วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2561

เรียนรู้ (แบบประหยัด)เรื่อง "มหาวิทยาลัยหุ้นส่วนสังคม" (Engagement University)

ศาสตราจารย์ นพ.วิจารณ์ พานิช ท่านรับเชิญไปบรรยายเรื่อง "Public Engagement : มหาวิทยาลัยหุ้นส่วน" แล้วท่านนำมาเผยแพร่ใน G2K ในบันทึกนี้  ผมถอดบทเรียนจากการฟังท่านผ่านอินเตอร์เน็ต (แบบไม่ต้องเสียค่าเดินทาง ที่พัก หรือค่าอาหารใดๆ)  ...  นำมาเขียนบันทึกไว้แลกเปลี่ยนครับ

ท่านเล่าประสบการณ์การไปศึกษาดูงาน Public Engagement ที่ประเทศอังกฤษ ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา และให้ข้อควรระวังไว้ (เหมือนที่ท่านเตือนเสมอ) ว่า ท่านไม่ใช่ผู้ปฏิบัติ ท่านไปดูไปเห็น ได้อ่าน ได้ศึกษา แล้วนำมาตีความ ดังนั้น อาจเข้าใจไม่ครบ และอาจมีอคติ จึงเน้นว่าให้ใช้วิจารณญาณในการฟัง

หลักการของ "มหาวิทยาลัยหุ้นส่วน"

ในเว็บไซต์ของ Engagement Thailand (EnT) (พันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม) (คลิกที่นี่) ใช้คำว่า Social Engagment (SE) ส่วนวันนี้ที่ (ม.เกษตรฯ) ใช้คำว่า Public Engagement (PE)  แต่น่าจะมีความหมายและหลักการเดียวกัน หลักการ ๔ ประการของการเป็น "มหาวิทยาลัยหุ่นส่วนสังคม" (University Engagement) ได้แก่ 
  • ๑) การร่วมคิดร่วมทำแบบหุ้นส่วน (Partnership) 
  • ๒) เกิดประโยชน์ร่วมกันกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย (Mutual benefit) 
  • ๓) มีการใช้ความรู้และเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน (Schoraship) 
  • ๔) เกิดผลกระทบต่อสังคมที่ประเมินได้ (Socail Impact)
โดยนิยามคำว่า "สังคม" ว่า รวมถึงกลุ่มบุคคลที่อาจเชื่อมโยงกับชุมชนในมิติของพื้นที่ เช่น สถานที่ทำงาน ชุมชนใกล้เคียง ทั้งที่เป็นทางการหรือไม่ทางการ หรือในมิติสังคม อยู่ในภาคส่วนเดียวกัน มีความสนใจร่วมกัน เช่น ชุมชนพื้นเมือง ชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) สมาคมวิชาชีพ โรงเรียน รัฐบาล ศิษย์เก่า เป็นต้น โดยไม่มีข้อจำกัดทั้งในเชิงพื้นที่ ภูมิภาค และประเทศ เป็นต้น ...

วิธีการของมหาวิทยาลัยไทย ในการก้าวไปเป็น "มหาวิทยาลัยหุ้นส่วนสังคม" 

EnT กำหนดแนวปฏิบัติสำหรับการก้าวสู่ "มหาวิทยาลัยหุ้นส่วนสังคม" (SEU) ไว้ดังนี้ว่า

  • รับรู้และยอมรับในคุณค่า (value) ของสังคม วัฒนธรรม (Culture) ความรู้และทักษะของสังคม (น่าจะหมายรวมถึง ภูมิปัญญาท้องถิ่น) และ(ตั้งใจว่าจะ)ทำงานที่เกิดประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย 
  • กำหนดเรื่อง "พันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม" (TE) ให้เกิดเป็นระบบและกลไกในการปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัย ได้แก่ นโยบาย แผนปฏิบัติราชการ แผนงบประมาณ (ตัวชี้วัดของ) หลักสูตร  สร้างให้เกิดเป็น "วิถี" ในมหาวิทยาลัย 
  • พัฒนาโจทย์วิจัยและวิธีดำเนินการวิจัยร่วมกับสังคม ให้ครอบคลุมทั้งในเชิงวิชาการและประเด็น(ปัญหา)ของสังคม 
  • บูรณาการการจัดการเรียนการสอนและกับ TE โดยบูรณาการเป้าหมายการเรียนรู้และผลิตบัณฑิตกับความต้องการของสังคม 
  • ติดตาม ประเมินผลการทำงาน TE ร่วมกับสังคม และร่วมกันปรับปรุงและพัฒนากิจกรรมที่ทำร่วมกันอย่างต่อเนื่อง 
  • กำหนดเป้าหมายร่วมกันในการทำให้สังคมดีขึ้น และสร้าง "Engagement Citizen" (น่าจะหมายถึงความเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าต่อสังคม) ให้เกิดกับสมาชิกทุกคนสังคม โดยเฉพาะนิสิตนักศึกษา บัณฑิต และบุคลากรในมหาวิทยาลัย 
University Engagement ที่ประเทศอังกฤษ


ที่อังกฤษให้นิยามของ Engagement ไว้ว่า

แนวปฏิบัติ /
การฝึกทักษะ
เพื่อ PE
ที่แข็งแรง
https://www.publicengagement
.ac.uk/sites/default/files/public
ation/an_attri...
สังเกตว่า เขาเน้นว่า PE นั้นเป็นกระบวนการแบบสองทาง (two-way process) รวมถึงองค์ความรู้ที่่เกิดขึ้นก็เป็นความรู้ที่ร่วมกันสร้างขึ้น ใช้ความรู้ร่วมกัน มีการปฏิสัมพันธ์กัน (interation)  ฟังกัน (listening)  โดยมีเป้าหมายให้เกิดประะโยชน์ร่วมกัน 

ยกตัวอย่างการร่วมกันทำ PE  ของมหาวิทยาลัยสองแห่งในอังกฤษ คือ University of Bristol (UoB) ซึ่งเป็นที่ตั้งของ NCCPE (Natinoal Co-ordinating Center for Public Engagement) หน่วยงานที่ท่านไปดูงานครั้งนั้น และอีกมหาวิทยาลัยหนึ่งคือ University of West of England สองมหาวิทยาลัยนี้ร่วมกันจัดการ NCCPE ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 ถึงปัจจุบัน สิ่งที่ทำร่วมกัน(แสดงในสไลด์) คือ ร่วมกันสอนและวิจัย ทำให้การทำงานของอาจารย์ นักศึกษา และบริการต่างๆ ให้แก่กิจการสาธารนะ ให้คุณค่าและการเรียนรู้จากความเชี่ยวชาญนอกมหาวิทยาลัย และสร้าง "ชาลา" (platform) เพื่อขยายความรู้สาธารณะ โดยเน้นความต่อเนื่อง

http://www.knit.or.th/web/wp-
content/uploads/2018/03/PE-in-
UK-book.pdf
https://www.gotoknow.org/posts/t
ags/เรียนรู้มหาว...














โดยใช้ ยุทธศาสตร์ร่วมกัน เชื่อมโยงหุ้นส่วนนอกวงการวิชาการในเชิงลึก คุณภาพสูง และต่อเนื่อง เชื่อมโยงกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสาธารณะ  นิยามคำว่า Engagment เป็นกระบวนการหรือปฏิสัมพันธ์ที่มีการรับฟังกันสองทาง มีเป้าหมายเพื่อประโยชน์ร่วมกัน และใช้มุมมองแบบ "ครบด้าน" (holistic) ต่อวิธีการเชื่อมโยงหุ้นส่วนสังคมออกไปนอกวงการวิชาการ

การนาเสนอ
• งานบริการสังคมกับ PE
• งานธารงความดีงาม
• เปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการ
ทาภารกิจหลัก
• สรุป
• ความอยู่รอดของมหาฯ ใน
...
หากจะทำเรื่อง PE อย่างจริงจัง มหาวิทยาลัยต้องมี Framwork ของตนเอง เพื่อให้ได้ "คิดใหญ่" คิด "ครอบคลุม"  UoB มี Framwork ประกอบด้วย ๕ ห่วง ได้แก่

  • Partnership  ร่วมมือด้านวิจัยและการศึกษา, พัฒนากิจกรรมที่ทำให้เกิดสุนทรียสนทนา, ร่วมมือประสานงาน ประชุม สัมมนา ออกไปนอกวงวิชาการ, และ เผยแพร่ผลงานวิชาการออกไปนอกวงวิชาการ (ต้องไม่ใช่เผยแพร่ผลงานเพื่อตนเอง แต่ต้องเผยแพร่ในภาษาของหุ้นส่วน)
  • Infrastructure คือ มีการทำให้เข้าไปอยู่ในโครงสร้างของมหาวิทยาลัย เช่น มียุทธศาสตร์ มีการจัดสรรทรัพยากร มีการส่งเสริมให้มีการทำวิจัย PE และส่งเสริให้เกิด Impact ต่อสังคม 
  • Internal capacity building  คือสร้างขีดความสามารถภายใน อบรมให้รู้จัก PE  ทำให้ PE เข้าไปอยู่ในใจ เสริมแรงและส่งเสริมผลงานเกี่ยวกับ PE สร้างนักวิชาการเรื่อง PE ขึ้น และให้รางวัลสำหรับความสำเร็จ  
  • Student experience คือ นักศึกษาต้องเป็น Part ต้องทำให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์ PE ทำให้อยู่ในหลักสูตร บ่มเพาะวัฒนธรรมอาสาสมัคร  (ประเทศที่มีความโดดเด่นด้านนี้ที่สุดคือเดนมาร์ก คนร้อยละ ๗๐ ของผู้มีงานทำ ทำงานอาสาสมัคร ประเทศที่มีจิตอาสาสูงจะเป็นประเทศที่น่าอยู่ สังคมดี) นักศึกษาต้องได้ทำงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 
  • Reflection mornitoring and communication  ต้องเรียนรู้ (สะท่อนการเรียนรู้ ตกผลึกความรู้) เก๋็บข้อมูล บันทึกความรู้ และสื่อสารความรู้ออกไป 

พันธกิจ ๔ เดิมของมหาวิทยาลัย จะไม่ได้ผล

 ศตวรรษแรกของมหาวิทยาลัยไทย สร้างคุณูปการอันยิ่งใหญ่ แต่หากจะก้าวไปสู่เป้าหมาย "ประเทศไทย ๔.๐" ด้วยพันธกิจตามกระบวนทัศน์เดิม จะไม่ได้ผล วิธีที่จะได้ผลคือมหาวิทยาลัยต้องเป็นหุ้นส่วนสังคม

ศ. ดร. วิจิตร ศรีสะอ้าน
ศตวรรษที่สองของมหาวิทยาลัยไทย เหมือนได้รับพรจากฟ้า (ฟ้าประทาน) (ผมตีความว่า ท่านหมายถึง หากไม่มีรัฐบาลเข้ามาจัดการปัญหาเรื้อรังของไทย คงไม่มีวันได้วางแผนประเทศ ๒๐ ปี จนได้เป้าหมายที่จะก้าวไปสู่ ประเทศไทย ๔.๐)  กลายมาเป็นความท้าทายอย่างยิ่งต่อมหาวิทยาลัย ที่จะต้องปัจจัยให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อม  ให้ประเทศก้าวสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

แต่หากมหาวิทยาลัยทาตามกระบวนทัศน์เดิม

สไลด์ของ ศ.ดร.วิจิตร ศรีสะอ้าน ที่ท่านนำมาเล่าต่อ สะท้อนสภาพปัจจุบันของปัญหาประเทศไทยได้น่าสลดใจยิ่งนัก
แต่หากมหาวิทยาลัยทาตามกระบวนทัศน์เดิม
จะไม่ได้ผล
รัฐบาลบอกว่า สิ่งที่จะทำให้ประเทศก้าวสู่ "ประเทศไทย ๔.๐" คือ  การสร้างนวัตกรรม การบูรณาการ และการสร้างคุณค่า (Value Creation)  ... ปัญหาคือ มหาวิทยาลัยจะทำอย่างไรล่ะ?

ถ้าทำในกระบวนทัศน์เดิม คือ มหาวิทยาลัยมีหน้าที่ ๔ อย่างคือ ผลิตบัณฑิต ทำวิจัย บริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม นั้น จะไม่ได้ผล
ต้องการการเปลี่ยนกระบวนทัศน์
จาก Technology Transfer สู่ Engagement Paradigm
ร่วมคิด
ร่วมทา / ร่วมลงทุน
ร่วมสร้าง & ใช้ค &...
ต้องเปลี่ยนใหม่ หากจะให้ได้ผล ต้องใช้หลักการ "Engagement"

การนาเสนอ
• งานบริการสังคมกับ PE
• งานธารงความดีงาม
• เปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการ
ทาภารกิจหลัก
• สรุป
• ความอยู่รอดของมหาฯ ใน
...
เปลี่ยนจาก Technology Transfer สู่ Engagement Paradigm  มหาวิทยาลัยต้องเปลี่ยนจากเน้นทฤษฎีไปสู่การเน้นการปฏิบัติ ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ร่วมลงทุน ร่มสร้าง ใช้ความรู้และนวัตกรรม รับผลร่วมกัน ไม่ใช่ช่วยเหลือ

เปลี่ยนกระบวนทัศน์ต่อนิสิต
•จาก ผู้รับ เป็น ผู้ให้
•จาก ผู้เสพ เป็น ผู้สร้าง
มหาวิทยาลัย ๔.๐

นิสิตเรียนรู้จากการร่วมกิจกรรม PE
• เรียนจาก “สหกิจศึกษา” ใน E Partner
• เรียนจาก service learning ในชุมชน / พื้นที่
• เรี...


การจัดการเรียนรู้สู่ University Engagement

ความคิดสำคัญคือ ต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของมหาวิทยาลัยต่อนิสิต เปลี่ยนจากมองว่านิสิตเป็น "ผู้รับ" (รับความรู้) เป็น "ผู้ให้" (นิสิตแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอด) เปลี่ยนจาก "ผู้เสพ" (เสพความรู้ของผู้อื่น) เป็น "ผู้สร้าง" (สร้างความรู้ด้วยตนเอง) วิธีการคือ ทำให้นิสิตเรียนรู้จากการร่วมกิจกรรม PE  ซึ่งสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ

TORCH : The Oxford Research Centre in the Humanities
• Supports and promotes research activity of the very highest quality...



วิธีการตรวจสอบว่า การทำ Engagement ได้ผลหรือไม่ สามารถตรวจสอบน ๕ ประเด็น ได้แก่ ๑) มีการสร้างความรู้ร่วมกันหรือไม่ ๒) มีการจัดการร่วมกันหรือไม่ ๓) มีความตระหนักในตัวตนร่วมกันหรือไม่ ๔) มการสื่อสารเผยแพร่ต่อเนื่องหรือไม่ และ ๔) มีการตกผลึกความรู้หรือประสบการ สะท้อนการเรียนรู้ร่วมกันหรือไม่
การนาเสนอ
• งานบริการสังคมกับ PE
• การธารงความดีงาม
• เปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการ
ทาภารกิจหลัก
• สรุป
• ความอยู่รอดของมหาฯ ใน
...

ในการจัดการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัย สิ่งที่สำคัญที่สุดไม่ใช่ความรู้ แต่เป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียน  มีผลงานวิจัยชี้ว่า วิธีการสร้างแรงบันดาลใจที่ดีที่สุดคือ การสร้างเป้าหมายที่อยู่เหนือผลประโยชน์ของตนเอง

New Paradigm of Extension Services
• Engagement Paradigm of Extension Services?
•?Extension Specialists as PEP (Public Eng...


ในการทำวิจัยของมหาวิทยาลัย ต้องสังเกตผลกระทบใน ๓ ประเด็น ได้แก่

PE ด้านศิลปะและวัฒนธรรม กีฬา และการ
ท่องเที่ยว
• งานเทศกาล
• พิพิธภัณฑ์
• PE เชิงพื้นที่
• PE อุตสาหกรรมท่องเที่ยว
• RBL, ...

การทำวิจัยต้องพัฒนาโจทย์ร่วมกันกับหุ้นส่วน มีรายได้จากการทำวิจัยให้แก่หุ้นส่วน นิสิตเรียนโดยสร้างความรู้ในสภาพจริง

เปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการทาภารกิจหลัก
•การเรียนรู้ / ผลิตบัณฑิต
•การสร้างความรู้ / วิจัย
•บริการวิชาการ
•ธารงความดีงาม
“การท...

การทำงานบริการวิชาการ จะต้องเปลี่ยนจาก "ผู้ให้" "ผู้รับ" แต่ต้องเป็น "หุ้นส่วน" กัน

เปลี่ยนกระบวนทัศน์การทางานวิชาการ
ทางานตามความรู้
ความถนัดของตน
ทางานตามความ
ต้องการหลักของ
ปทท. ๔.๐
เอาความรู้เป็นหลัก เอ...
การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม  ต้องไม่ใช่เพียงติดอยู่เพียงรูปแบบประเพณีสืบทอนเท่านั้น แต่ต้องเป็นการธำรงความดีงามในทุกิจกรรมหรือการปฏิบัติ  การธำรงความดีงามจะไม่สามารถทำได้ด้วยการสอน แต่ต้องได้จากการลงมือปฏิบัติ

Engagement Structure
• VP for Engagement
• Engagement Steering Board
• Engagement Office (EO) with
professional staffs
• E...
มหาฯ ก
อธิการบดี
คณะ ก คณะ ข คณะ ค
รอง
อธิการบดี ฝ่าย ...

สิ่งที่ต้องเปลี่ยนแปลง

Effect Size Assessment
•แต่ละ Program / Project หวัง Effect /
Impact อะไร ต่อ Th 4.0 เป็นเป้าหมาย
หลัก
•ทาเสร็จแล้ว วัดว่า...
เปลี่ยนโครงสร้างคนในมหาวิทยาลัย ให้หุ้นส่วนเข้ามามีบทบาท

มีงบประมาณประจาปี
• เพื่อดาเนินการกิจกรรมข้างต้น
• มีบุคคล / หน่วยงาน รับผิดชอบเป็นรายกิจกรรม
• กาหนดผลลัพธ์ที่คาดหวัง
• ห...

เปลี่ยนเป็น (เช่น)


ในระยะยาว
• ค่อยๆ บูรณาการเป็นระบบหลัก
• ที่มีการปรับตัวไปเรื่อยๆ
• โดยอาศัยการวิจัย ES – Effect Size สาหรับปรับ
วิธีการให...
ท่านสรุปด้วย ๒ สไลด์ นี้ครับ

University ku 610507

University ku 610507

ศึกษาจากการฟังท่านทั้งหมดแล้ว ผมตระหนักว่า การพัฒนามหาวิทยาลัยไปสู่ TUE นั้นเป็นสิ่งจำเป็น และเป็นความหวังเดียวของการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ "ประเทศไทย ๔.๐"  (TUE เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนไปสู่เป้า)  และผมเริ่มมีความกล้าเพิ่มขึ้นที่จะใช้โอกาสที่ผมเป็นผู้ประสานงานรายวิชาหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน ขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไปสู่ TUE

ตอนที่ท่านพูดว่า สวีเดน มีคนทำงานอาสาถึงร้อยละ ๗๐ ของคนมีงานทำ  ผมสงสัยว่าประเทศไทยเราจะมีคนแบบนี้อยู่สักกี่ร้อยละ

ขอบคุณความรู้จากท่านครับ

วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2561

PLC อบจ. ขอนแก่น _๐๙ : ค่ายพัฒนาครูผู้จะไปจัดค่ายเรียนรู้ภาษาไทย (๒) "กิจกรรมนำการเรียนรู้ภาษาไทย"


ฐานการเรียนรู้ที่คุณครูให้ความสนใจที่สุดในค่ายนี้คือ "ฐานสร้างสรรค์" วิทยากรคือคุณครูเต้ง (สุริยนต์ ฉิมพลี) จากโรงเรียนเทศบาลบูรพาพิทยาคาร เทศบาลเมืองมหาสารคาม  และครูช้าง (ธีรยุทธ จันทนะ) (จะมาแจ้งต้นสังกัดท่านทีหลังครับ) ผลการทำ AAR ช่วงจะจากกัน คุณครูผู้ร่วมค่าย สะท้อนกันจำนวนมากว่า จะนำเอากิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยที่ได้เรียนรู้จากครูเต้งและครูช้าง และกิจกรรมที่เพื่อนครูแต่ละท่านได้ออกแบบไว้ ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน  บันทึกนี้ขอนำเอาเครื่องมือ ๑๑ ชิ้น ที่ได้จากค่ายนี้ มาเรียงไว้ให้ครูนำไปใช้ครับ .... เพียงแค่ปริ๊้นเอาท์แล้วก็เอาไปลองใช้ดู จะดีมากถ้าสะท้อนให้รู้ว่าผลเป็นอย่างไร

๑) กิจกรรม "เขียนถูกหรือเขียนผิด" 

เป็นกิจกรรมที่ครูเต้งและครูช้าง นำมาสาธิตเชิงปฏิบัติ (ครูมีส่วนร่วมในการสาธิต) อย่างสนุกสนาน ... ผมสังเกตอยู่ข้างๆ รู้ตัวเลยว่าตนเองยังต้องเรียนภาษาไทยอีก 

กิจกรรมนี้ครูต้องเป็นเตรียมคำศัพท์เอง  ผมจำไม่ได้ว่าครูเต้งและครูช้างใช้คำว่าอะไรบ้าง จึงไม่ได้เขียนไว้ในใบกิจกรรม  ถ้าครูเต้งเห็นบันทึกนี้ ตอบต่อไว้ท้ายความเห็นจะเด่นดีนักครับ 


๒) กิจกรรม "คำประพันธ์หรรษา" 

เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ครูเต้งและครูช้างนำมาสาธิตเชิงปฏิบัติการ  มีตัวอย่างกาพย์ยานีที่คุณครูแต่งได้อย่างดีมาก แต่ไม่กล้านำมาออนไลน์ .... 

ผมว่ากิจกรรมนี้สนุกตรงที่มีชื่อเพื่อนครูมาเกี่ยวข้องนั่นเอง ถ้าเป็นนักเรียนทำคงสนุกดีกว่านี้ไหม?  ผมว่าใช่ แต่ต้องอยู่บนเงื่อนไขว่า พวกเขา "ทำได้" นะครับ 



๓) กิจกรรม "คำไวพจน์ (สืบค้น)" 

ใบกิจกรรม "คำไวพจน์ (สืบค้น)" ออกแบบโดยคุณครูศุภะ สุนทราวิวัฒวงศ์ จากโรงเรียนพูวัดพิทยาคม  เน้นให้นักเรียนสืบค้นคำที่มีความหมายเหมือนกันแต่เขียนในรูปต่างกัน (คำไวพจน์) โดยใช้เทคนิคการขยายความรู้จากสิ่งที่ครูสอน 


๔) ใบกิจกรรม "คำไวพจน์ (จับกลุ่มคำ)"

ใบกิจกรรม "ไวพจน์ (จับกลุ่มคำ)" ออกแบบดยครูศุภะ สุนทราวิวัฒวงศ์ จากโรงเรียนพูวัดพิทยาคม เช่นกัน เป็นภาคต่อจากใบกิจกรรม "คำไวพจน์ (สืนค้น)"  กิจกรรมนี้ครูต้องเตรียมบัตรคำไวพจน์จากภาษาต่างๆ ใส่ไว้ในกล่องถึง ๕๐ คำ และความยากอยู่ที่การทำให้นักเรียนเข้าใจทักษะความคิดวิเคราะห์หลักการของแต่คำที่มาจากภาษาต่างประเทศต่างๆ 


๕) ใบกิจกรรม "เกร็ดภาษาในวรรณคดี"

กิจกรรม "เกร็ดภาษาไทย" ที่ครูเต้งและครูช้าง นำมาแลกเปลี่ยนกับเพื่อนครู  แม้จะดูลึกในหลักวิชาการด้านวรรณคดี แต่ผมมีความเห็นว่า เยาวชนไทยน่าจะได้เรียนรู้และภาคภูมิใจในสิ่งเหล่านี้ 


๖) ใบกิจกรรม "วรรณคดีบูรณาการกับงานศิลปะ"

ครูเต้งยกตัวอย่างการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับวรรณแบบบูรณาการ ด้วยงานบูรณาการกับการวาดภาพระบายสีของ "เวตาล" จากเรื่อง "นิทานเวตาล" 


๗) ใบกิจกรรม "วรรณคดีบูรณาการกับภูมิปัญญาท้องถิ่น"

อีกตัวอย่างหนึ่งที่ครูเต้งนำเสนอต่อเพื่อนครูคือ การสอนภาษาไทยบูรณาการกับการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น นอกจากเด็กจะได้สืบสานภูมป้ญญาฯ สามารถขับร้องสารภัญญ์ได้แล้ว ยังได้เรียนรู้พระเวสสันดรชาดก และที่ผมชอบที่สุดคือช่วงท้าย ที่มีการตั้งคำถามให้นักเรียนได้ฝึกคิดและแสดงความคิดเห็นของตนเองในเรื่องที่ไม่มีคำตอบถูกผิด



๘) ใบกิจกรรม "หลักคำคล้องจอง (เพลงห่อหมกฮักไปฝากป้า)

กิจกรรมนี้ออกแบบโดย คุณครูสุจินต์ หาญโสภา จากโรงเรียนเมืองพลพิทยาคม  ผมก็เพิ่งจะมาชอบเพลงนี้ตอนที่มาถอดบทเรียนกิจกรรมนี้เอง  .... ฟังแล้วคิดฮอดบ้านหลาย....


๙) ใบกิจกรรม "เกมโดมิโนภาษาต่างประเทศ"

เกมโดมิโนภาษาต่างประเทศ ออกแบบโดยคุณครูเรไร เพ็งวิชัย จากโรงเรียนซำสูงพิทยาคม วัตถุประสงค์คือทำให้ผู้เรียนรู้คำภาษาต่างประเทศต่างๆ ที่เราใช้กันอยู่  ท่านออกแบบว่าครูต้องเตรียมสื่อเป็นตัวโดมิโน ผมปรับให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมมากขึ้น คือให้นักเรียนช่วยทำตัวโดมิโนด้วย 


๑๐) ใบกิจกรรม "แต่งกาพย์ยานี ๑๑ บูรณาการทักษะชีวิต "

กิจกรรมนี้ออกแบบโดย คุณครูวชิราภรณ์ มะโนดี จากโรงเรียนพระยืนวิทยาคาร  กิจกรรมนี้ดูเหมือนจะไม่ยาก และนักเรียนทุกคนจะสนุกและมีความสุขจากความสำเร็จในการแต่งกลอน เพื่อให้ท้าทายมากขึ้น ผมจึงปรับให้นักเรียนต้องแต่งเพิ่มเติมอีก ๒ บท ในตอนท้าย 


๑๑) ใบกิจกรรม "คำประสม"

กิจกรรมเรียนเรื่อง "คำประสม" จากเนื้อเพลง "ระเบิดเวลา" ออกแบบโดยคุณครูจงจิตร ศรีสารคาม จากโรงงเรียนหนองโนประชาสรรค์ และคุณครูเนติมา ศรีรักษา จากโรงเรียนนางิ้ววิทยาสรรค์ ... ผมเพิ่งจะได้ฟังเพลงนี้ ฟังวนไปเรื่อยๆ เป็นสิบรอบ (มิน่าล่ะ ทำไมครูถึงเลือกมา) สารเอนโดร์ฟินหลั่งไหลเลยเทียว....


เจอกันใหม่บันทึกหน้าครับ 












วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2561

บ้านสวนขวัญข้าว ๓ "สารแห่งความสุข"

บ้านสวนขวัญข้าวเริ่มขุดบ่อแบ่งดินตั้งแต่กุมภาพันธ์ (ตามบันทึกนี้) ล้อมรั้วกันวัว ปลูกแฝกกันดินขอบบ่อพัง คลุมฟางกันหน้าดินไหล (ตามบันทึกนี้) สร้างระบบให้น้ำทั้งสำหรับคนและต้นไม้ สุดท้ายล่าสุดเสร็จสับแล้วสำหรับห้องสุขา สิ่งจำเป็นที่สุดสำหรับ "สามสาว" ที่จะหมดข้ออ้างในการมาสวนไป ๑ ข้อ (ฮา)  ถึงตอนนี้ (มิถุนายน ๒๕๖๑) บ้านสวนขวัญข้าวก็พร้อมแล้วสำหรับการปลูกข้าวและไม้ ๗ ชั้น ศึกษาเรียนรู้ภาคปฏิบัติตามรอยพ่อต่อไป

โจทย์ที่ยากที่สุดคือจะทำอย่างไรให้ "ขวัญ" และ "ข้าว" อยากมาเรียนรู้ภาคปฏิบัติด้วยตนเอง เป้าหมายคือคำว่า "หนูอยากมาบ้านสวน"  (ขณะนี้คำตอบยังเป็น "หนู่ไม่ไปค่ะ"...ฮา) เข้าใจว่าจะต้องทำให้เด็กๆ รู้สึกมีความสุขและสนุกทุกครั้งที่ได้มาบ้านสวน... ปัญหาคือทำอย่างไรล่ะ? 

ครึ่งชีวิต

หากแบ่งช่วงชีวิตเป็น ๒ ช่วง เริ่มต้นตั้งแต่วันเกิดถึงวันตาย สมมติเรียกจุดตรงกลางระหว่าง ๒ ช่วงนี้ว่า "ครึ่งชีวิต"  ถ้าเอาเกณฑ์เวลามาหา "ครึ่งชีวิต" ของตนเอง คงเป็นเรื่องสุดวิสัยเพราะไม่มีใครรู้จักวันตายของตนเอง จึงขอเสนอให้ลองแบ่งครึ่งชีวิตด้วยเกณฑ์ของเหตุแห่งความสุข 

หากเอาหลักคำสอนทางศาสนาพุทธมาเป็นเกณฑ์ ซึ่งมี "ใจเป็นใหญ่ จิตใจเป็นประธาน"   จุด "ครึ่งชีวิต" ของแต่ละคน คือจุดที่ใจเริ่มเห็นความสำคัญของการปล่อยวางในการยึดมั่นในตัวตน เพราะเหตุของทุกข์คือการยึดมั่น เหตุแห่งความสุขคือการปล่อยวาง แต่เหตุที่นำมาสู่การปล่อยวางอย่างแท้จริงนั้นเกิดขึ้นเมื่อเห็นแจ้งใน "ความจริง" (ผู้สงสัยแนะนำให้ศึกษาการเจริญวิปัสนา โดยหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช สืบค้นไม่ยากเลย)  แต่ละคนจะมีจุด "ครึ่งชีวิต" ที่อายุไม่เท่ากัน คนส่วนใหญ่มักมีจุด "ครึ่งชีวิต" อยู่ใกล้ๆ กับวันหมดชีวิต 

หากเอาหลักวิทยาศาสตร์(กายภาพ) มาเป็นเกณฑ์ คำตอบที่ได้จะเหมือนง่ายและคล้ายๆ กันทุกคนขึ้นอยู่กับวิถีการอยู่กินของคนแต่ละชนชาติเผ่าพันธุ์  เช่น คนไทยมีอายุเฉลี่ยประมาณ ๗๔ ปี มีจุด "ครึ่งชีวิต" ประมาณ ๓๗ ปี ณ ขณะนี้ ผู้เขียนก็ผ่านครึ่งชีวิตแบบนี้มาแล้ว 

ความสุขและสารแห่งความสุข ๔ ชนิด

ในครึ่งแรกของชีวิตมนุษย์ ก่อนจะถึงจุด "ครึ่งชีวิต" ความสุขมักเกิดจากความสำเร็จ หรือได้สมหวังจากสิ่งที่ต้องการ (อยากมี) เป็นได้ดังสิ่งที่ปรารถนา (อยากเป็น) รากเหง้าของความสุขคือความยึดมั่นในตัวตน (Self) เมื่อได้มีหรือครอบครองเป็นเจ้าของตามที่ตนความต้องการ หรือได้เป็นตามสิ่งที่ปรารถนาที่ตนอยากจะเป็น โดยเฉพาะเมื่อได้กิน ได้ดื่ม ได้ครอบครองทรัพย์สิน ความสุขจากความสมหวังจะผุดขึ้ืนในใจ มีสารแห่งความสุขที่เรียกว่า "โดพามีน" (Dopamine) หลั่งออกมาระหว่างรอยต่อของปลายประสาท (เว็บนี้เขียนดี) ต่อไปจะเรียกสารนี้ว่า "สารแห่งความสุขสำเร็จ" 

นอกจากโดพามีนแล้ว นักวิทยาศาสตร์ยังค้นพบสารที่หลั่งในสมองและร่างกายในขณะที่คนมีความสุขอีกสามชนิด (อ้างอิง) ได้แก่ สารออกซิโทซิน (Oxytocin) เกิดเมื่อมีความสุขจากการได้สัมผัส(รัก)จากคนรักคนใกล้ชิด และความอบอุ่นในพื้นที่ปลอยภัย ไว้ใจ เชื่อใจ เช่น คู่รัก พ่อแม่ ครอบครัว เพื่อน เป็นต้น ต่อไปจะเรียกสารนี้ว่า "สารแห่งความสุขสัมผัส" 

สารแห่งความสุขอีกชนิดหนึ่งคือ สารเซเรโทนิน (Serotonin) เกิดเมื่อมีความสุขจากการได้รับการยอมรับจากสังคม มีผู้อื่นเห็นความสำคัญ รู้สึกว่าฉันเป็นคนสำคัญ เป็นพิเศษ คือประสบความสำเร็จในการใส่หัวโขนแห่งเกียรติยศตำแหน่งแห่งที่อย่างเต็มตัว ต่อไปจะเรียกว่า "สารแห่งความสุขสังคม" 

อีกชนิดหนึ่งเรียกว่า เอนโดร์ฟินส์ (Endorphins) เกิดขึ้นเมื่อคนก้าวกำลังจะข้ามขีดจำกัดต่างๆ ของตนเอง เป็นความสุขจากความสำเร็จในการชนะตนเอง เช่น ออกกำลังกายหนักๆ อดทนฝืืนจากความเจ็บปวด ฯลฯ เป็นที่น่าสนใจมากว่า สารเอนโดร์ฟินส์หลั่งในกิจกรรมที่ไม่ต้องอดทนฟืนหรือก้าวข้ามขีดจำกัดด้านร่างกายใดๆ เช่น การเต้นรำ การเล่นสนุก ทำสมาธิ ฯลฯ  

ผมตีความว่า เหตุแห่งความสุขประเภทนี้น่าจะเกิดจากการมีสมาธิแบบเพ่ง หรือสมาธิแบบหนูจับแมว  (แบบอารัมณูปนิฌาณ) เนื่องจากในช่วงที่คนเข้าใกล้ขีดจำกัดด้านร่างกาย หรือต้องเอาชนะใจตนเอง ต้องอดทนและเพ่งสมาธิไปที่สิ่งๆ ที่กำลังเกิดขึ้น จึงขอเรียกสารความสุขประเภทนี้ว่า "สารแห่งความสุขสมาธิ"

สรุปประเด็นคือ หากจะทำให้พี่ขวัญและน้องข้าวรู้สึกมีความสุขเมื่อได้มาที่บ้านสวนฯ  จะต้องสร้างบรรยากาศและกิจกรรมให้พวกเขาหลั่งสารแห่งความสุขอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๔ ชนิด ได้แก่ สารแห่งความสุขสำเร็จ (Dopamine)  สารแห่งความสุขสัมผัส (Oxytonin) สารแห่งความสุขสังคม (Serotonin)   และสารแห่งความสุขสมาธิ (Endorphins) (จำย่อๆ ได้ว่า DOSE) 

แนวคิดในการสร้างความสุขที่บ้านสวนขวัญข้าว

วิธีทำให้เกิดความสุขจากความสำเร็จ สำหรับผู้เริ่มดำเนินชีวิตใน "ครึ่งชีวิตแรก" อย่างพี่ขวัญและน้องข้าว น่าจะให้ปลูกต้นไม้ของตนเอง โดยให้เลือกต้นไม้เอง และจัดให้ไปดูแลเป็นระยะ ผู้ใหญ่คงต้องให้เวลากับการดูแลต้นไม้ของเด็กๆ นี้ให้โตตามวัยของเด็กๆ ให้ได้ ... คาดว่าเมื่อเขาเห็นต้นไม้เติบโต จะรู้สึกถึงความสำเร็จของตนเอง แล้วอยากมีความสุขและอยากบ้านสวน ฯ 

วิธีทำให้เกิดความสุขจากการสัมผัสและสายใยในครอบครัว คงต้องขอความร่วมมือให้สมาชิกทุกคนในครอบครัว ทั้งคุณตา คุณยาย พ่อ แม่ และป้าจอน ช่วยกันเชียร์ ชม และมาช่วยเด็กๆ เมื่อมาทำกิจกรรมต่างๆ ที่บ้านสวนฯ  

เมื่อเด็กๆ ได้ลงมือปฏิบัติ ปลูกต้นไม้ด้วยตนเอง ได้ฝึกฝืนทนจนงานสำเร็จในแต่ละกิจกรรม มีความสุขจากการหลั่งของ "สารแห่งความสุขสมาธิ" มีประสบการณ์และเรื่องเล่าเอาไปแลกเปลี่ยนที่โรงเรียนทั้งกับเพื่อนและกับครู น่าจะทำให้ "สารแห่งความสุขสังคม" หลั่งได้ 

อย่างไรก็ดี ปัญหาใหม่ และใกล้ตัวที่สุดคือ จะบำรุงดินอย่างไรให้ต้นไม้เด็กๆ เติบโต งดงาม ....  เจอกันบันทึกหน้าครับ 





วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2561

รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๒๐๐๕ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๓-๒๕๖๐ (๗) "ศาสตร์พระราชา"

ครั้งที่ ๖ ของกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชา ๐๐๓๒๐๐๕ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  (๑๒ มิถุนายน ๒๕๖๑) มีวัตถุประสงค์ให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจเรื่อง "ศาสตร์พระราชา" และ "หลักการทรงงาน" ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙

ผู้เขียนเคยถอดบทเรียนการเรียนรู้เรื่อง "ศาสตร์พระราชา ศาสตร์แห่งแผ่นดิน" จากการฟังคลิปบรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.วิษณุ เครืองาม ไว้ที่นี่  ท่านบอกว่า ศาสตร์ของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ก็คือ "สิ่งที่ทรงทำ คำที่ทรงสอน" แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ได้แก่ ๑) ศาสตร์แห่งการพัฒนา ๒) ศาสตร์ในการครองตนและครองงาน และ ๓) ศาสตร์ในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข  ศาสตร์พระราชามีที่มาจาก ๓ ส่วน ได้แก่ ๑) จากพระราชประสบการณ์ ๒) จากพระราชกรณียกิจ และ ๓) พระราชดำรัส พระบรมราโชวาท

ในเอกสารประกอบการสอน (ดาวน์โหลดที่นี่) เรานิยาม "ศาสตร์พระราชา" ตามความหมายของ ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิสกุล เลขาธิการมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ว่า ศาสาสตร์พระราชา คือ องค์ความรู้ของในหลวง เป็นความรู้ที่เป็นปัญญาจากกระบวนการทรงงานในโครงการพระราชดำริต่างๆ ที่ทรงช่วยเหลือปวงชนคนไทย ประกอบด้วย ๓ ส่วนหลักๆ ได้แก่ ๑) องค์ความรู้ใหม่ในรัชกาล ที่ทรงคิดค้นและสร้างขึ้น ๒) หลักการทรงงาน ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) เป็นผู้รวบรวมไว้ (คลิกที่นี่) และ ๓) ขั้นตอนการทรงงาน โดยมีโครงการอันเนื่องมากจากพระราชดำริกว่า ๔,๐๐๐ โครงการ เป็นแหล่งเรียนรู้และเป็นตัวอย่างให้ได้ศึกษาอยู่ทั่วทุกพื้นที่ของประเทศไทย


๑) ตัวอย่าง "ศาสตร์พระราชา" (ตัวอย่างองค์ความรู้ใหม่ในรัชกาลที่ ๙)

ขออัญเชิญ "ศาสตร์พระราชา" ๖ ประการ ดังต่อไปนี้ มาเป็นกรณีศึกษา ให้นิสิตได้ค้นคว้าเรียนรู้ด้วยตนเอง อันจะทำให้เกิดความเข้าใจ ในและนำไปใช้กับการดำเนินชีวิตของตนเองต่อไป  ได้แก่ ๑) "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" ๒) เกษตรทฤษฎีใหม่ ๓) หญ้าแฝก ๔) แกล้งดิน ๕) แก้มลิง และ ๖) ฝนหลวง ดังจะอธิบายพอสังเขป ดังนี้

๑) ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็น

" ปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์  ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และรวมถึงความจำเป็นที่ต้องมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ อันจะเกิดจากความเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ รอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำหลักวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน  และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต  และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งทางวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม จากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี "

(คำนิยามนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ศสช.) อัญเชิญมาเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบาย วางแผน และ ทำแผนปฏิบัติในทุกระดับ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นต้นมา) 

สำนักศึกษาทั่วไปเล็งเห็นความสำคัญที่จะต้องสืบสานพระราชปณิธานนี้สืบไป ให้ประชาชนคนไทยทุกคนได้เข้าใจอย่างถูกต้อง จึงเป็นที่มาของการจัดการเรียนรู้รายวิชานี้ นิสิตควรจะเข้าไปศึกษาพระราชาดำรัสทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ที่นี่

๒) เกษตรทฤษฎีใหม่

เกษตรทฤษฎีใหม่เป็นตัวอย่างของการนำ "หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" ไปใช้ในการทำการเกษตร ที่ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงทำเป็นตัวอย่างให้เกษตรกรไทย ... รายละเอียดเรื่อง เกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นเนื้อหาในบทเรียนต่อไปของรายวิชานี้

๓) หญ้าแฝก

ก่อนที่ในหลวงรัชกาลที่ ๙ จะทรงพระราชทานแนะนำ นักวิชาการเข้าใจว่า หญ้าแฝกเป็นวัชรพืช ทรงศึกษาทดลอง สาธิต แสดงให้เห็นว่า หญ้าแฝกไม่ใช่วัชรพืช แต่เป็นหญ้าที่มีประโยชน์ในการพัฒนาดินอย่างยิ่ง ทรงเรียกว่า "หญ้ามหัศจรรย์" ด้วยลักษณะพิเศษของหญ้าแฝกที่มีรากยาวหลายเมตรหยั่งลึกลงในดิน จึงช่วยอุ้มน้ำรักษาความชุ่มชื้นไว้ในดิน แก้ปัญหาพื้นที่ดินทราย เป็นแหล่งเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุทำให้ดินทำให้ดินดานกลายเป็นดินร่วน เมื่อนำมาปลูกเรียงเป็นแถวกั้นแนวทางน้ำไหล จะเป็นเหมือนกำแพงกั้นการพลังทลายของดิน ลักษณะการเจริญของรากหญ้าแฝกที่ไม่แผ่ขยายไปด้านข้าง ทำให้สามารถปลูกสลับ สับ แซม หรือปลูกรวมกับพืชหลักโดยไม่วัชรพืชแต่อย่างใด

(ต้นพันธุ์หญ้าแฝกเตรียมแจกจ่ายให้เกษตรกร ของกรมพัฒนาที่ดิน อ.เมือง จ.มหาสารคาม)

ผู้สนใจสามารถสืบค้นและศึกษาได้ง่าย โดยเฉพาะจากเว็บไซต์ของ กปร. (ที่นี่) และหากต้องการจะทดลองปลูกด้วยตนเอง ก็สามารถติดต่อขอรับได้ที่งานส่งเสริมของกรมพัฒนาที่ดินใกล้บ้านได้ไม่ยากเลย

๔) แกล้งดิน 

การแกล้งดิน คือวิธีการแก้ปัญหาดินเปรี๊ยวหรือดินเป็นกรด มีสารกัมมะถันมากเกินไป ซึ่งในประเทศไทยมีประมาณ ๔๐๐,๐๐๐ ไร่ (เฉพาะจังหวัดนาราธิวาส มีพื้นที่ดินเปรี๊ยวถึง ๓๐๐,๐๐๐ ไร่) โดยใช้วิธีการจัดการน้ำเพื่อล้างความเปรี้ยวของดิน .... นิสิตผู้สนใจสามารถศึกษารายละเอียดได้จากเว็บไซต์ของ กปร. ที่นี่

ในฤดูฝนที่มีน้ำขัง สารไพไรต์ในดินจะลายในน้ำ และเมื่อน้ำแห้งลงในหน้าแล้ง สารนั้นทำปฏิกิริยากับอากาศเกิดเป็นดินเปรี๊ยวหรือดินเป็นกรดที่มีกัมมะถันปริมาณมาก ทำให้ไม่สามารถปลูกพืชได้ ทรงมีพระราชดำริให้ "แกล้งดิน" โดยผันน้ำเข้าและออก ให้เหมือนว่าดินได้ผ่านหน้าฝนและหน้าแล้งสลับไปหลายครั้งในหนึ่งปี (สี่รอบ) ทำให้สารกัมมะถันก็ถูกล้างออกไป พร้อมๆ กับการแก้ไขควาเป็นกรดของดินด้วยปูนขาว ... คลิบวีดีโอที่อธิบายเรื่องนี้ได้สั้นกระทัดรัดและดีมากๆ อยู่ที่นี่ 

๕) แก้มลิง

ทรงมีพระราชดำริถึงลิงเมื่อได้รับกล้วยคราวละมากๆ ลิงจะปลอกเปลือกแล้วเก็บกล้วยไว้ในกระพุ้งแก้มจนกว่าจะหมดหรือเต็มกระพุ้งแก้ม ก่อนจะนำออกมาเคี้ยวกินในภายหลัง ทรงใช้แนวคิดนี้ในการแก้ปัญหาอุทกภัย ทรงดำริให้ทำโครงการแก้มลิง จัดหาพื้นที่รับน้ำฝนชั่วคราว ก่อนจะระบายน้ำลงทะเลในภายหลัง ... ให้นิสิตศึกษาจากเว็บไซต์ กปร. ที่นี่ 

๖) ฝนหลวง

พระราชดำริ ฝนหลวง คือ การศึกษา วิจัย และพัฒนา การทำฝนเทียม เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งอย่างได้ผล  และได้คิดค้นนวัตกรรมใหม่ที่เรียกว่า "SUPPER SANDWICH TECHNIQUE" ทรงสรุปขั้นตอนโดยมีภาพการ์ตูนประกอบ และพระราชทานให้เป็นตำราฝนหลวง  ศึกษารายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ที่นี่

๒) หลักการทรงงาน

หลักการทรงงานที่ กปร. เป็นผู้รวบรวมและเผยแพร่ ๒๓ ข้อ ให้นิสิตคลิกที่นี่ เพื่อศึกษาแต่ละข้อให้เข้าใจ ... กิจกรรมการเรียนการสอนในวันนี้ ได้กำหนดให้แต่ละกลุ่มนิสิตเลือกหลักการทรงงานที่ประทับใจที่สุด แล้วสืบค้นและเขียนสรุปลงในกระดาษบรู๊ฟ

(ขออภัยผู้อ่าน จำเป็นต้องใส่ภาพไว้ที่นี่ เพื่อใช้ในการตรวจสอบการเข้าร่วมกิจกรรมกับนิสิต)















สังเกตกว่า นิสิตหลายกลุ่มเลือกหลักการทรงงานเหมือนกันหลายกลุ่ม โดยเฉพาะ "การพึ่งตนเอง" "ระเบิดจากภายใน" "ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ"

๓) ขั้นตอนการทรงงาน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีวิธีการทรงงาน ๕ ขั้นตอน ได้แก่ ๑) ศึกษาข้อมูล  ๒) หาข้อมูลในพื้นที่ ๓) ศึกษาข้อมูลและจัดทำโครงการ ๔) ดำเนินงานตามโครงการ และ ๕) ติดตามผลงาน  ศึกษารายละเอียดได้ที่นี่

นิสิตที่กำลังเรียนรายวิชานี้ ควรจะสามารถอธิบายความหมายและยกตัวอย่างพระราชกรณียกิจที่เกี่ยวข้องกับแต่ละข้อของหลักการทรงงานได้