วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2559

รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๒๐๐๔ ความเป็นมนุษย์กับการเรียนรู้ _ เวทีพัฒนาอาจารย์ ๕๙ (๖) "ตัวตนของฉัน"

บันทึกที่ (๑) บันทึกที่ (๒) บันทึกที่ (๓) บันทึกที่ (๔) บันทึกที่ (๕)

จุดมุ่งหมายสำคัญของรายวิชา ๐๐๓๒๐๐๔ ความเป็นมนุษย์และการเรียนรู้ คือทำให้ "นิสิตรู้จักตนเอง" โดยเน้นถึงการ "รู้จักตัวตน" ของตนเอง เพราะนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของการที่จะ "ละตัวตน" หรือเห็นตามเป็นจริง อันเป็นจุดหมายสูงสุดของการเกิดเป็นมนุษย์

บันทึกนี้จะบอกวิธีตัวอย่าง ที่เรียกว่า "กระดาษ ๔ พับ" ที่ท่าน อ.ธวัช นำมาแสดงให้อาจารย์ผู้สอนดูวิธีที่จะทำให้นิสิตเข้าใจและเข้าถึงตัวตนของตนเอง  ผมจดจำและนำเอาประสบการณ์ตนเองมาเขียนไว้เผื่อว่าจะมีผู้นำไปปรับใช้ครับ  ผู้อ่านหรือท่านที่จะนำไปใช้ ควรจะเปิดใจวางความยึดมั่นในความรู้เดิมเกี่ยวกับ "ตัวตน" ไม่ตัดสินผิดถูก ไม่เทียบเคียงเรียงลำดับ กับความรู้เดิม โดยเฉพาะทฤษฎีทางจิตต่างๆ 

หลังจากละลายพฤติกรรม "นำเข้า" หรือ check-in แล้ว ให้แจกกระดาษขนาด A4 คนละแผ่น -> ใหัพับครึ่งตามขวางสองครั้ง-> แล้วพับเป็นสามส่วนบนล่างกลางให้ระยะห่างพอดี หากพับตามนี้ กระดาษ A4 จะมีรอยพับเป็น กระดาษ ๑๒ ช่อง ๔ คอลัมน์ ๓ แถว ดังภาพ



ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม

ต่อไปคือขั้นตอนของกิจกรรมนำเรียนรู้ตัวตนของตนเอง

ให้ระลึกถึงบุคคลประเภทต่างๆ ตั้งแต่คนที่ตนเองรักและสนิทสนมทั้งใกล้ตัวไกลตัว พ่อแม่เพื่อนสนิท เพื่อนทั่วไป เพื่อนร่วมงาน นึกถึงบุคคลที่ตนเองไม่ชอบ ไม่ชอบมากๆ และไม่ชอบเอามากๆ จนถึงขึ้นเกลียด ไม่คบ ไม่อยากร่วมกิจกรรมใดๆ จนกระทั่งคิดถึงศัตรูคู่อาฆาตในชีวิต โดยให้คิดถึงพฤติกรรมใดของคนเหล่านั้นที่ทำให้เราเกลียด ไม่ชอบ หรือไม่พอใจ  จากนั้นให้เริ่มเขียนถึงพฤติกรรมต่างๆ ดังต่อไปนี้

 ขั้นที่ ๑) เริ่มที่คอลัมน์ที่ ๒ ให้เขียนพฤติกรรมของคนที่เราไม่ชอบเหล่านั้นลงในคอลัมน์ที่ ๒ โดยจัดลำดับของพฤติกรรมที่ทำให้ตนมีความรู้สึกเกลียดคือไม่ชอบมากๆ (ในแถวที่ ๑)  ไม่ชอบมากแต่พอทนได้ (แถวที่ ๒) และพฤติกรรมของเพื่อนที่เราอยากให้เขาเปลี่ยนแปลง (ในแถวที่ ๒)

ขั้นที่ ๒) เขียนสิ่งตรงข้ามของคอลัมน์ที่ ๒ ลงในคอลัมน์ที่ ๓ ในแถวเดียวกัน

ขั้นที่ ๓) เขียนมุมมองเชิงบวก เอาใจเขามาใส่ใจเรา ที่ทำให้เขามีพฤติกรรมแบบนั้น เช่น อาจจะเป็นเรื่องจำเป็น หรือหวังดีแต่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ฯลฯ

ขั้นที่ ๔) สุดท้ายคือ ให้เขียนชื่อของตนเองลงมุมกระดาษ แล้วเวียนกระจายไปให้คนที่รู้จักเขียนถึงพฤติกรรมของตนที่เขารู้จัก ลงในคอลัมน์ที่ ๔

ข้อสังเกตเพื่อใช้ในการสรุป
  • คอลัมน์ที่ ๓ ใช่พฤติกรรมของฉันหรือไม่? ...   ถ้าใช่ แสดงว่านั่นคือส่วนหนึ่งของตัวตนที่มองตัวเอง (ฉันคิดว่าฉันเป็น)
  • หากสิ่งที่เขียนในคอลัมน์ ๓ ตรงกับสิ่งที่เพื่อนเขียนในคอลัมน์ที่ ๔ แสดงว่า นั่นคือ ตัวตนที่คนอื่นก็เห็นเป็นแบบนั้น 
  • ถ้าคอลัมน์ที่ ๓ ไม่ใช่พฤติกรรมของฉัน แสดงว่า แม้ฉันจะชอบหรือปรารถนาแต่ว่าฉันเองก็ทำแบบนั้นไม่ได้ ดังนั้นหากจะเปลี่ยนแปลงพัฒนาให้ดีขึ้น จงเลือกที่จะพัฒนาและเปลี่ยนแปลงตนเองก่อน
  • อย่างไรก็ดี แม้ว่าฉันจะเป็นแบบคอลัมน์ที่ ๓ และ ๔  ฉันก็ไม่ควรจะไปคาดหวังว่าฉันจะเปลี่ยนแปลงตามตนต้องการได้ ... วิธีที่ดีคือทำใจยอมรับ ปล่อยวาง หลังจากที่ได้ตักเตือนอย่างจริงใจด้วยความหวังดี 
  • จงฝึกวิธีการคิดหรือมองโลกแบบที่เรามองตอนจะเขียนคอลัมน์ที่ ๑ 
  • สิ่งใดที่ผลักดันให้ฉันเป็นคนที่มีพฤติกรรมแบบนั้น  อะไรคือความเชื่อที่อยู่เบื้องหลังพฤติกรรมแบบนั้นของฉัน เป็นความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ (มีสมาธิหรือไม่มีสมาธิ) รู้ตัวหรือไม่รู้ตัว (มีสติหรือไม่มีสติ) เป็นสิ่งจำเป็นหรือเพียงเห็นแล้วเกิดความอยากความต้องการ (กิเลสครอบงำหรือทำเพราะจำเป็น) 
  • สิ่งใด ปัจจัยใด ที่สร้างตัวฉันแบบนั้นขึ้นมา  เพราะการเลี้ยงดูไหม? หรือเป็นเพราะสิ่งยั่วยวนยุ ล่อหลอกจากสิ่งแวดล้อมภายนอก  หรือเป็นเพราะการปล่อยใจจากภายในตนเอง?
  • หากฉันจะเปลี่ยนแปลงพัฒนาตนเองให้มีพฤติกรรมตามคอลัมน์ที่ ๓ จะต้องทำอย่างไร
  • ฯลฯ 


ดังตัวอย่างด้านล่าง  (สมมติครับ)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น