บันทึกหน้าโน้นจะมาสรุปทุกประเด็นที่ทุกท่านที่ไปด้วยกันสะท้อนมา บันทึกนี้จะสรุปเอาเฉพาะสิ่งที่ผม "ฟังทัน" มาแลกเปลี่ยนครับ
- มหาวิทยาลัยเทเลอร์มีอายุยาวนานกว่า ๕๐ ปีที่มาเลเซีย มีการทำป้ายไทม์ไลน์ไว้ให้ผู้สนใจใคร่เห็นภาพรวมการพัฒนามหาวิทยาลัยได้สะดวกดี
- เริ่มตั้งแต่ปี 1969 ตั้งเป็นวิทยาลัยที่เมือง Jalan Pentai ใจกลางเมืองก่อน ก่อนจะมาตั้งเป็นวิทยาเขต "เลคไซด์" ที่เมือง Subang Jaya ที่เราไปดู
- ช่วงแรกเป็นวิทยาลัยเกี่ยวกับการท่องเที่ยวและการบริการก่อน (Hospitality) ต่อมาค่อยเพิ่มเติมให้มีศูนย์ภาษา สาขาธุรกิจ วิศวกรรม สถาปัตย์ ไอที การศึกษา และพัฒนามาเรื่อย ๆ จนปัจุบัน
- โดยยกระดับเป็นมหาวิทยาลัยในปี 2006
- จุดเด่นที่สุดของมหาวิทยาลัยนี้ที่เขาภูมิใจมากครับ นักศึกษาที่จบจากมหาวิทยาลัยนี้ มีงานทำมากที่สุดเป็นอันดับ ๔ ของโลก ... เขาบอกว่าติดท๊อป 1% ของมหาวิทยาลัยในโลกที่จบแล้วมีงานทำ
- ฝั่งโถงหน้าสำนักงาน จะมีห้องโถงสำหรับผู้สนใจมาดู มาเลือกหลักสูตร เขาทำโบรชัวร์รายละเอียดหลักสูตรต่าง ๆ ไว้อย่างดี หยิบอ่านได้ฟรีบนโต๊ะนั่งที่ไม่มีพื้นที่ว่างจากโฆษณาเลย ....
- เทียบกับ มมส. เราแล้ว Enrollment & Administration Service ของที่นี่ น่าจะทำหน้าที่ทั้งหมดด้านทะเบียน บริการการศึกษาทุกอย่าง การเงิน การคลัง ฯลฯ แบบ One Stop Service โดยนักศึกษาสามารถจัดการงานต่าง ๆ ออนไลน์ผ่าน Applications บนมือถือได้เอง ... คือไม่จำเป็นไม่ต้องมา จะมาเฉพาะตอนที่ต้องเจอหน้าหรือลงลายมือ
- ที่นี่มีนักศึกษาประมาณ ๑๑,๐๐๐ คน สำเร็จการศึกษาปีละประมาณ ๓,๐๐๐ นักศึกษาร้อยละ ๗๕ เป็นคนมาเลเซีย (ส่วนใหญ่ที่เห็นเป็นจีนมาเลฯ) อีกร้อยละ ๒๕ เป็นนักศึกษาชาวต่างชาติ โดยมากเป็นเชื้อชาติแขกอินเดียผิวคล้ำ
- มีห้องโถงใหญ่ไว้ใช้ในงานพิธีและใช้เป็นสนามทดสอบ ขนาดความจุประมาณ
- ผู้บริหารสูงสุดมานำเสนอภาพรวมของมหาวิทยาลัยให้เราฟังด้วยตนเอง ท่านสำเร็จด้านศึกษาศาสตร์ ... มิน่าล่ะ... การจัดการเรียนการสอนของเขาเปลี่ยนไปเป็น Teach Less Learn More หมดแล้ว
- อัตลักษณ์สำคัญของเทเลอร์ยู คือ
- มีเป็นผู้บุกเบิกหลักสูตรใหม่ในมาเลเซีย
- เป็นมหาวิทยาลัยแรกที่มุ่งเอาการมีงานทำของบัณฑิตเป็นสำคัญ
- มีหลักสูตรที่หลากหลายและเชื่อมโยงกันเป็นองค์รวม
- นักศึกษามีอิสระและเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
- มีหลักสูตรทั้งหมด ๓๖ หลักสูตร
- มีหลักสูตรระยะสั้นแบบโมดูลทั้งหมด ๗๕๐ หลักสูตร
- กระบวนการสอนแบบ Teah Less Learn More (TLLM)
- พื้นที่เรียนรู้ทั้งแบบจริงและเสมือน
- ใช้กระบวนการประเมินผลรับการเรียนรู้ที่หลากหลายและเป็นระบบ ได้แก่
- ประเมินจากการมอบหมายงาน และเรียนรู้ผ่านกระบวนการประเมิน
- ประเมินความพยายาม
- ประเมินการจัดการเวลาและความพยายาม
- (โดยใช้หลักการของ Gibbs and Simsons (คลิกที่นี่))
- การประเมินโดยนักศึกษามีส่วนร่วม
- ให้นักศึกษาได้เริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการประเมินผลการเรียนรู้
- ให้นักศึกษาได้ประเมินคุณภาพผลงานของตนเองหรือของกลุ่ม
- การติดตามผลสะท้อนป้อนกลับ
- ผลป้อนกลับ (Feedback) เป็นระยะ ๆ ประจำ ๆ และเป็นการสะท้อนป้อนกลับในสิ่งที่สามารถแก้ไขปรับปรุงได้
- (โดยใช้หลักการของ Gibbs and Simsons เช่นกัน)
- หลักในการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ในเทเลอร์ยู ได้แก่
- นำเรียน (Guide Learning)
- การสอนหรือการเรียนรู้จากของจริง (Authentic Learning)
- การเรียนรู้ด้วยการกำกับตนเอง (Self-Directed Learning)
- การเรียนรู้บนฐานปัญหา (Problem-based Learning)
- การเรียนรู้ผ่านโครงการ (Project-based Learning)
- การเรียนรู้จากกรณีตัวอย่าง (Case-based Learning)
- การรเรียนรู้ในสตูดิโอ (Studio-based Learning)
- สำหรับการเรียนในมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย สร้างพื้นที่เรียนรู้เอื้อต่อการเรียนรู้ทั้ง ๓ แบบบูรณาการกัน ทั้งในตารางเป็นตาราง นอกรูปแบบ และเรียนรู้ออนไลน์ด้วยตนเอง
- ทักษะสำหรับอนาคต คือ ความสามารถในการที่จะแก้ปัญหาไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตโดยไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้น ได้สำเร็จ
- ทักษะในอนาคต เป็นทักษะส่วนบุคคล แสดงออกผ่านการกระทำหรือท่าทีในการจัดการสิ่งต่าง ๆ ซึ่งแสดงออกให้คนอื่นเห็นเป็นความสามารถ
- ดังนั้น ภาพแห่งอนาคตของการอุดมศึกษา จึงมีว่า
- ต้องเป็นมหาวิทยาลัยแห่ง "ทักษะสำหรับอนาคต"
- เป็นเครือข่าย (เป็นมหาวิทยาลัยเครือข่าย)
- ต้องมองว่าเป็นภาพแห่งอนาคตของ "มหาวิทยาลัยของฉัน"
- ภาพแห่งการเป็นมหาวิทยลัยแห่งการเรียนรู้ตลอชีวิต
- แผนภาพนี้ท่านเสนอผลการสำรวจว่า อะไรคือทักษะหรือสมรรถนะของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา แบ่งออกเป็น ๓ ด้าน ใหญ่ ๆ ได้แก่
- Subject (ด้านอัตตวิสัย) Individual Development-related skills (ทักษะการพัฒนาตนเอง)
- Autonomous Learning Competence (สมรรถนะในการเรียนรู้สิ่งใหม่)
- Personaly Agility (ความแคล่วคล่องว่องไว)
- Self-efficacy (การรู้จักความสามารถของตนเอง)
- Self-management (การจัดการตนเอง)
- Self-initiative (การริเริ่มด้วยตนเอง)
- Autonomy (การสร้างตัวตน)
- Needs/ Motivaiton Achievement (ความต้องการหรือแรงบันดาลใจสู่ความำสำเร็จ, ความมุ่งมั่น)
- Objective (ด้านวัตถุวิสัยหรือภววิสัย) Individual Objective-related skills (ทักษะส่วนบุคคลเกี่ยวกับวัตถุ/กายภาพ)
- Ability to refflect (ความสามารถในการสะท้อน)
- Digital literacy (สมรรถนะดิจิทัล)
- Tolerence for ambiguilty (ความอดทน อดกลั้น, ทนต่อความคลุมเครือ ไม่ได้ดั่งใจ)
- Creativity (การสร้างสรรค์)
- Agility (ความว่องไว)
- World (ด้านสังคม/โลกมนุษย์) Individual Organization-related skills (ทักษะเกี่ยวกับการบริหารจัดการองค์กร)
- Communication skills (ทักษะการสื่อสาร)
- Cooperative skills (ทักษะความร่วมมือ)
- Sense-making (การให้ความหมาย การสร้างการรับรู้ใหม่ๆ)
- Future mindset (กรอบคิดแห่งอนาคต)
- ทักษะสำหรับศตวรรษที่ ๒๑ ๑๐ ประการที่เสนอโดยเวิร์ลอีคอโนมิคฟอรัม เรียงตามลำดับความสำคัญ ได้ดังนี้
- แก้ปัญหาที่ซับซ้อน
- คิดอย่างมีวิจารณญาณ
- คิดสร้างสรรค์
- จัดการคน
- ทำงานร่วมกับผู้อื่น
- ฉลาดทางอารมณ์
- ตัดสินใจ
- การบริการ
- การเจรจา
- ความยืดหยุ่นทางความคิด
- สังเกตว่า มีการเปลี่ยนระดับความสำคัญของทักษะ หลังจากเวลาผ่านไปเพียง ๕ ปี ความคิดสร้างสรรค์ พุ่งขึ้นมาเป็นอันดับต้นๆ จากเดิมที่อยู่ลำดับ ๑๐
- จุดเน้นอย่างหนึ่งที่ ม.เทเลอร์ ขับเคลื่อนและนำเสนอ คือ โมดูลการพัฒนาทักษะชีวิต (Life Skills Modules) เป็นโมดูหลักของมหาวิทยาลัย
- นักศึกษาได้พัฒนาเครื่องมือการใช้ชีวิตที่จำเป็นสำหรับยุค VUCA
- Volatile (เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว)
- Uncertain (ไม่แน่นอน)
- Complex (ซับซ้อน)
- Ambiguous (คลุมเครือ)
- การจัดการเรียนรู้ที่นี่เปลี่ยนไปแล้วโดยสิ้นเชิง เป็นแบบ TLLM (Teach Less Learn More) ทั้งหมดแล้ว
- ห้องเรียน ๖๕ ห้อง จาก ๘๕ ห้องเรียน เป็นแบบ Active Learning Space (พื้นที่เรียนรู้แบบผู้เรียนมีส่วนร่วม)
- มีห้องบรรยายที่ผู้เรียนจะไม่รู้สึกว่าอยู่ข้างหลังใคร
- มีระบบบันทึกการสอนบรรยาย ให้นักศึกษาดูซับได้จากทุกที่ ทุกเวลา
- ห้องเรียน Active Learning
- กิจกรรมเสริมการเรียนรู้ นิสิตสร้างสินค้ามาขายจริงในมหาวิทยาลัย
บันทึกต่อไป มาดูเกี่ยวกับ MOOCs ที่เราตั้งไจไปเรียนรู้ดูเขาทำครับ บันทึกนี้ขอจบเท่านี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น