ผู้ประสานงานรายวิชาคือ อาจารย์นพดล นิ่มหนู มีอาจารย์ผู้สอนรายวิชานี้ในภาคการเรียนที่ผ่านมา (๑/๒๕๕๘) มีทั้งหมด ๑๑ ท่าน เกือบทั้งหมดเป็นอาจารย์สังกัดคณะนิติศาสตร์ มีเพียง ๑ ท่านเท่านั้นที่มาจากวิทยาลัยการเมืองการปกครอง อาจารย์เกือบทั้งหมดเป็นอาจารย์ผู้สอนรายวิชา "กฎหมายในชีวิตประจำวัน" ซึ่งเป็นรายวิชาศึกษาทั่วไปในหลักสูตรเดิม (พ.ศ. ๒๕๕๔) ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชา ประเด็นสำคัญไม่ใช่เรื่อง "กฎหมาย" แต่เป็น จะสอนอย่างให้เป็น "กฎหมายและจริยธรรม"
เจตนาและเป้าหมายของรายวิชา ๐๐๓๒๐๐๒ กฎหมายและจริยธรรม ในหลักสูตรใหม่ (พ.ศ. ๒๕๕๘)
เจตนาสำคัญของการปรับปรุงหลักสูตรใหม่ ที่ลดจำนวนรายวิชาเหลือเพียง ๓๒ รายวิชาจากเกือบร้อยรายวิชาในหลักสูตรเดิม คือ การเพิ่มโอกาสของความสำเร็จในการขับเคลื่อนคุณลักษณะนิสิตที่พึงประสงค์ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ที่กำหนดไว้ ๙ ประการ (อ่านได้ที่นี่)
เพราะไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรเดิมหรือใหม่ จำนวนหน่วยกิตบังคับของหมวดวิชาศึกษาทั่วไปก็ไม่เพิ่มหรือขาด ยังต้องเรียน ๓๐ หน่วยกิตเท่าเดิม ในหลักสูตรใหม่ มีเพียง ๕ รายวิชาในกลุ่มวิชามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในขณะที่หลักสูตรเดิมมีมากกว่า ๒๑ รายวิชา เมื่อต้องเลือกเรียน ๓ รายวิชา อาจารย์ผู้สอนจึงต้องพัฒนารายวิชาให้บูรณาการมากขึ้น ซึ่งจะทำให้นิสิตได้เรียนอย่างรอบรู้ กว้างขวาง ทั่วไป ไม่ใช่ลงลึกเฉพาะสาขา และได้ฝึกทักษะที่จำเป็นต้องใช้ในการดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ อย่างทั่วถึงกัน ซึ่งแต่ละวิชานั้น ก็จะเน้นเด่นในแต่ละด้านขององค์ความรู้หรือทักษะที่แตกต่างกัน
รายวิชา ๐๐๓๒๐๐๒ กฎหมายและจริยธรรม ไม่ควรเป็นการเรียน "วิชากฎหมาย" หรือ "วิชาจริยธรรม" แยกส่วนกัน แต่ควรเป็นรายวิชาบูรณาการที่ว่าด้วย "กฎหมาย" ที่นิสิตจำเป็นต้องรู้ เข้าใจ และเข้าถึงความหมายของการใช้เหตุผลเชิง "จริยธรรม" ของกฎหมายใกล้ตัวที่จำเป็นนั้นๆ ซึ่งเป็นทักษะสำคัญในการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องในการดำเนินชีวิต
การจัดการเรียนการสอนในรายวิชา "กฎหมายและจริยธรรม" ไม่ควรเป็นรายวิชาบรรยาย ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ แต่ควรเน้นการสอนโดยใช้กรณีปัญหาเป็นฐาน หรือกรณีศึกษาเป็นฐาน โดยเน้นกระบวนการ เน้นการสืบค้นและอภิปรายโต้เถียงอย่างมีหลักการ ดังที่ ผศ.ดร.ปริญญา เคยมาถ่ายทอดแลกเปลี่ยน (ผมเขียนบันทึกการสอนไว้ ที่นี่ ๑ ๒ และ ๓ ) เช่น ท่านยกกรณีของการทะเลาะกันของเพื่อนบ้านสองคน ที่คนหนึ่งเป็นเจ้าของต้นมะม่วง ทะเลาะโต้เถียงกับอีกคนหนึ่งที่ต้องการผลมะม่วงที่หล่นล่วงจากกิ่งมะม่วงที่ยื่นล้ำมาฝั่งบ้านตนเอง หากทั้งสองคนมาฟ้องศาล แล้วให้นิสิตเป็นทนายหรือผู้พิพากษา จะตัดสินปัญหานี้อย่างไร นิสิตแต่ละกลุ่มต้องช่วยกันสืบค้นหามาตรากฎหมาย และใช้กฎหมายมาอภิปรายและโต้เถียงกันด้วยเหตุและผล ก่อนที่อาจารย์จะตัดสินเฉลยในตอนท้าย ทั้งในเชิงกฎหมาย และเชิงจริยธรรม ที่จะแนะนำให้นิสิตควรนำไปใช้ เช่น ประนีประนอมแบ่งปัน ให้อภัย ฯลฯ
ทบทวนและถอดบทเรียน ภาคการเรียน ๑/๒๕๕๘
๑. ประสบการณ์ที่ดีจากภาคการศึกษาแรก
๑.๑. อ.วิศิษย์ มีแนวปฏิบัติในการมอบหมายงานนิสิตเป็นกลุ่ม
๑.๑.๑. แบ่งนิสิตเป็นกลุ่มๆ ละ ๒๕ คน ตั้งชื่อกลุ่ม
๑.๑.๒. ใช้ระบอบประชาธิปไตย ในการบริหารงาน
โหวตหัวหน้ากลุ่ม แต่งตั้งหัวหน้ากลุ่ม หรือ ผู้ประสานงานกลุ่ม ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการดูสมาชิกทั้งหมด ทั้งการลา
เช็คชื่อ และประสานกับนิสิต LA และกำหนดหน้าที่ของสมาชิกอย่าชัดเจน และรายงานการมีส่วนร่วมของแต่ละคน
๑.๑.๓. สอนโดยยกกรณีตัวอย่างหรือสถานการณ์ ให้นิสิตแต่ละกลุ่มอภิปราย ทำ
presentation หรือวีดีโอ และนำเสนอ แล้วให้นิสิตประเมินว่าดีหรือไม่
พิจารณาอย่างไร โดยอาจารย์จะเป็นผู้สังเกตประเมินอีกชั้นหนึ่ง
๑.๑.๔. ไหว้ สวัสดีนิสิตก่อน ทำเป็นตัวอย่าง ... ทำให้ นิสิตไหว้อาจารย์ก่อน หลังจากทำเป็นตัวอย่าง
๒-๓ ครั้ง
๑.๒. อ.อมรเทพ (อ.แทน)
- ให้นิสิต LA เป็นผู้เช็คชื่อ
ด้วยวิธีการกำหนดที่นั่ง และมอบหมายงาน แล้วให้นิสิตเป็นผู้กรอกคะแนน แต่วิธีการนี้
จะมีปัญหานิสิตคุยกันเนื่องจากอยู่คณะวิชาเดียวกัน .... อาจารย์ควรแบ่งกลุ่มให้คละสาขาวิชากัน
- ให้นิสิตนั่งสมาธิก่อนเรียน ทำให้นิสิตพร้อม นิ่ง ก่อนจะเริ่มเรียน
๑.๓. อ.ศักดิ์ชาย และอาจารย์นพดล
ใช้ใบงานเป็นกลไกให้นิสิตเข้าเรียน
โดยเก็บคะแนนจากใบงาน
๑.๔. อ.นพดล อ.อเมรเทพ และ อ.ศักดิ์ชาย (หลายท่าน) ใช้วีดีทัศน์
- ใช้วีดีทัศน์ "รู้เท่าทันสื่อ" ของ กระทรวง ICT
- ใช้วีดีทัศน์ของกรมการขนส่งทางบก
- ใช้วีดีทัศน์ของ อ.ประจักษ์ ก้องกีรติ
- ใช้วีดีทัศน์ของ ดร.วิชัย เสวกงาม ศึกษาศาสตร์ จุฬาฯ
- คลิปสะท้อนสังคม "คลิปอุ้มลูกขี่มอเตอร์ไซด์"
๑.๕. อ. คะนอง ใช้วิธีการเก็บคะแนนแบบไม่บอกล่วงหน้า
๒. จุดมุ่งหมายของรายวิชา
๒.๑. นิสิตมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับลักษณะของหลักกฎหมายและลักษณะหลักของจริยธรรม
รวมถึงหลักการให้เหตุผล
๒.๒. สามารถเข้าใจรวมถึงอธิบายความสัมพันธ์ของกฎหมายและจริยธรรมกับสิทธิ
หน้าที่ และบทบาทของพลเมือง
๒.๓. ตระหนักในความสำคัญของกฎหมายและจริยธรรม
และการประพฤติตนตามกฎหมายสามารถดำรงตนอยู่ในสังคมประชาธิปไตยได้ภายใต้กรอบกติกาของกฎหมายและจริยธรรม
สรุปข้อตกลงจากการแลกเปลี่ยนระดมสมอง ที่จะนำไปใช้ในภาคเรียนต่อไป
๓. เนื้อหา/กิจกรรมการเรียนรู้/เอกสารประกอบการสอน
๓.๑. กำหนดรูปแบบในการจัดทำเอกสารประกอบการสอน ได้แก่ ชื่อบท -> จุดประสงค์ -> แนวคิด -> เนื้อหา -> กิจกรรมการเรียนการสอน
๓.๒. ส่งมายังอาจารย์ผู้ประสานงาน และประชุมวิพากษ์เพื่อให้ได้รูปเล่มในวันที่ ๑๖
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙
๓.๓. เนื้อหาในแต่ละบทในเทอมนี้ยังไม่เปลี่ยนแปลง เว้นแต่บทของอาจารย์ดวงเด่น
ให้ตัดเรื่องกฎหมายแรงงานออก แต่เพิ่มเรื่อง CSR และให้อาจารย์คะนองเขียนบทที่ ๔
ให้ชัดเจนมากขึ้น เพื่อให้สามารถสอนได้ตรงกัน โดยกำหนดเนื้อดังนี้
- บทที่ ๑ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายและจริยธรรม
- บทที่ ๒ สิทธิ หน้าที่ และบทบาทของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย
- บทที่ ๓ ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย
- บทที่ ๔ พัฒนาการรูปแบบและแนวคิดทางปรัชญาของการใช้เหตุผล
- บทที่ ๕ หลักกฎหมายและจริยธรรมเพื่อความสงบสุขในสังคม (หลักกฎหมายอาญา และหลักเบญจศีล)
- บทที่ ๖ หลักกฎหมายคอมพิวเตอร์และจริยธรรมบนโลกไซเบอร์
- บทที่ ๗ หลักกฎหมายและจริยธรรมด้านธุรกิจ
- บทที่ ๘ หลักกฎหมายเกี่ยวกับการจราจรและจริยธรรมบนท้องถนน
๔. ประเมินผล
๔.๑. สัดส่วนการประเมินผล
ลำดับที่
|
จุดประสงค์การเรียนรู้
|
วิธีประเมินผล
|
สัดส่วน
|
๑.
|
ด้านคุณธรรม
|
เข้าเรียน
|
๑๐
|
๒.
|
ด้านความรู้และทักษะทางปัญญา
ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
|
ใบงาน/ใบกิจกรรม
|
๑๕
|
๓.
|
งานกลุ่ม
|
๑๕
|
|
๔.
|
ด้านความรู้และทักษะทางปัญญา
|
สอบกลางภาค
|
๓๐
|
๕.
|
สอบปลายภาค
|
๓๐
|
|
รวม
|
๑๐๐
|
๔.๒. การเข้าเรียน
- การมาเรียนสาย หมายถึง
การมาเรียนช้าเกินกว่า ๑๕ นาที
- สาย ๒ ครั้ง
มีค่าเท่ากับการขาดเรียน ๑ ครั้ง
- การลา ๒ ครั้ง
มีค่าเท่ากับการขาดเรียน ๑ ครั้ง การลาต้องมีเหตุจำเป็นและหลักฐานประกอบ
- ขาดเรียนมากกว่า ๔ ครั้ง
หมดสิทธิ์ในการสอบปลายภาค
- วิธีการเช็คชื่อ ทำได้ ๒ วิธี คือ
เช็คโดยกำหนดที่นั่ง หรือ เช็คจากใบงานในชั้นเรียน โดยกำหนดให้มีฟอร์มเดียวกัน
๔.๓. ใบงาน/ใบกิจกรรม (งานเดี่ยว)
- กำหนดหัวเรื่องเดียวกัน คือ “รายงานการค้นคว้า
วิเคราะห์วิชาชีพในอนาคตของตนเอง ว่าเกี่ยวกับกฎหมายและจริยธรรมอย่างไร”
- ไม่ต่ำกวา ๓ หน้ากระดาษ A๔ ไม่นับคำนำ สารบัญ
และหนังสืออ้างอิง
- การตรวจรายงาน ให้พิจารณา ๓ องค์ประกอบ ได้แก่ ความครบถ้วน
(มีหนังสืออ้างอิง) : มีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ : ความสวยงามและเรียบร้อย เป็น ๕:๕:๕
๔.๔. งานกลุ่ม
๔.๔.๑. การกำหนดหัวเรื่อง ให้เป็นดุลยพินิจของอาจารย์ผู้สอน อาจเลือกได้ ๓ แบบ
คือ ๑) บริการสาธารณะ หรือบริการสังคม (Service-based
Learning) ๒) กรณีวิพากษ์ (Case Study – based Learning) ยกกรณีตัวอย่าง มาวิพากษ์
วิเคราะห์ สังเคราะห์ อภิปราย ๓) จัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
(Problem-based Learning) คือ ยกเอาปัญหาทางกฎหมายมาศึกษา
สร้างสื่อสะท้อนบทเรียน และทำรายงาน
๔.๔.๒. การตรวจรายงานให้ยึดสัดส่วน ความครบถ้วน : ความถูกต้องหรือมีการวิเคราะห์สังเคราะห์
: การมีส่วนร่วม
เป็น ๕ : ๕ : ๕
๕. การสื่อสารกับนิสิต
๕.๑. จัดทำ เฟสบุ๊ค เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์ โดยให้อาจารย์ทุกท่านร่วมกันดูแล
๕.๒. ให้จัดตั้ง กลุ่มในเฟสบุ๊ค เพื่อติดต่อสื่อสารเรื่องการเรียนการสอนระหว่าง
อาจารย์ นิสิต LA และ นิสิตผู้เรียน
๖. บทบาทนิสิต LA
- เตรียมอุปกรณ์สื่อโสตทัศณูปกรณ์
ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าในกรณีเป็นคาบเรียนสุดท้าย
- ดูแล page FB ของรายวิชา
เก็บภาพกิจกรรมการเรียนรู้ขึ้น page
- กำชับให้นิสิตดูคะแนนเก็บ/ประกาศการส่งงานให้ทราบ
- กรอกคะแนนงาน
- เช็คชื่อการเข้าร่วมกิจกรรม/เข้าเรียน
- อยากได้นิสิต LA ท่านเดิม
๗. ภาคเรียนที่ ๒-๒๕๕๘ เปิดเรียนทั้งหมด ๑๓ กลุ่มๆ ละ ๑๘๐
คน ๑๐ กลุ่ม กลุ่มละ ๑๒๐ คน ๓ กลุ่ม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น