิทยาการสำหรับการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม ทำให้ต้องพึ่งทั้งทุน ความรู้ และเทคโนลยีในอุตสาหกรรมการผลิต เป็นเหตุให้ต้องลงทุนสูง เป็นหนี้มาก
- วิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้เราคนไทย ให้ความสำคัญกับการศึกษาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างจริงจัง
๒) มองในมุม ๓ ห่วง
- ห่วงเหตุผล
- การกู้เงินตราต่างประเทศแบบระยะสั้น (ต้องใช้คืนใน ๕ ปี) มาปล่อยกู้ในไทยให้ผ่อนระยะยาวในภาคอสังหาริมทรัพย์ (๑๐- ๒๐ ปี) ถือว่าผิดวินัยการเงิน ไม่สมเหตุสมผล ไม่เป็นไปตามหลักตรรกะ
- การเปิดเสรีทางการเงิน ให้ใบอนุญาตเปิดบริการวิเทศธนกิจ (BIBF) ให้สถาบันการเงินไทยไปกู้เงินดอกเบี้ยงถูกได้ ทั้งที่รู้ว่าดอกเบี้ยเงินกู้ภายในประเทศแพงกว่า ๕ - ๑๒ % ... ถือเป็นการกระทำที่ไม่มีเหตุผลอันควร
- ห่วงพอประมาณ
- ไม่พอประมาณในการลงทุน จนเกิดหนี้สินท่วมท้นเกือบแสนล้านดอลลาร์ ลงทุนเกินตัว จำนวนเงินลงทุนสูงกว่าความสามารถในการใช้หนี้ถึง ๘ เท่า
- เก็งกำไรกันแบบไม่พอประมาณ ซื้อมาเพื่อขายไปในราคาที่แพงกว่า จนเกิดเศรษฐกิจฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัยพ์
- ห่วงภูมิคุ้มกัน
- เราขาดภูมิคุ้มกันด้านความรู้ ไม่รู้ว่าตนเองกำลังตกอยู่สถานการณ์รุนแรงเพียงใด หลงอยู่ในความโลภ เพลินอยู่กับเงินที่หาง่าย (กู้ได้ง่าย) เมื่อเกิดปัญหาแล้วก็ไม่มีองค์ความรู้ที่จะจัดการกับปัญหา ไม่ได้เรียนรู้ (ถอดบทเรียน) จากประสบการณ์ของอาเจนติน่าและแมกซิโกที่ประสบปัญหาคล้าย ๆ กันมาก่อน
- ไม่ได้วางแผนหรือเตรียมการรองรับการเปลี่ยนแปลง ก่อนจะเปิด BIBF ให้เงินไหลเข้าสู่ประเทศ
๓) มอง ๔ มิติ
- มิติวัตถุ/เศษฐกิจ
- หนี้สินจากต่างประเทศ
- ไปซื้อโรงงานเก่าต่างประเทศ หรือ นำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ
- ใช้จ่ายเกินตัว ซื้อของฟุ่มเฟือย ไปเที่ยวเมืองนอก ซื้อของแบรนด์เนมอย่างอู้ฟู่
- มิติสังคม
- การลอยตัวค่าเงินบาท ทำให้บริษัทและธุรกิจล้ม ต้องปลดคนงาน ขายรายได้ส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน กระทบต่อครอบครัว คนชักดาบหนีหนี้ส่งผลต่อมิตรไมตรีอันดีที่เคยมีมาของผู้คน
- ในทางกลับกัน เมื่อประเทศประสบปัญหา คนไทยหันมาสามัคคีกัน ร่วมแรงร่วมใจกันประหยัดและบริจาคทาน โดยเฉพาะโดยการนำของหลวงตามหาบัว ที่สามารถรวบรวมทองคำและเงินดอลลาร์จากประชาชน ได้ถึง ๑๓ ตัน เงินกว่า ๑๐ ล้านดอลลาร์ (อ่านได้ที่นี่) เงินจำนวนนี้มีส่วนสำคัญทำให้ "เงินไทยไม่กลายเป็นกระดาษ" ได้นำเข้ารวมไว้ในกองทุนสำรองระหว่างประเทศในส่วนที่ประกันการพิมพ์เงิน ทำให้สามารถพิมพ์เงินออกมาใช้ในตลาดกว่า ๒ หมื่นล้านบาท
- มิติสิ่งแวดล้อม
- มองในอีกมุมหนึ่ง อาจจะเป็นการดีที่ประเทศไทยก้าวไปสู่ความเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ หรือเป็น "นิค" (NIC: New Industry Country) ไม่สำเร็จ เพราะหากเป็นนิค สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรคงต้องถูกทำลายไปอีกมาก ...
- เมื่อคนไทยหันมาศึกษาหลักปร้ชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ทรงสอนให้เราตระหนักรู้ตนเอง และให้ความสำคัญกับทรัพยากรธรรมชาติ สู่ความสมดุลยั่งยืน ทำให้เกิดกระแสการอนุรักษ์ขึ้นในเมืองไทย
- มิติวัฒนธรรม
- เมื่อหันมาศึกษาให้รู้จักตนเอง เพื่อจะพึ่งตนเอง และเดินตามหลักทางสายกลาง คนไทยจึงพบว่า นอกจากทรัพยากรธรรมชาติแล้ว เรามีรากเหง้าวัฒนธรรมอันงดงามและมีคุณค่ายิ่ง นำมาสู่สิ่งที่เราถนัด คือ ธุรกิจบริการ การท่องเที่ยว โดยเฉพาะวัฒนธรรมการกินอยู่ อาหารไทย และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
- วิกฤตต้มยำกุ้ง เป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากความไม่พอเพียงที่เรามองข้ามวัฒนธรรมของตนเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น