วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2562

รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ๓-๒๕๖๑ (๑) "SWOT มหาวิทยาลัยของฉัน"

มองในอีกมุมหนึ่งก็เป็นโอกาสเหมาะยิ่ง ที่ ผศ.ดร.ธรินธร หัวหน้าภาควิชาบริหารการศึกษา อาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชานี้ ท่านขอเปิดสอนรายวิชา ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ในภาคการศึกษาพิเศษนี้ เนื่องด้วยอาจารย์ผู้สอนจะมีเวลามากขึ้น อาจารย์จะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ทำ PLC เพื่อพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนรู้รายวิชานี้ให้ดีขึ้น

ปีการศึกษาพิเศษนี้ เรายังใช้เอกสารประกอบการสอนฉบับเดิม (ดาวน์โหลดได้ที่นี่)  แต่เราปรับแผนการเรียนรู้ใหม่ และขอแก้ไขไปยังบอร์ดบริหารของ GE (สำนักศึกษาทั่วไป) ว่าเทอมนี้เราจะเน้นไปที่การจัดการเรียนรู้แบบโครงการเป็นฐาน (Project-based Learning) จึงขอปรับไม่ให้มีการทดสอบปลายภาคแล้ว แต่กิจกรรมสำคัญ ๆ ยังนำมาใช้กับการปลูกฝังภาวะผู้นำ โดยเฉพาะ "ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง" เช่นเดิม

บันทึกนี้ขอนำผลการระดมสมองของนิสิตในการวิเคราะห์ SWOT หรือ วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ของมหาวิทยลัยมหาสารคาม ในมุมมองของนิสิต ดังต่อไปนี้ครับ

๑) กลุ่ม เช เกวรา


  • จุดแข็ง
    • เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน ทำให้ได้สัมผัสชุมชนจริง นำองค์ความรู้ไปใช้จริงในการทำงาน 
    • มีวิชาศึกษาทั่วไปที่เกี่ยวกับข้องกับศิลปวัฒนธรรมอีสาน ทำให้ได้เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมอีสานมากขึ้น 
    • มีอิสระในการแต่งกาย ไม่มีข้อจำกัดด้านเพศสภาพ
    • มีหน่วยงานที่ส่งเสริมทางวิชาการ วิจัย ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น  
    • มีห้องบริการให้ออกกำลังกายฟรี 
    • มีคณะหมอลำที่โด่งดัง
    • มีวิชาการเมืองการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของภาคอีสาน 
  • จุดอ่อน
    • บุคลากรไม่เพียงพอ ไปศึกษาต่อจำนวนมาก 
    • วิทยาเขต ๒ แห่งอยู่ไกลกัน อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุบนถนน
    • ห้องสมุดมหาวิทยาลัยมีขนาดเล็ก จำนวนหนังสือไม่มาก
    • อุปกรณ์ทำการทดลองไม่เพียงพอ
    • ถังขยะน้อย 
    • ไม่กล้าทุ่มงบประมาณในการจัดกิจกรรม
    • ระบบการขนส่งของมหาวิทยาลัยไม่ครอบคลุม
    • ระบบลงทะเบียนไม่มีประสิทธิภาพ 
  • โอกาส
    • มีห้างสรรพสินค้าเพียงไม่กี่แห่ง ทำให้ประหยัดได้ 
    • ตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางของภาคอีสาน จึงใกล้และสะดวกสำหรับนิสิตที่มีภูมิลำเนาอยู่อีสาน
    • ค่าครองชีพราคาถูก 
    • มีการตั้งด่านตรวจจราจรบ่อย ทำให้ระวังมากขึ้น ลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ 
    • มีการทำงานใกล้ชิดประชาชน 
  • อุปสรรค
    • น้ำท่วมบ่อย เนื่องจากท่อระบายน้ำไม่ดี
    • มีฝุ่นละอองเยอะ เนื่องจากกำลังพัฒนา 
    • ทางเท้าไม่สะอาด และชำรุดในบางจุด
    • งบประมาณไม่เพียงพอ 
    • บุคลากรไม่ลงมาดูแลกิจกรรมของนิสิต
    • น้ำเน่าเสีย
    • บุคลากรไม่มีวินัยทางจราจร
วิพากษ์การวิเคราะห์ SWOT ของกลุ่ม เช เกวรา

เป็นการวิเคราะห์ SWOT ที่ใช้ได้ทีเดียว แต่ยังมีบางส่วนที่สลับสับกันระหว่างปัจจัยภายนอกกับปัจจัยภายใน  จงจำว่า 
  • จุดแข็งและจุดอ่อน คือการวิเคราะห์ปัจจัยภายใน  วิเคราะห์เกี่ยวกับ ทุนและทรัพยากรของเรา อาจใช้หลักการพิจารณา 4MIT ในการวิเคราะห์คือ ให้วิเคราะห์  คน (Man) วัตถุ (Material) การจัดการ (Management) เงิน (Money) และเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีอยู่  
  • โอกาศและอุปสรรค คือการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก ข้อความตัวอักษรสีแดง  ส่วนใหญ่ควรจะนำไปไว้ในปัจจัยภายในมากกว่า ครับ 

๒) กลุ่ม บารัค โอบามา



  • จุดแข็ง
    • นิสิตที่จบไปมีจำนวนมาก มีรุ่นพี่ศิษย์เก่าที่ทำงานอยู่จำนวนมาก 
    • อาคารเรียนมีระยะกล้กัน 
    • สถานที่รับปริญญามีความกว้างขวาง
    • มีศูนย์หนังสือของมหาวิทยาลัย 
    • เทคโนโลยีสารสนเทศทันสมัย
    • มีตลาดในสถานศึกษาที่ขายสินค้าราคาถูก
    • มีเส้นจราจรสำหรับจักรยาน 
    • มีพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์
    • มีพิพิธภัณฑ์ผ้าไหม
    • อยู่ใกล้ชุมชน 
  • จุดอ่อน
    • ควรจัดตารางเรียนให้เด็ก ถ้าจะเปลี่ยนเป็นระบบเหมาจ่าย
    • ระบการลงทะเบียนล่ม
    • บุคลากรขาดคุณสมบัติ 
    • อาจารย์บางคนขาดวุฒิภาวะทางอารมณ์
    • แบบสอบถามหรือประเมินอาจารย์ ควรจะรับฟังและยอมรับไม่เข้ามาก้าวก่าย (สิทธิ์)
    • บางหลักสูตร อาจารย์ไม่มีความเชี่ยวชาญในหลักสูตรนั้น 
    • การจัดการเรียนการสอนไม่เหมาะสม คือ ไม่ควรมีสอบในวันเสาร์-อาทิตย์ และมีการสอนที่เช้าหรือดึกเกินไป 
    • มหาวิทยาลัยไม่ค่อยสนับสนุนกีฬาเอ็กซ์ตรีม
    • คอมพิวเตอร์ไม่มีความทันสมัยหรือชำรุดมาก
    • ห้องเรียนชั้น ๗ ดึก RN มีขาดเล็ก 


  • โอกาส
    • มีนิสิตจำนวนมาก จึงมีโอกาสสร้างรายได้ระหว่างเรียนได้ง่าย
    • มีร้านเหล้าและร้านนมจำนวนมาก ที่สนับสนุนให้นิสิตทำงานพาร์ทไทม์
    • ปี ๓-๔ คณะวิทยาศาสตร์ ได้เรียนรู้แบบภาษาสากล ทั้งหนังสือและการเรียนการสอนแบบพิเศษ
    • มีนิสิตแลกเปลี่ยนจากต่างประเทศจำนวนมาก
    • มีทักษะในการขับขี่ 
    • ตำรวจตั้งด่านเยอะ เพิ่มทักษะในการขับขี่หนีหลายทางพบใหม่  
  • อุปสรรค
    • ม.เก่า ม.ใหม่ ไกลกัน
    • ตลาดน้อยรองรับนิสิตได้น้อย
    • ไฟฟ้า ม.เก่า ไม่เพียงพอ 
    • ที่จอดรถ ไม่เพียงพอต่อความต้องการ
    • ลิฟต์ อาคารราชนครินทร์ ชอบค้าง ชำรุดบ่อย
    • ขยะเยอะ ที่ทิ้งขยะน้อย 
    • ถนนภายนอก ภายใน ชำรุด ห้องนำชำรุด 
    • รถรางควรวิ่งให้ทั่วระหว่าง ม.เก่า - ม.ใหม่ 
    • สถานที่ออกกำลังกายชำรุด (เก่า) 
วิพากษ์การวิเคราะห์ SWOT ของกลุ่ม โอบามา
  • ข้อความที่เป็นตัวอักษรสีแดง เป็นการ SWOT ที่ไม่ดี  ส่วนใหญ่จะมุ่งไปเป็นปัญหา การวิเคราะห์ SWOT ไม่ใช่การวิเคราะห์ปัญหา ไม่ใช่การวิเคราะห์สาเหตุปัญหา แต่เป็นการวิเคราะห์สิ่งที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ เพื่อที่จัดการกับปัญหาหรือพัฒนาองค์กรหรือหน่วยงาน หรือทีมของผู้วิเคราะห์ ... อย่างไรก็ดี เนื่องจากการมอบหมายงาน การวิเคราะห์ SWOT ของ "มหาวิทยาลัยของฉัน" โดยไม่ได้กำหนดว่า ให้วิเคราะห์ไปเพื่ออะไร  ทำให้การวิเคราะห์ออกมาไม่ชัดเจน  
  • การวิเคราะห์ SWOT เป็นเรื่องจริงจัง การเขียนวิเคราะห์เชิงประชดประชัน ไม่ใช่เรื่องที่ดี (ใบางหัวข้อ เช่น  การตั้งด่านตำรวจ)
  • การวิเคราะห์โอกาสและอุปสรรค ส่วนใหญ่ทำไม่ถูกต้อง ดูที่ตัวอักษรสีเขียว เป็นการวิเคราะห์ที่ผิดในประเด็นเดียวกับกลุ่มที่แล้ว  เพราะเป็นปัจจัยภายใน ควรจะเป็นจุดแข็งหรือจุดอ่อนมากกว่า 

๓) กลุ่ม นโปเลียน โบนาปาร์ต



  • จุดแข็ง
    • เป็นมหาวิทยาลัยชื่อดังที่พัฒนานิสิตให้มีคุณภาพ
    • มีการจัดการศึกษาที่เป็นสากล
    • มีหลักสูตรการเรียนการสอนที่ทันสมัย
    • มีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นอัตลักษณ์ 
    • คณาจารย์ส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ มีการพัฒนาความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
  • จุดอ่อน
    • สภาพแวดล้อมรอบ ๆ มหาวิทยาลัยเต็มไปด้วยแหล่งอบายมุข
    • หลักสูตรนานาชาติและนักศึกษาต่างชาติน้อย
    • ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ไม่เป็นที่รู้จัก 
    • กฎระเบียบในมหาวิทยาลัยไม่เคร่งครัด
    • คณาจารย์ไม่เพียงพอ 
  • โอกาส
    • มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ในท้องถิ่น ไม่ไกลบ้าน
    • มีกองทุนกู้ยืมการศึกษา
    • สภาพแวดล้อมเอื้อต่อการศึกษา
    • บุคลากรให้ความสำคัญกับการบริหารงานที่โปร่งใส
    • สังคมให้ความสำคัญต่อการรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม 
  • อุปสรรค
    • การแข่งขันทางสถาบันมากขึ้น  
    • รอบมหาวิทยาลัยเต็มไปด้วยแหล่งอบายมุข
    • ฝนตกหนัก น้ำท่วมบ่อย ระบบระบายน้ำไม่ดี
    • การเดินทางไปมหาวิทยาลัยไม่สะดวก
    • ลิฟต์เสียบ่อย 
วิพากษ์การทำ SWOT ของกลุ่มนโปเลียน
  • กลุ่มนี้ไม่น่าจะได้ระดมสมองกันจริง  เพราะ SWOT ที่ทำมา ซ้ำ (คัดลอก) มาจากการทำ SWOT ของมหาวิทยาลัย เกือบทุกข้อ  และยังเป็นการทำ SWOT ไม่ถูกต้องบางอัน (อันที่ตัวอักษรสีแดง)
  • (หากกลุ่มนี้อยากจะได้คะแนนเต็มเหมือนกลุ่มอื่น ต้องไประดมสมองกันทำ SWOT มาส่งใหม่ครับ) 
๔) กลุ่มเนลสัน แมนเดลลา



  • จุดแข็ง
    • มีพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์
    • ติดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในประเทศ
    • มีนิสิตต่างชาติมาเรียนมากกว่า ๑๐ ประเทศ
    • เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน 
    • มีแผนผังเป็นวงกลม ง่ายต่อการเดินทาง 
    • มีต้นไม้เยอะ
    • มีสวนสัตว์
    • มีสวนหม่อน
    • มีรถราง 
    • มีระบบสื่อสารที่ดี เช่น MSU TV page Facebook ฯลฯ
    • มีศูนย์ภาษา ใต้ตึก RN 
  • จุดอ่อน
    • ค่าเทอมแพงกว่าอดีต
    • ตลาดน้อยไม่มีการทดสอบอานามัย 
    • ห้องน้ำไม่สะอาด
    • ที่จอดรถไม่พอ
    • โต๊ะเก้า
    • อี้ชำรุด
    • มีขยะเยอะ และน้ำเน่าเสีย
    • ถังขยะน้อย
    • นิสิตไม่ค่อยเข้าร่วมกิจกรรมของมหาวิทยาลัย
    • มหาวิทยาลัยต้องแข่งขันกับมหาวิทยาลัยอื่น 
  • โอกาส 
    • มหาวิทยาลัยเปิดโอกาสนิสิตแสดงออก
    • มีการส่งเสริมพัฒนาด้านภาษาอังกฤษ
    • มีทุนการศึกษา
    • เปิดโอกาสให้นิสิตเข้าร่วมกิจกรรมวัฒนธรรม
    • เปิดโอกาสให้นิสิตไปต่างประเทศ
    • เปิดโอกาสให้นิสิตสร้รางความสัมพันธ์กับนิสิตต่างชาติ 
  • อุปสรรค
    • น้ำท่วม ระบายไม่ทัน
    • ถนนไม่เหมาะต่อการสัญจร
    • แหล่งเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะมีน้อย
    • ถนนหน้ามหาวิทยาลัยมีฝุ่นเยอะ
    • ไม่ทำตามกฎจราจร
    • ระบบขนส่งไม่เพียงพอ
    • ถนนชำรุด 
    • สถานบันเทิงรอบมหาวิทยาลัยเยอะ
    • สภาพอากาศ ฝุ่นละอองเยอะ 
วิพากษ์การทำ SWOT ของกลุ่มเนลสัน แมนเดลลา
  • การวิเคราะห์จุดแข็งทำได้ดีครับ ขาดแต่เพียงความชัดเจน ให้เหตุผลเพิ่มขึ้น
  • การวิเคราะห์จุดอ่อน ไม่ดี เพราะส่วนใหญ่มุ่งไปที่ปัญหา และสาเหตุของปัญหาด 
  • การวิเคราะห์โอกาส ไม่ถูก ทั้งหมดเป็นปัจจัยภายใน การวิเคราะห์โอกาสต้องดูปัจจัยภายนอก
  • การวิเคราะห์อุปสรรค ถูกต้องว่าเป็นปัจจัยภายนอกทั้งหมด แต่ยังขาดความชัดเจนว่า พื้นที่ใด ในแต่ละข้อ ที่เป็นอุปสรรค 
๕) กลุ่มพระเจ้าอโศกมหาราช



  •  จุดแข็ง
    • อาคารเรียนตั้งอยู่ใกล้กัน เดินไปมาได้
    • อยู่ใจกลางอีสานและอยู่กลางชุมชน
    • เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน
    • ให้อิสระการแต่งกายต่อเพศสภาพ
    • มีสนามกีฬาเพียงพอต่อการออกกำลังกาย
    • มีแผนผังมหาวิทยาลัยสวยงาม
  • จุดอ่อน
    • ระบบอินเตอร์เน็ตไม่ทั่วถึง
    • ห้องเรียนไม่สะอาด จอโปรเจ็คเตอร์ไม่ชัด 
    • สถานที่อ่านหนังสือไม่เพียงพอ
    • ตลาดน้อยไม่สะอาด
    • ลิฟต์ตึก RN ไม่ดี
    • ค่าเทอมเหมาจ่ายแพงไป 
  • โอกาส 
    • มีกองทุน กยศ. ให้กู้ยืม
    • มีการแลกเปลี่ยนนิสิตต่างชาติ
    • มีเครือข่ายศิษย์เก่าเยอะ
    • มีทุนการศึกษาหลากหลาย 
  • อุปสรรค
    • ระบบระบายน้ำไม่ดี
    • ถนนขุขระ
    • แดดร้อนและฝุ่นเยอะ
    • ขยะในชุมชนรอบมหาวิทยาลัย
    • การจอดรถไม่เป็นระเบียบ
    • พื้นที่มหาวิทยาลัยมีจำกัด
วิพากษ์การทำ SWOT ของกลุ่มพระเจ้าอโศกมหาราช
  • การวิเคราะห์ปัจจัยภายใน-ภายนอก ทำได้ถูกต้องครับ  
  • ตัวอักษรสีแดง ให้ข้อมูลที่ไม่ชัดเจน ควรเติมเหตุผลเพิ่มเติม หรือระบุพื้นที่ให้ชัดเจน  ให้แตกต่างกับการบอกปัญหาหรือระบายปัญหา 
๖) กลุ่มพรเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช



  • จุดแข็ง
    • มีสภาพแวดล้อม ทำเลที่ตั้ง เหมาะสมต่อการขยายตัวในอนาคต อาคารเรียน สถานที่กว้างขวาง มีความทันสมัย
    • มีห้องสมุดที่ทันสมัย เอื้อต่อการเรียนรู้ของนิสิต
    • มีระบบฐานข้อมูลที่สำคัญ เพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพของนิสิต
    • ที่ระบบสื่อสารภายใน-ภายนอกที่ดี เช่น MSUTV เว็บไซต์ เฟสบุ๊คมหาวิทยาลัย ฯลฯ
    • มีหลักสูตรเฉพาะด้านเกี่ยวกับอาเซียน เช่น ลาว เขมร เวียดนาม ฯลฯ 
  • จุดอ่อน
    • ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยยังไม่เป็นที่ยอมรับ
    • กระบวนการคัดเลือกนิสิตยังขาดประสิทธิภาพ
    • หลักสูตรนานาชาติยังมีน้อย
    • ขาดการกำกับดูแลที่ดีในการปฏิบัติอย่างจริงจัง
    • ขาดการบูรณาการการทำงาน 
  • โอกาส
    • ค่านิยมในการเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยท้องถิ่นดี
    • การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ทำให้มีโอกาสสร้างการรับรู้ไปนักศึกษาต่างชาติ
    • สภาพแวดล้อมและสังคมที่เอื้อต่อการพัฒนา
    • มีโครงการกู้ยืมเงินทางการศึกษา
    • สามารถเลือกอาจารย์ที่อยากลงทะเบียนได้ และเลือกอาจารย์ผู้สอนได้ 
  • อุปสรรค
    • สภาพแวดล้อมรอบ ๆ มหาวิทยาลัยมีแหล่งอบายมุขมาก
    • เน้นการปล่อยกู้ยืมเงินทางการศึกษา ในสาขาที่ขาดแคลน ควรให้โอกาสสายอื่นด้วย
    • งบประมาณที่มหาวิทยาลัยได้รับลดลง
    • ทางระบายน้ำไม่ไดี 
วิพากษ์การทำ SWOT ของกลุ่มพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช
  • น่าจะไม่ได้เกิดจากการระดมสมองและคิดเองจากสมาชิก เพราะอ่านแล้ว ส่วนใหญ่เหมือนการกับการทำ SWOT ของมหาวิทยาลัย ... หากอยากจะได้คะแนนเต็มเหมือนกลุ่มอื่น ๆ ต้องประชุมวิเคราะห์กันใหม่ นำมาส่งใหม่นะครับ 
๗) กลุ่มอับราฮัม ลินคอล์น 


  •  จุดเด่น
    • อยู่ใกล้ชุมชน
    • เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว
    • มีศูนย์การเรียนรู้ ทางการวิจัย และวิชาการ
    • นิสิตมีคุณภาพและประสิทธิภาพในการทำงาน
    • เป็นมหาวิทยาลัยที่ส่งเสริมประเพณี วัฒนธรรม
  • จุดอ่อน
    • ม.ใหม่ อยู่ไกลตัวเมือง
    • หลักสูตรน้อย .... (ไม่จริงมั้งครับ)
    • นิสิตมีจำนวนมากเกินไปในแต่ละชั้นเรียน
    • กฎระเบียบไม่ค่อยเคร่งครัด
    • อาจารย์ผู้สอนน้อย
  • โอกาส
    • บุคลากรผู้สอนมาจากหลายแห่ง
    • มีการแลกเปลี่ยนนิสิต
    • มีการให้ทุนไปต่างประเทศ
    • มี กรอ. กยศ.
    • มีการเปิดอาเซียน
  • อุปสรรค
    • พื้นที่มหาวิทยาลัยมีจำกัด
    • การคมนาคมไม่สะดวก
    • น้ำท่วม ระบบระบายน้ำไม่ดี
    • สถาบันเทิงเยอะ
    • ลิฟต์อาคาร RN ใช้ไม่ได้ 
วิพากษ์การทำ SWOT ของกลุ่มอับราฮัม ลินคอล์น

  • ยังวิเคราะห์ปัจจัยภายใน-ภายนอก ไม่ถูกต้อง  ข้อความที่เขียนเป็นตัวอักษรสีแดง 
  • การวิเคราะห์ไม่ชัดเจน เช่น ข้อความที่ตัวอักษรสีเหลืองขนุน 
๘) กลุ่มจอร์จ วอชิงตัน 


  • จุดแข็ง 
    • อาคารเรียนใกล้กัน เดินทางสะดวก
    • ให้อิสระทางเพศสภาพ
    • google drive  ให้พื้นที่มาก
    • มีโรงเรียนในเครือของมหาวิทยาลัย
    • มีโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย
    • มีสนามกีฬาให้นิสิตออกกำลังกายเพียงพอ
    • องค์กรนิสิตเน้นเรื่องการสร้างคุณธรรม จริยธรรม
    • มีการใช้พลังงานทางเลือก
  • จุดอ่อน
    • ที่จอดรถไม่เพียงพอ
    • พื้นที่อ่านหนังสือไม่เพียงพอ
    • ห้องนำชำรุดเยอะ
    • อุปกรณ์ไม่ได้มาตรฐาน
    • คณะนิติศาสตร์ไม่มีตึกเป็นของตนเอง
    • ตลาดน้อยไม่ได้มาตรฐาน
    • แอร์ในห้องเรียนไม่ค่อยเย็น
    • Wi-Fi ไม่แรง
    • ลิฟต์ตึก RN ชำรุดบ่อย
    • โต๊ะเรียนชำรุด 
  • โอกาส
    • มีกองทุนการศึกษาหลากหลาย
    • มีที่พักจำนวนมากใกล้มหาวิทยาลัย
    • รับนิสิตจำนวนมาก
    • มีสาขาและคณะหลากหลาย
    • มีปฏิทินการศึกษาละเอียด ชัดเจน
    • มีทุนวิจัย
    • อยู่ใกล้ชุมชน
    • เป็นมหาวิทยาลัยเปิด ... (เอ๋... เรายังไม่ได้เป็นมหาวิทยาลัยเปิดครับ)
    • เป็นมหาวิทยาลัยเครือข่าย ....(เครือข่ายอะไรหนอ)
  • อุปสรรค
    • ระยะทาง ม.เก่า - ม.ใหม่ ไกลกัน เดินทางไป-มา ไม่สะดวก 
    • ยุงเยอะ
    • เด็กแว้นเยอะ
    • ถนนเป็นหลุม มีฝุ่น
    • มีการโจรกรรม รถจักรยานยนต์
    • ระบบ Reg ไม่ได้มาตรฐาน
    • ทุนการศึกษาไม่เพียงพอ
    • มีสนุขจรจัด จำนวนมาก
    • ค่าเทอมของระบบเหมาจ่ายสูงเกินไป 
วิพากษ์การทำ SWOT ของกลุ่มจอร์จ วอชิงตัน
  • ยังวิเคราะห์ปัจจัยภายใน-ภายนอก ไม่ถูกต้อง  โอกาสและอุปสรรค ต้องเป็นปัจจัยภายนอก ข้อที่เป็นอักษรสีแดง คือข้อที่ต้องปรับปรุงครับ 
  • ปัญหาการเขียนที่ไม่ชัดเจน 
  • การวิเคราะห์จุดอ่อนอาจใกล้เคียงกับการมองปัญหา แต่การระดมปัญหาไม่ใช่การทำ SWOT ... ที่นิสิตเขียนข้อความที่เป็นสีเปลือกขนุน ไม่ค่อยชัดว่าเป็นจุดอ่อน ... อย่างไรก็ดี อาจเนื่องเพราะอาจารย์ไม่ได้กำหนดเป้าหมายว่าทำ SWOT ไปทำอะไร คือไม่ได้กำหนดเป้าหมายชัด จึงไม่อาจบอกว่าผิดครับ 

สรุป นิสิตเขียน SWOT ได้ดีหลายกลุ่ม แต่ปัญหาหลักคือการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก-ภายใน และความชัดเจนในการเขียน  ขอให้นิสิตบางกลุ่มที่คัดลอกมา ให้ไประดมสมองกันมาใหม่นะครับ 




วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2562

รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๒๐๐๔ ความเป็นมนุษย์และการเรียนรู้ ๒-๒๕๖๑ (๑) "ห้องเรียน ๔ อริยาบท"

ปีการศึกษา ๒-๒๕๖๑ เป็นปีการศึกษาที่ ๒ ที่เราปรับเปลี่ยนสถานที่จัดการเรียนรู้มาอยู่ตึก B(408-409) (อาคารบี สำนักคอมพิวเตอร์) เป็นห้องเรียนสำหรับการจัดการเรียนรู้แบบ "๔ อริยาบท" ยืน เดิน นั่ง นอนได้ ไม่มีเก้าอี้ มีเบาะและเสื่อปูนั่ง ดังรูป







การจัดการเรียนการสอนแบบ "๔ อริยาบท" ผู้สอนต้องทำความเข้าใจและร่วมกันสร้างเงื่อนไขกับผู้เรียนตั้งแต่ต้นเทอมให้ดี เพราะนิสิตจะคุ้นชินกับการนั่งเรียนเขียนบนเก้าอี้เลคเชอร์  นั่นหมายถึงอาจารย์ผู้สอนต้องปรับวิธีการสอนไปของตนเอง มิเช่นนั้น จะได้ข้อความคอมเมนต์ของนิสิตเกี่ยวกับเก้าอี้ทันที

สำหรับผมแล้ว รายวิชานี้มีจุดเด่นประเด็นหนึ่งคืออิสระในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้สอน เรามีกิจกรรมหลัก ๆ เขียนเป็นแนวทางไว้ แต่อาจารย์แต่ละท่านสามารถออกแบบกิจกรรมเพิ่มเติมได้ ตราบใดที่มุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกัน คือ ผลการเรียนที่คาดหวังของรายวิชา

ขอยกตัวอย่าง ...  ขอแลกเปลี่ยน... นำเอาบางกิจกรรมมาแบ่งปัน เผื่ออาจารย์ท่านอื่น ๆ จะนำไปใช้หรือให้คำแนะนำ  และเพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นว่าเราจัดกิจกรรมแบบ "ยืน เดิน นั่ง นอน" จริง ๆ

อริยาบทยืน

ขอยกตัวอย่างกิจกรรมนำเข้าสู่ความสงบ นำเข้ามาสู่การรู้สึกตนเอง ผ่านการเรียนรู้ฐานกาย จุดมุ่งหมายคือให้เข้าใจ (เบื้องต้น) ด้วยประสบการณ์ตรงของตนเอง ในประเด็นดังนี้

  • การคิด กับ การรู้สึก ไม่เหมือนกัน แยกจากกัน เกิดขึ้นไม่พร้อมกัน 
  • ความทุกข์คือทนอยู่ไม่ได้ (ทุกขัง) ทุกอย่างเปลี่ยนแปลง (อนิจจัง) และห้ามไม่ได้จริง (อนัตตา) ...  แค่ยกมือประสานเหยีดแขนตรงไว้ท่วมหัว ค้างไว้จนกว่าจะทนไม่ได้ นิสิตจะเข้าใจได้ไม่ยาก
  • รวบจิตใจ รวมจิตใจ ให้มีสมาธิมาอยู่กับตัว (กับกาย) โดยใช้ท่าทางประกอบกับการหายใจ โดยออกแบบท่าโดยยึดลักษณะของทรวงอกหดขยาย  เช่น กางแขนแล้วค่อย ๆ ยกขึ้น พร้อมสูดลมหายใจเข้า ค่อย ๆ วางมือลงพร้อมปล่อยลมหายใจออก สังเกตความรู้สึก ... เป็นต้น 
อีกกิจกรรมที่ผมทำบ่อย ๆ ได้ผลทุกครั้ง คือ กิจกรรมส่งสารสัมผัส เคยเขียนอธิบายไว้ที่นี่ สนใจเชิญนำไปลองทำดูครับ 




อริยาบทเดิน

ขอยกตัวอย่าง ๒ กิจกรรม ที่ทำแล้วรู้สึกได้ผลดีเสมอ คือ "มดไต่ขอบกระด้ง"  "ความไว้ใจ" และ "อะไรคือเป้าหมายของชีวิต ดังจะอธิบายพอสังเกตได้ดังนี้

"มดไต่ขอบกระด้ง"

กิจกรรม "มดไต่ขอบกระด้ง"  เริ่มด้วยการให้นิสิตเดินไปตามใจอิสระ ด้วยความเร็วเท่าใดก็ได้ กำชับให้ทุกคนต้องเดิน ไม่ได้อยู่กับที่ เมื่อผ่านไปสักนาทีแล้วให้หยุดเป็นระยะเพื่อทักทายทำความรู้จักกับเพื่อนที่อยู่ใกล้ในแต่ละครั้งที่หยุด ผ่านการหยุดไปครั้งที่ ๓  ให้สั่งเดินไปเรื่อย ๆ โดยไม่หยุด และสุ่มนิสิตสัก ๒-๓ คน ที่น่าจะพูดสะท้อนได้ดีแอบออกมายืนสังเกตลักษณะการเดินของเพื่อน แบบไม่ให้นิสิตที่กำลังเดินรู้ตัว โดยให้เดินไปจนเห็นทิศทางการเดิน แล้วสั่งหยุดนั่งพักตามสบาย สะท้อนการเรียนรู้ด้วยการตั้งคำถามกับนิสิตที่สุ่มมาเป็นผู้สังเกต ว่า ลักษณะการเดินเป็นอย่างไร เห็นอะไร คิดอย่างไร ก่อนจะสรุปตอนท้ายกิจกรรม



นิสิตส่วนใหญ่จะเดินเป็นวงกลมหรือวงรีตามรูปลักษณะของห้อง ตั้งคำถามกับนิสิตว่า ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น อะไรเป็นตัวกำหนด เชื่อมโยงมาสู่ชีวิตที่นิสิตต้องคิดทำในแต่ละวัน แต่ละปี ทุกสิ่งอย่างที่ทำ ใครเป็นคนกำหนด เราได้กำหนดเองหรือไม่ หากเปรียบคล้ายกับมดที่กำลังไต่บนขอบกระด้งหรือไม่ ไต่ไปโดยคิดแต่เพียงว่าจะไปข้างหน้า โดยไม่เข้าใจว่าไม่มีจุดหมายใด  เวียนวนไปอย่างไรปลายทาง

สุดท้าย ให้สรุปเชื่อมโยงกับชีวิตการเรียนของนิสิต การคิด การดำเนินชีวิตในแต่ละวัน ต้องหันมาทำความรู้จักตนเอง และเป้าหมายของตนเอง ต้องไม่เป็นเหมือนมดที่กำลังไต่บนขอบกระด้ง

ความไว้ใจ 

วิธีนี้นิยมทำกันทั่วไป (ทั่วโลก) ให้จับคู่กัน คนหนึ่งปิดตาหรือหลับตา ให้อีกคนหนึ่งพาเดินไป สมมติเหมือนเป็นผู้ดูแลคนตาบอด พาเดินออกนอกห้องไป เวียนวนไปกลับมาที่เดิม  แล้วสลับคนหลับตา  สุดท้ายมารวมกันสะท้อนการเรียนรู้ในชั้นเรียน



สิ่งสำคัญคือ ความรู้สึก แลกเปลี่ยนถึงสภาวะของจิตใจ  เช่น ความกลัว ความชอบ ความกล้า ฯลฯ  ก่อนจะถกกันสุดท้ายว่า "ความไว้ใจ" คืออะไร สำคัญอย่างไร และจะนำไปปรับใช้อย่างไรในชีวิต

อะไรคือเป้าหมายของชีวิต

กิจกรรมเริ่มโดยให้เดินไปรอบ ๆ แบบอิสระไม่มีข้อกำหนดใด ๆ ทั้งทิศทางและความเร็ว แล้วสั่งให้หยุดและเติมเงื่อนไขคงไปทีละข้อดังนี้

  • เดินอิสระ.... หยุด ทำความรู้จักเพื่อนที่อยู่ใกล้สุด 
  • เดินต่อ... หยุด ... จดจำที่ที่อยู่ไว้ ได้ยินคำว่าหยุดครั้งต่อไป ให้กลับมายืนที่เดิม 
  • เดินต่อ... หยุด ... ให้จดจำตำแหน่งไว้ ออกเดินครั้งต่อไป ต้องกลับมาหายใจที่นั่น ขณะเดินต้องกั้นลมหายใจ เมื่อลมหายใจจะหมดต้องกลับมาหายใจที่ตำแหน่งนั้น เรียกว่า "บ้าน" 
  • สุ่มเลือกนิสิตมา ๔ คน คนหนึ่งสมมติแต่ละคนเป็นสิ่งที่คนสมัยนี้ต้องการ ได้แก่ 
    • คนที่ ๑ เงินทอง ทรัพย์สิน บ้าน ที่ดิน 
    • คนที่ ๒ ชื่อเสียงเกียรติยศ 
    • คนที่ ๓ อำนาจ บริวาร ลูกน้อง 
    • คนที่ ๔ ความสุข 
  • เดินออกจาก "บ้าน" ไป ต้องไม่หายใจ อยากได้อะไรให้เดินไปแตะตัวเพื่อนเป็นสัญลักษณ์ของสิ่งเหล่านั้น ซึ่งกำลังเดินไปทั่วห้องเช่นกัน 
เปิดโอกาสให้นิสิต ๒-๓ คน ได้สะท้อนการเรียนรู้หรือความต้องการของตนเอง อภิปรายว่าทำไมต้องการสิ่งนั้น ๆ ก่อนจะร่วมกันสรุป  ผลสรุปสุดท้าย แท้จริงแล้วเราทุกคนก็เพียงแต่หวังเป็นสุข ความสุข เท่านั้นเอง 

อริยาบทนั่ง


ทุกกิจกรรมหลังเสร็จจากการยืน/เดิน/นอนแล้ว เราจะนั่งจับกลุ่มล้อมวงกันทำ "สุนทรียสนทนา" (Dialouge) กัน ดังนั้น กิจกรรมนั่งจึงทำเกือบจะตลอดภาคเรียน  เป็นการฝึกฟังอย่างจริงจัง  ด้วยกลวิธีการเติมเพิ่มเงื่อนไขที่ละอย่าง ๆ เข้าไปในกลุ่ม เพื่อฝึก

  • ให้คุยกันตามสบายคนละ ๒ นาที  ... จับเวลารวมประมาณ ๘ นาที แล้วตีระฆัง หรือเมื่อเงียบเสียงคุย 
  •  ก่อนจะคุยของวันนั้น ให้กล่าวคำว่า "เช็คอิน" (Check-in) ก่อนเสมอ 
  • กำหนดวัตถุศักดิ์สิทธิ์ เช่น ปากกาศักดิ์สิทธิ์ ก้อนหินศักดิ์สิทธิ์ ฯลฯ  ให้แต่ละคนตั้งกติกาด้วยศรัทธาว่า จะคุยอย่างจริงจัง จริงใจ ชื่นชม ไม่ตัดสิน ฟังอย่างรู้ตัว และจะไม่พูดสิ่งใด ๆ เว้นแต่จะเป็นใครที่ถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นอยู่ 
  • ก่อนจะเอื้อมมือไปจับวัตถุศักดิ์สิทธิ์ หลังจากตัดสินใจ ให้ประวิงเวลาไว้ ๓๐ วินาที 
  • ฯลฯ 

หัวเรื่องเบื้องต้นที่จะให้คุยคือ  ได้เรียนรู้อะไรจากกิจกรรมที่เพิ่งผ่านไป  เห็นอะไร คิดอะไร เกิดอะไรขึ้นกับใจฉันหรือเปล่า 

นอกจากนี้แล้วจะมีกิจกรรมนั่งสมาธิทำความสงบ และเจริญสติก่อนเรียนทุก ๆ ครั้ง ดังรูป




อริยาบทนอน

กิจกรรมเดียวที่ใช้ในอริยาบทนอนคือกิจกรรม "ผ่อนพักตระหนักรู้" เคยเขียนอธิบายไว้ที่นี่  ถือเป็นวิธีที่ดีและง่ายสำหรับทุกคนที่จะทำให้สมองผ่อนคลาย ร่างกายสบาย ลดความถี่ของสมองให้ต่ำลง เข้าสู่โหมดอัลฟา ซึ่งจะทำให้เรียนรู้ได้ดีกว่า จดจำได้แม่นยำกว่า


เหล่านี้เป็นตัวอย่างของห้องเรียนทีเปลี่ยนไปแล้วอย่างสิ้นเชิงกับการบรรยายทั่วไป ผู้อ่านท่านใดหรืออาจารย์ผู้สอนที่สนใจ เชิญมาร่วมพัฒนาตนเองและพัฒนานิสิตด้วยการพัฒนาจิตตนเองครับ

วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2562

มหาวิทยาลัยนานาชาติเทเลอร์ Taylor's university (๓) AAR

วันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ บนรถบัส ระหว่างเดินทางกลับ ผมขอเวลาใช้ไมค์จากไกด์ เพื่อทำกิจกรรมสะท้อนการเรียนรู้ AAR (After Action Review)  โดยตั้งคำถามกับทุกท่านที่มาศึกษาดูงานในวันนี้ว่า  "ท่านเห็นอะไร ประทับใจอะไร ตรงไหนที่ GE (สำนักศึกษาทั่วไป) ควรจะนำไปทำต่อ"  ต่อไปนี้คือมุมมองและข้อคิดของทุกท่าน
  • สำคัญที่วิธีคิดและความคิดรวบยอดของเขา 
    • การจัดการศึกษาต้องตอบปัญหา สร้างคนสำหรับยุค VUCA Volatility (ผันผวน) Uncertainty (ไม่แน่นอน) Complexity (สลับซับซ้อน) และ Ambiguity (คลุมเครือ)
    • การจัดการเรียนรู้แบบ "สอนน้อย เรียนมาก" หรือ  Teach Less Learn More (TLLM)
    • การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด "นั่งร้าน" หรือ  Scaffolding 
  • ความคิดรวบยอดต้องแม่นยำ ชัดเจนก่อน แล้วค่อยใช้กระบวนการต่าง ๆ ใช้สิ่งที่เรามีอยู่แล้ว เราต้องทำให้เป็นชิ้นเป็นอันขึ้นมาก 
  • ระบบการทำงานของเรากับของเขาแตกต่างกัน 
    • ที่มหาวิทยาลัยเทเลอร์ มหาวิทยาลัยเป็นผู้ลงทุน แม้ว่าจะมีรายได้มาจากแหล่งเดียวกัน (จากค่าลงทะเบียนของนิสิต) แต่สิ่งที่สำคัญคือความชัดเจนของเอกชนและความเป็นธุรกิจ คือทำแล้วต้องมีกำไร 
  • GE เราไม่จำเป็นต้องเรียนเต็ม ๑๕ ครั้งได้ไหม ส่วนหนึ่งมาเรียนผ่าน MOOC ได้ไหม  แต่ด้วยบริบทของอาจารย์เราจะทำได้หรือไม่ ขั้นตอนสำคัญจึงเป็นการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของอาจารย์ผู้สอน จะทำอย่างไร?  
  • ระบบ Support ที่จะทำได้จริงต้องร่วมกัน คณะต่าง ๆ ต้องมาร่วมกัน โดยมหาวิทยาลัยเป็นผู้ให้การสนับสนุน 
  • สิ่งที่มหาวิทยาลัยทำ กลไกสำคัญคือนโยบายลงมาจากเบื้องบน ผู้บริหารมหาวิทยาลัยต้องสร้างเงื่อนไขที่เอื้อให้อาจารย์มาสนใจทำ MOOC 
  • MOOC เป็นเพียงวิธีการหรือเครื่องมือหนึ่งเท่านั้นในการสร้างกระบวนการเรียนรู้  คงต้องมีระบบอื่น ๆ ต่าง ๆ ด้วย 
  • ปัญหาที่สำคัญอีกเรื่องคือ ความกระตือรือร้นของผู้เรียน  ระบบของเขาไม่จำเป็นต้องสอนทุกสัปดาห์ เวลาส่วนหนึ่งผู้เรียนจะมาเรียนรู้และค้นคว้ากันเอง ซึ่งผู้เรียนต้องแอกทีฟ (active) มาก 
  • สิ่งที่เป็นไปไม่ได้คือ ให้อาจารย์ทุกคนมาสนใจและทำ MOOC แบบนี้ได้  จึงเริ่มจากการค้นหาเดอร์สตาร์ (the STAR) วิธีการคือ ให้คณบดีเป็นผู้คัดเลือกให้ 
  • ที่ชอบมากที่สุดคือ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติมากที่สุด รายวิชาสำนักศึกษาทั่วไปหลายรายวิชาไม่ควรจะไปเน้นเรื่องการบรรยายแล้ว ควรจะเน้นการฝึกปฏิบัติมากขึ้น 
  • จุดสำคัญอีกจุดคือ การพัฒนาอาจารย์  ต้องเตรียมอาจารย์ ทรานส์ฟอร์มอาจารย์ก่อน  ในปีแรกเขาได้ MOOC น้อยมาก ได้ไม่กี่คน เขาจึงใช้วิธีการให้อาจารย์หลาย ๆ คน มาทำร่วมกัน ทำคนละบท ทีมงานของเขาจะไม่ใช่เจ้าของเนื้อหา ส่วนสำคัญคือต้องเปลี่ยนมุมมองของอาจารย์ วอร์มอัพอาจารย์ 
  • สำนักคอมพิวเตอร์ได้รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เรื่อง MOOC รวมทั้งที่มหาวิทยาลัยเทเลอร์ด้วย พบว่าแต่ละที่ก็จะใช้ MOOC ในเกมไหน ใช้เพื่ออะไร ที่นี่เขาอาจจะเน้นไปที่การประชาสัมพันธ์ เขาจะเน้นไปที่ e-Learning และการเรียนการสอนมากกว่า 
  • การคัดเลือกสตาร์ก็ต้องดูวัตถุประสงค์ของเราด้วย ว่าเราจะไปทางไหน  ดังนั้นการคัดเลือกอาจารย์ก็ต้องเลือกตามวัตถุประสงค์ด้วย  เช่น  ถ้าจะเน้นไปที่การเรียนการสอนภายใน หรือหเพื่อดึงดูดลูกค้าภายนอก ฯลฯ 
  • ที่จริง มหาวิทยาลัยเทเลอร์เขาก็ไม่ได้สนใจ MOOC เท่าใดนัก แต่เน้นไปที่การเรียนการสอนเป็นสำคัญ  มหาวิทยาลัยเราก็คงเหมือนกัน คือควรจะเน้นไปที่การเรียนการสอนก่อน 
  • ตอนแรกเราตั้งใจจะไปดูเรื่อง MOOC แต่พอมาฟังประสบการณ์จากเขาแล้ว  จะพบว่า สิ่งที่เป็นประโยชน์มากที่สุด ไม่ใช่ MOOC แต่เป็น Blended Learning ที่ใช้ e-Learning เข้าช่วย ประกอบกับห้องเรียนแบบ X-Space, Mobile X-space 
  • ความสำเร็จที่สำคัญที่สุดคือการที่เด็กได้รับการจ้างงานสูงที่สุด โดยเน้นไปที่การสร้างทักษะและสมรรถนะที่ตลาดแรงงานต้องการ ไม่ใช่การร่วมมือกับบริษัท  
  • จุดเด่นของ เด็ก มมส. คือ จริยะทักษะดีมาก ขยัน อดทน อดกลั้น นอบน้อม ถ่อมตน เรียนรู้สิ่งใหม่ดีมาก แต่ภาษาอาจจะยังดีนัก 
  • นิสิตของเรากับนักศึกษาของเขาค่อนข้างแตกต่างกันมาก โดยเฉพาะในเรื่องความกล้าแสดงออก ดังนั้น  สิ่งที่เราควรจะนำมาทำคือการสร้างบรรยายการให้น่าเรียน ทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียน ริมทางเดิน ฯลฯ 
  • ความร่วมมือกันระหว่างสำนักศึกษาทั่วไปกับคณะต่าง ๆ เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะจริง ๆ แล้ว สำนักฯ ต้องทำงานในเชิงประสานงานเพราะไม่มีอาจารย์เป็นของตนเองเลย ดังนั้นความมือระหว่างกันจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนสิ่งต่าง ๆ ดังนั้นนโบายจากมหาวิทยาลัยควรจะชัดเจนมาก ๆ 
ขณะนี้สมาร์ทคลาสรูม (Smart Classroom) ของเรากำลังจะทำเสร็จแล้ว และทิศทางการทำงานก็คงต้องเริ่มจากง่ายไปยาก เริ่มจากสิ่งที่เรามีอยู่นี่แหละก่อน 


(ภาพนี้ไม่เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยเทเลอร์แต่อย่างใดครับ เอามาไว้ให้ท่านตีความตามที่เห็น)

วันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2562

มหาวิทยาลัยนานาชาติเทเลอร์ Taylor's university (๒) สอนน้อยเรียนมาก Teah Less Learn More (TLLM)

ไปดูงานระบบ MOOC ของมหาวิทยาลัยเทเลอร์ (Talor's University) แต่สิ่งที่ประทับใจและขอถอดบทเรียนจากการสดับดูมากที่สุดคือ การจัดการเรียนรู้แบบสอนน้อยเรียนมาก หรือ Teach Less Learn More (TLLM) อย่างเป็นรูปธรรม "เขาทำกันอย่างไร"  ต่อไปนี้คือตัวอย่างที่เขาทำให้เห็นครับ

๑) รูปแบบชั้นเรียนแบบ X-Spaces

มหาวิทยาลัยจัดให้มีฝ่ายดูแลบริหารจัดการพื้นที่เรียนรู้ที่เรียกว่า X-Spaces สำหรับการจัดการเรียนรู้ที่ครูทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการ นักศึกษาเรียนเป็นกลุ่ม ทำงานเป็นทีม สื่อสารงานผ่านกลุ่มกันและต่อชั้นเรียนด้วยไอซีที  ... ลองดูภาพห้องเรียน


  • ผมฟังว่า มีห้องเรียนทั้งหมดในมหาวิทยาลัย ๘๕ ห้องเรียน เป็นห้องเรียนลักษณะแบบภาพด้านบนนี้จำนวนถึง ๖๕ ห้องเรียน (๗๖ เปอร์เซ็นต์) ที่เดียว  ห้องเรียนที่ผู้เรียนสามารถ 
    • คุยและอภิปรายกันเป็นกลุ่มได้ง่าย 
    • เชื่อต่อโน๊ตบุคหรือแลปท๊อปหรือมือถือของตนจากโต๊ะขึ้นบนจอได้ 
    • สามารถเขียนอภิปรายนำเสนอต่อกลุ่มเล็กด้วยการเขียนปากกากลาสบอร์ดได้  (พื้นโต้ทำด้วยกระจกที่สามารถเขียนได้ลบได้)
    • มีกระดาษรอบห้อง และมีจอรองรับการนำเสนอหน้าชั้นเรียน 
    • เก้าอี้เคลื่อนที่ได้ 
    • ฯลฯ

  • นอกจากการจัดห้องเรียน และสิ่งเอื้อต่อการเรียนรู้อย่างดีแล้ว คีย์สำคัญคือบุคลากรที่ทำหน้าที่อำนวยการเรียนรู้ (Facilitate)  
    • จำนวนการสังเกตชั้นเรียน ๙๙ ชั้นเรียนจาก ๑๓๑ ชั้นเรียน 
    • มีจำนวนผู้สังเกตการ ๔๓ คน 
    • มีผู้ดูแลหรือครูฝึกในชั้นเรียนแบบ X-Space จำนวน 16 คน 
๒) การเรียนแบบ Multi-Learning Mode (Mobile X-Space)



  • มีห้องเรียนแบบมัลติเลินนิ่ง (Multi Learning) เรียกว่า Mobile X-Space  ที่นักศึกษาเรียนได้ในหลากหลายโหมด (ลองดูคลิปนี้)
    • โหมดบรรยาย (Leacture Mode) นักศึกษาจะเลื่อนเคลื่อนมานั่งเรียงกันเป็นแถวหน้าดาน
    • โหมดอภิปราย (Discussion Mode) นั่งล้อมวงเป็นกลุ่มหันหน้าเข้าหากัน 
    • โหมดโต้เถึยง (Debate Mode) แบ่งเป็นสองทีมหันหน้าเข้าหากัน 
    • โหมดประชุม (Meeting Mode) นั่งล้อมเป็นวงกลม 
    • โหมดกิจกรรม เก็บเก้าอี้ เปิดพื้นที่ว่างกลางห้องทำกิจกรรม 
    • ฯลฯ 
๓) ระบบบันทึกการบรรยายไว้ให้ดูย้อนหลัง



  • ห้องบรรยายขนาด (น่าจะ) ๑๕๐ ที่นั่งแบบโรงหนังไอแม็คที่ไม่ต้องมีใครบังใคร ใครหลบหลังใคร  ซึ่งก็มีกันทั่วไป  แต่ที่น่าสนใจที่สุดคือ ห้องเรียนนี้มีระบบบันทึกการบรรยายแล้วออนไลน์ให้นักศึกษาเข้าถึงละดูย้อนหลังได้ทุกการบรรยายตลอด ๑ ปีการศึกษา 
    • มีกล้องติดตามการเคลื่อนไหวของผู้บรรยาย 
    • มีฟังก์ชันเลือกได้ว่าจะดูสไลด์บรรยายหรือดูผู้บรรยาย หรือดูฟังทั้งสองแบบแยกหรือแทรกจอ 
    • นักศึกษาเข้าถึงได้จากทุกที่ทุกเวลา
๔) สถานประกอบการจริง


  • หลักสูตรเกี่ยวกับการโรงแรมและการบริการ มีร้านอาหารให้นักศึกษาเรียนรู้และทดลองทำงานจริง ๆ แบบในภาพนี้ ๔ แห่ง  
  • สิ่งที่ทางมหาวิทยาลัยชูเป็นจุดขายที่สำคัญที่สุดคือ การมีงานทำของนักศึกษาที่มาเรียน  (ติดท๊อป ๑ เปอร์เซ็นต์ของมหาวิทยาลัยในโลก)  วิธีการคือช้การเรียนรู้ผ่านการทำงาน (Work-based Learning (WBL)) หรือ เรียนรู้บูรณาการกับการทำงาน (Work Integrated Learning (WIL))
  • นักศึกษาที่จบจะสามารถทำงานหรือรู้จักงานทุกอย่างที่เกี่ยวข้องในร้านนั้น ๆ  เช่น เป็นผู้บริหารร้าน เป็นเชฟ เป็นพนักงานต้อนรับ เป็นบาร์เท็นเดอร์ เป็นพนักงานเสริฟ เป็นผู้จัดการ ฯลฯ 
  • ทางมหาวิทยาลัยใช้ร้านนี้เลี้ยงรับรองแขกที่มาเยี่ยม  ระหว่างที่นักศึกษาทำงานบริการอาหารให้เรา จะมีอาจารย์ผู้สอนคอยสังเกตและแนะนำ  และทำการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ไปพร้อม ๆ ด้วยเลย .... 
๕) e-Learning (Module) 

e-learning (eLA) ที่พัฒนาที่นี่ใช้โปรแกรมมูเดิลเป็นหลัก ซึ่งในวงการก็คงจะรู้กันดีถึงข้อดีของมูเดิลในเรื่องการปฏิสัมพันธ์ออนไลน์กับผู้เรียน  ที่เด่น ๆ เห็นเป็นไอเดีย ได้แก่



    • ระบบติดตามความก้าวหน้าในการเรียนรู้ด้วยระบบ TIMes ที่แสดงเป็นบาร์เปอร์เซ็นต์เห็นชัดว่าใกล้ไปถึงฝั่ง


    • การจัดรายวิชาเป็นแพคเก็ต (Package)  ให้เลือกได้ง่าย  แทนที่จะมีเฉพาะลงทะเบียนเป็นรายวิชาตามที่ตนต้องการ แต่นำมาจัดเป็นแพคเก็ต



    • มี "หมุดสำเร็จ" (ผมเรียกเองครับ) แบบดิจิตอล เป็นเหมือนตราโลโก้หรือเป็นเหมือนเหรียณตรา ซึ่งจะได้มาเมื่อผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่ได้ออกแบบไว้ใน eLA



    • มี "ตราทักษะ" ให้เก็บเพื่อสะสมทักษะต่าง ๆ ที่นักศึกษาต้องการจะฝึก เหมือนการไล่เก็บไอเท็ม (Item) ในเกมส์.... น่าสนใจมาก 
    ๖) MOOC

    Taylor's University เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในมาเลเซียที่เปิดตัวการนำระบบ MOOC (Massive Open Online Courses) มาใช้  วิชาแรกที่นำมาใช้คือวิชา ผู้ประกอบการ ท่านใดสนใจสามารถเข้าไปลงทะเบียนเรียนได้ฟรีที่ระบบ Openlearning.com ของมหาวิทยาลัยที่นี่  ... ผมเองทดลองลงทะเบียนและเรียนดูแล้วบางส่วนครับ และจะทดลองทำสัก ๒ วิชาในภาคเรียนนี้

    เขาทำระบบบันทึกการบันทึกการบรรยาย แบบง่าย ๆ เพียงแต่อบรมให้อาจารย์ผู้สอนใช้งานโปรแกรม OBL (โปรแกรมบันทึหน้าจอและตัดต่อ) เป็น และเปิดให้อาจารย์มาใช้งานได้อย่างอิสระ และนำคลิปการสอนของอาจารย์ไปวางใน MOOC ได้สบาย





    ๖ ประการที่กล่าวมานี้ ทำให้การเรียนการสอนที่นี่เป็นแบบ TLLM และนักศึกษามีงานทำ หากเราจะนำมาทำกันบ้าง ต้องเน้นไปที่การสร้างงานให้นิสิตเริ่มทำ และเรียนจากการทำงานนั้น การจัดการเรียนการสอนแบบ WIL และ WBL  คือสิ่งที่เราต้องทำด่วน

    อันทีจริงเราก็ทำและนำขับเคลื่อนมาอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว ผ่านโครงการ "ธุรกิจพอเพียง" ของรายวิชาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  และเมื่อเปรียบเทียบผลงานของนักศึกษา ที่นำมาวางขายกันตามทางเดิมดังรูป ก็ไม่ได้หนีไกลกันแต่อย่างใด ...


    บันทึกต่อไป  ไปดูคำแนะนำและการสะท้อนจากผู้บริหารที่มาร่วมดูงานครับ