วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2559

CADL ขับเคลื่อน ปศพพ. ใน มมส. _ ๑๗ : รายวิชา ๐๐๓๒๐๐๕ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาอาจารย์ผู้สอน ๒๕๕๙ (๔)

บันทึกที่ (๒)

บันทึกที่ (๓)

กิจกรรมที่ ๔ ถอดบทเรียนจากสื่อวีดีทัศน์
การสอนด้วยการเปิดสื่อให้ดู โดยเฉพาะสื่อวีดีทัศน์จาก youtube.com เป็นที่นิยมมาก เพราะนอกจากจะเป็นที่สนใจและได้ข้อมูลที่ทันสมัยแล้ว  ยังทำได้ง่าย สะดวก เพราะห้องเรียนรวมทุกห้อง สามารถล็อคอินออนไนล์ใช้อินเตอร์เน็ตได้ 
ตอนที่เราไปแลกเปลี่ยนกันที่ จ.สกลนคร  เพื่อนอาจารย์ท่านหนึ่งแลกเปลี่ยนเทคนิคง่ายๆ ในการเตรียมสอนของท่านคือ  การสืบค้นเลือกดูคลิปบน youtube  แล้วจดจำไว้เฉพาะคำสำคัญที่ใช้ในการค้นหาผ่าน google  เมื่อถึงวันสอนให้ไปก่อนเวลาสักเล็กน้อย เพื่อไปสืบค้นบน youtube ที่คอมพิวเตอร์หน้าห้องเรียนได้เลย  ... 
กระบวนการของอาจารย์ศศินี มีขั้นตอนดังแผนภาพด้านล่าง (ถอดความจากการสังเกต) เครื่องมือที่สำคัญก็คือ "การตั้งคำถาม" -> แลกเปลี่ยน -> ยกตัวอย่าง -> สรุปสาระสำคัญและสะท้อนการเรียนรู้ร่วมกัน 

คลิปแรกที่นำมาเป็นตัวอย่างคือ บ้านอนุรักษ์กระดาษสา ของแม่ฟองคำ หล้าปินตา อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่

คลิปที่ใช้สั้นแค่เพียง ๓ นาทีเศษ  อาจารย์ผู้สอนที่ต้องการอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ศึกษาได้จากเอกสาร "ฟองคำ หล้าปินตา"  (ดาวน์โหลดได้ที่นี่
ตัวอย่างคำถามที่ อ.ศศินี ใช้เป็นเครื่องมือในการถอดบทเรียนบนหลักปรัชญาฯ 
  • เห็นอะไรจากวีดีทัศน์บ้างคะ? 
  • มีความพอประมาณตรงไหนบ้างคะ?
  • มีเหตุผลอยู่ตรงไหนบ้างคะ?
  • มีภูมิคุ้มกันที่ดียังไงคะ? 
  • เบื้องหลังของสิ่งนี้คืออะไร? 
  • ฯลฯ 

ผมเปิดคลิปแล้วจับประเด็นไวๆ ได้ดังนี้ครับ 
  • เป็นอาชีพที่สืบทอดต่อกันมายาวนาน  ป้าฟองคำทำมาต่อเนื่องกว่า ๔๐ ปี 
  • นอกจากถ่ายทอดความรู้ด้านการทำกระดาษเท่านั้น  แต่จะส่งต่อคติการทำงาน ความคิด ความเชื่อในการดำเนินชีวิต 
  • ไม่ได้เรียนทฤษฎีธุรกิจอะไร เกิดจากประสบการณ์อันยาวนาน 
  • ทำธุรกิจกับต่างประเทศต้องรักษามาตรฐาน เวลาต้องตรง  รับได้เท่าไหร่ก็ต้องทำเท่านั้น  
  • เริ่มต้นด้วยภูมิปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอดจากพ่อแม่
  • ด้วยหลักความพอประมาณ ทำให้ธุรกิจค่อยๆ เติบโตอย่างมั่นคง  ไม่คาดหวังผลกำไรที่เกินกว่าศักยภาพและกำลังการผลิต จึงโตอย่างยังยืน 
  • ธุรกิจค่อยๆ ขยายจากครอบครัวไปสู่ธุรกิจชุมชน และชุมชนใกล้เคียง กว่า ๓๐๐ ชีวิต
  • หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นทั้งหลักในการดำเนินชีวิตและหลักในการฝึกจิตใจด้วย
  • มีการส่งออกผลิตภัณฑ์กระดาษไปหลายประเทศทั่วโลก 
  • การบริหารธุรกิจนั้น แท้จริงแล้วก็คือการบริหารชีวิต ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้ผ่านตำรายากๆ 

เห็นอะไรจากวีดีทัศน์บ้างคะ? 
  • เห็นชาวไทยมีอาชีพทำกระดาษสาที่ได้สืบทอดภูมิปัญญามาจากบรรพบุรุษ ทำรายได้ให้ครอบครัวของป้าฟองคำและสามี  รวมทั้งคนในชุมชน 
  • เห็นการถ่ายทอดภูมิมปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น เห็นการอนุรักษและสืบต่อภูมิปัญญาอาชีพ
  • เห็นการทำธุรกิจระดับชุมชนและชุมชนใกล้เคียง ร่วมมือกัน (ไม่ใช่การแข่งขันแก่งแย่งกัน) 
  • เห็นวิถีไทย ที่ให้และแบ่งปัน เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่กัน
  • เห็นวิธีคิดของป้าฟองคำ เกี่ยวกับแนวทางการนำเอาหลักปรัชญาฯ ไปใช้
  • ฯลฯ
มีความพอประมาณอยู่ตรงไหนคะ?
  • มียอดสั่งจองจากต่างประเทศเข้ามามาก แต่ป้าคำฟอง ก็รับงานตามศักยภาพในการผลิตเท่านั้น เรียกได้ว่า พอประมาณกับศักยภาพการผลิตของตนเอง 

มีเหตุผลอยู่ตรงไหนบ้างคะ?
  • ป้าฟองคำยึดหลัก(คุณธรรม)ว่า ทำธุรกิจกับต่างชาตินั้น สิ่งคัญคือคุณภาพของสินค้า และการส่งงานที่ตรงเวลา  นี่คือเหตุผลว่า ทำไมป้าฟองคำไม่รับงานเกินตัว 
มีภูมิคุ้มกันที่ดียังไงคะ? 
  • การประเมินศักยภาพตนเอง ไม่รับงานเกินตัว แต่ตัดสินใจเลือกที่จะค่อยๆ พัฒนา ขยายผล แบ่งปันไปยังคนในชุมชน โดยใช้ความรักความสัมพันธ์ฉันพี่น้อง ทำให้เกิดความมั่นคงของธุรกิจ ...  การไม่ตาโต การคิดเพื่อผู้อื่นในชุมชน  ความรักสามัคคีแบบพี่น้อง เหล่านี้ล้วนเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวป้าฟองคำ 
เบื้องหลังของสิ่งนี้คืออะไร? 
  • เบื้องหลังของทั้งหมดคือ ความขยัน อดทน พึ่งตนเอง เรียนรู้ เผื่อแผ่ แบ่งปัน สามัคคี ฯลฯ  เหล่านี้ คือ ความ"พอเพียง" ในใจของฟ้าฟองคำนั่นเองครับ ...

ผมมองว่า สิ่งสำคัญของการใช้ "คำถาม" และ "คำถามตามติด"  คือความเข้าใจและประสบการณ์ในการสะท้อนและถอดบทเรียนบนหลัก ปศพพ.  ส่วนเรื่องเล่าที่นำมายกตัวอย่าง จะเป็นหัวใจของการยกระดับความเข้าใจให้นิสิตได้ โดยเฉพาะประสบการณ์ตรงของตนเอง ...





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น