mini-UKM ครั้งที่ ๑๙ นี้ องค์ปาฐกยังเป็น ศาสตราจารย์ นพ.วิจารณ์ พานิช ท่านยังดูแข็งแรงและฉับไว แม้จะอยู่ในวัย ๗๕ ปีกว่าแล้ว ... ผมครุ่นคิดพอสมควร แต่ก็มองไม่ทะลุว่า mini-UKM จะมีต่อไปไหมหากไม่มีบารมีของผู้ใหญ่อย่าง รศ.ดร.เจริญ ไชยาคำ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช และท่านอื่นๆ ในโปสเตอร์นี้... ผมจะรู้สึกเสียดายมากแน่ หาก "โครงการ" ต้องหายจากไป หรือมันไม่ได้ก้าวไปสู่ การเป็น "เทศกาล Show & Share ของ CoP ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
ขอบคุณภาพจากงานประกันฯ มมส. |
ผู้จัดงานเวิร์กมาก ส่งสไลด์ของท่าน มาให้ผมทันที จังหวะนี้ดีมาก เพราะความรู้ที่กำลังงอกใหม่ๆ สามารถนำมาบันทึกแลกเปลี่ยนกันได้ทันที ความจริงทีมงานได้จัดให้ดาวโหลดน์ไฟล์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดได้อย่างสะดวกที่นี่ ท่านใดสนใจมีสไลด์ทั้งหมดของวิทยากรในนั้น รวมทั้งสไลด์สรุปนำเสนอของทีมคุณอำนวยด้วยครับ
กลับมาที่การบรรยายของ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช หัวเรื่องของท่านวันนี้คือ "ถอดสลักอุดมศึกษา นำพาพัฒนาสังคม บริบทไทย ๔.๐" ความจริงหากท่านอดใจรอ อีกประมาณ ๑ เดือน จะมีบันทึกเสียงประกอบสไลด์ออกเผยแพร่ทาง gotoknow.org เหมือนกับที่ท่านเผยแพร่การบรรยาย mini-UKM#18 @มรภ.สวนสุนันทา ครั้งก่อนไว้ที่นี่ ... แต่หากท่านใดไม่อยากรอ ต่อไปนี้เป็นประเด็นสำคัญๆ ที่ท่านพูดครับ
- เหตุที่ท่านตั้งชื่อว่า "ถอดสลัก" เพราะท่านมองว่า การอุดมศึกษาไทยในสภาพปัจจุบันเหมือนกำลัง "ติดล็อค" ถูกล็อคด้วย "สลัก ๗ ประการ" ทำให้ไม่ก้าวไป ก้าวไปไม่ได้
- ทุกครั้งที่ท่านบรรยาย จะย้ำเสมอว่า โปรดอย่าเชื่อ เพราะท่านเองก็ไม่ใช่ผู้รู้แจ้ง ... ผมนึกกาลามสูตร ๑๐ แม้เป็นผู้รู้แจ้งอย่างพระพุทธเจ้า ท่านก็สอนไม่ให้เชื่อ ... แต่ครูอาจารย์ไทยจะพอใจมากถ้าเด็กเชื่อ
- พล็อตบรรยายของท่านในสไลด์นี้ ... ท่านทำได้ไงไม่รู้ แต่หมดสไลด์ เวลาก็หมดพอดี
- สลัก ๗ อัน ที่ท่านหมายถึง คือ ประเด็นที่ ๓ - ๙ ในสไลด์นี้ ได้แก่
- สลักที่ ๑ อาจารย์ยังคงเน้นสอนแบบถ่ายทอดความรู้
- สลักที่ ๒ Mind Set อาจารย์ ที่มองว่านักศึกษาคือผู้มารับการถ่ายทอด
- สลักที่ ๓ อาจารย์ถูกล็อคประตูให้ทำงานในรั้วมหาวิทยาลัย
- สลักที่ ๔ ทำงานวิชาการแยกส่วนจากความต้องการของสังคม โจทย์วิจัยไม่ทันกาล
- สลักที่ ๕ บริการวิชาการแบบช่วยเหลือ เอาไปให้ มองชาวบ้านเป็นผู้รับ
- สลักที่ ๖ ทำวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมก่อน แล้วค่อยไปถ่ายทอดทีหลัง
- สลักที่ ๗ เปิดสอนเฉพาะตอน ๑๗-๒๔ ปี
- เท่าเล่าถึงหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ The End of College ซึ่งท่านอ่านและเขียนเอามาเล่าต่อใน บันทึก Gotoknow คลิกที่นี่
- มหาวิทยาลัยทั่วโลกจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง เพราะแบบเดิมกำลังจะสิ้นไป เพราะเหตุผลในสไลด์
- กำลังเกิดมหาวิทยาลัยขึ้นถึงแห่งหน (University Everywhere) ด้วยพลังของ ICT และรายวิชาที่เปิดสอนฟรีๆ ออนไลน์ ่ผ่านระบบ MOOCs
- มหาวิทยาลัยเกิดขึ้นตั้งแต่ 1088 และพัฒนาวิวัฒนาเรื่อยมา แบ่งได้เป็น ๒ ยุค ได้แก่
- ยุคความรู้กระจุก มหาวิทยาลัยแห่งแรกของโลกเกิดที่เมืองโบโลญา อิตาลี นักศึกษาอยากเรียน จึงรวมตัวกันไปจ้างอาจารย์มาสอน นักศึกษาเป็นใหญ่
- ต่อมา ค่อยๆ เปลี่ยนไป อาจารย์เป็นใหญ่ ในมหาวิทยาลัยในปารีส
- หลังจากกูเทินเบิร์กประดิษฐ์แท่นพิมพ์ขึ้น มหาวิทยาลัยก็ก้าวไปสู่ยุค ความรู้กระจาย
- ปัญญาปฏิบัติยังอยู่ในสถานประกอบการ
- มหาวิทยาลัยแห่งอนาคต ต้องมีลักษณะดังนี้ เป็นดิจิตอล สนองความต้องการอย่างเรียนอะไรตอนไหน ไม่ปฏิเสธผู้เรียน เป็นชุมชนเรียนรู้ขนาดใหญ่ มีระบบจัดเก็บหรือสร้างหลักฐานการเรียนรู้ที่ตรวจสอบได้ และที่สำคัญคือฟรี
- มหาวิทยาลัยต้องเปลี่ยนทั้งกรอบคิด (Mindset) และวัฒนธรรมการทำงาน จาก Academic Platform ไปเป็น Engagement Platform เปลี่ยนจากวิชาการแบบช่วยเหลือแนะนำ ไปเป็นวิชาการแบบหุ้นส่วนสังคม
- หากจะเปลี่ยนต้องดึงสลักทั้ง ๗ อันต่อไปนี้ออกให้ได้
- สลักทั้ง ๗ นี้ ปักอยู่ใน ๒ หลุม คือ คิดและทำ คือ Paradigm และ Plaform
- ๗ สลัก ใน ๒ หลุมนี้ หยุดอุดมศึกษาไทยไว้ในศตวรรษที่ ๒๐ และ ๑๙ ไม่ใช่มหาวิทยาลัยในศตวรรษที่ ๒๑
- ต้องขึ้นจากหลุม ต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์และเปลี่ยนกระบวนการ
- ทำให้มหาวิทยาลัยไม่สอดคล้องกลับโลกที่เป็นจริง
- สลักที่ ๑ สอนแบบถ่ายทอด
- เป้าหมายของการเรียนรู้ในยุคนี้ ต้องเป็นเป้าหมายเชิงซ้อนทั้งสิ้น ไม่ว่าเรียนวิชาใด กิจกรรมใด ต้องมองไปที่ ทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ ที่แสดงดังสไลด์ด้านบนนี้
- บริเวณสีเขียน ท่านเติมเอง ยังไง ทักษะวิชาชีพ เฉพาะทาง อย่างไรก็ต้องมี
- ท่านเน้น Financial Literacy ที่คนไทย ครูไทย เป็นหนี้ ไม่สามารถเป็นตัวอย่างที่ดีได้ ... ผมนึกถึง SEP ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- การสอนแบบถ่ายทอดความรู้ จะได้อย่างมากเพียง Literacy 6 ข้อในพื้นที่สีม่วงทางซ้าย
- หากมองอีกแบบ มองแบบ Professor Chickering มองแบบมีมิติเวลา ตั้งแต่เด็กถึงต่อ คนเราจะค่อยๆ เรียนรู้และพัฒนาตน ๗ ด้าน
- ตอนเด็กๆ จะต้องพัฒนา สมรรถนะ -> อารมณ์ ->อิสระเกื้อกูล -> มนุษย์สัมพันธ์ พอย่างเข้าวัยรุ่น อัตลักษณ์ -> เป้าหมายชีวิต ต้องเริ่มชัด เพื่อก้าวไปสู่ ความมั่นคงในชีวิต และคุณธรรมประจำใจ
- นิสิตมหาวิทยาลัยต้องมุ่งไปที่ ๓ ตัวขวา
- สำคัญที่สุดคือ "ความมั่นคง" หรือก็คือคุณธรรมนั่นเอง สิ่งนี้อาจจะสอนไม่ได้ แต่ทำให้ดูได้ ... ท่านเล่าเรื่องตอนที่เป็นผู้บริหารของ มอ. และการยึดมั่นในความถูกต้องซื่อสัตย์
- หากมองตามทฤษฎีของบลูม ที่แบ่งลำดับการเรียนรู้เป็น ๘ ระดับ ได้แก่ รู้->เข้าใจ->นำไปใช้->วิเคราะห์->สังเคราะห์->ประเมิน->เปลี่ยนวิธีเรียนรู้->เปลี่ยนกระบวนทัศน์หรือตัวตน เราต้องสอนให้ถึงระดับ ๘ นั่นก็คือ ต้องเป็นการสอนแบบ Transformative Learning
- Informative Learning คือการเรียนเพื่อให้ได้ความรู้ สอบได้
- Formative Learning คือ การเรียนเพื่อให้เกิดทักษะความชำนาญและจรรยาบรรณวิชาชีพ เรียนเพื่อสร้างการเป็นอาชีพ
- Transformative Learning คือ การเรียนเพื่อการเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลงตัวตนของตนเอง
- Transformative Learning ผู้สอนจะต้องเป็น Change Agent ฝึกให้นิสิตเป็น Change Agent เป็นผู้นำ
- ต้องเรียนแบบรู้จริง Mastery Learning
- การเรียนรู้ในยุคนี้ ทักษะในการเรียนรู้แบ่งเป็น ๓ ระดับคือ คือ Learn, Unlearn, และ Relearn
- หากอย่างเรียนรู้ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงให้ไปอ่านหนังสือครูเลฟ
- ในหนังสือครูเลฟ มีตัวอย่างการสอนให้เด็กความดีระดับ ๖ ทำความดีเพราะเข้าถึงหลักการ อุดมการณ์ของตนเอง
- เป้าหมายการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ เปลี่ยนไปจาก ศตวรรษที่ ๒๐ มาก เปรียบเทียบในสไลด์
- เรื่องการเรียนรู้ ท่านแนะนำหนังสือ ๓ เล่ม ดังรูป
- ในหนังสือ "How Learning WorksW บอกว่า การเรียนรู้ไม่ได้เกิดจากการถ่ายทอดความรู้สำเร็จรูป
- ความรู้เกิดแบบ งอกงามขึ้นเองภายในตน จากการทำและคิดของตน (เท่านั้น)
- การสอนสมัยใหม่นี้ต้องตั้งคำถาม "ถามคือสอน สะท้อนคิดคือเรียน"
- สมัยนี้การสอนแบบบรรยายเกิน ๑๕ นาที ...ต้องถามแล้วว่า อาจารย์ต้องการอะไร ...
- ในหนังสืออีกเล่ม บอกกระบวนการเรียนรู้แบบไม่รู้ตัว ซึ่งประกอบด้วย ความจำใช้งาน (Working Memory) และ ความจำระยะยาว (Longterm Memory) และบอกว่า การรู้ข้อเท็จจริงและกระบวนการนั้น เกิดขึ้นที่ความจำระยะยาว
- หากไม่มีการตระหนักรู้และคิดแล้ว สิ่งที่อยู่ในความจำใช้งานจะลืมเลย โดยไม่ได้จำในความจำระยะยาว
- คำถามคือ เราจะมีวิธีจัดการเรียนรู้อย่างไร ให้ผู้เรียนมีความจำระยะยาวขนาดใหญ่ และดึงมาใช้งาานได้รวดเร็ว
- วิธีที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ไปที่ความจำระยะยาว อย่างหนึ่งคือ Adult Learning ที่ประกอบด้วย ๔ ขั้นตอน ดังสไลด์
- ต้องจัดสถานการณ์ให้เกิดประสบการณ์ เรียนจากการลงมือทำ ปฏิบัติเอง
- กระตุ้นให้สังเกต และสะท้อนคิด
- สังเคราะห์เป็นหลักการ ความคิดรวบยอด
- นำไปทดลองใช้ในสถานการณ์ใหม่
- สลักที่ ๒ คือ การมองนิสิต นักศึกษาเป็น ผู้มารับการถ่ายทอด
- การถ่ายทอดไม่สามารถทำสิ่งต่อไปนี้ได้
- ทักษะในศตวรรษที่ ๒๑
- แรงบันดาลใจ
- สูญเสียพลังสร้างสรรค์ของหนุ่มสาว
- ไม่ได้พลัง Service Learning ได้
- ไม่ได้ฝึกฉันทะและทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต
- ต้องมองว่านิสิตนักศึกษาคือผู้เข้ามาร่วมสร้างความรู้
- สลักที่ ๓ จัดการเรียนรู้อยู่แต่ในมหาวิทยาลัย
- ต้องไปเรียนด้วยการปฏิบัติในสถานทำงานจริง
- ฝึกทำงานเป็นทีม
- เรียนทฤษฎีจากการปฏิบัติ
- สลักที่ ๔ อาจารย์ทำงานแยกส่วนจากสังคม ทำให้ ขาดโอกาสทำความเข้าใจวิชาการในชีวิตจริง
- สลักตัวที่ ๕ คือ การให้บริการแบบช่วยเหลือ แนะนำ (ไม่ใช่ร่วมมือ) คิดว่าชาวบ้านไม่รู้
- สไลด์ท่านบอกไว้ชัดเจนครับ
- โทษของการให้อย่างเดียว คือ ไม่ทันกาล ไม่สอดคล้องความเป็นจริง
- VUCA คือ Volatility (เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ผันผวน) Uncertainty (ไม่แน่นอน) Complexity (ซับซ้อน) และ Ambiguity (คลุมเครือ ไม่ชัดเจน)
- ทางออกคือต้อง ทำให้เป็น "มหาวิทยาลัยหุ้นส่วน" "Engagement"
- สลักที่ ๖ คือ การทำวิจัยสู่นวัตกรรมแล้วถ่ายทอด
- มหาวิทยาลัยต้องเป็นหุ้นส่วนกับสังคม วิจัยนำไปใช้ได้เลย ไม่ใช่วิจัยเพื่อนำไปถ่ายทอด
- นวัตกรรมที่ทำอายุจะสั้นและเปลี่ยนเร็ว วิธีการวิจัยสร้างนวัตกรรมและนำไปถ่ายทอดจึงไม่ทัน
- สลักที่ ๗ คือการสอนนิสิตนักศึกษาเฉพาะตอนอายุ ๑๗-๒๔ ปี
- ต้องสอนทุกกลุ่มอายุ เรียนเพื่อเพิ่มสรรถนะในการทำมาหากิน
- เรียนอะไรให้มี Open badge คือ บัตรรับรองสมรรถนะ เรียนอะไรมีกาาบันทึก ตรวจสอบได้ มีการบันทึกทั้งผลการเรียนรู้ และนิสัยใจคอ ต่างๆ
- วิธีการถอดสลักทั้ง ๗ นี้มีดังต่อไปนี้
- ตัวที่จะมาช่วยชีวิตเรา ตัวที่จะฉุดดึงมหาวิทยาลัยคือ "ประเทศไทย ๔.๐"
- เขาต้องการมหาวิทยาลัยเป็น Driver เราต้องมองว่า นิสิตนักศึกษาคือ "พลังขับเคลื่อน" ประเทศไทย ๔.๐
- มหาวิทยาลัยจะอยู่รอด โดยร่วมมือกับภาคสังคม เอกชน
- Integration เป็น Process
- Innovation เป็น Product
- Engagement เป็น หลักการ ทิศทาง
- Collaboration เป็น พลังทำงาน
- เกี่ยวกับเรื่อง Engagement ท่านแนะนำให้ไปอ่านเล่มนี้
- ที่เมืองเหลียงฮู เมืองแห่งนักออกแบบ นครหางโจว เขาทำ Engagment ร่วมกัน ๘ มหาวิทยาลัยเข้าร่วม
- โจทย์วิจัยมาจากบริษัท
- รัฐบาลให้ทุนสนับสนุน ทุนวิจัย
- ประกาสตนเองว่า เป็นเมืองแห่งนักออกแบบ
- product อันหนึ่ง ที่ออกมาแล้วคือ โดรน
- product อีกอัน คือ พาหนะเคลื่อนที่ แบบยืนเหยียบ
- สองวันที่แล้ว ท่านไปที่ มทส. มีศาสตราจารย์ มาซาฮิโร อินูเอะ มาพูดถึงวิธีการพัฒนานักศึกษา น่าสนใจ ดังภาพด้านล่าง
- เขามี Education Innovation Center
- SCOT คือ นักศึกษาเป็นโค้ช โดยต้องฝึกนักศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการเรียนการสอน แล้วให้เข้าไปสังเกตการสอน เพื่อช่วยสะท้อนพัฒนาการเรียนการสอน
- เขามีแฟ้มผลการสอน (Teaching Portfolio)
- นี่คือเครื่องมือช่วยให้อาจารย์พัฒนาการสอน
- ในสไลด์นี้คือตัวอย่างประเด็นใน แฟ้มผลงานสอน
- สไลด์ สุดท้ายสรุป
- สิ่งที่ต้องเปลี่ยน คือ
- Platform การทำงาน คือเปลี่ยนจาก Academic เป็น Engagement
- เปลี่ยนสไตล์การทำงาน จากแยกส่วน เป็น บูรณาการ
- เปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้ จากการถ่ายทอดเป็นการร่วมสร้างความรู้กับนิสิต
- อาจารย์ต้องพัฒนาเปลี่ยนแปลงตนเอง และมีระบบช่วยเหลืออาจารย์
- เปลี่ยนระบบบริหารให้เอื้อต่อการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง
ผม ALR กับตนเองว่า
- ผมรู้ว่ามีสลักอะไร และเห็นด้วยกับท่านว่า "ใช่" กระบวนการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยไทยส่วนใหญ่ถูกสลักเหล่านั้นล็อคไว้จริงๆ
- ผมเข้าใจว่าต้องถอดสลักออก และเมื่อถอดออกแล้วจะเดินไปทางใด คือมองเห็นทางออก เพียงแต่ออกไปไม่ได้เพาะมีสลักล็อคตรึงอยู่
- ปัญหาคือ มันล้วนแต่เป็นสลักขนาดใหญ่ ที่ปักไว้ในหลุมดำ จะถอดออกได้ต้องส่องไฟ ให้เครื่องมือ และทุกคนต้องร่วมมือ ...
- ผมตีความว่าสลักทั้ง ๗ เกี่ยวข้องกับคนสองกลุ่ม คือ อาจารย์และผู้บริหารของมหาวิทยาลัย โดยท่านบอกว่า รัฐบาลที่กำหนดเป้าประเทศไทย ๔.๐ คือโอกาสทอง
- และผู้ที่จะเป็นกำลังหลักในการถอดสลักคือ "อาจารย์"
- ปัญหาคือ อาจารย์กำลังถือค้อนตอกสลักอยู่ ทั้งที่รู้และไม่รู้ว่ามันเป็นสลัก บางคนตอกเพราะอยากได้ "เงิน" บางท่านอยากได้ "กล่อง" บางท่านถูกบังคับให้ตอกไป เพราะหากทำตามเกณฑ์ที่กำหนดแล้วจะดี สรุปคือ อาจารย์กำลังตอกสลักตามหน้าที่เพื่อความก้าวหน้าของตนเอง ... แล้วจะถอดสลักได้อย่างไร...
- ผมเข้าใจว่า "ค้อน"ตอกสลักที่อาจารย์ต้องถือยู่ในมือ คือ งานต่างๆ ไม่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน งานที่เป็นมายาคติ ไม่จำเป็นต้องทำ งานประเภททำต้นปีรายงานผลปลายปี ซึ่งผลคือมีแต่เอกสารและข้อมูลหลอกลวง รายงานที่ไม่มีคนอ่านไม่มีประโยชน์อะไรกับชาวบ้านที่ยิ่งไม่อ่านอยู่แล้ว ปัญหาเดียวกับครูในระดับการศึกษาพื้นฐานกว่าจะรู้ก็มาไกลจากผู้เรียนเสียแล้ว ....
- Change Agent จะมาจากคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ คนคิดสร้างสรรค์ จะมาจากคนที่มีอิสระ มีฉันทะ มีพลังสมาธิที่จะจดจ่ออยู่ และเป็นตัวของตัวเอง คนที่มีอิสระ ต้องไม่มีพันธนาการ แต่ต้องสามารถทำตามอุดมการณ์ของตนเองได้เต็มที่
อย่างไรก็ดี ขอให้คนไทยเป็นคนที่มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อ สามัคคี ตลอดไปครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น