๑) รูปแบบชั้นเรียนแบบ X-Spaces
มหาวิทยาลัยจัดให้มีฝ่ายดูแลบริหารจัดการพื้นที่เรียนรู้ที่เรียกว่า X-Spaces สำหรับการจัดการเรียนรู้ที่ครูทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการ นักศึกษาเรียนเป็นกลุ่ม ทำงานเป็นทีม สื่อสารงานผ่านกลุ่มกันและต่อชั้นเรียนด้วยไอซีที ... ลองดูภาพห้องเรียน
- ผมฟังว่า มีห้องเรียนทั้งหมดในมหาวิทยาลัย ๘๕ ห้องเรียน เป็นห้องเรียนลักษณะแบบภาพด้านบนนี้จำนวนถึง ๖๕ ห้องเรียน (๗๖ เปอร์เซ็นต์) ที่เดียว ห้องเรียนที่ผู้เรียนสามารถ
- คุยและอภิปรายกันเป็นกลุ่มได้ง่าย
- เชื่อต่อโน๊ตบุคหรือแลปท๊อปหรือมือถือของตนจากโต๊ะขึ้นบนจอได้
- สามารถเขียนอภิปรายนำเสนอต่อกลุ่มเล็กด้วยการเขียนปากกากลาสบอร์ดได้ (พื้นโต้ทำด้วยกระจกที่สามารถเขียนได้ลบได้)
- มีกระดาษรอบห้อง และมีจอรองรับการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
- เก้าอี้เคลื่อนที่ได้
- ฯลฯ
- นอกจากการจัดห้องเรียน และสิ่งเอื้อต่อการเรียนรู้อย่างดีแล้ว คีย์สำคัญคือบุคลากรที่ทำหน้าที่อำนวยการเรียนรู้ (Facilitate)
- จำนวนการสังเกตชั้นเรียน ๙๙ ชั้นเรียนจาก ๑๓๑ ชั้นเรียน
- มีจำนวนผู้สังเกตการ ๔๓ คน
- มีผู้ดูแลหรือครูฝึกในชั้นเรียนแบบ X-Space จำนวน 16 คน
๒) การเรียนแบบ Multi-Learning Mode (Mobile X-Space)
- มีห้องเรียนแบบมัลติเลินนิ่ง (Multi Learning) เรียกว่า Mobile X-Space ที่นักศึกษาเรียนได้ในหลากหลายโหมด (ลองดูคลิปนี้)
- โหมดบรรยาย (Leacture Mode) นักศึกษาจะเลื่อนเคลื่อนมานั่งเรียงกันเป็นแถวหน้าดาน
- โหมดอภิปราย (Discussion Mode) นั่งล้อมวงเป็นกลุ่มหันหน้าเข้าหากัน
- โหมดโต้เถึยง (Debate Mode) แบ่งเป็นสองทีมหันหน้าเข้าหากัน
- โหมดประชุม (Meeting Mode) นั่งล้อมเป็นวงกลม
- โหมดกิจกรรม เก็บเก้าอี้ เปิดพื้นที่ว่างกลางห้องทำกิจกรรม
- ฯลฯ
๓) ระบบบันทึกการบรรยายไว้ให้ดูย้อนหลัง
- ห้องบรรยายขนาด (น่าจะ) ๑๕๐ ที่นั่งแบบโรงหนังไอแม็คที่ไม่ต้องมีใครบังใคร ใครหลบหลังใคร ซึ่งก็มีกันทั่วไป แต่ที่น่าสนใจที่สุดคือ ห้องเรียนนี้มีระบบบันทึกการบรรยายแล้วออนไลน์ให้นักศึกษาเข้าถึงละดูย้อนหลังได้ทุกการบรรยายตลอด ๑ ปีการศึกษา
- มีกล้องติดตามการเคลื่อนไหวของผู้บรรยาย
- มีฟังก์ชันเลือกได้ว่าจะดูสไลด์บรรยายหรือดูผู้บรรยาย หรือดูฟังทั้งสองแบบแยกหรือแทรกจอ
- นักศึกษาเข้าถึงได้จากทุกที่ทุกเวลา
๔) สถานประกอบการจริง
- หลักสูตรเกี่ยวกับการโรงแรมและการบริการ มีร้านอาหารให้นักศึกษาเรียนรู้และทดลองทำงานจริง ๆ แบบในภาพนี้ ๔ แห่ง
- สิ่งที่ทางมหาวิทยาลัยชูเป็นจุดขายที่สำคัญที่สุดคือ การมีงานทำของนักศึกษาที่มาเรียน (ติดท๊อป ๑ เปอร์เซ็นต์ของมหาวิทยาลัยในโลก) วิธีการคือช้การเรียนรู้ผ่านการทำงาน (Work-based Learning (WBL)) หรือ เรียนรู้บูรณาการกับการทำงาน (Work Integrated Learning (WIL))
- นักศึกษาที่จบจะสามารถทำงานหรือรู้จักงานทุกอย่างที่เกี่ยวข้องในร้านนั้น ๆ เช่น เป็นผู้บริหารร้าน เป็นเชฟ เป็นพนักงานต้อนรับ เป็นบาร์เท็นเดอร์ เป็นพนักงานเสริฟ เป็นผู้จัดการ ฯลฯ
- ทางมหาวิทยาลัยใช้ร้านนี้เลี้ยงรับรองแขกที่มาเยี่ยม ระหว่างที่นักศึกษาทำงานบริการอาหารให้เรา จะมีอาจารย์ผู้สอนคอยสังเกตและแนะนำ และทำการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ไปพร้อม ๆ ด้วยเลย ....
๕) e-Learning (Module)
e-learning (eLA) ที่พัฒนาที่นี่ใช้โปรแกรมมูเดิลเป็นหลัก ซึ่งในวงการก็คงจะรู้กันดีถึงข้อดีของมูเดิลในเรื่องการปฏิสัมพันธ์ออนไลน์กับผู้เรียน ที่เด่น ๆ เห็นเป็นไอเดีย ได้แก่
- การจัดรายวิชาเป็นแพคเก็ต (Package) ให้เลือกได้ง่าย แทนที่จะมีเฉพาะลงทะเบียนเป็นรายวิชาตามที่ตนต้องการ แต่นำมาจัดเป็นแพคเก็ต
- มี "หมุดสำเร็จ" (ผมเรียกเองครับ) แบบดิจิตอล เป็นเหมือนตราโลโก้หรือเป็นเหมือนเหรียณตรา ซึ่งจะได้มาเมื่อผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่ได้ออกแบบไว้ใน eLA
- มี "ตราทักษะ" ให้เก็บเพื่อสะสมทักษะต่าง ๆ ที่นักศึกษาต้องการจะฝึก เหมือนการไล่เก็บไอเท็ม (Item) ในเกมส์.... น่าสนใจมาก
๖) MOOC
Taylor's University เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในมาเลเซียที่เปิดตัวการนำระบบ MOOC (Massive Open Online Courses) มาใช้ วิชาแรกที่นำมาใช้คือวิชา ผู้ประกอบการ ท่านใดสนใจสามารถเข้าไปลงทะเบียนเรียนได้ฟรีที่ระบบ Openlearning.com ของมหาวิทยาลัยที่นี่ ... ผมเองทดลองลงทะเบียนและเรียนดูแล้วบางส่วนครับ และจะทดลองทำสัก ๒ วิชาในภาคเรียนนี้
เขาทำระบบบันทึกการบันทึกการบรรยาย แบบง่าย ๆ เพียงแต่อบรมให้อาจารย์ผู้สอนใช้งานโปรแกรม OBL (โปรแกรมบันทึหน้าจอและตัดต่อ) เป็น และเปิดให้อาจารย์มาใช้งานได้อย่างอิสระ และนำคลิปการสอนของอาจารย์ไปวางใน MOOC ได้สบาย
๖ ประการที่กล่าวมานี้ ทำให้การเรียนการสอนที่นี่เป็นแบบ TLLM และนักศึกษามีงานทำ หากเราจะนำมาทำกันบ้าง ต้องเน้นไปที่การสร้างงานให้นิสิตเริ่มทำ และเรียนจากการทำงานนั้น การจัดการเรียนการสอนแบบ WIL และ WBL คือสิ่งที่เราต้องทำด่วน
อันทีจริงเราก็ทำและนำขับเคลื่อนมาอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว ผ่านโครงการ "ธุรกิจพอเพียง" ของรายวิชาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเมื่อเปรียบเทียบผลงานของนักศึกษา ที่นำมาวางขายกันตามทางเดิมดังรูป ก็ไม่ได้หนีไกลกันแต่อย่างใด ...
บันทึกต่อไป ไปดูคำแนะนำและการสะท้อนจากผู้บริหารที่มาร่วมดูงานครับ
เขาทำระบบบันทึกการบันทึกการบรรยาย แบบง่าย ๆ เพียงแต่อบรมให้อาจารย์ผู้สอนใช้งานโปรแกรม OBL (โปรแกรมบันทึหน้าจอและตัดต่อ) เป็น และเปิดให้อาจารย์มาใช้งานได้อย่างอิสระ และนำคลิปการสอนของอาจารย์ไปวางใน MOOC ได้สบาย
๖ ประการที่กล่าวมานี้ ทำให้การเรียนการสอนที่นี่เป็นแบบ TLLM และนักศึกษามีงานทำ หากเราจะนำมาทำกันบ้าง ต้องเน้นไปที่การสร้างงานให้นิสิตเริ่มทำ และเรียนจากการทำงานนั้น การจัดการเรียนการสอนแบบ WIL และ WBL คือสิ่งที่เราต้องทำด่วน
อันทีจริงเราก็ทำและนำขับเคลื่อนมาอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว ผ่านโครงการ "ธุรกิจพอเพียง" ของรายวิชาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเมื่อเปรียบเทียบผลงานของนักศึกษา ที่นำมาวางขายกันตามทางเดิมดังรูป ก็ไม่ได้หนีไกลกันแต่อย่างใด ...
บันทึกต่อไป ไปดูคำแนะนำและการสะท้อนจากผู้บริหารที่มาร่วมดูงานครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น