วันพฤหัสบดีที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2560

รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๓๐๐๕ การประยุกต์คณิตศาสตร์และสถิติในชีวิตประจำวัน _ ๐๑ แนวทางการปรับปรุงเอกสารประกอบการสอน

วันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๐ สำนักศึกษาทั่วไปร่วมกับอาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชา ๐๐๓๓๐๐๕ การประยุกต์คณิตศาสตร์และสถิติในชีวิตประจำวัน จัดอบอรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM) อาจารย์ผู้สอนรายวิชา เพื่อรับฟังแนวทางจากผู้ทรงคุณวุฒิหลัก คือ ศาสตราจารย์ปรีชา ประเทพา และ KM ให้ได้แนวทางการพัฒนาเอกสารประกอบการสอน  กลุ่มเป้าหมายคืออาจารย์ผู้สอน ๑๖ ท่านที่ผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการประจำสำนักฯ แล้ว มีอาจารย์ผู้สอนมาร่วม ๗ ท่าน ... หากเป็นการประชุม ยังถือว่าไม่ครบองค์ประชุม ตอนท้ายของการอบรม จึงได้นัดหมายวันเวลาประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้อีกครั้งในวันที่ (๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๒.๐๐ น.) เพื่อนำเอาผลการ KM วันนี้ไปทำความเข้าใจร่วมกัน

ผมทำหน้าที่เป็น "คุณอำนวย" เช่นเดิม และเขียนบันทึกนี้เพื่อ สื่อสารบทเรียนหรือข้อสรุปสำคัญ ๆ นำมาให้อาจารย์ผู้ประสานงานและอาจารย์ผู้สอนนำไปใช้พัฒนาเอกสารประกอบการสอนต่อไป ... ผมขอสรุปทั้งหมดด้วยภาพดัานล่าง และอธิบายสาระเพิ่มเติมเพียงสังเขป 

แนวทางการเขียนเอกสารประกอบการสอน


ศาสตราจารย์ปรีชา ท่านเน้นดังนี้ครับ 
  • เป้าหมายของรายวิชานี้ (Learning Outcome) ไม่ใช่ความจำ แต่เป็นทักษะและเจตคิ ที่จะนำเอาคณิตศาสตร์และสถิติไปประยุกต์ใช้  ผู้เรียนต้อง "ได้คิด" เรียนแล้ว ความคิดติดในสมอง เกิดแรงบันดาลใจ สงสัยอยากรู้เรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป สามารถอ่านกราฟ อ่านข้อมูลทางสถิติที่พบบ่อยได้ เช่น ผลสำรวจโพล (Polls) เป็นต้น 
  • บทที่ ๑ ต้องเขียนให้เห็นอย่างน้อย ๓ ประการ ได้แก่ ธรรมชาติของคณิตศาสตร์และสถิติ ความสำคัญและความจำเป็นของคณิตศาสตร์และสถิติ และ เห็นภาพรวมของทุกบท ภาพรวมที่นำเอาคณิตศาสตร์และสถิติไปใช้เป็นเครื่องมือ 
  • บทที่ ๒ เป็นต้นไป  ควรเป็นตัวอย่างการนำเอาคณิตศาสตร์และสถิติไปใช้ เช่น เรื่อง Polls  เรื่องเงินฝากและสินเชื่อดีแล้ว เพียงให้เขียนให้ อ่านง่าย เชื่อมโยงมากขึ้น 
  • หลักในการเขียน คือ "อ่านง่าย ทันสมัย ได้คิด" 
  • แต่ละบทควรมีแบบฝึกหัด หรือ ใบงาน ให้นิสิตได้ ฝึกคิด ฝึกนำไปใช้  (ท่านยกตัวอย่างเรื่องเอกสารเกี่ยวกับคอเลสเตอรอล...บันทึกถัดไปจะมานำเสนอครับ)
  • ข้อแนะนำสำหรับวิธีเขียน  คือ ๑)  การกำหนดและเลือก "คำสำคัญ" หรือสาระสำคัญต่าง ๆ ก่อน แล้วนำมาเขียนร้อยเรียง เชื่อมโยงกัน ให้เห็น "Chain of keywords" เห็นทั้งทฤษฎีและการนำไปใช้ในแต่ละสาขา  ๒) เขียนให้อ่านผู้อ่านอ่านแล้วเกิดท้าทาย (Challenges) เห็นความมหัศจรรย์ของจำนวน เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินไปกับคณิตศาสตร์และสถิติ  ๓) เรียนแล้วได้เครื่องมือ (Tools) ไม่จำกัดความรู้ ส่งเสริมให้ใช้ความรู้ในตนและใฝ่หาความรู้อื่นเพิ่ม
ข้อสรุปการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อาจารย์ผุ้สอน (เพิ่มเติม)

ผมจับข้อสรุปประเด็นสำคัญ ๆ ได้ดังนี้ครับ 
  • บทที่ ๑ ผู้เขียนคือ อ.ลิ (ผศ.ดร.มะลิวัลย์ ถุนาพรรณ์) และ ผศ.ดร.มนตรี ทองมูล ในเบื่้องต้น
  • บทที่ ๒ เขียนเกี่ยวกับ สมการและระบบสมการ พื้นที่ ปริมาตร  มอบให้ ผศ.ดร.ประภาส ผิวอ่อน ในเบื้องต้น 
  • บทที่ ๓ เขียนเรื่อง อัตราส่วนร้อยละ ผู้รับผิดชอบเบื้องต้นคือ อ.เอก (ผศ.ดร.วสัน ดวงคำจันทร์) 
  • บทที่ ๔ เขียนเรื่อง เงินฝากและสินเชื่อ ผู้รับผิดชอบเบื้องต้นคือ อ.ปาล์ม และ อ.จิ๊บ (ขออภัยที่ใช้ชื่อเล่นก่อนครับ)
  • บทที่ ๕ เขียนเรื่อง การประกันภัย  ผู้รับผิดชอบเบื้องต้นคือ อ.ปุ๊ก (รศ.ดร.นิภาพร ชุติมันต์) 
  • บทที่ ๖ เขียนเกี่ยวกับ การสำรวจ Polls  และการนำสถิติไปประยุกต์ใช้  ผู้รับผิดชอบเบื้องต้นคือ อ.จิต (ผศ.ดร.สุจิตตา สุระภี)
ความเห็นส่วนตัว ผมอยากให้มีเรื่อง "หุ้น" และเรื่อง "หวย"  ฝากท่านพิจารณาครับ  หากนำวิทยาศาสตร์มาจับสองเรื่องนี้ นิสิตจะมีภูมิคุ้มกันในชีวิตแน่นอน 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น