หลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารจัดการโครงการ
- ผู้นำที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลง ระดับที่เป็นประวัติศาสตร์ได้ ต้องมีความสามารถในการบริหารจัดการโครงการ (Project Management)
- การบริหารจัดการโครงการ หมายถึง กระบวนการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ ทักษะ ทรัพยากร เครื่องมือ เทคนิค และการบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ ทั้งบุคคล ทุน วัสดุอุปกรณ์ เพื่อทำให้โครงการบรรลุเป้าหมายภายในเวลาที่กำหนด
- การดำเนินการบริหารจัดการโครงการ มีอย่างน้อย ๓ ขั้นตอนได้แก่
- การวิเคราะห์ความเสี่ยง
- การวางแผน
- การกำกับติดตาม
- องค์ประกอบสำคัญของการบริหารจัดการโครงการได้แก่
- บริหารความเสี่ยง
- บริหารแผน วางแผน
- การควบคุมให้เป็นไปตามแผน
- การบริหารความร่วมมือ
- การสื่อสาร
- บริหารทุนหรืองบประมาณ
- ๑๐ สิ่งที่คุณต้องรู้เพื่อการบริหารโครงการ
- การบูรณาการโครงการ
- การกำหนดขอบเขตโครงการ
- การบริหารจัดการเวลา
- การบริหารจัดการทุนหรืองบประมาณ
- การบริหารจัดการคุณภาพ
- การบริหารจัดการคน
- การบริการจัดการการสื่อสาร
- การบริหารจัดการความเสี่ยง
- การบริการจัดการการจัดซื้อ
- การบริหารผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- กระบวนการ ๕ ขั้นตอนของการบริหารจัดการโครงการ ได้แก่
- ขั้นศึกษาและวิเคราะห์ปัญหา
- ขั้นเริ่ม เป็นการวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- ขั้นวางแผน
- ขั้นการควบคุมและกำกับติดตาม
- ขั้นการปิดโครงการ
- แต่ละขั้นตอน มีรายละเอียด ดังนี้
- ขั้นที่ ๑ ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหา
- เป็นปัญหาของใคร
- ลักษณะของปัญหาเป็นอย่างไร
- รุนแรงเพียงใด
- มีผลกระทบอย่างไรบ้าง
- มีความสำคัญ จำเป็น เร่งด่วน หรือไม่
- ขั้นที่ ช่วงเริ่มต้น
- กำหนดขอบเขตของโครงการ
- กำหนดขนาดของโครงการ
- กำหนดกิจกรมหรืองานที่จะต้องทำในแต่ละขั้นตอน
- ขั้นที่ ๓ วางแผน
- ผู้บริหารโครงการกำหนดกิจกรรมในแต่ละขั้นตอน
- ประมาณการการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ เช่น เวลา ต้นทุน แรงงาน ฯลฯ
- ผู้บริหารโครงการจัดตารางประเมินความเสี่ยงและกิจกรรมอื่น ๆ
- ขั้นที่ ๔ การดำเนินการ
- ทีมงานดำเนินการตามกิจกรรมที่กำหนดตามตารางหรือไม่
- กำกับติดตามการทำงาน ดูแล สั่งการ และควบคุมการงานตามแผนงานที่กำหนด
- ติดตามการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดของแผนงานให้เหมาะสมต่อสถานการณ์ปัจจุบันที่สุด
- รายงานความคืบหน้าให้ผู้มีอำนาจได้รับทราบ่ตามระยะเวลาที่กำหนด
- ขั้นที่ ๕ การปิดโครงการ
- เป็นการดำเนินงานเมื่อเสร็จสิ้นโครงการแล้ว เพื่อรับผิดชอบต่อสัญญาหรือการดำเนินงานโครงการ
- หรือพิจารณาแก้ไขปัญหา ผลกระทบจากการดำเนินโครงการ
- หลักสำคัญในการทำโครงการและบริหารจัดการโครงการ ที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปคือหลัก SMART คือทำให้โครงการให้เป็น "SMART Project" ได้แก่
- Specific คือ การระบุเป้าหมายที่ชัดเจน ชัดเจนว่าต้องการอะไร เพื่ออะไร
- Measurable คือ วัดผลได้ ประเมินผลได้ว่า เป้าหมายนั้นสำเร็จหรือไม่
- Attainable คือ สำเร็จได้จริง ปฏิบัติได้จริง ไม่เพ้อฝัน
- Relavant คือ สิ่งที่ทำนั้นมีความสัมพันธ์กับเป้าหมายใหญ่ขององค์กรหรือของสังคม สอดคล้องกัน
- Time limited คือ มีการกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของโครงการที่ชัดเจน
นิสิตสามารถอ่านรายละเอียดการเขียนโครงการ การประเมินผลการดำเนินโครงการ ได้ที่นี่ครับ
บันทึกต่อไปจะนำเอาไอเดียของแต่ละกลุ่มมาเก็บไว้ให้เราสามารถพัฒนาไปเรื่อย ๆ ครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น