วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2562

มหาวิทยาลัยนานาชาติเทเลอร์ Taylor's university (๓) AAR

วันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ บนรถบัส ระหว่างเดินทางกลับ ผมขอเวลาใช้ไมค์จากไกด์ เพื่อทำกิจกรรมสะท้อนการเรียนรู้ AAR (After Action Review)  โดยตั้งคำถามกับทุกท่านที่มาศึกษาดูงานในวันนี้ว่า  "ท่านเห็นอะไร ประทับใจอะไร ตรงไหนที่ GE (สำนักศึกษาทั่วไป) ควรจะนำไปทำต่อ"  ต่อไปนี้คือมุมมองและข้อคิดของทุกท่าน
  • สำคัญที่วิธีคิดและความคิดรวบยอดของเขา 
    • การจัดการศึกษาต้องตอบปัญหา สร้างคนสำหรับยุค VUCA Volatility (ผันผวน) Uncertainty (ไม่แน่นอน) Complexity (สลับซับซ้อน) และ Ambiguity (คลุมเครือ)
    • การจัดการเรียนรู้แบบ "สอนน้อย เรียนมาก" หรือ  Teach Less Learn More (TLLM)
    • การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด "นั่งร้าน" หรือ  Scaffolding 
  • ความคิดรวบยอดต้องแม่นยำ ชัดเจนก่อน แล้วค่อยใช้กระบวนการต่าง ๆ ใช้สิ่งที่เรามีอยู่แล้ว เราต้องทำให้เป็นชิ้นเป็นอันขึ้นมาก 
  • ระบบการทำงานของเรากับของเขาแตกต่างกัน 
    • ที่มหาวิทยาลัยเทเลอร์ มหาวิทยาลัยเป็นผู้ลงทุน แม้ว่าจะมีรายได้มาจากแหล่งเดียวกัน (จากค่าลงทะเบียนของนิสิต) แต่สิ่งที่สำคัญคือความชัดเจนของเอกชนและความเป็นธุรกิจ คือทำแล้วต้องมีกำไร 
  • GE เราไม่จำเป็นต้องเรียนเต็ม ๑๕ ครั้งได้ไหม ส่วนหนึ่งมาเรียนผ่าน MOOC ได้ไหม  แต่ด้วยบริบทของอาจารย์เราจะทำได้หรือไม่ ขั้นตอนสำคัญจึงเป็นการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของอาจารย์ผู้สอน จะทำอย่างไร?  
  • ระบบ Support ที่จะทำได้จริงต้องร่วมกัน คณะต่าง ๆ ต้องมาร่วมกัน โดยมหาวิทยาลัยเป็นผู้ให้การสนับสนุน 
  • สิ่งที่มหาวิทยาลัยทำ กลไกสำคัญคือนโยบายลงมาจากเบื้องบน ผู้บริหารมหาวิทยาลัยต้องสร้างเงื่อนไขที่เอื้อให้อาจารย์มาสนใจทำ MOOC 
  • MOOC เป็นเพียงวิธีการหรือเครื่องมือหนึ่งเท่านั้นในการสร้างกระบวนการเรียนรู้  คงต้องมีระบบอื่น ๆ ต่าง ๆ ด้วย 
  • ปัญหาที่สำคัญอีกเรื่องคือ ความกระตือรือร้นของผู้เรียน  ระบบของเขาไม่จำเป็นต้องสอนทุกสัปดาห์ เวลาส่วนหนึ่งผู้เรียนจะมาเรียนรู้และค้นคว้ากันเอง ซึ่งผู้เรียนต้องแอกทีฟ (active) มาก 
  • สิ่งที่เป็นไปไม่ได้คือ ให้อาจารย์ทุกคนมาสนใจและทำ MOOC แบบนี้ได้  จึงเริ่มจากการค้นหาเดอร์สตาร์ (the STAR) วิธีการคือ ให้คณบดีเป็นผู้คัดเลือกให้ 
  • ที่ชอบมากที่สุดคือ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติมากที่สุด รายวิชาสำนักศึกษาทั่วไปหลายรายวิชาไม่ควรจะไปเน้นเรื่องการบรรยายแล้ว ควรจะเน้นการฝึกปฏิบัติมากขึ้น 
  • จุดสำคัญอีกจุดคือ การพัฒนาอาจารย์  ต้องเตรียมอาจารย์ ทรานส์ฟอร์มอาจารย์ก่อน  ในปีแรกเขาได้ MOOC น้อยมาก ได้ไม่กี่คน เขาจึงใช้วิธีการให้อาจารย์หลาย ๆ คน มาทำร่วมกัน ทำคนละบท ทีมงานของเขาจะไม่ใช่เจ้าของเนื้อหา ส่วนสำคัญคือต้องเปลี่ยนมุมมองของอาจารย์ วอร์มอัพอาจารย์ 
  • สำนักคอมพิวเตอร์ได้รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เรื่อง MOOC รวมทั้งที่มหาวิทยาลัยเทเลอร์ด้วย พบว่าแต่ละที่ก็จะใช้ MOOC ในเกมไหน ใช้เพื่ออะไร ที่นี่เขาอาจจะเน้นไปที่การประชาสัมพันธ์ เขาจะเน้นไปที่ e-Learning และการเรียนการสอนมากกว่า 
  • การคัดเลือกสตาร์ก็ต้องดูวัตถุประสงค์ของเราด้วย ว่าเราจะไปทางไหน  ดังนั้นการคัดเลือกอาจารย์ก็ต้องเลือกตามวัตถุประสงค์ด้วย  เช่น  ถ้าจะเน้นไปที่การเรียนการสอนภายใน หรือหเพื่อดึงดูดลูกค้าภายนอก ฯลฯ 
  • ที่จริง มหาวิทยาลัยเทเลอร์เขาก็ไม่ได้สนใจ MOOC เท่าใดนัก แต่เน้นไปที่การเรียนการสอนเป็นสำคัญ  มหาวิทยาลัยเราก็คงเหมือนกัน คือควรจะเน้นไปที่การเรียนการสอนก่อน 
  • ตอนแรกเราตั้งใจจะไปดูเรื่อง MOOC แต่พอมาฟังประสบการณ์จากเขาแล้ว  จะพบว่า สิ่งที่เป็นประโยชน์มากที่สุด ไม่ใช่ MOOC แต่เป็น Blended Learning ที่ใช้ e-Learning เข้าช่วย ประกอบกับห้องเรียนแบบ X-Space, Mobile X-space 
  • ความสำเร็จที่สำคัญที่สุดคือการที่เด็กได้รับการจ้างงานสูงที่สุด โดยเน้นไปที่การสร้างทักษะและสมรรถนะที่ตลาดแรงงานต้องการ ไม่ใช่การร่วมมือกับบริษัท  
  • จุดเด่นของ เด็ก มมส. คือ จริยะทักษะดีมาก ขยัน อดทน อดกลั้น นอบน้อม ถ่อมตน เรียนรู้สิ่งใหม่ดีมาก แต่ภาษาอาจจะยังดีนัก 
  • นิสิตของเรากับนักศึกษาของเขาค่อนข้างแตกต่างกันมาก โดยเฉพาะในเรื่องความกล้าแสดงออก ดังนั้น  สิ่งที่เราควรจะนำมาทำคือการสร้างบรรยายการให้น่าเรียน ทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียน ริมทางเดิน ฯลฯ 
  • ความร่วมมือกันระหว่างสำนักศึกษาทั่วไปกับคณะต่าง ๆ เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะจริง ๆ แล้ว สำนักฯ ต้องทำงานในเชิงประสานงานเพราะไม่มีอาจารย์เป็นของตนเองเลย ดังนั้นความมือระหว่างกันจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนสิ่งต่าง ๆ ดังนั้นนโบายจากมหาวิทยาลัยควรจะชัดเจนมาก ๆ 
ขณะนี้สมาร์ทคลาสรูม (Smart Classroom) ของเรากำลังจะทำเสร็จแล้ว และทิศทางการทำงานก็คงต้องเริ่มจากง่ายไปยาก เริ่มจากสิ่งที่เรามีอยู่นี่แหละก่อน 


(ภาพนี้ไม่เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยเทเลอร์แต่อย่างใดครับ เอามาไว้ให้ท่านตีความตามที่เห็น)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น