วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๒๐๐๔ ความเป็นมนุษย์และการเรียนรู้ ๒-๒๕๖๑ (๓) "Transformative Learning"

วันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๒ ที่ผ่านมา ณ พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ม.ใหม่ สำนักศึกษาทั่วไป จัดเวทีพัฒนาอาจารย์ผู้สอนรายวิชา ๐๐๓๒๐๐๔ ความเป็นมนุษย์และการเรียนรู้ และอาจารย์ที่สนใจมาจากหหลากหลายคณะ  มีอาจารย์เข้าร่วมตอนเปิดเวทีถึงกว่า ๓๐ ท่าน  ....  เนื่องจากระยะเวลาน้อยเกินไป  จึงอยากจะสรุปความเข้าใจเรื่อง "Transformative Learning"  มาแลกเปลี่ยนกับอาจารย์ที่เข้าร่วมและผู้สนใจอีกครั้งหนึ่ง เผื่อจะเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ต่อไป



ผมบันทึกการอบรมพัฒนาอาจารย์เรื่องเดียวกันนี้เมื่อปีก่อนไว้ที่นี่  ความจริงอาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไป ควรจะทำความเข้าใจกับสิ่งที่ ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา มาบรรยายที่ มมส. เรา ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ Transformative Learning นี้มาก ๆ  (ผมบันทึกไว้ที่นี่และที่นี่) ... ขอสรุปให้เข้าใจง่าย ๆ ดังภาพล่างนี้ 


พัฒนาการด้านการศึกษาหรือการเรียนรู้ อาจจัดแบ่งออกได้เป็นยุค ๆ   ได้แก่  
  • ยุคแห่งการเรียนรู้แบบถ่ายทอดความรู้ (Informative Learning)  ที่เน้นการส่งผ่านความรู้ เรียนรู้แบบถ่ายทอดจากคนหนึ่งไปสู่อีกคน (Passive Learning) สิ่งที่สำคัญอันเป็นเป้าหมายของยุคนี้คือ "ความรู้" คนจะสนใจ 
  • ยุคของการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ ทักษะความสามารถ (Formative Learning)  จัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนมีส่วนร่วม และโดยเฉพาะการฝึกฝนให้เกิดทักษะด้านการอาชีพ (Hard Skills) 
  • ยุคของการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงภายในอย่างยั่งยืน (Transformative Learning) ที่เน้นที่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติ เจตคติ เปลี่ยแปลงตนเอง  โดยเน้นการเผชิญกับสิ่งต่าง ๆ อย่างใคร่ครวญด้วยใจ ผ่านการสะท้อนการเรียน (Learning Reflection) ตนเอง หรือเฝ้ามองตนเอง 
การจัดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงภายใน มีแนวปฏิบัติสำคัญ ๆ หลากหลาย แตกต่างกันไป แต่ทั้งหมดจะเน้นไปที่การสะท้อนการเรียนรู้ของตนเอง  ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น ๓ แบบ ได้แก่

  • การสะท้อนเพื่อพัฒนางงาน หรือ Reflecton for Learning  เครื่องมือที่ใช้เช่น การทำการทบทวนก่อนหลังการปฏิบัติการ BAR, AAR (ผมเขียนตัวอย่างการทำเรื่องนี้ไว้ที่นี่) ฯลฯ
  • การสะท้อนการเรียนรู้หลังกิจกรรม หรือ Reflection of Learning  โดยมุ่งไปที่การเรียนรู้ของตนเองหลังจากที่ผ่านกิจกรรมหรือทำอะไรบางอย่าง   รศ.ดร.เจริญ ไชยคำ ปรมาจารย์ด้านจัดการความรู้ท่านหนึ่ง ท่านใช้คำว่า After Learning Reflection หรือ ALR 
  • การสะท้อนการเรียนรู้ให้เกิดการเรียนรู้  หรือ Reflection as Learning  คือ ใช้กิจกรรมสะท้อนการเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้  เช่น การสะท้อนการเรียนรู้หเรื่องต่าง ๆ  แลกเปลี่ยนแบ่งปันกันในวงสุนทรียสนทนา ฯลฯ 
ผมสรุปตรงไว้สั้น ๆ  ดังนี้ก่อนว่า  ถ้า...
  • การสอนแบบบรรยาย ก็คือ การสอนแบบ Informative Learning 
  • การสอนฝึกทักษะ แบบฝึก โครงการ แก้ปัญหา Project-based , Problem-lbased, Work-based, Service-based, Community-based ฯลฯ เหล่านี้ทั้งหมด  คือการสอนในยุค Formative Learning ถ้ายังไม่มีการสะท้อนการเรียนรู้ที่ถูกต้อง 
  • การสะท้อนการเรียนรู้ ด้วยใจที่ใคร่ครวญ นั่นเอง ที่จะนำทำไปถึง Transformative Learning
สรุป Transformative Learning ก็คือ การปฏิบัติธรรม ด้วยกรรมกระบวนการต่าง ๆ นั่นเอง 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น