วันที่ ๒๔ ธ.ค. ๒๕๕๘ เป็นกำหนดการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนรายวิชา หลังจากที่เดินทางมาพักค้าง ณ โรงแรมใหม่ใจกลางเมืองสกลนคร ชื่อ โรงแรมแอดสกล (@Sakon) ต่อไปนี้เป็นข้อสรุปที่ทีม CADL ช่วยกันสะท้อนจับใจความ สิ่งที่อาจารย์แต่ละท่านเล่าแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
ทบทวนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน
- ไม่ได้เข้าร่วมอบรมกับ
ดร.ปรียานุช ทำให้ช่วงแรกๆ
ไม่เข้าใจในทางการสอน
- ความแตกต่างทางด้านพื้นฐานของนิสิต
อาจจะยากสำหรับเด็กบางกลุ่ม และอาจจะง่ายสำหรับเด็กบางกลุ่ม
เช่นเด็กที่มาจากวิศวะอาจจะเข้าใจในเนื้อหาได้ยากกว่าเด็กที่มาในกลุ่มของสังคม
- การส่งงาน
ความรับผิดชอบในการส่งงานของเด็กมีความแตกต่างกัน
- นิสิตส่วนหนึ่ง ไม่ตั้งใจเรียน ไม่ได้มาเรียนโดยความสมัครใจ
ดูจากผลงานที่ให้ทำหนังสั้น ที่เพิ่งมาทำตอนใกล้เวลา
- นิสิต LA ที่ทำงานในกลุ่มเรียนของท่าน มีความรับผิดมาทำงานทุกครั้ง
แต่ยังขาดความละเอียดในการทำงาน เกิดข้อผิดพลาดบ่อยในการเช็คการส่งงานของนิสิต ...
แสดงว่า นิสิต LA ไม่ประกาศให้นิสิตตรวจสอบด้วยตนเองก่อนว่า
ตนเองส่งงานหรือไม่
อาจใช้เทคนิคการใช้สัญลักษณ์ “เลขที่ เลขระบบ” จะทำให้ตรวจสอบได้ง่ายขึ้น
- นิสิตเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอในช่วงแรก
แต่หลังจากการสอบกลางภาค นิสิตส่วนหนึ่งไม่เข้าเรียน...
อาจเป็นเพราะไม่ได้ชี้แจงหรือเข้มงวดในการเช็คชื่อเข้าเรียนตั้งแต่แรก
- การสอนในช่วงแรกที่ใช้ ppt และเนื้อหาจากส่วนกลาง
ซึ่งเป็นการสอนแบบบรรยายประกอบสื่อ ppt ทำให้นิสิตเบื่อ แต่ช่วงหลังกลาภาค
อาจารย์สามารถออกแบบการสอนเอง ทำให้นิสิตรู้สึกสนุกมากขึ้น โดยเน้นการสอนแบบเน้นการสนทนา
อภิปราย และใช้ภาษาถิ่นสลับกับภาษากลาง
- มีการตั้งกลุ่มเฟสบุ๊คเพื่อสื่อสารเรื่องการจัดการเรียนการสอน
ได้ผลดี
- ในการเสนอหนังสั้น ต้องใช้เวลาถึง ๓
สัปดาห์ (มากกว่าที่กำหนดไว้ ๒ สัปดาห์) เนื่องจากจำนวนนิสิตเยอะ
และกำหนดให้ทุกคนในสมาชิกออกมายืนหน้าห้องทุกคน
- ในการนำเสนอ
ให้นิสิตทุกคนเป็นผู้ประเมินผล โดยใช้แบบประเมิน
- กำหนดให้นิสิตไปศึกษาเรียนรู้การน้อมนำหลัก
ปศพพ. ในชุมชน ซึ่งได้ผลดี แต่พบว่าหลายกลุ่มเรียนลงพื้นที่ซ้ำซ้อนกัน (ไป
ชุมชนดอนมัน ๑๐ กลุ่ม)
- มีการตั้งกลุ่มเฟส
ให้นำเสนอหนังสั้นใช้เวลา 3 ครั้ง แต่เด็กทุกคนต้องนำเสนอให้เห็น
อาจารย์ผู้สอนท่านที่ ๓
- สอนนอกจากแผนที่กำหนด
โดยเน้นเรื่องบัญชีรับ-จ่ายตามฟอร์มก่อน ตามด้วยการสอนเรื่อง
สมอง 3 ชั้น โดยเชื่อมโยงกับหลักพุทธ
ซึ่งเป็นรากเหง้าของความพอเพียงหรือไม่พอเพียง
สอดแทรกเนื้อหาบางอย่างที่เห็นมีความสำคัญ เช่น สมองสามชั้น
เพื่อนำไปสู่มรรควิธี เช่นสมองชั้นต้นดึงเด็กเข้าไปสู่ศีลได้ สมองชั้นกลาง สู่ทาน
และภาวนาเป็นต้น
- ให้ทำสมุดบันทึกความดีหรือ
“กล่องบุญ” แทนการสวดอิติปิโส 108 จบ ให้โอกาสนิสิตได้เลือกด้วยตนเอง
- สอนโดยการให้เด็กจัดทำบันทึกรายรับรายจ่าย
ให้เน้นเรื่องการออมเพิ่มเติม โดยมีสื่อการสอนของอาจารย์วรากร สามโกเศศ
แสดงให้เห็นว่าในการออมแล้วอนาคตจะมีเงินออมเท่าไหร่
- นิสิต LA
ทำงานดีมาก (อรนุช แสงมาตย์) มีความรับผิดชอบ และละเอียดลออ
อยากได้คนนิสิตคนเดิมภาคเรียนต่อไป
-
เด็กไม่ค่อยหาย
มีความตั้งใจในการเรียน โดยมาจากหลากหลายคณะ แต่ที่มีมากที่สุดคือคณะศึกษาศาสตร์
- นิสิต LA สร้างกลุ่มเฟสเพื่อติดต่อกับนิสิต
- อยากให้สอดแทรก “พุทธเศรษฐศาสตร์” ในเอกสารประกอบการสอน
- ผลประเมินเป็นที่น่ายินดี สอนดี
เนื้อหาครอบคลุม ตรงเวลา ไม่ค่อยเข้าเนื้อหา แต่ก็เชื่อมโยงกับเนื้อหา เข้าใจนิสิต
เป็นต้น (ดึงจากระบบประเมินอาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไป) ปลายปิด 4.57
- ประทับใจและศรัทธา อาจารย์
ดร.ปรียานุช ธรรมปิยา ในการอบรมอาจารย์ผู้สอนครั้งแรก
- เริ่มด้วยการถามเป้าหมายเด็กว่าเรียนแล้วอยากได้อะไรจากรายวิชา
มีความคาดหวังในการเรียนวิชานี้อย่างไร บอกแผนการสอนในชั่วโมงแรก
- แบ่งกลุ่มนิสิตตั้งแต่สัปดาห์
กลุ่มละ 10-20 คน โดยจัดแบ่งให้คละสาขาวิชา
เพื่อความสะดวกในการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ
- แผนการจัดการเรียนรู้ในภาคเรียนที่
๑ นั้น สอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ ๕ ด้านตามเกณฑ์ประกันแล้ว เช่น คุณธรรมฯ
เช็คจากการเข้าเรียน ตรงต่อเวลา
ทักษะทางปัญญา ได้จากกิจกรรมการเรียนรู้แบบถาม-ตอบ
(ไม่ซ้ำกัน) ทักษะการทำงานเป็นทีม การสื่อสาร คิดวิเคราะห์ และไอซีที
ได้จากการทำหนังสั้น
-
เน้นการสอนให้นิสิตฝึกคิดวิเคราะห์บนหลัก
๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข ๔ มิติ โดยการซ้ำ ย้ำ ทวน และให้มีการสะท้อนการเรียนรู้ทุกครั้ง
- บางห้องเรียนไม่รองรับสื่อการสอนที่จัดเตรียมมา
- ให้มีการตรวจเช็คบัญชีรับ-จ่าย ทุกชั้นเรียน เพื่อให้นิสิตได้ฝึกการนำไปใช้ในชีวิตจริงๆ
ป้องกันการมาทำในวันสุดท้ายก่อนส่ง โดยให้นิสิตช่วยงานเป็นผู้ดำเนินการทั้งหมด
- ประทับใจนิสิตช่วยงาน ขอขอบคุณที่สำนักศึกษาทั่วไปจัดให้มีนิสิตช่วยงาน
- การนำเสนอผลงาน
ให้นิสิตทุกคนในกลุ่ม ออกมายืนหน้าห้องเรียน เพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม
- ในการทำหนังสั้น
กำหนดให้นิสิตศึกษาวิเคราะห์ปัญหาภายในมหาวิทยาลัย
โดยไม่ต้องเข้าพื้นที่ในชุมชน
แต่เน้นเรื่องราวในชีวิตประจำวันของตนเอง
- ก่อนเรียน นิสิตเข้าใจว่า ปศพพ.
เกี่ยวข้องกับการทำนา ปลูกพืช ทำสวน การเกษตร และการใช้จ่ายอย่างประหยัด
เท่านั้น
- จัดการเรียนการสอนและกิจกรรมตามแผนที่กำหนดทุกอย่าง
โดยยกตัวอย่างอื่นๆ ตามประสบการณ์ของตนเองประกอบ ให้เข้าร่วมการสวดอิติปิโสสำหรับนิสิตที่นับถือพุทธศาสนา
และถ่ายคลิปทำละหมาดมา แสดงสำหรับเด็กต่างศาสนาอิสราม
- การทำหนังสั้น นิสิตส่วนใหญ่ให้สร้างพลอตเรื่อง บท
และจำลองเหตุการณ์ขึ้นเอง โดยไม่เข้าพื้นที่ชุมชน
- ได้แนะนำให้นิสิตเข้าพื้นที่ชุมชนรอบมหาวิทยาลัย
เช่น กุดหัวช้าง มะกอก และพื้นที่หลังคณะเทคโนโลยี โดยต้องไม่ใช่เพียงการไปสัมภาษณ์ และต้องมี “รูปหน้า” ทุกคนในหนังสั้น หรือทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการแสดง
- ช่วงหลังกลางภาค
ได้เน้นการนำเอาประสบการณ์การบริการชุมชนของตนเองมาสอน โดยให้โอกาสนิสิตที่สนใจร่วมเข้าพื้นที่จริง
- พบปัญหานิสิตมาเรียนสาย
บางส่วนขาดเรียน “...บางชั่วโมงเด็กหาย บางชั้วโมงเด็กเต็ม อาจจะติดกิจกรรมของคณะ...”
- ตึก RN ไวรัสเยอะ
- เป็นครั้งแรกในการมาสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป
อยากมาเพื่อปรับเปลี่ยนตัวเอง ในการจัดการเรียนการสอน เทอมนี้ถือว่าประสบความสำเร็จ รู้สึกว่า
การทำวิจัยในห้องเรียนประสบความสำเร็จ มีความมั่นใจว่าเข้าใจเนื้อหามากพอสมควร
- ตั้งจุดมุ่งหมาย
ในการจัดการเรียนรู้ ๒ ประเด็น คือ ๑) เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอย
โดยให้บันทึกบัญชีรับ-จ่ายในชีวิตประจำวัน (คล้ายไดอารี่)
เช่น วันนี้ไปกินก๋วยเตี๋ยวกี่บาท ให้เด็กบันทึก แล้วนำมาวิเคราะห์ให้เห็นความไม่
“พอเพียง” เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออมเงิน ตามแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียง ๒) ฝึกการคิดวิเคราะห์
การใช้เหตุผล โดยอาจารย์โชว์การคิดวิเคราะห์ให้เห็น และให้ฝึกวิเคราะห์บนหลัก 2-3-4 กับตัวอย่างกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
- สอนเน้นว่า ปศพพ. คือ “หลักคิด” ฝึกให้นิสิตมีลำดับการคิด
(step การคิด) และนำไปใช้กับทุกอย่าง ทุกเรื่องในชีวิต
- สอนเรื่องการออม และการลงทุน
และเศรษฐศาสตร์พื้นฐาน
- ใช้สื่อการสอน
คลิป youtube ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตของห้องเรียน โดยเตรียมวิธีการเข้าถึงคลิปนั้นๆ ไปก่อน ....
สื่อการสอนหาได้ง่ายบนอินเตอร์เน็ต ไม่จำเป็นต้องเตรียมมาก
- การจัดทำวีดีโอ
ให้เด็กทำตามแนวอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย 9 ด้าน
ให้เด็กเป็นนักแสดงตามหัวข้อที่เด็กเลือกที่จะกระทำ
- ตอนแรกที่เข้ามาสอน
ไม่มีความเข้าใจมาก่อน
แต่พอผ่านการฝึกอบรมกับ ดร.ปรียานุช
ธรรมปิยา ก็เกิดความเข้าใจมากขึ้น
- เริ่มด้วยการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ
ความหมายและประโยชน์ของ ปศพพ. และสร้างความศรัทธาต่อองค์ในหลวงโดยเล่าถึงการทรงงาน
และเปิดวีดีทัศน์ และละลายพฤติกรรมก่อนการจัดการเรียนการสอน ให้อยากเรียน
และเห็นความสำคัญของการเรียนวิชานี้
- ชี้แจงวิธีการประเมินผล
(..ทำอย่างไรจะได้เกรด A..) สร้างกฎเกณฑ์ร่วมกันในห้องเรียน กติกาในการเข้าเรียน ไม่ให้ส่งงานย้อนหลัง
เน้นให้เด็กตรงเวลา
- ตรวจสอบ ติดตามว่า นิสิตทำบัญชีรายรับรายจ่าย
อย่างเป็นปัจจุบันทุกครั้ง โดยการสุ่มถาม สุ่มตรวจ
- เน้นการการ “ถอดบทเรียน” กับหลัก 2-3-4
ตามแผนการจัดการเรียนการสอนที่กำหนด เน้นให้นิสิตคิด เกี่ยวกับการนำ ปศพพ.
ไปใช้ในชีวิตประจำวัน และได้นำเสนอในลักษณะบทบาทสมมติ โดยอาจารย์จะสอดแทรกเพิ่มเติม และเน้นว่า
“ไม่มีถูกผิด”
- ใช้คะแนนเป็นแรงจูงใจให้นิสิตมีส่วนร่วม
อยากคุย อยากนำเสนอ ครั้งละ 0.1 คะแนน
- การเกิดรายวิชาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงถือว่าเป็นรายวิชาใหม่ของตนเอง
- ก่อนการสอน
นิสิตส่วนหนึ่งมีความรู้ความเข้าใจเรื่อง 2-3-4 ดีแล้ว
- มีการชี้แจง มคอ.3
ก่อนการจัดการเรียนการสอน
- ถ่ายเอกสารประกอบการสอนและขายให้นิสิตในราคาต้นทุน
- พบนิสิตทำใบงานล่วงหน้า
- ให้คะแนนตัวแทนในการนำเสนอเพิ่มขึ้น
0.5 คะแนน
- อินเตอร์เน็ตตึก RN-510 ไม่สามารถใช้งานได้
- ควรจะเพิ่มเนื้อหาในการจัดการเรียนการสอน
- ควรมีการตรวจทานข้อสอบให้รอบคอบมากขึ้น
ฯลฯ
ปรับเนื้อหาและแผนการเรียนรู้ให้เหมาะสมมากขึ้น
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหา สาเหตุ และหาแนวทางร่วมกันในการจัดการเรียนการสอนภาคเรียนต่อไป ได้นำมาปรับแก้แผนการสอนและการประเมินผล หรือ มคอ.๓ หมวด ๕ ดังรายละเอียดด้านล่าง
หมวดที่
๕ แผนการสอนและการประเมินผล
๑. แผนการสอน
|
ครั้งที่
|
หัวข้อ/รายละเอียด
|
จำนวนชั่วโมง
|
กิจกรรมการเรียนการสอน/สื่อที่ใช้
|
ผู้สอน
|
๑
|
ชี้แจงรายละเอียดของรายวิชา
(มคอ.๓)
|
๒
|
-
จุดมุ่งหมาย
- การประเมินผล
- บัญชีรายรับ-จ่าย
- การสอบย้อนหลัง
(ใบรับรองแพทย์) ยื่นภายใน ๓ วันทำการ ใบมรณะบัตร ฯลฯ
- การเข้าเรียน
- ๑๕ นาที ถือว่าสาย
- สาย ๒ ครั้ง
เท่ากับขาด
- ลา ต้องมีหลักฐาน
-
แบ่งกลุ่มคละสาขา ตามความเหมาะสมกลุ่มละ ๑๐ ถึง ๒๐ คน
-
มอบหมายงาน สร้างสื่อ ผลงาน
หรือชิ้นงานน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้
|
คณาจารย์
|
๒
|
บทที่
๑ ที่มาของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
-
การทรงงานของในหลวง
-
วิกฤตเศรษฐกิจ ๒๕๔๐
|
๒
|
-
บรรยาย เล่าเรื่อง ประกอบวิดีทัศน์
- ไม่จำเป็นต้องใช้วีดีทัศน์ ทนง ขันทอง (เนชั่น) ให้ปรับหรือจัดหาคลิปเอง
-
แนะนำให้เด็กเปิด app
ที่เกี่ยวกับพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สำหรับพระราชดำรัส
ใบกิจกรรมที่
๑ ทำไมต้องน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต
|
คณาจารย์
|
๓
|
บทที่
๒ ของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
-
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
-
คำนิยามของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
|
๒
|
-
บรรยาย เล่าเรื่อง ประกอบวิดีทัศน์
- ไม่จำเป็นต้องใช้วีดีทัศน์ ทนง ขันทอง (เนชั่น) ให้ปรับหรือจัดหาคลิปเอง
-
แนะนำให้เด็กเปิด app
ที่เกี่ยวกับพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สำหรับพระราชดำรัส
|
คณาจารย์
|
๔
|
บทที่
๒ ของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
-
ทำกิจกรรมที่ ๒ ชุดคำถามช่วยบันทึกความคิด (โดย ดร.ปรียานุช ธรรมปิยา)
|
๒
|
ให้ดูคลิป
แล้วร่วมกัน อภิปราย และสรุป
-คลิปพอเพียงของมูลนิธิสยามกัมมาจล
-สื่อสัมภาษณ์ ดร.ปรียานุช ธรรมปิยา (optional)
กิจกรรมที่
๒ ชุดคำถามช่วยบันทึกความคิด
|
คณาจารย์
|
๕
|
บทที่
๓ ศาสตร์พระราชา หลักการทรงงานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
-
ศาสตร์พระราชา
-
หลักการทรงงาน
|
๒
|
ใบกิจกรรมที่
๓ หลักการทรงงานที่ข้าพเจ้าประทับใจที่สุด
|
คณาจารย์
|
๖
|
บทที่
๓ ศาสตร์พระราชา หลักการทรงงานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
-
ทำกิจกรรมที่ ๔ โครงการพระราชดำริ
|
๒
|
ใบกิจกรรมที่
๔ โครงการพระราชดำริ
ที่ข้าพเจ้าสนใจมากที่สุด
|
คณาจารย์
|
๗
|
บทที่
๔ เกษตรทฤษฎีใหม่
|
๒
|
กิจกรรมที่
๕ ออกแบบ/วางแผนแปลงเกษตร
|
คณาจารย์
|
๘
|
สอบกลางภาค
|
สอบกลางภาค
|
สำนักศึกษาทั่วไป
|
|
๙
|
บทที่
๔ เกษตรทฤษฎีใหม่
ทำกิจกรรมที่
๖ (แลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำเสนอ)
|
๒
|
กิจกรรมที่
๖ ศูนย์ศึกษาการพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
|
คณาจารย์
|
๑๐
|
บัญชีรับ-จ่าย ศูนย์ศึกษาการพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
|
๒
|
ถอดบทเรียน
บัญชีรับ-จ่าย
- สะท้อนการเรียนรู้
- ถอดบทเรียน การหาเงิน การออม
เป็นต้น
- คำถามปรับปรุงแก้ไขพัฒนาตนเองอย่างไร
|
คณาจารย์
|
๑๑
|
บทที่ ๕
การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต
|
๒
|
กิจกรรมที่
๗ ถอดบทเรียนตนเอง กับหลักปรัชญา
|
|
๑๒
|
บทที่
๕ การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต
ทำกิจกรรมที่ ๘ วางแผนชีวิต
|
๒
|
กิจกรรมที่ ๘ วางแผนชีวิตในการไปสู่อาชีพที่ต้องการ
และถอดบทเรียน ๒-๓-๔
|
คณาจารย์
|
๑๓
|
บทที่
๕ การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต
ทำกิจกรรมที่ ๙ วิเคราะห์สถานการณ์
|
๒
|
กิจกรรมที่
๙ วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน
|
คณาจารย์
|
๑๔
|
บทที่
๕ การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต
ทำกิจกรรมที่ ๑๐ วิเคราะห์สถานการณ์
|
๒
|
กิจกรรมที่ ๑๐ ถอดบทเรียนเรื่อง “เคียวของพ่อ”
กับหลัก ปรัชญาฯ ๒-๓-๔
|
คณาจารย์
|
๑๕
|
-
นำเสนองานกลุ่ม
|
๒
|
กิจกรรมนำเสนอผลงาน
ประเมินผลงานเพื่อน
|
คณาจารย์
|
๑๖
|
-
นำเสนองานกลุ่ม
|
๒
|
กิจกรรมนำเสนอผลงาน
ประเมินผลงานเพื่อน
|
คณาจารย์
|
๑๗
|
สอบปลายภาค
|
๒
|
สอบปลายภาค
|
คณาจารย์
|
๒. แผนการประเมินผลการเรียนรู้
๒.๑ การวัดผล
|
||||
กิจกรรม
|
ผลการเรียนรู้
|
วิธีการประเมิน
|
สัปดาห์ที่ประเมิน
|
สัดส่วนของการประเมินผล
|
๑
|
๑.๑.๑) – ๑.๑.๓)
|
ร่วมกิจกรรมในชั้นเรียนการเข้าชั้นเรียน
ตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบ
|
๑-๑๕
|
๑๐%
|
๒
|
๒.๑.๓)
|
ทำบัญชีรายรับ-จ่าย
|
๑-๑๕
|
๑๐%
|
๓
|
๓.๑.๑) – ๓.๑.๓)
๔.๑.๑) – ๔.๑.๔)
|
ใบงาน/ทำกิจกรรม
|
๑-๑๕
|
๑๕ %
|
๔
|
๔.๑.๑) – ๔.๑.๔)
|
นำเสนอชิ้นงานหรือหนังสั้น
“การน้อมปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในการดำเนินชีวิต”
|
๑๔-๑๕
|
๑๕%
|
๕
|
๒.๑.๑) - ๒.๑.๓)
|
สอบกลางภาค
|
๘
|
๒๕%
|
๖
|
๓.๑.๑) – ๓.๑.๓)
|
สอบปลายภาค
|
๑๖
|
๒๕%
|
๒.๑.๑ การเข้าเรียน
-
การมาเรียนสาย หมายถึง การมาเรียนช้าเกินกว่า ๑๕
นาที
-
สาย ๒ ครั้ง มีค่าเท่ากับการขาดเรียน ๑ ครั้ง
-
การลา ๒ ครั้ง มีค่าเท่ากับการขาดเรียน ๑ ครั้ง การลาต้องมีเหตุจำเป็นและหลักฐานประกอบ
-
ขาดเรียนมากกว่า ๔ ครั้ง
หมดสิทธิ์ในการสอบปลายภาค
-
วิธีการเช็คชื่อ ทำได้ ๒ วิธี คือ เช็คโดยกำหนดที่นั่ง หรือ
เช็คจากใบงานในชั้นเรียน โดยกำหนดให้มีฟอร์มเดียวกัน
๒.๑.๒ ใบงาน/ใบกิจกรรม
(งานเดี่ยว)
-
ห้ามส่งใบงานย้อนหลัง
เว้นแต่มีการลาในคาบเรียนนั้นๆ
-
อาจารย์เป็นผู้ตรวจงาน
นิสิต LA
ช่วยกรอกคะแนน
๒.๑.๓ สื่อ/ผลงาน/ชิ้นงาน/หนังสั้น
-
กำหนดหัวเรื่อง
“ตัวอย่างการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต”
-
เปิดโอกาสให้นิสิตแต่ละกลุ่มออกแบบรูปแบบหรือลักษณะของชิ้นงานด้วยตนเอง
-
กำหนดระยะเวลาในการนำเสนอไม่เกิน
๑๐ นาที
ข้อตกลงร่วมกัน "มาตรการส่งเสริมรายวิชา"
สิ่งสำคัญที่สุดของการพบกันครั้งนี้ คือการร่วมกันสร้างข้อตกลงที่จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนารายวิชาต่อไป เรียกว่า "มาตรการส่งเสริมรายวิชาไ
1. ให้อาจารย์ทุกท่านสอนตามแนวทางที่ได้กำหนดร่วมกัน ซึ่งได้กำหนดไว้ใน มคอ. 3
2. ให้อาจารย์ทุกท่านเข้าร่วมกิจกรรมหรือการประชุมของรายวิชา อย่างน้อย
ร้อยละ 50 โดยอาจารย์ผู้สอนต้องชี้แจงและส่งหลักฐานมายังฝ่ายประสานงาน
3. ให้ฝ่ายประสานทำหนังสือสรุปประเด็นหรือผลการประชุม
แจ้งไปยังอาจารย์ที่ไม่สามารถเข้าร่วมได้ตามข้อ 6.2
4. ในกรณีที่อาจารย์ไม่แจ้งการเข้าร่วมประชุม ให้ฝ่ายประสานงานเตือนให้เข้าร่วมการประชุมในครั้งถัดไป
5. อาจารย์ผู้สอนรายใหม่
ต้องผ่านหลักสูตรการฝึกอบรมอาจารย์ผู้สอนที่จัดโดยสำนักศึกษาทั่วไป
และกำหนดเลือกอาจารย์ผู้สอนเดิมหรืออาจารย์ผู้ประสานงานเป็นพี่เลี้ยงในการสอนในภาคการเรียนแรก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น