วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

วิธีเขียน มคอ. ๓ รายวิชาศึกษาทั่วไป จับความจากการฟัง รศ.ดร.สุภาพ ณ นคร (๓) (จบ)

บันทึกที่ ๑
บันทึกที่ ๒

ผมเข้าใจว่าสาเหตุที่ สกอ. ประกาศให้ การทำ มคอ.๓ - มคอ.๗ เป็น "อิสระ" ตามแต่มหาวิทยาลัยจะดำเนินการ (อ่านในบันทึกแรก) อาจเป็นเพราะ เสียงสะท้อนว่าเป็นการไปเพิ่มภาระงานของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยโดยไม่จำเป็น

จากประสบการณ์ทำงาน PLC กับครูทุกหลายหน้าที่ ตั้งแต่ปฐมวัย ประถม มัธยม และอุดมศึกษา ผมได้เรียนรู้ว่า วิธีที่ควรทำเมื่อทำงานกับอาจารย์มหาวิทยาลัย ไม่ใช่ "บอกว่าให้ทำอย่างไร" แต่ต้องบอก "ต้องการอะไร" หรือสำหรับอาจารย์ส่วนใหญ่อาจต้องเปลี่ยนเป็นคำถามให้นอบน้อมมากขึ้นว่า "หากต้องการแบบนี้ ควรจะทำอย่างไร" เพื่อเปิดโอกาสให้อาจารย์ได้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและพัฒนาร่วมกัน

ดังนั้น การให้อิสระกับมหาวิทยาลัย จึงเป็นวิธีที่มาถูกทาง และสิ่งที่ต้องทำคือ สร้างความเข้าใจในเจตนารมณ์ของ มคอ.๓ - มคอ.๗ ของ สกอ. (อ่านได้ที่นี่ หน้า , ) และเปิดให้โอกาสอาจารย์ผู้สอนเข้ามาเป็นผู้พัฒนาการจัดการเรียนการสอนรายวิชา

อย่างไรก็ตาม แม้อาจารย์มหาวิทยาลัยจะมีจุดเด่นเรื่ององค์ความรู้ด้านทฤษฎี การวิจัย และเชี่ยวชาญด้านทักษะประกอบอาชีพ แต่อาจารย์ส่วนใหญ่โดยเฉพาะอาจารย์ใหม่ ไม่เคยเรียนศาสตร์ด้านการสอนและการจัดการเรียนการสอนมาก่อน เว้นแต่คณาจารย์ที่เรียนด้านครุศาสตร์ ดังนั้น สำนักศึกษาทั่วไปจึงควรสร้างกระบวนการเรียนรู้ด้านนี้อย่างจริงจัง จุดที่เป็นปัญหาที่สุดด้านการจัดการเรียนการสอนมี ๒ ข้อ หนึ่งคือปัญหาเรื่องวิธีการหรือเทคนิคการสอน และอีกอย่างคือ ไม่รู้ว่าจะประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างไร

วิธีการสอน


ข้อสังเกตที่น่าสนใจคือ ไม่ว่าจะเป็นผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม ด้านความรู้ ทักษะทางปัญญา หรือด้านใดๆ  วิธีการสอนก็เขียนไว้เหมือนเดิมหรือคล้ายๆ กัน แสดงว่า วิธีการสอนเหล่านั้น สามารถทำให้เกิดผลการเรียนรู้ได้ทุกด้านหรือหลายด้าน โดยมีข้อสังเกตแต่ละด้าน ดังนี้
  • การสอนแบบบรรยาย (Lecture) ใช้เป็นวิธีการสอนเพื่อให้เกิดผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมและความรู้  แต่ในด้านทักษะทางปัญญาและด้านอื่นๆ จำเป็นต้องใช้การสอนแบบอื่น หรืออย่างน้อยต้องเป็นแบบบูรณาการกับการบรรยาย (Integrate Lecture)
  • วิธีที่จะทำให้เกิดทักษะทางปัญญา มีหลายวิธี เช่น 
    • การสอนโดยยกกรณีศึกษา (Case Study) เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยมักสอนแบบนิรนัย (Deductive Learning) ที่ยกเอาทฤษฎี หลักการ หรือกฎต่างๆ มาบรรยายก่อน แล้วค่อยยกตัวอย่างหรือกรณีศึกษา มาพิสูจน์ว่าเป็นถูกต้อง 
    • การสอนแบบอุปนัย (Inductive Learning) ให้ทำความเข้าใจกรณีตัวอย่างหรือส่วนย่อยๆ ก่อนจะขยายความรู้ไปอธิบายกรณีอื่นๆ และสังเคราะห์ตกผลึกเป็นทฤษฎีหรือหลักการ 
    • การสอนโดยใช้กิจกรรมในชั้นเรียน (Activity-based Learning) ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้แบบ Active Learning 
    • การสอนโดยให้อภิปรายกลุ่มย่อย (small group discussion) ที่ผู้เรียนจะได้ฝึกคิดวิเคราะห์และใช้วิจารณญาณของตนเอง 
    • การสอนแบบโครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) ที่ต้องถือว่า เป็นรูปแบบการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ ๒๑ คู่กับการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning) 
    • ฯลฯ
  • รูปแบบการทำ มคอ. ๓ ตามตัวอย่าง จะเขียนวิธีการสอนเป็นหัวข้อสั้นๆ ไว้ในหมวดที่ ๔  และเขียนวิธีสอนอย่างละเอียดไว้ในหมวดที่ ๕ ในตารางขวาง ซึ่งเขียนแยกไว้อย่างสอดคล้องกับ Unit LO ตามที่ได้นำเสนอไปในบันทึกที่ ๒
วิธีการประเมิน 

การเขียนวิธีประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบละเอียด สามารถดูในตารางขวางของ มคอ. ๓ หมวดที่ ๕  (อ่านในบันทึกที่ ๒ ) โดยเสนอตารางสรุปวิธีการประเมินผลไว้ตอนท้าย ดังตาราง


จากตาราง จะเห็นว่า ท่านได้แยกหมวดวิธีการประเมินไว้เป็นด้านๆ ตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังทั้ง ๕ ด้าน และเขียนแยกไว้เป็นสัดส่วนชัดเจนว่า วัดด้วยวิธีไหน? ด้านใด? กี่เปอร์เซ็นต์? โดยประเมินจาก ๕ วิธีการ ได้แก่  พฤติกรรมการเข้าชั้นเรียน แบบบันทึกการพัฒนา ใบงาน โครงงาน&การนำเสนอ และการสอบปลายภาค

มีการประเมินด้านคุณธรรมจริยธรรม ไว้ในทุกวิธีของการประเมิน  เว้นแต่การสอบปลายภาค  ซึ่งเมื่อพิจารณาร่วมกับรายละเอียดในตารางขวาง จะเห็นความสอดคล้องกับพฤติกรรมการเข้าชั้นเรียนและความรับผิดชอบในการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย ส่วนเรื่องจิตอาสาและวุฒิภาวะการเป็นผู้นำ น่าจะได้จากแบบบันทึกการพัฒนาภาวะผู้นำ ... ซึ่งต้องไปขอศึกษาดูงานจากท่านว่า ๕% ที่วัดด้านความรู้ในแบบบันทึกฯ ใบงาน และโครงงาน&นำเสนอ นั้น ท่านทำอย่างไรใช้แบบวัดอย่างไร




วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

วิธีเขียน มคอ. ๓ รายวิชาศึกษาทั่วไป จับความจากการฟัง รศ.ดร.สุภาพ ณ นคร (๒)

บันทึกที่ ๑

รองศาสตราจารย์ สุภาพ ณ นคร  ท่านสอนไม่เหมือนวิทยากรทั่วไป นอกจากท่านจะมุ่งสู่ประเด็นตรงๆแบบไม่อ้อมหลงแล้ว ท่านยังวิพากษ์อย่างตรงไปตรงมา เรียกว่า ไม่ไว้หน้าใคร ... แต่ถ้าเปิดใจรับฟังท่านเต็มที่ จะพบว่าวิธีที่ท่านใช้นั้นทำให้เราเข้าใจได้ทันที

บันทึกนี้ขอยกเอา มคอ.๓ ตัวอย่าง ของรายวิชา ๐๐๐๑๔๕ ภาวะผูนำและการจัดการ (Leadership and Management) ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ที่สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มข. จัดทำไว้อย่างเป็นระบบที่นี่ ผู้สนใจเชิญดาวน์โหลดมาพิจารณา  ในที่นี้ ผมขอนำมาตีความเพียง ๒ หมวด ได้แก่ หมวด ๒ จุดมุ่งหมายของรายวิชา และ หมวด ๕ เรื่องแผนการสอนและการประเมิน เพราะคิดว่าน่าจะมีประโยชน์ที่สุด

วิธีเขียนจุดมุ่งหมายของรายวิชา

ก่อนจะหยิบเอาตัวอย่างมาตีความ ขอแลกเปลี่ยนความรู้เดิมของตนเอง สรุปแสดงดังตารางด้านล่าง ... เผื่อท่านจะตีความซ้อนอีกที ว่าการสรุปครั้งนี้จะเชื่อถือดีหรือไม่
 


ตาราง ๙ ช่องนี้แสดงแผนผังความคิดรวบยอดของ "จุดมุ่งหมายรายวิชา" "วิธีการสังเกต" และ "เครื่องมือสังเกต/ชิ้นงาน หรือวิธีการประเมินผล"

จุดมุ่งหมายของรายวิชา แบ่งออกเป็น ๓ ด้าน ตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่จะเกิดกับผู้เรียน ได้แก่ ด้านความรู้ (Knowledge) ด้านทักษะ (Skills) และด้านเจตคติ (Attitude) ซึ่งเขียนกำกับไว้ในแต่ละแถวของตารางจากบนลงล่าง และเมื่อพิจารณาว่า จะต้องจัดการเรียนการอย่างไรถึงจะเกิดผลสัมฤทธิ์ครบถ้วนทั้ง ๓ ด้าน  ทฤษฎีการเรียนรู้บอกว่า ต้องจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และฝึกฝนครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย (ฐานกาย Hand) ด้านความคิดสติปัญญา (ฐานคิด Head) และ ด้านคุณธรรมจริยธรรม จิตใจ (ฐานใจ Heart) โดยแสดงจากคอลัมน์ซ้ายไปขวา

ด้านความรู้หรือองค์ความรู้ (Knowledge) ทฤษฎีการเรียนรู้บอกว่า องค์ความรู้นั้นแท้จริงจะถูกสร้างขึ้นในตัวผู้เรียนเอง ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ดีหากได้เรียนครบถ้วนทั้ง ๓ฐาน หรือ 3H แต่ในที่นี้จะหมายถึงความรู้จากการฟัง การอ่าน และการคิด ซึ่งจะตรงกับฐานการคิดหรือความคิด ที่ต้องใช้สมองเป็นเครื่องมือ (จึงใช้คำว่า "หัว" หรือ Head)  พัฒนาการจะเริ่มจาก จำได้ -> เข้าใจ -> นำไปใช้ได้
  • เมื่อจำได้ -> จะสามารถบอกได้  วัดได้ด้วยการทดสอบ เช่น ข้อสอบกลางภาค ปลายภาค ฯลฯ
  • เมื่อเข้าใจ -> จะสามารถอธิบายได้ และอภิปรายได้ วัดโดยการทดสอบหรืออภิปราย
  • เมื่อนำไปใช้ได้ -> จะเห็นประโยชน์ และคิดต่อยอดออกไปได้ 

ด้านทักษะ (Skills) ทักษะจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อได้ลงมือปฏิบัติหรือลงมือทำ (ฐานกาย Hand) พัฒนาการด้านนี้ เริ่มที่ทำตามได้ -> ทำเองได้ -> ทำเป็นอัตโนมัติ
  • เมื่อทำตามได้ -> หมายถึงรู้จัก  อาจประเมินได้โดยใช้ใบงาน ใบกิจกรรม ฯลฯ 
  • เมื่อทำเองได้ -> ย่อมแก้ปัญหาได้  ต้องประเมินโดยการใช้สถานการณ์ปัญหา หรือให้ทำโครงงาน ฯลฯ 
  • เมื่อทำจนเป็นอัตโนมัติ -> นั่นคือติดเป็นทักษะขั้นนิสัย ซึ่งวิธีการวัดต้องใช้การสังเกตพฤติกรรมหรือสัมภาษณ์ หรือร่วมทำงานด้วยกัน ฯลฯ 
ด้านเจตคติ (Attitude)  เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเรียนรู้ฐานใจ หรือใช้คำว่า Heart ซึ่งแบ่งพัฒนา ๓ ขั้น เริ่มที่ รับรู้ -> ตระหนัก -> รัก อาสา
  • เมื่อรับรู้ -> ส่วนที่จดจ่ออยู่ก็คือส่วนที่ยอมรับ  ส่วนนี้อาจจะพอตรวจสอบได้จากการทดสอบแบบอัตนัย ให้เขียน ฯลฯ
  • เมื่อตระหนัก เห็นความสำคัญ -> ก็จะให้ความร่วมมือ  เพราะเกิดการเปิดใจจึงนำมาสู่การร่วมใจ  ซึ่งการประเมินต้องใช้การสังเกตจากพฤติกรรมการเข้าร่วม และการกระทำ 
  • เมื่อรักจริงก็จะเกิดจิตอาสา -> และจะนำมาสู่การลงมืออนุรักษ์ หรืออาสาทำสิ่งต่างๆ  ซึ่งอาจหาร่องรอยได้จากเรื่องเล่าหรืออนุทินของผู้เรียน 
อาจารย์สุภาพ ณ นคร ท่านทำให้ผู้ฟังแม่นยำในการเขียนจุดมุ่งหมายของรายวิชามากขึ้น โดยเฉพาะวิธีใช้คำ จะเห็นจากตัวอย่างจุดมุ่งหมายของรายวิชา ภาวะผู้นำและการจัดการ ต่อไปนี้



ข้อสังเกตที่น่าสนใจ และน่าจะนำไปใช้
  • ครบถ้วนผลการเรียนรู้ (LO) ทั้ง ๕ ด้าน ตามกรอบ มคอ.๓
  • ด้านคุณธรรม จริยธรรม ให้ใช้คำว่า  "มี" ก่อนหน้า คุณลักษณะประสงค์ เช่น มีวินัยด้านการตรงต่อเวลา มีจิตอาสา มีความเอื้ออาทร ฯลฯ 
  • ด้านความรู้ ให้ใช้คำว่า "สามารถอธิบาย" ... แม้จะไม่มีคำว่า "บอกได้" แต่ข้อ ๑.๒ มีหลายหัวข้อที่เกี่ยวกับทฤษฎี หรือแนวคิด ซึ่งเป็นองค์ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ที่ควรให้ "บอกได้" 
  • ด้านทักษะทางปัญญา ให้ใช้คำว่า "สามารถ.... ได้"  โดยขยายให้ลึกถึงคำกริยา เช่น  
    • สามารถนำความรู้ที่เรียน มาใช้ได้.... ไม่พอ ต้องเขียนว่า สามารถนำความรู้ที่เรียน มาใช้ในการวางแผนและออกแบบการดำเนินงานได้  
    • สามารถจัดการได้ ... ไม่พอ ... ต้องเขียนว่า สามารถจัดการและดำเนินงานตามแผนที่ออกแบบไว้ได้ 
    • สามารถแก้ปัญหาได้.... ไม่พอ ต้องเขียนว่า สามารถแก้ปัญหาในการดำเนินงานและสถานการณ์ต่างๆ 
    • ฯลฯ
  • ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ให้เขียนชัดเจนว่า เป็นความรับผิดชอบด้านใด เช่น มีความรับผิดชอบต่อตนเองในงานที่ได้รับมอบหมาย  ฯลฯ 
  • ด้านทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  จะใช้คำที่ชัดเจนเช่นกัน 
    • สามารถสื่อสารได้ ... ไม่พอ ต้องเขียนว่า  สามารถสื่อสารภาษาไทยได้  สามารถใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษได้ 
    • สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้ ...ไม่พอ ต้องเขียนว่า สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานได้ 
    • ฯลฯ
วิธีเขียนแผนการสอน ตามแบบฟอร์มของสำนักวิชาศึกษาทั่วไป ม.ขอนแก่น

หมวดที่ ๕ แผนการสอนและการประเมินผล มีองค์ประกอบที่สำคัญ ที่ท่านนำเสนอไว้ในตารางด้านล่าง

ผมตีความตามประสบการณ์ของตนเอง ว่า การเขียนแผนการเรียนการสอน ควรมีหลักการดังนี้

๑) การเขียน "หน่วยบทและหัวข้อ"  ให้หยิบเอาเนื้อหาที่กำหนดไว้ใน คำอธิบายรายวิชา มาเป็น "หน่วยบท" และเขียนแยกหัวข้อตามลำดับการสอน
๒) เขียนผลการเรียนรู้ ในแต่ละหน่วยบท (Unit LO) ให้ชัดเจนในช่อง "วัตถุประสงค์การเรียนรู้" และใช้สัญลักษณ์จุดกลมทึบ แสดงว่าแต่ละหน่วยบทนั้น เน้น LO ด้านใดในผลการเรียนรู้ 1-5 ด้านตามกรอบ มคอ. ๓
๓) การเขียน "วัตถุประสงค์การเรียนรู้" ให้ยกเอาจุดมุ่งหมายของรายวิชา มาเขียนแยกย่อยในรายละเอียด และชัดเจนว่า เกิดอะไรกับผู้เรียนบ้าง โดย(ส่วนใหญ่)ให้ขึ้นต้นด้วยคำว่า "ผู้เรียน.... " เช่น ผู้เรียนมี...  ผู้เรียนสามารถ.... ฯลฯ
๔) การเขียน "กิจกรรมการเรียนการสอน" ให้เขียนบอกบทบาทของผู้สอนและผู้เรียนให้ชัดเจน  (ส่วนใหญ่) จะใช้ข้อความขึ้นด้วยให้ชัดเลยว่า "ผู้สอนบอก... ผู้สอนแจ้ง...  ผู้สอนบรรยาย..." หรือ "ผู้เรียนทำกิจกรรม..." ฯลฯ
๕) การเขียนถึงสื่อการสอน นอกจากสื่อวีดีทัศน์และเพาเวอร์พอยท์แล้ว ให้เขียนรวมถึงเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผลด้วย เช่น ใบงานที่... กิจกรรมที่.....
๖) การเขียนวิธีประเมินผล ให้เขียนว่าประเมินอะไรจากอะไร เช่น
  • ประเมินความรู้จากการสอบปลายภาคเรียน 
  • ประเมินการตรงต่อเวลาจากพฤติกรรมการเข้าชั้นเรียน 
  • ประเมินความรับผิดชอบจากพฤติกรรมการส่งงาน
  • ประเมินภาวะผู้นำจากใบงานที่ ๑
  • ประเมินผลการทำงานเป็นทีมจากใบงานที่ ๑ และการสังเกตพฤติกรรม 
  • ฯลฯ 



สังเกตว่า ท่านพยายามบอกบรรยายเกี่ยวกับความคิดรวบยอดเรื่องนี้ หลายรอบ หลายแผ่นเขียน แสดงผลการประเมินความรู้เดิมของท่านต่อผู้ฟังว่า ต้องพัฒนาในส่วนใด...ชัดเจน

ขอจบเท่านี้ครับ สำหรับบันทึกนี้


วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

วิธีเขียน มคอ. ๓ รายวิชาศึกษาทั่วไป จับความจากการฟัง รศ.ดร.สุภาพ ณ นคร (๑)

วันเสาร์ที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ ฝ่ายวิชาการ สำนักศึกษาทั้่วไป จัดโครงการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ผู้สอน เรียนเชิญ รองศาสราจารย์สุภาพ ณ นคร มาเป็นวิทยากร ให้ความรู้เรื่องการเขียน มคอ. ๓ และ มคอ.๕ กลุ่มเป้าหมายเป็นอาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไป ผมมาร่วมงานในฐานะผู้ประสานงานรายวิชา ๐๐๓๒๐๐๕ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในมหาวิทยาลัย




ผมเขียนบันทึกนี้ ด้วยหวังใจจะให้อาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั้่วไปที่มาร่วมและรวมถึงท่านที่ติดภาระ ได้อ่านและรับทราบถึงหลักการและตัวอย่างของ มคอ.๓ และ มคอ.๕  ที่ผมได้เรียนรู้จากวิทยากร ที่ท่านคร่ำหวอดอยู่กับ "การศึกษาทั่วไป" ของประเทศไทยมายาวนาน  และหลังจากการบรรยาย อาจารย์ผู้ฟังหลายคนสะท้อนว่า ได้ประโยชน์จากวิธีการ "บรรยวิพากษ์" (ผมสร้างคำเอง หมายถึงการ บรรยายเชิงวิพากษ์) ของท่าน  ท่านจะยกเอาตัวอย่างจาก ม.ขอนแก่น ที่ท่านทำเอง และยกตัวอย่าง มรภ.ลำปาง ที่ท่านเพิ่งได้ไปตรวจพิจารณาในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิ และนำเอา มคอ.๓ บางรายวิชา มาตีความและวิพากษ์ให้เห็นว่า เข้าใจหรือไม่เข้าใจ ดีหรือไม่ดี จะดีกว่านี้ต้องเขียนอย่างไร  และเปิดโอกาสให้อาจารย์ได้ร่วมแลกเปลี่ยนอธิบายไปพร้อม ๆ กัน 


มคอ.๓ - มคอ. ๗ เป็นเพียง "แนวทางให้ทำ"  ไม่ใช่ "ต้องทำตาม" อีกต่อไป

ก่อนการ "บรรยวิพากษ์" ท่านได้นำเอา ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๓)  (ดูได้หนังสือนำแจ้งฯ   ประกาศ สกอ.ฯ หน้าที่ ๑   ประกาศ สกอ. ฯ หน้าที่ ๒ ) สาระสำคัญของประกาศฯ บอกว่า
  • ให้ยกเลิกประกาศเดิม (ฉบับที่ ๒)  ที่บังคับให้ ทุกมหาวิทยาลัยใช้ตัวชี้วัด เกี่ยวกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ มคอ.๓ - มคอ.๗ ในรูปแบบเดียวกัน และกำหนด ๑๒ ตัวชี้วัด เหมือนกัน 
  • ให้ใช้ มคอ.๓-มคอ.๗ ที่ยกเลิกการบังคับนั้น เป็น "แนวทางการปฏิบัติ" ในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตร การเรียนการสอน และการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา โดยให้ยึดตามเจตนารมณ์ของ มคอ.๓-มคอ.๗ ที่แนบท้ายประกาศ (อ่านได้ที่นี่ หน้า ,  )
  • ให้ใช้ ๑๒ ตัวชี้วัดที่เคยกำหนดแนบท้ายประกาศเดิม เป็นเพียง "ตัวอย่าง"  หลักสูตรใดจะนำไปใช้ก็ได้ หรือจะกำหนดเพิ่มก็ได้ แต่ต้องได้รับการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย 
  • ทั้งหมดนี้ สกอ. ให้เหตุผลว่า เพื่อให้ สถาบันอุดมศึกษามีอิสระในการบริหารจัดการการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับบริบทของสถาบันอุดมศึกษา 
....  ผมขอชมเชย ในความกล้าหาญในการเปลี่ยนแปลงนี้ เพราะทุกคนก็รู้ดีว่า แม้เจตนาจะดีหรือมีหลักการแค่ไหน แต่ในทางปฏิบัติที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่า โดยส่วนใหญ่ไม่ได้ผล คนก็ไม่เป็นสุข  อยากให้ สพฐ. กล้าหาญที่จะเปลี่ยนแปลงแบบนี้บ้าง  ไม่ใช่ปล่อยไว้ว่า การเน้นเรื่องแผนการสอนน่ะดี... แต่ปัญหาคือครูไม่มีใจทำ.... (คือไปโยนความผิดให้ครู)...

ความคิดรวบยอด การเขียน มคอ.๓ และ มคอ.๗ 

ท่านใช้วิธีการวิพากษ์ มคอ.๓ ของรายวิชาต่างๆ เป็นรายหมวด (มคอ.๓ ประกอบด้วยหมวดต่างๆ ๗ หมวด) ตรงไหนมีข้อแนะนำ ท่านจะสลับมาอธิบายหรือบางครั้งก็บรรยายให้เข้าใจทันที ว่าที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร วิธีนี้ดีมากสำหรับคนที่เปิดใจและยอมรับท่านอยู่แล้ว  เป็นการเรียนรู้จากปัญหา หรือมีเอาปัญหาเป็นฐาน  ซึ่งสอดคล้องกับการเรียนรู้ของคนที่ มักเรียนรู้จากสิ่งผิด มากกว่าเรียนรู้จากสิ่งที่ถูก   

ต่อไปนี้เป็น "ความคิดรวบยอด" หรือ Concept ที่ท่านเน้นย้ำว่า อาจารย์ผู้สอนและโดยเฉพาะผู้ประสานงานต้องเข้าใจ และแม่นยำ สำหรับการพัฒนารายวิชาศึกษาทั่วไป  



๑) เริ่มต้นด้วยการกำหนด "พิมพ์เขียว" หรือ Spec. ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไปก่อน สเปคข้อใดที่ต้องการให้เกิดในรายวิชาที่กำลังจะเขียน มคอ. ๓ นี้  ....  ถ้าท่านผู้อ่านจำได้ สำนักศึกษาทั่วไปของเรา กำหนดผลการเรียนที่คาดหวัง หรือ อาจเรียกว่า คุณลักษณะนิสิตที่พึงประสงค์ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไปไว้ ๙ ประการ  คลิกไปอ่านต่อได้ที่นี่  

๒) นำผลการเรียนที่คาดหวังที่เกี่ยวข้องซึ่งกำหนดไว้ในหลักสูตรฯ มากำหนด จุดมุ่งหมายของรายวิชา เป็น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (Learning Outcome : LO) ของรายวิชา ... ท่านใช้คำว่า Course LO  ในภาษาราชการจะเขียนว่า "จุดมุ่งหมายของรายวิชา"

๓) นำ Course LO ไปออกแบบ  Unit LO คือ ต้องออกแบบว่า ใน ๑๕ สัปดาห์ของการเรียนการสอน ในแต่ละสัปดาห์ มี LO อะไรที่ต้องการ เน้นหนักด้านใดใน ๕ ด้านตามกรอบ มคอ. ได้แก่ 
  • ด้านคุณธรรม จริยธรรม 
  • ด้านความรู้ 
  • ด้านทักษะทางปัญญา
  • ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ  และ
  • ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 
Unit LO ในแต่ละสัปดาห์ ผู้สอนต้องกำหนดลงในช่อง "วัตถุประสงค์การเรียนรู้" ให้ชัดเจน  
ในการอธิบายเรื่องนี้ ท่านได้ยกเอาตัวอย่างที่ดีซึ่งท่านทำที่ ม.ขอนแก่น มาให้ดู  ซึ่งจัดไว้ในหมวด ๕ แผนการสอน 

ในการกำหนด "วัตถุประสงค์หการเรียนรู้" หรือ Unit LO นี้ ท่านเน้นความเข้าใจของผู้เขียน เกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนว่า ต้องชัดเจนระหว่าง ข้อมูล ความรู้ หรือ เป็นปัญญาแตกฉาน  
  • Information (ข้อมูล) สามารถสอนได้ด้วยวิธีบรรยาย Lecture ทั่วไป หรือเป็น 
  • Knowledge (ความรู้) ผู้สอนต้องออกแบบให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติ สืนค้น วิเคราะห์ สังเคราะห์ หรือเป็น
  • Wisdom (ปัญญา) หรือความรู้แจ้ง รุ้ลึก ผู้เรียนต้องได้ฝึก และบ่มเพาะปลูกฝังเป็นระยะเวลานานพอและต่อเนื่อง จนเกิดเป็นนิสัยหรือฝังเข้าไปในจิตใจ จนเป็นอัตโนมัติ 
๔)  ออกแบบการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องตอบโจทย์เป้าหมาย LO รายสัปดาห์ เรียกสั้นๆ ว่า Learning Process  ซึ่งต้องมีความรู้เรื่องการเรียนการสอนพอสมควร เช่น 
  • Active Learning 
  • Student Engagement Learning 
  • Project-based Learning 
  • Problem-based Learning 
  • Activity-based Learning 
  • Community-based Learning 
  • Integrate Lecture-based Learning 
  • ฯลฯ 
โดยออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ (Learning Activity) ไปพร้อมๆ กับบอกสื่อการเรียนรู้ (Learning Media) และเตรียมความพร้อมเรื่องนี้อย่างละเอียดว่า จะใช้สื่อเมื่อไหร่ อย่างไร 

๕) สร้างเครื่องมือประเมินผลให้สอดคล้อง ตอบคำว่า  แต่ละ LO เกิดหรือไม่เกิด ประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใด  โดยเบื้องต้นต้องแบ่งให้ได้ว่า แต่ละด้านให้ค่าน้ำหนักเท่าใด และบอกลักษณะของการประเมินให้เข้าใจ เช่น ประเมินจากพฤติกรรมการเข้าเรียน ประเมินจากแบบบันทึก จากใบงาน จากการทำโครงการนำเสนอ หรือจากการสอบปลายภาค  ฯลฯ 

ท่านที่สนใจ สามารถดาวน์โหลด ตัวอย่าง มคอ.๓ ที่ท่านนำมาเป็นต้นแบบได้ที่นี่ครับ 



ไม่รู้ว่า "การถอดบทเรียน" ครั้งนี้จะมีประโยชน์มากน้อยแค่ไหน แต่บันทึกต่อไป จะมาดูว่าอะไรคือข้อสังเกตที่น่าสนใจหรือเทคนิคในการเขียน มคอ.๓ ในแต่ละหมวด ที่ได้เรียนรู้จากวิทยากรครับ 


วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

CADL ขับเคลื่อน ปศพพ. ใน มมส. _ ๑๒ : รายวิชา ๐๐๓๒๐๐๕ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังการเรียนการสอนภาคเรียนที่ ๑/๒๕๕๘ (๒)

บันทึกที่ (๑)

วันที่ ๒๔ ธ.ค. ๒๕๕๘ เป็นกำหนดการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนรายวิชา หลังจากที่เดินทางมาพักค้าง ณ โรงแรมใหม่ใจกลางเมืองสกลนคร  ชื่อ โรงแรมแอดสกล (@Sakon) ต่อไปนี้เป็นข้อสรุปที่ทีม CADL ช่วยกันสะท้อนจับใจความ สิ่งที่อาจารย์แต่ละท่านเล่าแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

ทบทวนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน



อาจารย์ผู้สอนท่านที่ ๑
           -   ไม่ได้เข้าร่วมอบรมกับ ดร.ปรียานุช  ทำให้ช่วงแรกๆ ไม่เข้าใจในทางการสอน
           -    ความแตกต่างทางด้านพื้นฐานของนิสิต อาจจะยากสำหรับเด็กบางกลุ่ม และอาจจะง่ายสำหรับเด็กบางกลุ่ม เช่นเด็กที่มาจากวิศวะอาจจะเข้าใจในเนื้อหาได้ยากกว่าเด็กที่มาในกลุ่มของสังคม
           -     การส่งงาน ความรับผิดชอบในการส่งงานของเด็กมีความแตกต่างกัน
           -     นิสิตส่วนหนึ่ง ไม่ตั้งใจเรียน ไม่ได้มาเรียนโดยความสมัครใจ ดูจากผลงานที่ให้ทำหนังสั้น ที่เพิ่งมาทำตอนใกล้เวลา 

อาจารย์ผู้สอนท่านที่ ๒
           -     นิสิต LA ที่ทำงานในกลุ่มเรียนของท่าน  มีความรับผิดมาทำงานทุกครั้ง แต่ยังขาดความละเอียดในการทำงาน เกิดข้อผิดพลาดบ่อยในการเช็คการส่งงานของนิสิต  ...  แสดงว่า นิสิต LA  ไม่ประกาศให้นิสิตตรวจสอบด้วยตนเองก่อนว่า ตนเองส่งงานหรือไม่   อาจใช้เทคนิคการใช้สัญลักษณ์ “เลขที่ เลขระบบ”  จะทำให้ตรวจสอบได้ง่ายขึ้น
           -   นิสิตเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอในช่วงแรก แต่หลังจากการสอบกลางภาค นิสิตส่วนหนึ่งไม่เข้าเรียน... อาจเป็นเพราะไม่ได้ชี้แจงหรือเข้มงวดในการเช็คชื่อเข้าเรียนตั้งแต่แรก
           -  การสอนในช่วงแรกที่ใช้ ppt  และเนื้อหาจากส่วนกลาง ซึ่งเป็นการสอนแบบบรรยายประกอบสื่อ ppt  ทำให้นิสิตเบื่อ  แต่ช่วงหลังกลาภาค อาจารย์สามารถออกแบบการสอนเอง ทำให้นิสิตรู้สึกสนุกมากขึ้น โดยเน้นการสอนแบบเน้นการสนทนา อภิปราย และใช้ภาษาถิ่นสลับกับภาษากลาง
           -  มีการตั้งกลุ่มเฟสบุ๊คเพื่อสื่อสารเรื่องการจัดการเรียนการสอน ได้ผลดี
           -  ในการเสนอหนังสั้น ต้องใช้เวลาถึง ๓ สัปดาห์ (มากกว่าที่กำหนดไว้ ๒ สัปดาห์) เนื่องจากจำนวนนิสิตเยอะ และกำหนดให้ทุกคนในสมาชิกออกมายืนหน้าห้องทุกคน
           -   ในการนำเสนอ ให้นิสิตทุกคนเป็นผู้ประเมินผล โดยใช้แบบประเมิน
           -    กำหนดให้นิสิตไปศึกษาเรียนรู้การน้อมนำหลัก ปศพพ. ในชุมชน ซึ่งได้ผลดี แต่พบว่าหลายกลุ่มเรียนลงพื้นที่ซ้ำซ้อนกัน (ไป ชุมชนดอนมัน ๑๐ กลุ่ม)
           -   มีการตั้งกลุ่มเฟส ให้นำเสนอหนังสั้นใช้เวลา 3 ครั้ง แต่เด็กทุกคนต้องนำเสนอให้เห็น

อาจารย์ผู้สอนท่านที่ ๓
           -    สอนนอกจากแผนที่กำหนด โดยเน้นเรื่องบัญชีรับ-จ่ายตามฟอร์มก่อน ตามด้วยการสอนเรื่อง สมอง 3 ชั้น โดยเชื่อมโยงกับหลักพุทธ ซึ่งเป็นรากเหง้าของความพอเพียงหรือไม่พอเพียง   สอดแทรกเนื้อหาบางอย่างที่เห็นมีความสำคัญ เช่น สมองสามชั้น เพื่อนำไปสู่มรรควิธี เช่นสมองชั้นต้นดึงเด็กเข้าไปสู่ศีลได้ สมองชั้นกลาง สู่ทาน และภาวนาเป็นต้น
           -   ให้ทำสมุดบันทึกความดีหรือ “กล่องบุญ” แทนการสวดอิติปิโส 108 จบ  ให้โอกาสนิสิตได้เลือกด้วยตนเอง
           -   สอนโดยการให้เด็กจัดทำบันทึกรายรับรายจ่าย ให้เน้นเรื่องการออมเพิ่มเติม โดยมีสื่อการสอนของอาจารย์วรากร สามโกเศศ แสดงให้เห็นว่าในการออมแล้วอนาคตจะมีเงินออมเท่าไหร่
           -   นิสิต LA ทำงานดีมาก (อรนุช แสงมาตย์) มีความรับผิดชอบ และละเอียดลออ อยากได้คนนิสิตคนเดิมภาคเรียนต่อไป
           -    เด็กไม่ค่อยหาย มีความตั้งใจในการเรียน โดยมาจากหลากหลายคณะ แต่ที่มีมากที่สุดคือคณะศึกษาศาสตร์
           -   นิสิต LA สร้างกลุ่มเฟสเพื่อติดต่อกับนิสิต
           -   อยากให้สอดแทรก “พุทธเศรษฐศาสตร์” ในเอกสารประกอบการสอน
           -    ผลประเมินเป็นที่น่ายินดี สอนดี เนื้อหาครอบคลุม ตรงเวลา ไม่ค่อยเข้าเนื้อหา แต่ก็เชื่อมโยงกับเนื้อหา เข้าใจนิสิต เป็นต้น (ดึงจากระบบประเมินอาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไป) ปลายปิด 4.57

อาจารย์ผู้สอนท่านที่ ๔
           -    ประทับใจและศรัทธา อาจารย์ ดร.ปรียานุช ธรรมปิยา  ในการอบรมอาจารย์ผู้สอนครั้งแรก
           -    เริ่มด้วยการถามเป้าหมายเด็กว่าเรียนแล้วอยากได้อะไรจากรายวิชา มีความคาดหวังในการเรียนวิชานี้อย่างไร บอกแผนการสอนในชั่วโมงแรก
           -    แบ่งกลุ่มนิสิตตั้งแต่สัปดาห์ กลุ่มละ 10-20 คน โดยจัดแบ่งให้คละสาขาวิชา เพื่อความสะดวกในการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ
           -    แผนการจัดการเรียนรู้ในภาคเรียนที่ ๑ นั้น สอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ ๕ ด้านตามเกณฑ์ประกันแล้ว เช่น คุณธรรมฯ เช็คจากการเข้าเรียน ตรงต่อเวลา  ทักษะทางปัญญา ได้จากกิจกรรมการเรียนรู้แบบถาม-ตอบ (ไม่ซ้ำกัน) ทักษะการทำงานเป็นทีม การสื่อสาร คิดวิเคราะห์ และไอซีที ได้จากการทำหนังสั้น
           -    เน้นการสอนให้นิสิตฝึกคิดวิเคราะห์บนหลัก ๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข ๔ มิติ โดยการซ้ำ ย้ำ ทวน และให้มีการสะท้อนการเรียนรู้ทุกครั้ง
           -     บางห้องเรียนไม่รองรับสื่อการสอนที่จัดเตรียมมา  
           -     ให้มีการตรวจเช็คบัญชีรับ-จ่าย ทุกชั้นเรียน เพื่อให้นิสิตได้ฝึกการนำไปใช้ในชีวิตจริงๆ ป้องกันการมาทำในวันสุดท้ายก่อนส่ง โดยให้นิสิตช่วยงานเป็นผู้ดำเนินการทั้งหมด
           -     ประทับใจนิสิตช่วยงาน ขอขอบคุณที่สำนักศึกษาทั่วไปจัดให้มีนิสิตช่วยงาน
           -     การนำเสนอผลงาน ให้นิสิตทุกคนในกลุ่ม ออกมายืนหน้าห้องเรียน เพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม
           -     ในการทำหนังสั้น กำหนดให้นิสิตศึกษาวิเคราะห์ปัญหาภายในมหาวิทยาลัย โดยไม่ต้องเข้าพื้นที่ในชุมชน  แต่เน้นเรื่องราวในชีวิตประจำวันของตนเอง 

อาจารย์ผู้สอนท่านที่ ๕
           -   ก่อนเรียน นิสิตเข้าใจว่า ปศพพ. เกี่ยวข้องกับการทำนา ปลูกพืช ทำสวน การเกษตร และการใช้จ่ายอย่างประหยัด เท่านั้น 
           -    จัดการเรียนการสอนและกิจกรรมตามแผนที่กำหนดทุกอย่าง โดยยกตัวอย่างอื่นๆ ตามประสบการณ์ของตนเองประกอบ ให้เข้าร่วมการสวดอิติปิโสสำหรับนิสิตที่นับถือพุทธศาสนา และถ่ายคลิปทำละหมาดมา แสดงสำหรับเด็กต่างศาสนาอิสราม
           -     การทำหนังสั้น  นิสิตส่วนใหญ่ให้สร้างพลอตเรื่อง บท และจำลองเหตุการณ์ขึ้นเอง โดยไม่เข้าพื้นที่ชุมชน  
           -     ได้แนะนำให้นิสิตเข้าพื้นที่ชุมชนรอบมหาวิทยาลัย เช่น กุดหัวช้าง มะกอก และพื้นที่หลังคณะเทคโนโลยี   โดยต้องไม่ใช่เพียงการไปสัมภาษณ์  และต้องมี “รูปหน้า” ทุกคนในหนังสั้น หรือทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการแสดง
           -    ช่วงหลังกลางภาค ได้เน้นการนำเอาประสบการณ์การบริการชุมชนของตนเองมาสอน โดยให้โอกาสนิสิตที่สนใจร่วมเข้าพื้นที่จริง
           -   พบปัญหานิสิตมาเรียนสาย บางส่วนขาดเรียน “...บางชั่วโมงเด็กหาย บางชั้วโมงเด็กเต็ม อาจจะติดกิจกรรมของคณะ...”
           -   ตึก RN ไวรัสเยอะ  

อาจารย์ผู้สอนท่านที่ ๖
           -    เป็นครั้งแรกในการมาสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป อยากมาเพื่อปรับเปลี่ยนตัวเอง ในการจัดการเรียนการสอน  เทอมนี้ถือว่าประสบความสำเร็จ รู้สึกว่า การทำวิจัยในห้องเรียนประสบความสำเร็จ มีความมั่นใจว่าเข้าใจเนื้อหามากพอสมควร
           -    ตั้งจุดมุ่งหมาย ในการจัดการเรียนรู้ ๒ ประเด็น คือ ๑)  เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอย โดยให้บันทึกบัญชีรับ-จ่ายในชีวิตประจำวัน (คล้ายไดอารี่) เช่น วันนี้ไปกินก๋วยเตี๋ยวกี่บาท ให้เด็กบันทึก แล้วนำมาวิเคราะห์ให้เห็นความไม่ “พอเพียง” เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออมเงิน  ตามแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียง ๒) ฝึกการคิดวิเคราะห์ การใช้เหตุผล โดยอาจารย์โชว์การคิดวิเคราะห์ให้เห็น และให้ฝึกวิเคราะห์บนหลัก 2-3-4 กับตัวอย่างกิจกรรมในชีวิตประจำวัน  
           -    สอนเน้นว่า ปศพพ. คือ “หลักคิด” ฝึกให้นิสิตมีลำดับการคิด (step การคิด) และนำไปใช้กับทุกอย่าง ทุกเรื่องในชีวิต  
           -   สอนเรื่องการออม และการลงทุน และเศรษฐศาสตร์พื้นฐาน
           -   ใช้สื่อการสอน คลิป youtube  ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตของห้องเรียน  โดยเตรียมวิธีการเข้าถึงคลิปนั้นๆ ไปก่อน .... สื่อการสอนหาได้ง่ายบนอินเตอร์เน็ต ไม่จำเป็นต้องเตรียมมาก
           -    การจัดทำวีดีโอ ให้เด็กทำตามแนวอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย 9 ด้าน  ให้เด็กเป็นนักแสดงตามหัวข้อที่เด็กเลือกที่จะกระทำ

อาจารย์ผู้สอนท่านที่ ๗
           -  ตอนแรกที่เข้ามาสอน ไม่มีความเข้าใจมาก่อน  แต่พอผ่านการฝึกอบรมกับ ดร.ปรียานุช  ธรรมปิยา ก็เกิดความเข้าใจมากขึ้น
           -   เริ่มด้วยการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ ความหมายและประโยชน์ของ ปศพพ. และสร้างความศรัทธาต่อองค์ในหลวงโดยเล่าถึงการทรงงาน และเปิดวีดีทัศน์ และละลายพฤติกรรมก่อนการจัดการเรียนการสอน ให้อยากเรียน และเห็นความสำคัญของการเรียนวิชานี้
           -   ชี้แจงวิธีการประเมินผล (..ทำอย่างไรจะได้เกรด A..)  สร้างกฎเกณฑ์ร่วมกันในห้องเรียน กติกาในการเข้าเรียน ไม่ให้ส่งงานย้อนหลัง เน้นให้เด็กตรงเวลา
           -   ตรวจสอบ ติดตามว่า นิสิตทำบัญชีรายรับรายจ่าย อย่างเป็นปัจจุบันทุกครั้ง โดยการสุ่มถาม สุ่มตรวจ
           -   เน้นการการ “ถอดบทเรียน” กับหลัก 2-3-4  ตามแผนการจัดการเรียนการสอนที่กำหนด  เน้นให้นิสิตคิด เกี่ยวกับการนำ ปศพพ. ไปใช้ในชีวิตประจำวัน และได้นำเสนอในลักษณะบทบาทสมมติ  โดยอาจารย์จะสอดแทรกเพิ่มเติม และเน้นว่า “ไม่มีถูกผิด” 
           -  ใช้คะแนนเป็นแรงจูงใจให้นิสิตมีส่วนร่วม อยากคุย อยากนำเสนอ ครั้งละ 0.1 คะแนน

อาจารย์ผู้สอนท่านที่ ๘
           -   การเกิดรายวิชาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงถือว่าเป็นรายวิชาใหม่ของตนเอง
           -    ก่อนการสอน นิสิตส่วนหนึ่งมีความรู้ความเข้าใจเรื่อง 2-3-4 ดีแล้ว
           -    มีการชี้แจง มคอ.3 ก่อนการจัดการเรียนการสอน
           -    ถ่ายเอกสารประกอบการสอนและขายให้นิสิตในราคาต้นทุน
           -    พบนิสิตทำใบงานล่วงหน้า
           -    ให้คะแนนตัวแทนในการนำเสนอเพิ่มขึ้น 0.5 คะแนน
           -    อินเตอร์เน็ตตึก RN-510 ไม่สามารถใช้งานได้
           -    ควรจะเพิ่มเนื้อหาในการจัดการเรียนการสอน
           -  ควรมีการตรวจทานข้อสอบให้รอบคอบมากขึ้น 

ฯลฯ

 ปรับเนื้อหาและแผนการเรียนรู้ให้เหมาะสมมากขึ้น

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหา สาเหตุ และหาแนวทางร่วมกันในการจัดการเรียนการสอนภาคเรียนต่อไป  ได้นำมาปรับแก้แผนการสอนและการประเมินผล หรือ มคอ.๓ หมวด ๕ ดังรายละเอียดด้านล่าง

หมวดที่ ๕ แผนการสอนและการประเมินผล
  . แผนการสอน

ครั้งที่
หัวข้อ/รายละเอียด
จำนวนชั่วโมง
กิจกรรมการเรียนการสอน/สื่อที่ใช้
ผู้สอน
ชี้แจงรายละเอียดของรายวิชา (มคอ.๓)
- จุดมุ่งหมาย
          - การประเมินผล
          - บัญชีรายรับ-จ่าย
          - การสอบย้อนหลัง (ใบรับรองแพทย์) ยื่นภายใน ๓ วันทำการ ใบมรณะบัตร ฯลฯ
          - การเข้าเรียน
          - ๑๕ นาที ถือว่าสาย
          - สาย ๒ ครั้ง เท่ากับขาด
          - ลา ต้องมีหลักฐาน
- แบ่งกลุ่มคละสาขา ตามความเหมาะสมกลุ่มละ ๑๐ ถึง ๒๐ คน
- มอบหมายงาน สร้างสื่อ ผลงาน หรือชิ้นงานน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้
คณาจารย์
บทที่ ๑ ที่มาของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- การทรงงานของในหลวง
- วิกฤตเศรษฐกิจ ๒๕๔๐
- บรรยาย เล่าเรื่อง ประกอบวิดีทัศน์
- ไม่จำเป็นต้องใช้วีดีทัศน์ ทนง ขันทอง (เนชั่น)  ให้ปรับหรือจัดหาคลิปเอง
- แนะนำให้เด็กเปิด app ที่เกี่ยวกับพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  สำหรับพระราชดำรัส
ใบกิจกรรมที่ ๑ ทำไมต้องน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต
คณาจารย์
บทที่ ๒ ของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- คำนิยามของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- บรรยาย เล่าเรื่อง ประกอบวิดีทัศน์
- ไม่จำเป็นต้องใช้วีดีทัศน์ ทนง ขันทอง (เนชั่น)  ให้ปรับหรือจัดหาคลิปเอง
- แนะนำให้เด็กเปิด app ที่เกี่ยวกับพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  สำหรับพระราชดำรัส
คณาจารย์
บทที่ ๒ ของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- ทำกิจกรรมที่ ๒ ชุดคำถามช่วยบันทึกความคิด (โดย ดร.ปรียานุช ธรรมปิยา)
ให้ดูคลิป แล้วร่วมกัน อภิปราย และสรุป
-คลิปพอเพียงของมูลนิธิสยามกัมมาจล
 -สื่อสัมภาษณ์ ดร.ปรียานุช ธรรมปิยา (optional)
กิจกรรมที่ ๒  ชุดคำถามช่วยบันทึกความคิด
คณาจารย์
บทที่ ๓ ศาสตร์พระราชา หลักการทรงงานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- ศาสตร์พระราชา
- หลักการทรงงาน
ใบกิจกรรมที่ ๓  หลักการทรงงานที่ข้าพเจ้าประทับใจที่สุด  
คณาจารย์
บทที่ ๓ ศาสตร์พระราชา หลักการทรงงานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- ทำกิจกรรมที่ ๔ โครงการพระราชดำริ
ใบกิจกรรมที่ ๔  โครงการพระราชดำริ ที่ข้าพเจ้าสนใจมากที่สุด  
คณาจารย์
บทที่ ๔ เกษตรทฤษฎีใหม่
กิจกรรมที่ ๕ ออกแบบ/วางแผนแปลงเกษตร
คณาจารย์
สอบกลางภาค

สอบกลางภาค
สำนักศึกษาทั่วไป
บทที่ ๔ เกษตรทฤษฎีใหม่
ทำกิจกรรมที่ ๖  (แลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำเสนอ)
กิจกรรมที่ ๖ ศูนย์ศึกษาการพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
คณาจารย์
๑๐
บัญชีรับ-จ่าย ศูนย์ศึกษาการพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ถอดบทเรียน บัญชีรับ-จ่าย
 - สะท้อนการเรียนรู้
 - ถอดบทเรียน การหาเงิน การออม เป็นต้น
 - คำถามปรับปรุงแก้ไขพัฒนาตนเองอย่างไร
คณาจารย์
๑๑
 บทที่ ๕ การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต
กิจกรรมที่ ๗ ถอดบทเรียนตนเอง กับหลักปรัชญา

๑๒
บทที่ ๕ การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต
 ทำกิจกรรมที่ ๘ วางแผนชีวิต
กิจกรรมที่ ๘ วางแผนชีวิตในการไปสู่อาชีพที่ต้องการ และถอดบทเรียน ๒-๓-๔ 
คณาจารย์
๑๓
บทที่ ๕ การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต
 ทำกิจกรรมที่ ๙ วิเคราะห์สถานการณ์
กิจกรรมที่ ๙ วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน
คณาจารย์
๑๔
บทที่ ๕ การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต
 ทำกิจกรรมที่ ๑๐ วิเคราะห์สถานการณ์
กิจกรรมที่ ๑๐ ถอดบทเรียนเรื่อง “เคียวของพ่อ” กับหลัก ปรัชญาฯ ๒-๓-๔
คณาจารย์
๑๕
- นำเสนองานกลุ่ม
กิจกรรมนำเสนอผลงาน ประเมินผลงานเพื่อน
คณาจารย์
๑๖
- นำเสนองานกลุ่ม
กิจกรรมนำเสนอผลงาน ประเมินผลงานเพื่อน
คณาจารย์
๑๗
สอบปลายภาค
 สอบปลายภาค
คณาจารย์

  . แผนการประเมินผลการเรียนรู้
     .๑ การวัดผล
กิจกรรม
ผลการเรียนรู้
วิธีการประเมิน
สัปดาห์ที่ประเมิน
สัดส่วนของการประเมินผล
๑.๑.๑) – ๑.๑.๓)
ร่วมกิจกรรมในชั้นเรียนการเข้าชั้นเรียน ตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบ
-๑๕
๑๐%
๒.๑.๓)
ทำบัญชีรายรับ-จ่าย
-๑๕
๑๐%
๓.๑.๑) ๓.๑.๓)
๔.๑.๑) ๔.๑.๔)
ใบงาน/ทำกิจกรรม
-๑๕
๑๕ %
๔.๑.๑) ๔.๑.๔)
นำเสนอชิ้นงานหรือหนังสั้น “การน้อมปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในการดำเนินชีวิต”
๑๔-๑๕
๑๕%
๒.๑.๑) - ๒.๑.๓)
สอบกลางภาค
๒๕%
๓.๑.๑) ๓.๑.๓)
สอบปลายภาค
๑๖
๒๕%

 ๒.๑.๑ การเข้าเรียน
-             การมาเรียนสาย หมายถึง การมาเรียนช้าเกินกว่า ๑๕ นาที
-             สาย ๒ ครั้ง มีค่าเท่ากับการขาดเรียน ๑ ครั้ง
-             การลา ๒ ครั้ง มีค่าเท่ากับการขาดเรียน ๑ ครั้ง  การลาต้องมีเหตุจำเป็นและหลักฐานประกอบ
-             ขาดเรียนมากกว่า ๔ ครั้ง หมดสิทธิ์ในการสอบปลายภาค
-             วิธีการเช็คชื่อ ทำได้ ๒ วิธี คือ เช็คโดยกำหนดที่นั่ง หรือ เช็คจากใบงานในชั้นเรียน โดยกำหนดให้มีฟอร์มเดียวกัน
     ๒.๑.๒ ใบงาน/ใบกิจกรรม  (งานเดี่ยว)
-            ห้ามส่งใบงานย้อนหลัง เว้นแต่มีการลาในคาบเรียนนั้นๆ
-            อาจารย์เป็นผู้ตรวจงาน นิสิต LA ช่วยกรอกคะแนน
๒.๑.๓  สื่อ/ผลงาน/ชิ้นงาน/หนังสั้น
-            กำหนดหัวเรื่อง “ตัวอย่างการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต”
-            เปิดโอกาสให้นิสิตแต่ละกลุ่มออกแบบรูปแบบหรือลักษณะของชิ้นงานด้วยตนเอง 
-            กำหนดระยะเวลาในการนำเสนอไม่เกิน ๑๐ นาที












ข้อตกลงร่วมกัน "มาตรการส่งเสริมรายวิชา"

สิ่งสำคัญที่สุดของการพบกันครั้งนี้ คือการร่วมกันสร้างข้อตกลงที่จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนารายวิชาต่อไป เรียกว่า "มาตรการส่งเสริมรายวิชาไ

1.    ให้อาจารย์ทุกท่านสอนตามแนวทางที่ได้กำหนดร่วมกัน ซึ่งได้กำหนดไว้ใน มคอ. 3
2.     ให้อาจารย์ทุกท่านเข้าร่วมกิจกรรมหรือการประชุมของรายวิชา อย่างน้อย ร้อยละ 50  โดยอาจารย์ผู้สอนต้องชี้แจงและส่งหลักฐานมายังฝ่ายประสานงาน
3.     ให้ฝ่ายประสานทำหนังสือสรุปประเด็นหรือผลการประชุม แจ้งไปยังอาจารย์ที่ไม่สามารถเข้าร่วมได้ตามข้อ 6.2
4.     ในกรณีที่อาจารย์ไม่แจ้งการเข้าร่วมประชุม ให้ฝ่ายประสานงานเตือนให้เข้าร่วมการประชุมในครั้งถัดไป
5.      อาจารย์ผู้สอนรายใหม่ ต้องผ่านหลักสูตรการฝึกอบรมอาจารย์ผู้สอนที่จัดโดยสำนักศึกษาทั่วไป และกำหนดเลือกอาจารย์ผู้สอนเดิมหรืออาจารย์ผู้ประสานงานเป็นพี่เลี้ยงในการสอนในภาคการเรียนแรก