ช่วงเวลาหลังจากการสาธิตการสอนของ อ.ธวัช เราถกกันว่า การสอนในรายวิชา ๐๐๓๒๐๐๔ ความเป็นมนุษย์และการเรียนรู้ ควรจะเน้นแบบไหน รศ.อุดมศักดิ์ บอกว่า เราสามารถแบ่งการสอนได้เป็นสองแบบ คือ
- ๑ คือ แบบอุปนัย (inductive) คือ "สอนจากปฏิบัติไปสู่ทฤษฎี" หรือ "สอนจากเล็กไปใหญ่" สอนจากกรณีตัวอย่างเป็นกรณีๆ แล้วนำไปสู่ทฤษฎี กฎ หรือองค์ความรู้
- ๒ คือ แบบนิรนัย (deductive) คือ "สอนจากทฤษฎีไปสู่ปฏิบัติ" หรือ "สอนจากใหญ่ไปเล็ก" สอนโดยเริ่มจากการบอกกฎ ทฤษฎี หรือองค์ความรู้ ก่อนที่จะไปสู่การนำเอาองค์ความรู้ไปปรับใช้ในการปฏิบัติ
กระบวนการที่อาจารย์ผู้สอนแลกเปลี่ยนกัน ที่เริ่มตั้งแต่ การละลายพฤติกรรมหรือ "Check In" ตามบันทึกที่ (๑) ->ทำกิจกรรม->อภิปราย นำเสนอ แลกเปลี่ยน -> สะท้อนการเรียนรู้ ->สรุปด้วยองค์ความรู้เชิงทฤษฎีและข้อเท็จจริง เหล่านี้ สอดคล้องกับวิธีการสอนแบบอุปนัย ไม่ใช่แบบนิรนัยที่เริ่มจากการบรรยาย ...
ผมคิดว่าอาจารย์ผู้สอนควรสร้างข้อตกลง (และปลงใจ) กันไปเลยว่า เราจะสอนแบบอุปนัยในรายวิชานี้ ซึ่งเราสามารถทำได้แน่ เพราะการไม่สอบกลางภาคเรียนนั้น คือการผลักดันและเอื้อให้จัดการเรียนแบบนี้
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/604630
บันทึกที่ (๑) บันทึกที่ (๒) บันทึกที่ (๓) ..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/604630
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น