วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

จับประเด็น: ถ่ายทอดประสบการณ์การดูงาน SDGs ที่การประชุม ISCN สต็อกโฮม สวีเดน 2018 โดย ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล และทีม SUN Thailand

วันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๑  ร่วมประชุม SDGs  ที่จัดโดยสถาบันคลังสมอง

ผู้ร่วมเสวนาวันที่ ๒๕ มี อ.จักรพันธ์ จากจุฬาฯ  อ.ปริญญ เทวานฤมิตรกุล จาก ม.ธรรมศาสตร์ อธิการพรชัย จาก ม.สยาม และ อ.เอกชัย จาก ม.เชียงใหม่  ผมนั่งฟังอย่างตั้งใจ พร้อมๆ กับ จับประเด็น  และเดินไปขอสไลด์ มาประกอบ เพื่อนำมาเผยแพร่ให้ท่านที่สุดใจ (ไม่ต้องสีค่ารถค่าที่พักมาฟัง)

อ.ปริญญา  เล่าเรื่องประกอบภาพ

  • ISCN 2018  หัวข้อหลักของเขาคือ Acting to purpose
  • หลังจากเขาประชุม 2016 
  • ปัญหาของเราคือ ไปดูงานกันมาก ส่งคนไปเรียนก็มาก แต่เรานำมาทำในเมืองไทยได้น้อย 
  • อุปสรรคคือคน คน ๓ กลุ่ม  
    • กลุ่ม ๑ ไม่มีทั้ง purpose แต่ ไม่มี Acting
    • กลุ่ม ๒  มี purpose แต่ไม่มี Acting
    • กลุ่ม ๓ มี Acting แต่ไม่มี Purpose
  • ในประเทศไทย ม.ธรรมศาสตร์ทำแล้วตั้งแต่ 2014 เป็นแห่งแรก
  • เป้าหมายของการจัดงานคือ ต้องการไอเดียใหม่ๆ จากท่าน และสิ่งที่ได้จะสร้างบันดาลใจผู้เข้าร่วมได้
  • งานนี้ไม่แจกถุงผ้า เป็นแก้วล้างทั้งหมด  ทำไมบ้านเราจึงแจกถง้า และแจกแก้วกระดาษ
  • กระดาษดีกว่าพลาสติกตรงที่มันย่อยสลาย แต่มันก็เป็นขยะเหมือนกัน 
  • ความเคลื่อนไหวใหม่ที่น่าสนใจคือ เขาลดการบริโภคเนื้อสัตว์  อาหารที่เสริฟในเงาน เป้นผัก 
  • เคีกอร่อย ไม่ได้หวานเกินไป 
  • งานวันสุดท้ายมี การจัดงานเลี้ยงให้รางวัล เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  
  • เป้าหมายที่แท้จริงของเขาคือ เครือข่าย การติดต่อกัน (Connection)
  • กิจกรรมที่น่าสนใจคือ Cover Station แบ่งกลุ่มเป็นโต๊ะๆ ละ ๘ คน  เวียนกัน ๕ รอบ 
  • โดยใช้การ์ดเป้นสัญลักษณ์ในการสลับเรื่อง
  • Amtropocene คือมนุษย์  ยุคที่มนุษย์เปลี่ยนโลก  เปลี่ยนในทางแย่
  • มีการเปิดโอกาสให้ทุกมหาวิทยาลัยมาแสดง BP
  • Panel ที่ชอบที่สุด คือ การร่วมกันกำหนดเป้าหมาย ไม่ให้อุณหภูทิเกิน ๒ องศา เขาเสนอให้ประชุมกันออนไลน์ ลดการนั่งเครื่องบิน
  • สัตว์ปล่อยมีเทนมากกว่าพืช
  • โลกเราเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบสุดกู่แล้ว ๕ ครั้ง ครั้งที่ ๕ ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์
  • Act with  purpose -> Act with us prupose
  • เป็นปีแรกที่จัดแยกห้อง แล้วถ่ายทอดเทเลมารวมกัน
  • มี Charter Lab เพื่อทำร่วมกันทำข้อบังคับอย่างมีส่วนร่วม   ตอนช่วงเบรค พัก มีการเปิดโอกาสให้เสนอ แล้วมีฝ่ายรวบรวม  จบด้วยการปริ๊นมาลงนามร่วมกัน
  • แนวทางที่เราสามารถนำมาต่อยอดได้ 
  • SDGs ของเรา คือข้อที่ 4 Quility Education 
    • มหาวิทยาลัยกำลังอยู่ในยุคหดตัวอย่างรวดเร็ว
    • Inputbased Education ผ่านไปแล้ว
    • ความยั่งยืนไม่ใช่สิ่งแวดล้อม แต่เเป็น สิ่่งแวดล้อม+ คน
    • มหาวิทยาลัยสู่ความยั่งยืนนั้น  เป็นเรื่องของทุกสิ่ง ทุกเป้าของ SDGs
อ.เอกชัย จาก  ม.เชียงใหม่
  • ไป ISCN มาแล้ว ๔ ครั้ง 
    • ปีที่ ๒ ไปที่ฮ่องกง   ส่วนใหญ่มีสปอนเซอร์ เข้ากีเบต ส่วนใหญ่ยัง Plan แต่ยังไม่ได้ดู 
    • ปีที่ ๓ ไปที่แคนนาดา ตอนนั้นก็ยังไม่ชัด  โดยเฉพาะประเทศไทย   ต่างประเทศเขาทำมาแล้ว ๒๐ ปี 
    • ปีที่ ๔ ไปที่สวีเดน  เขาไปไกลมาแล้ว  มีมหาวิทยาลัยในเอเชีย ๒ แห่งที่ทำดีมาก  คือ NUS และ มหาวิทยาลัยนันยาง สิงคโปร์
  • สิ่งที่เห็นและประทับใจคือ 
    • ทำอย่างครอบคลุมที่ง ๑๗ ตัวแล้ว  
    • เขาทำเป็นเรื่องปกติแล้ว 
    • สิ่งที่เขานำมาเสนอ ได้ผ่านการทดลองทำมาแล้ว 
    • มีการลงทุนและนำเทคโนโลยีมาใช้ในการนี้ด้วย 
    • มีการบริหารจัดการเข้าไปถึงเมือง ถึงคน (การศึกษา) 
    • เขาทำแบบ หุ้นส่วนสังคม  โดยมีชุมชนเป็น Steckholder ใหญ่ด้วย 
  • เขามีโกลที่ชัดเจน และประกาศของ UN-SDGs เข้าไปในแผนชัด มีปฏิทิน
  • มีการทำวิจัย ร่วมกับรัฐบาลของท้องถิ่นในการขับเคลื่อน
  • มีการตั้งแลปทดลอง นำเทคโนโลยีเข้ามา หาทุนมาให้ดำเนินการ  คิดเป็นเงิน 2.0 ของ GDP  (แต่ของเรา 0.2)
  • มีการตั้งสำนักงานแห่งความยั่งยืน  ของไทยก็มีบ้างแล้ว คือธรรมศาสตร์ จุฬาฯ มหิดล 
  • Social Engagement ของเขาแข็งแรงมาก 
  • การนำมาใช้กับเรา  คือ เราต้องไม่ทำเฉพาะนโยบายเท่านั้น ต้องทำจากล่างขึ้นบนด้วย  วิธีการ Copy & Development อาจจะใช้ได้  และต้องเริ่มต้นในสิ่งที่เราทำได้ก่อน และต้องไม่ลืมองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
  • ขอนแก่นโมเดล อบจ.ขอนแก่น  มีการตั้งส่วนงานขนส่งขึ้นเป็นผู้นำ 
อ.ปริญญา
  • การวิจัยของเขาทั้งหมด มีการตั้งเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหา และทำวิจัยเพื่อไปแก้ปัญหา  แต่เราทำวิจัยเพื่อตีพิมพ์
  • เขาใช้ Living Lab  คือใช้ชุมชนเป็นสถานปฏิบัติการ ดำเนินการอย่างมีส่วนร่วม 
อ.จักรพันธ์ จากจุฬาฯ 
  • ทางยุโรป เขาเน้นทางเทคโนโลยีค่อนข้างเยอะ มีการนำเอาเทคโนโลยีไปใช้ 
อ.ปริญญา
  • ส่วนทาง่แคนนาดา จะเน้นไปที่ ไอเดียใหม่ และการบูรณาการกับธรรมชาติ  เช่น  เขามี Wood Wild Web  ที่เน้นเรื่องต้นไม้  เขาให้ความสำคัญกับต้นไม้  หันมาใช้ไม้ ใช้ต้นไม้มากขึ้น แต่ใช้แบบมีแผน 
อ.จักรพันธ์
  • สิงค์โปร์จะมีข้อจำกัดเรื่องของเมือง ทำให้การวางผังของมหาวิทยาลัยจะเป็น City University 
  • ส่วนแคนนาดา เขาจะพยายามผูกหลายๆ เรื่องเข้าด้วยกัน เช่น เรืองประวัติศาสตร์  เรื่องภูมิศาสตร์ ฯลฯ  เทคโนโลยีจะกลายเป็นเรื่องรองลองมา 
  • ส่วนปีนี้ที่สตอกโฮม   ดูเหมือนจะเพิ่งเริ่มเปลี่ยนกลับมาหลังจากเจอกับปัญหาแล้ว
  • เราต้อง
    • หันมาดูว่า เราอยู่จุดไหน  เราต้องเริ่มอย่างไร 
    • เช่น เรื่องขยะ คนไทยจะมีความฝังใจว่า จะแยกขยะทำไม ในเมื่อเราเอาไปรวมกัน  แต่ความจริง คนเก็บขยะเองเขาก็แยกอยู่แล้ว   
  • มหาวิทยาลัยในเคนยา เขามีปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมเนื่องจาก ไม่มีกลไกในการจัดการของเสียในอุตสาหกรรม   ซึ่งบ้านเรามีแล้ว 
อธิการพรชัย ม.สยาม
  • ม.สยาม เป็นเครือข่ายใน SUN Thailand 
  • เราต้องทำเปเปอร์เพื่อแก้ปัญหาของเราและของโลก ไม่ใช่เพื่อตีพิมพ์ 
  • มหาวิทยาลัย KTH  Campus Plan
    • เขามี Academic House คือ Land Lord ของมหาวิทยาลัย  โดยรัฐจะตั้งบริษัทขึ้นมาเป็นเจ้าของทรัพยากร แล้วให้มหาวิทยาลัยเช่าที่ และมีหน้าที่ในการเช่าตึก สร้างตึก สร้างสิ่งต่างๆ ในสวีเดน โดยมีเป้าหมายให้มหาวิทยาลัยกับเมืองเป็นหุ้นส่วนของกันและกัน 
    • ซึ่งแต่ละวิทยาเขตก็จะดำเนินการแตกต่างกันตามทุนเดิมในพื้นที่ 
    • กระบวนการในการทำแผนของเขา จะนำโนโลยีเข้ามา มี VR เข้ามาช่วย หลังจากที่ได้ร่วมกันคิด ระดมสมอง และออกแบบกัน  
    • ในการสร้างอาคารหรือทรัพยากรแต่ละอัน มีการใช้งานกี่เปอร์เซ็นต์  
  • MIT Living Lab มีการนำเอาชุมชน ทั้งหมดมาเป็นสถานปฏิบัติการ 
    • เขาทำเรื่องนี้ต่อเนื่อง  
    • ในมหาวิทยาลัยมีคนสองประเภท คือ Facilitator และ อาจารย์หรือนักวิจัย 
    • เขามุ่งใช้สถานที่ในมหาวิทยาลัย  
    • กำหนดเลยว่าต้องมีส่วนร่วมกับชุมชน 
    • ให้ความสำคัญกับ Recycle 
    • มีการประเมินผลสำเร็จหรืออิมแพ็ค 
    • เขาไปซื้อไฟฟ้าจากโรงงานในชุมชนใกล้ๆ  ช่วยลดคอสหลายอย่าง
    • กงล้อของ Living Lab  จะต้องมี ไอเดีย มีการทำ มีการวัดผล และมีการทำวิจัยสนับสนุน 
    • ขับเคลื่อนโดย Facilitator  วิจัยโดยอาจารย์และนักวิจัย  หน่วยงานภายนอกและชุมชน เป็นฝ่ายสนับสนุนทุน 
สรุปรอบแรก
  • เห็น BP ที่ชัดเจน 
  • ในประเทศไทยมีวงใหญ่ๆ อยู่ ๓ วง คือ Social Engagement, SUN Thailand, ISCN
รองอธิการ มศว. 
  • บริบทของ มศว. จะค่อนข้างแตกต่าง   มศว. มีวิทยาเขตที่ใกล้ชิดชุมชน
  • สิ่งนี้เป็นเป้าหมายที่มหาวิทยาลัยต้องทำ 
อ.จักรพันธ์ จุฬาฯ 
  • ทำชุมชนในเมือง 
  • เริ่มต้นทำจากการสำรวจด้วยแบบสอบถามห  ชุมชนที่ให้ความร่วมมือน้อยที่สุด คือชุมชนสยาม 
หากมองไปที่โกเตนเบิร์ก  ที่เปลี่ยนแปลงจาก "ขุมนรก" มาเป็น "เมืองสวรรค์"   มีความเป็นมาอย่างไร  เชิญค่ะ

อ.เอกชัย
  • เห็นตัวอย่างที่เป็นของจริง  รู้สึกว่า เขาทำได้อย่างไร  เราก็มีปัญหาแบบเดียวกัน ทำไมเราทำไม่ได้ 
  • ของเขาทำครอบคลุมทั้งหมดแล้ว ๑๗ ตัว แต่เราทำแบบเตาะแตะอยู่เพียง ๓-๔ ตัว 
  • เขาทำ Social Engagement เข้มแข็งมาก 
  • เขาทำชัดเจนและต่อเนื่อง  
    • ชัดเจนคือมีแผนชัดเจน มีปฏิทิน  เพื่อให้ทุกคนเข้าใจว่าจะเดินอย่างไร  อะไรคือแกนหลัก อะไรคืองาน อะไรคือสิ่งที่ต้องปฏิบัติ อะไรคือนโยบาย  จะทำเมื่อไหร่ ใครจะเป็นคนดูคนประเมิน
    • เขารวมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยในโกเตนเบิร์ก  และส่งเรื่องให้กระทรวงศึกษาให้เปลี่ยนนโยบาย เกิดเป็นหลักสูตรระดับสูง จึงทำให้เกิดความต่อเนื่อง 
    • ตอนนี้ อ.กฤษกร กำลังทำวิจัยเรื่องนี้อย่างจริงจัง หากเสร็จแล้ว สกอ.ยอมรับ อาจจะเกิดขึ้นในประเทศเรา 
  • หอการค้า เป็นแหล่งรวมพ่อค้า เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนามหาวิทยาลัย  นโยบายจึงมาจากภาคเอกชน   มหาวิทยาลัยจึงต้องตอบโจทย์เอกชน 
  • บัณฑิตของ Chalmers U. นั้นจะมีค่านิยมเป็น กะลาสีเรือที่จะต้องทำเรื่องความยังยืนต่อ ศิษย์เก่าต่างๆ 
  • เขามีการวางแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาศึกษาทั่วไป เพื่อรองรับเรื่องนี้  
  • ทั้ง Godenberge และ Chalmers มีอธิการเป็นผู้หญิง  และเข้มแข็งมาก  มีการมอบตำแหน่งเหมือนผู้ช่วยอธิการให้รับผิดชอบเรื่องนี้โดยเฉพาะ 
  • U of Godenberge และ U of Chalmers  เขาร่วมมือกันในเมืองเดียวกัน  มีการตั้งบอร์ดร่วมกัน (๖-๗ คน) มีหน้าที่เช็คว่าทำเรื่องนี้ไปถึงไหน มหาวิทยาลัยทั้งสองจะต้องทำอย่างไรบ้าง คือตั้งของดีมารวมกัน แล้วช่วยกันทำ 
  • มองมาที่เรา 
    • ความจริงในระดับมัธยมเขาทำมาพอสมควรแล้ว  
    • มหาวิทยาลัยต้อง Action ทำต่อ 
  • เขาอาตัวแทนของทุกๆ มหาวิทยาลัย มารวมกัน มาตั้งกติการ่วมกัน มีเป้าหมายร่วมกัน 
  • Goldenberge คือเมืองที่ผลิตรถวอลโว่  เขาบอกว่า ๒๐๒๑  จะเป็นเมืองที่ใช้รถไฟฟ้าทั้งหมด
อ.พรชัย พูดถึงโกเตนเบิร์ก
  • ท่านได้แวะไปไม่นาน เพราะแวะไปหาลูกชาย ที่เป็นรุ่นน้องอาจารย์ณรงค์ 
  • ในต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวกับ SDGs เขาจะมีระบุเครื่องหมายไว้อย่างชัดเจน 
  • การทำ Sustanability Report ให้ผู้คนรู้อย่างชัดเจนในการปฏิบัติต่างๆ ว่าเกี่ยวกับเรื่องใดบ้าง 
  • เขาจะทำงานในลักษณะของโครงงาน 
  • มีการทำสื่อการเรียนรู้ เอื้อให้นักศึกษาหรือผู้มายืนสามารถอ่านได้ เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง 
อ.จักรพันธ์ 
  • เรื่องหลักสูตรที่เขาทำ เขามีระบบกลไกที่ง่ายมาก สะดวกมาก  ผ่านรองอธิการเพียงท่านเดียว 
  • รองอธิการที่ทำนี้ จะดูละเอียด อยู่ต่อเนื่องเป็นวาระที่ ๒ 
  • มีการสนับสนุนเรื่องความเท่าเทียมอย่างมาก 
  • เรื่องความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย  ไม่เหมือนเราที่ มีปัญหาแม้แต่ระดับภาควิชา 
  • เห็นด้วยกับการผลักดัน SDGs โดยใช้คนรุ่นใหม่   ไม่ใช่การ Top-down ลงไป 
คำถาม: เราจะกลับมาทำอะไรที่มหาวิทยาลัยของเรา 

อ.เอกชัย ม.เชียงใหม่
  • เมื่อพิจารณา SDGs ทั้ง ๑๗ ข้อนี้  องค์กรของเราทำกี่ตัว 
    • เรามักเริ่มจากผู้บริหารที่ดูแลพื้นที่ทางกายภาพ 
    • แต่เขาเริ่มจากการมองภาพองค์รวมทั้งระบบ
    • สิ่งที่เราต้องทำก็คือ ต้องกลับมาคิดกันใหม่ให้เชื่อมโยงบูรณาการ 
  • ที่ ม.เชียงใหม่
    • เมื่อ ๕ ปีที่แล้ว  ม.เชียงใหม่ ยังไม่มีมาสเตอร์แพลน  การบริหารจัดการขึ้นอยู่ "รสนิยม" ของผู้บริการ 
    • เมื่อมาเป็นผู้บริหาร ท่านทำงานอย่างหนักในการวางผังแม่บทใหม่ อะไรที่ไม่ครบก็เตรียมผน อะไรที่ควรมีแต่ไม่มีก็ต้องทำ อะไรที่มีแล้วก็เอามาเป็นฐาน  เรียกว่า  SMART Growth  
    • ความคิดรอบยอดคือ ทำอย่างไรให้คุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุด 
    • กระทรวงพลังงานและสำนักงานที่ดูพิมพ์เขียวมาเริ่มจับ   จึงได้นำเอาแพลนเขียวที่ทำไว้มานำเสนอ 
    • ในแผนนั้นดูทั้งหมด ๘ เรื่อง  (เอาสไลด์มาเติม) ซึ่งร่วมถึง Governance ด้วย 
    • ม.เชียงใหม่ ได้บูรณาการดับครีเอทีฟล้านนา  เรื่องอาหาร  
    • ม.เชียงใหม่ ตอบข้อ  ๔ ๑๑  ๑๓ ....  ทั้งหมด ๗ ตัว
อ.พรชัย ม.สยาม
  • SDGs ไม่ใช่ CSR  
  • เราจะมุ่งไปที่การเรียนการสอน 
  • เราจะนำ Campus และ Community เป็น Test Based 
  • เราจะมีกลุ่มที่เรียกว่า SUSDGs ตั้งเป็นคลัสเตอร์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยในพื้นที่ มีการประชุมออไลน์เดือนละครั้ง 
อ.จักรพันธ์
  • เราจะทำ SDGs report ให้ชัดเจนก่อน  แล้วค่อยดูว่า อะไรทำมากทำน้อย แล้วค่อยเริ่มทำ 
  • หลังจาก Mapping แล้ว ต้องมองหาว่าใครคือ Player ในมหาวิทยาลัย แล้วค่อยเซ็ตทีมกัน 
  • เราจะทำแบบ ล่างขึ้นบนให้มากขึ้น เน้นไปที่คนที่สนใจจริง ๆ   ทำจากเล็กไปใหญ่ 
  • ในขณะเดียวกันเราจะทำกับนิสิตเลย  ตอนนี้เราเริ่มมีคลับเกี่ยวกับ SDGs มากขึ้น   
  • เราพยายามถ่ายทอดแนวคิดไปสู่นิสิต เช่น  ประชาสัมพันธ์ผ่านรถบัสในมหาวิทยาลัย 
  • เราเป็นหนึ่งใน SUN Thailand 
อ.ปริญญา
  • ม.ธรรมศาสตร์ เป็นประธาน SUN Thailand
  • SUN
    • เริ่มต้นเอา SDGs มาเป็น Purpose ของมหาวิทยาลัย ทุกตัว 
    • SUN หนุนให้ เกิดความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย เน้นไปที่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้  และเริ่ม Acting ในปีที่ ๓ เช่น มีการเซ็น MOU ร่วมกันล้วของมหาวิทยาลัยชั้นนำกับ CP 
    • SUN จัดประชุมเสวนาเวทีระดับชาติ แต่จะเน้นไปที่การนำเสนอ BP เป็นวง Acting แลกเปลี่ยนเรียนรู้   ใกล้ที่สุดคือ ๒๕-๒๖ สิงหาคม ที่ ม.ธรรมศาสตร์ 
    • และเวทีนี้จะเน้นนักศึกษาให้มีบทบาทมากขึ้น ให้แต่ละมหาวิทยาลัยประกวดกันเอง แล้วคัดมา แล้วนำมาแข่งขั้นกันระดับชาติ 
  • ทั้งหมดที่ท่านได้ฟังไปทั้งวันนี้ คือการเรียนรู้จากผู้ที่เขาทำมาแล้ว  
อ.ปริญญา 
  • " เราไม่ทางตามทันหรอกครับ เราตามเขาไม่ทัน ... อย่าไปวิ่งตามครับ เราต้องวิ่งไปดักหน้าครับ...."  




วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

งานพัฒนาอาจารย์ด้านการเรียนการสอน_๐๔ : การวัดผลประเมินผลการศึกษา เรียนรู้จาก ผศ.ดร.ญาณภัทร สีหะมงคล

ช่วงสุดท้ายของหลักสูตรวัดผลประเมินผลและออกข้อสอบเพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ ได้รับความร่วมมือจาก ผศ.ดร.ญาณภัทร สีหะมงคล อาจารย์ประจำภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยหมาสารคาม

ก่อนจะเริ่มการอบรม ผมทำแบบทดสอบก่อนเรียนเกี่ยวกับการวัดผลประเมินและการออกสอบ จำนวน ๕๐ ข้อ ๕๐ คะแนน  หากท่านผู้อ่านที่อยากลองดู เชิญดาวน์โหลดที่นี่   โดยเฉพาะอาจารย์ท่านที่อยากจะทบทวนความรู้ที่เคยได้รับจากการอบรมในหลักสูตรนี้ 




ผลการสืบค้นพบว่า องค์ความรู้เรื่องการวัดและการประเมินด้านการศึกษาค้นหาได้ไม่ยากเลย เว็บที่มีข้อมูลครบถ้วนมากๆ คือเว็บไซต์ของอาจารพเยาว์ เนตรประชา (คลิกที่นี่)  



ในทางการศึกษา คำว่า "การวัดผล" มีความหมายแตกต่างจาก "การประเมินผล"   การวัดผลการศึกษา คือ กระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งปริมาณที่แสดงเป็นตัวเลขหรือสัญลักษณ์ที่มีความหมายแทนคุณลักษณะหรือคุณภาพของสิ่งที่จะวัด  ส่วนการประเมินผลการศึกษา หมายถึง กระบวนการตัดสินคุณค่าหรือมูลค่าของสิ่งต่างๆ เปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่มีมาตรฐานซึ่งกำหนดขึ้นอย่างเป็นระบบ การประเมินผลอาจจะแสดงผลเป็นเชิงปริมาณหรือตัวเลข หรืออาจนำเสนอเป็นระดับคุณภาพก็ได้ .... สรุปสั้นๆ คือ การวัดผลจะต้องได้ผลเป็นตัวเลข ส่วนการประเมินผลจะต้องมีเกณฑ์ที่ชัดเจน 


  • การวัดแบ่งได้เป็น ๒ ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ การวัดทางกายภาพศาสตร์ หรือการวัดทางวิทยาศาสตร์ วัดสิ่งที่เป็นรูปธรรม เช่น ความยาว น้ำหนัก เวลา พื้นที่ ฯลฯ  และการวัดทางสังคมศาสตร์  วัดสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น การวัดทางการศึกษา การวัดทางจิตวิทยา การวัดทางพฤติกรรมศาสตร์ เป็นต้น 



  • ขั้นตอนการวัด มาตรฐานอย่างน้อยต้องมี ๔ ขั้นตอนนี้  
    • ๑) เริ่มจากกำหนดคุณลักษณะที่จะวัดก่อน จะวัดอะไร K(knowledge) P (กระบวนการหรือทักษะ) หรือ A (Attitute) เจตคติ  
    • ๒) สร้างเครื่องมือวัด หรือเลือกเครื่องมือวัดที่เหมาะสมและมีคุณภาพ 
    • ๓) ดำเนินการวัด อย่างรอบคอบ ระมัดระวังปัจจัยภายนอกที่จะมีผลทำให้เกิดความคาดเคลื่อน 
    • ๔) สรุปและนำเสนอผลการวัด ต่อผู้ที่นำใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อไป 




  • การวัดทางการศึกษาเป็นการวัดที่จัดอยู่ในด้านการวัดทางสังคมศาสตร์ 
  • ลักษณะที่สำคัญของการวัดทางการศึกษา ที่สำคัญๆ คือ
    • เป็นการวัดทางอ้อม 
    • วัดได้เป็นบทางส่วน
    • ค่าที่ได้มีลักษณะเชิงเปรียบเทียบ 
    • มีความคลาดเคลื่อนเสมอ 
    • มารตวัดละเอียดไม่เพียงพอ
    • หน่วยที่ช้มีหลากหลาย มีขนาดไม่เท่ากัน 




  • สมการพื้นฐานของการวัดทางการศึกษา แสดงได้ด้วยสมการ  X = T + E  เมื่อ T คือค่าจริง (True) ส่วน E คือค่าคลาดเคลื่อน Error  
  • การวัดที่ได้ค่าคะแนนเท่ากัน เช่น นายแดงและนานเหลือง ได้ ๗ คะแนน  แต่หากความคลาดเคลื่อนสูงถึง ๔๐ เปอร์เซ็น นานแดงและเหลืองอาจมีคะแนนต่างกันถึง ๔ คะแนน ได้ 



  • จุดเน้นของการวัดผลประเมินผลด้านการศึกษา ที่สำคัญ  ได้แก่ 
    • ควรประเมินตามสภาพจริง ไม่ใช่ประเมินกับกลุ่มเป้าหมายที่ไม่อยู่สภาพจริงๆ  
    • วัดผลประเมินให้ครบ ๓ ด้าน คือ ความรู้ ทักษะ/กระบวนการ และคุณธรรมจริยธรรมหรือค่านิยม 
    • ควรวัดและประเมินผลควบคู่ไปกับการจัดการเรียนรู้ ไม่ใช่รอประเมินหลังการเรียนรู้เท่านั้น 
    • เนื่องจากการวัดแต่ละเครื่องมือเป็นการวัดได้เพียงบางส่วน  จึงควรใช้การวัดด้วยวิธีการที่หลากหลายเพื่อลดความคลาดเคลื่อนลง 




  • ไม่ควรเป็นการประเมินเพื่อสรุปผลหลังการเรียนรู้ (Summative) เช่น การสอบปลายภาคเรียนเท่านั้น  ควรมีการประเมินระหว่างการเรียนการสอนด้วย เช่น การทดสอบท้ายบทเรียน การทดสอบกลางภาคเรียน การสังเกตจากผลงานหรือชิ้นงาน หรือการสังเกตพฤติกรรม เป็นต้น 




  • สได์ด้านบนนี้ แสดงประโยชน์หรือความสำคัญของการวัดผลต่อผู้เรียนและผู้สอน 



  • กระบวนการประเมิน ควรมีทั้ง ก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน โดยมีวัตถุประสงค์แต่ละช่วงแตกต่างกัน ดังนี้ 
    • การวัดก่อนเรียน  เพื่อ ให้ทราบความรู้และทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเรียนรู้มโนทัศน์ใหม่มากน้อยเพียงใด  หากไม่มีหรือมีไม่พอ ผู้สอนต้องออกแบบการเรียนรู้เพื่อเตรียมพร้อมก่อนเรียน 
    • การวัดระหว่างเรียน เพื่อตรวจสอบว่า ผู้เรียนเข้าใจมโทัศน์ใหม่ที่กำลังศึกษาหรือไม่ เข้าใจคลาดเคลื่อนหรือไม่  ผู้สอนจะได้ปรับกระบวนการเรียนรู้ได้ทันที 
    • การวัดหลังเรียน  เพื่อตรวจสอบว่า ผู้เรียนเรียนรู้มโนทัศน์ใหม่ได้ครบถ้วนตามที่ได้ระบุไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้หรือไม่และพร้อมที่จะเรียนรู้ในระดับต่อไปได้หรือไม่ 




  • กระบวนการทางการศึกษา มีองค์ประกอบ ๓ ประการได้แก่ เป้าหมายการเรียนรู้ (Objective) การจัดการเรียนรู้ (Learning Experience) และการประเมินผลการศึกษา  (Evaluation)
  • ทั้ง ๓ ส่วนต้องเชื่อมโยงสอดคล้องกัน 




  • การศึกษาให้การยอมรับทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม (Benjamin S. Bloom) และทีมงาน ซึ่งเสนอขอบเขตในการศึกษาเป็น ๓ ส่วน ได้แก่  การศึกษาให้เกิดปัญญา (จากการคิด) เรียกว่า พุทธิพิสัย (Cognetive Domain) การศึกษาให้เกิดทักษะ เรียกว่า ทักษะพิสัย (Psychromotor) และการศึกษาเพื่อพัฒนาเจตคติ เรียกว่า จิตพิสัย (Attitude) 



  • ในกรณีของรายวิชาศึกษาทั่วไป ส่วนที่เกี่ยวข้องมากที่สุดคือ การศึกษาพัฒนาปัญญาด้าน พุทธิพิสัย ๖ ขั้นตอนดังสไลด์ 





  • ลักษณะของพฤติกรรมตามทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม จะเป็นลำดับขั้น (Bloom Taxnomy)  ทักษะทางปัญญาที่สูงขึ้น จำเป็นต้องมีพื้นฐานทักษะทางปัญญามาตามลำดับก่อน 





  • ผมวาดรูปสรุการเรียนรู้ของตนเองอีกครั้งดังสไลด์ด้านบนนี้  
  • ความรู้จำแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม ความจำเนื้อหา กระบวนการ และความรู้รวบยอด (Concept)
  • ความเข้าใจ มี ๓ ลักษณะ ได้แก่ การแปลความ การตีความ และการขยายความ
  • การวิเคราะห์ แบ่งเป็น ๓ ระดับ ได้แก่ การวิเคราะห์ความสำคัญ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ และวิเคราะห์หลักการ
  • การประเมิน แบ่งได้เป็น ๒ แบบ คือ การประเมินตัดสินโดยใช้ข้อเท็จจริงในเรื่องและนอกเรื่อง 




  • เครื่องมือวัดหลักทางการศึกษามีเพียง ๔ ประเภท ได้แก่ แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต 
  • บางทีอาจมีผู้ใช้คำว่า แบบวัด เช่น แบบวัดความสามารถ แบบวัดภาคปฏิบัติ  ฯลฯ  เหล่านี้อาจเป็นการวัดจากการสังเกตเทียบกับเกณฑ์ ซึ่งก็คือแบบสังเกตนั่นเอง เช่น แบบสังเกตจากแฟ้มสะสมงาน สังเกตจากรายงานผล สังเกตจากการเขียนบันทึกสะท้อนผล การสังเกตพฤติกรรมการอภิราย แบบบันทึกการสังเกตแบบฝึกหัด ฯลฯ 



  • เครื่องมือประเมินที่นิยมใช้วัดด้านพุทธิพิสัย ได้แก่ แบบทดสอบ (ข้อสอบกลางภาค ปลายภาค) แบบสังเกตพฤติกรรม แบบสังเกตแฟ้มสะสมงาน แบบสัมภาษณ์ ฯลฯ 



  • เครื่องมือวัดสำหรับด้านทักษะพิสัย ได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรม แบบทดสอบ แบบสังเกตแฟ้มสะสมงาน ฯลฯ 



  • การวัดผลประเมินผลด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เครื่องมือที่นิยม ได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรม  แบบสอบถาม (การสำรวจ) แบบวัดเจตคติ (มักเป็นแบบสอบถาม) แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตผลงาน ฯลฯ 



  • คุณสมบัติของแบบทดสอบที่ดี มี ๕ ปริมาณ ได้แก่ ความเที่ยงตรง (Validity) ความเชื่อมั่น (Reliability) ความเป็นปรนัย (Objectivity) ความยาก (Difficulty) และ ค่าอำนาจจำแนก (Discrimination) 




  • ความเที่ยงตรง (Validity) หรือหากเป็นศิษย์จุฬาฯ มักเรียกว่า ความตรง ศิษย์ มศว. เรียกความเที่ยงตรง
  • ความเที่ยงตรง หมายถึง คุณภาพของเครื่องมือว่า สามารถวัดคุณลักษณะที่ต้องการจะวัด (วัตถุประสงค์ของการวัด) ได้หรือไม่ วัดได้ครอบคลุม ครบถ้วน และสอดคล้องกับคุณลักษณะจริงๆ หรือไม่  ถือเป็นปริมาณที่สำคัญที่สุดของแบบทดสอบ  




  • ความเที่ยงตรงแบ่งได้เป็น ๓ ประเภท ได้แก่ 
    • ความเที่ยงตรงตามเนื้อหา (content validity)  บอกว่า ข้อสอบนั้นสามารถวัดได้ตรงตามวัตถุประสงค์ตามหลักสูตร วัดเนื้อหาได้ครบถ้วน ครอบคลุมมากเพียงใด 
    • ความเที่ยงตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ (Criterion-Relate Validity) มีสองส่วน ได้แก่ 
      • ความเที่ยงตรงตามสภาพ (Concurrent Validity) บอกว่า ข้อสอบนั้นสามารถวัดได้ตรงตามสภาพจริงได้หรือไม่  หลังการวัดต้องนำผลการวัดไปเปรียบเทียบกับสภาพจริงที่เกิดขึ้น  ... เหมือนการทวนสอบคำตอบ 
      • ความเที่ยงตรงตามการพยากรณ์ (Predictive Validity)  บอกว่า เครื่องมือนั้นสามารถวัดได้ตรงตามเหตุการร์ที่จะเกิดขึ้นภายหน้าได้ 
    • ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity) บอกว่า เครื่องมือสามารถวัดพฤติกรรมและสมรรถนะต่างๆ ครบถ้วนตามจุดมุ่งหมายและเป็นไปตามทฤษฎีอย่างครบถ้วน 



  • ความเชื่อมั่น (Reliability) หมายถึง ความคงเส้นคงวาของคะแนนในการวัดแต่ละครั้ง  เครื่องมือที่มีความเชื่อมั่นสูง คือ เครื่องมือที่วัดครั้งใดๆ ก็ได้ผลเหมือนเดิม 



  • ปัจจัยที่มีผลต่อความเชื่อมั่นของข้อสอบ ๗ ประการคือ ความเป็นเอกพันธ์ของผู้ตอบ จำนวนผู้ตอบ จำนวนข้อคำถาม ตัวผู้ตอบ การให้คะแนน สภาพแวดล้อม และค่าอำนาจจำแนกและความยากของข้อสอบ 



  • การวัดความเชื่อมั่นของข้อสอบ สามารถทำได้หลายวิธี เช่น 
    • การวัดความคงที่ (Stability) ใช้เครื่องมือนั้นวัดซ้ำๆ ผลการวัดใกล้เคียงกันคือมีความเชื่อมั่นสูง
    • การวัดความสมมูลกัน (Equivalence) ใช้แบบทดสอบคู่ขนาน วัดในเวลาไล่เลี่ยกัน
    • การวัดความสอดคล้องภายใน ด้วยสถิติของ Richardson (KR20) หรือ วิธีของ Cronbach (alpha Coefficient)



  • ความเป็นรนัยสูง หมายความว่า ทุกๆ ฝ่าย มีความเห็นสอดคล้องกันในเรื่องของคำถาม การประเมิน เกณฑ์การประเมิน ซึ่ง จำเป็นที่ข้อสอบจะต้องมี
    • คำถาม หรือ ข้อคำถาม ที่มีความชัดเจน 
    • การให้คะแนนตรงกัน มีเกณฑ์การให้คะแนนแน่นอน ไม่ขึ้นกับอารมณ์หรือเวลาที่ตรวจ
    • การแปลความหมายของคะแนนที่ตรงกัน มีเกณฑ์การแปลความหมายของคะแนนชัดเจน 




  • ค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบ  คือความสามารถในการแยกแยะความแตกต่างระหว่างสิ่งที่วัดได้อย่างชัดเจน สามารถแบ่งแยกผู้เรียนออกได้ทุกระดับ ตั้งแต่ เก่ง กลาง อ่อน 
  • ความยากง่าย (Difficulty) แทนด้วยสัญลักษณ์ p  เรียกว่า ค่าพี ข้อสอบที่ดีควรมีค่า p อยู่ในช่วง 0.20 - 0.80 
  • ความยุติธรรม (Fair) คือ ลักษณะของข้อสอบที่ไม่สร้างความได้เปรียบให้กับผู้เข้าสอบกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง  



  • แบบทดสอบเป็นเพียงสิ่งเร้าให้เราสังเกตพฤติกรรมได้ 



  • ข้อสอบแบบปรนัย ไม่ได้มีแต่แบบเลือกตอบ หลายตัวเลือกเท่านั้น  ข้อสอบแบบถูก-ผิด แบบจับคู่ ก็เรียกว่าข้อสอบปรนัย 



  • ข้อสอบแบบปรนัย มีหลายแบบ แบบคำถามเดี่ยว แบบตัวเลือกคงที่ หรือแบบสถานการณ์ 



  • ขั้นตอนในการทำข้อสอบ มีถึง ๗ ขั้นตอน  เริ่มจาก การวิเคราะห์หลักสูตรและจัดทำตารางวิเคราะห์หลักสูตร -> กำหนดรูปแบบข้อคำถาม -> เขียนข้อสอบ -> ตรวจทานข้อสอบ -> ตรวจสอบความเที่ยงตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ -> นำไปทดลองใช้และวิเคราะห์หาคุณภาพ ค่าพีค่าอาร์  -> คัดเลือก ปรับปรุง และจัดชุดข้อสอบ 




  • การจัดทำข้อสอบแบบอิงเกณ์ มีขั้นตอนเพิ่มขึ้นเป็น ๘ ขั้นตอน เริ่มจาก การวิเคราะห์หลักสูตรและจัดทำตารางวิเคราะห์หลักสูตร -> กำหนดพฤติกรรมย่อย  -> กำหนดรูปแบบข้อคำถาม -> เขียนข้อสอบ -> ตรวจทานข้อสอบ -> ตรวจสอบความเที่ยงตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ -> นำไปทดลองใช้และวิเคราะห์หาคุณภาพแบบอิงเกณฑ์  -> คัดเลือก ปรับปรุง และจัดชุดข้อสอบ 



  • ลักษณะของข้อสอบที่ดีมี ๗ ประการ ได้แก่ ตรงวัตถุประสงค์ เป็นประโยคคำถามที่สมบูรณ์ มีความเป็นปรนัย ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย หลีกเลี่ยงคำปฏิเสธ มีความยุติธรรม และไม่แนะนำคำตอบ 



  • การหาคุณภาพข้อสอบ มีลำดับขั้นดังสไลด์นี้ 



  • การหาความเที่ยงตรง ที่นิยมคือ วิธีการถามผู้เชี่ยวชาญ  เพื่อถามความเห็นว่า ข้อสอบข้อนั้นตรงกับวัตถุประสงค์หรือไม่ เรียกว่า วิธี Index of Consistancy  (IOC) 




  • ค่าความยาก คำนวณจากสูตรดังสไลด์ด้านบนนี้ 



  • ในกรณีที่จำนวนผูสอบมีจำนวนมาก นิยามจัดเอาเฉพาะผู้ตอบกลุ่มบนและกลุ่มล่างเท่านั้น ไม่ใช้จำนวนนิสิตทั้งหมด



  • ค่า p เท่ากับ 1.00 หมายถึง ตอบถูกทุกคน  ค่า p 0.80 หมายถึง ร้อยคนตอบถูก 80 คน 



  • ค่าอำนาจจำแนก r ยิ่งมากยิ่งดี ค่าอำนาจจำแนก 1.0 หมายถึง จำแนกได้อย่างสมบูรณ์ 











ในหลักสูตร เวลาส่วนใหญ่เป็นการ Workshop ออกข้อสอบ  แล้วนำเสนอ วิพากษ์ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน  ผม AAR ว่า น่าจได้ผลไม่มากก็ไม่น้อย 

ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ญาณภัทร สีหะมงคล อีกครั้งครับ