วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ข้อเสนอแนะของอาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไป ในการปรับปรุงหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป พ.ศ. ๒๕๖๓

หลังจากการบรรยายพิเศษเรื่อง "การศึกษาทั่วไปในศตวรรษที่ ๒๑" โดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.จรัส สุวรรณเวลา เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และระดมสมองเป็นข้อเสนอแนะสำหรับการปรับปรุงหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๓)  ต่อไปนี้เป็นข้อเสนอแนะจากคณะาจารย์โดยรวมครับ

ก่อนจะอ่านบันทึกนี้ สำหรับท่านที่กำลังทำงานเกี่ยวกับ "การศึกษาทั่วไป" และอยากเรียนรู้จากประสบการณ์ของเรา แนะนำให้ท่านอ่านกระบวนทัศน์ กระบวนการ และงานที่เราทำผ่านมาแล้วจากบันทึกเกี่ยวกับ หลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๘) ที่นี่ ที่นี่ และที่นี่ ก่อนครับ

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๓

  • ควรคงผลลัพธ์ต่อผู้เรียน (Expected Learning Outcome, ELO) เป็น ๙ ข้อ เช่นเดิม แต่ให้ปรับเพิ่มเติมคำสำคัญที่เป็นจุดเน้นของการศึกษาทั่วไปในศตวรรษที่ ๒๑ ได้แก่ 
    • ทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ 
    • สัมมาอาชีพ 
    • ภาวะผู้นำ 
    • การร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม 
    • ความกล้าหาญทางจริยธรรม
    • จริยะทักษะ (Softskill)
    • สมรรถนะดิจิทัล (Digital Literacy) 
  • ควรปรับให้มีรายวิชาที่หลากหลาย โดยคำนึงถึงทั้งความต้องการของผู้เรียน ต้นทุนอาจารย์ (อาจารย์อยากจะสอน) เป้าหมายของหลักสูตร สอดคลัองกับนโยบายของมหาวิทยาลัย นโยบายระดับประเทศ ... มีอาจารย์เสนอรายวิชาในเวทีแลกเปลี่ยนของอาจารย์ผู้ประสานงาน (อ่านที่นี่) ดังนี้เช่น 
    • วิชาเตรียมตัวก่อนตาย
    • วิชาการดูแลผู้สูงอายุ
    • วิชากึ่งอาชีพต่าง ๆ เช่น การประดิษฐ์ต่าง ๆ วิชาช่างต่าง ๆ ฯลฯ 
    • ฯลฯ
  • ควรปรับให้ตอบรับมาตรฐานด้านสมรรถนะดิจิทัลในระดับจำเป็น ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ  ซึ่งกำหนดไว้ ๖ ประการ (อ่านได้ที่นี่)
    • สามารถใช้เครื่องมือสืบค้นข้อมูลได้ ตรวจสอบความน่าเชื่อถือได้ จัดระบบและแบ่งปันข้อมูลเป็น 
    • สามารถผลิตสื่อดิจิทัล เช่น กราฟิก คลิปวีดีโอ คลิปเสียง บันทึกภาพหน้าจอ ฯลฯ 
    • ตระหนักถึงความปลอดภัยออนไนล์ ใช้ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส รู้จักสิ่งจำเป็นในการป้องกันข้อมูล ระมัดระวังและไตร่ตรองในการแบ่งปันข้อมูล
    • สามารถใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายในการเรียนรู้ สามารถติดตั้งและใช้ซอฟต์แวร์รวมถึงแอพพลิเคชั่นที่เป็นประโยชน์ได้ 
    • ใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีดิจิทัลที่หลากหลายได้อย่างคุ้นเคยและใช้คำศัพท์เฉพาะได้ 
    • สามารถใช้เครื่องมือที่หลากหลายได้อย่างสะดวกสบายเพื่อการสนทนาและทำงานกับผู้อื่นแบบออนไลน์ 
  • ควรปรับเปลี่ยนกลุ่มวิชาใหม่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับ ELO ที่หลักสูตรต้องการ โดยยึดเอาผลลัพธ์ที่เกิดกับผู้เรียนเป็นที่ตั้ง เช่น 
    • กลุ่มวิชาส่งเสริมอัตลักษณ์ 
    • กลุ่มวิชาส่งเสริมสัมมาอาชีพ
    • ฯลฯ
  • ควรปรับกระบวนการเรียนรู้ให้มีรายวิชากึ่งอาชีพมากขึ้น รายวิชากึ่งอาชีวะ รายวิชาส่งเสริมรายได้ระหว่างเรียนมากขึ้น ปรับให้มีวิชาที่มีชั่วโมงปฏิบัติการมากขึ้น   
อาจารย์ที่เข้าร่วมฟังบรรยายเห็นด้วยกับแนวคิดของ ศ.ดร.จรัส ที่ควรจะเปลี่ยนไปสู่ Digital Platform  แต่ก็ควรคำนึ่งถึงธรรมชาติของนิสิต อาจารย์ รายวิชา และสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น