วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ๑-๒๕๖๑ (๕) สำรวจปัญหา

ครั้งที่ ๕-๖ ของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชา ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ เป็นการลงพื้นที่ทดลองสำรวจปัญหาภายในมหาวิทยาลัย โดยกำหนดเงื่อนไขของกิจกรรม ดังนี้
  • ให้นิสิตจับกลุ่มกันเอง กลุ่มละ ๘-๑๐ คน (ไม่เกิน ๑๐ คน)
  • ให้นิสิตร่วมกันลงพื้นที่ภายในมหาวิทยาลัย (หรือรอบมหาวิทยาลัย .. ไม่ให้ไปไกล) สำรวจปัญหาเกี่ยวกับขยะ และเก็บข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับขยะ 
  • ให้ประชุมกลุ่มกันเพื่อกำหนดวิธีการสื่อสารระหว่างกลุ่ม ... แนะนำให้สร้างกลุ่มไลน์ของกลุ่มต่างหาก 
  • ตั้งชื่อกลุ่มโดยใช้ชื่อสัตว์ที่มีพฤติกรรมเป็นผู้นำ (เช่น ห่านฟ้า) แล้วสร้างอัลบั้มภาพโดยใช้ชื่อกลุ่ม ลงในกลุ่มไลน์ของรายวิชา 
  • โพสท์ภาพอย่างน้อย ๓ ภาพลงในอัลบั้ม ได้แก่ 
    • ภาพรวม ... ภาพที่แสดงหน้าตาของสมาชิกทุกคนอย่างชัดเจน 
    • ภาพแสดงรายชื่อและรหัสนิสิต 
    • ภาพผลการสำรวจตามโจทย์ที่มอบให้  
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง

ผลลัพธ์ที่คาดหวัง (Learning Outcome, LO) ในการเรียนรู้สำคัญคือ ทักษะการเรียนรู้ การสื่อสาร และทักษะการทำงานร่วมกัน (Callaboration) ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นครั้งแรกของการแบ่งกลุ่ม โดยแบ่งเป็นกลุ่มละ ๑๐ คน ด้วยเงื่อนไขกำกับว่า ทุกคนต้องมีบทบาทหน้าที่หลักของตนเองในการทำงาน

บันทึกผลการลงพื้นที่ของแต่ละกลุ่ม

ในการจัดการเรียนรู้รายวิชานี้ ได้จัดให้มีนิสิตผู้ช่วยอาจารย์ (Lecturer Assitant, LA) เพื่อช่วยตรวจสอบการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ของนิสิต ผมจึงใช้การเขียนบันทึกนี้สื่อสารกับทั้งอาจารย์ผู้สอน นิสิต และนิสิต LA ไปพร้อมๆ กับกาบันทึกการสะท้อนผลไปด้วย ...  จึงต้องขออภัยผู้อ่านและนิสิตทุกคนที่ปรากฎภาพหรือปรากฎชื่อในบันทึกนี้

หลังจากที่ได้มอบหมายให้ลงสำรวจพื้นที่ เกี่ยวกับปัญหาขยะแล้ว สัปดาห์ที่ ๖ เราได้ระดมสมองกันสร้างชิ้นงานลงบนกระดาษปลู๊ฟ ดังแสดงต่อไปนี้

๑) กลุ่มแมวน้ำ

กลุ่มแมวน้ำลงพื้นที่สำรวจบริเวณที่พักขยะหลังอาคารศิลปะกรรม มีการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง ได้ข้อมูลที่น่าสนใจมาก สรุปความรุนแรงของปัญหาและสาเหตุดังภาพ





ปัญหาที่พบ

  • ไม่มีระเบียบในการทิ้งขยะ
    • ขยะไม่ได้ขัดแยกประเภทก่อนทิ้ง
    • ไม่มีการจัดเก็บหรือมัดปากถุงขยะให้เรียบร้อยก่อนทิ้ง
  • ขยะส่งกลิ่นเหม็น
  • ขยะบางอย่างไม่สามารถนำไปใช้ต่อได้ เช่น ปูนปาสเตอร์ เศษไม้ ....  น่าจะหมายถึง สามารถเอาไปใช้อีกได้ 
  • มีขยะมาจากหลายอาคารมาทิิ้งโดยไม่แยกขยะเช่นกัน 
สาเหตุของปัญหา
  • การไม่แยกขยะ ส่วนใหญ่คือตัวของนิสิตเอง 
  • ปริมาณขยะมีมากเกินกว่าจะจัดการด้วยเครื่องจัดการขยะ...จึงทำให้เกิดขยะล้น
  • จุดนี้เป็นจุดที่มีปัญหาขยะมากที่สุดกว่าทุกจุด โดยเฉพาะขยะหนักเช่น ปูนปาสเตอร์ ฯลฯ 

การแก้ปัญหา
  • ทางมหาวิทยาลัยมีการจัดจุดทิ้งขยะไว้อย่างชัดเจน 
  • มหาวิทยาลัยมีรถเก็บขนขยะทั้งหมด ๔ คัน มีการจัดเก็บขยะทุกวัน ๆ ละ ๕-๑๐ ตัน 
  • แยกขยะ ขยะอินทรีย์นำไปทำปุ๋ย ขยะรีไซเคิลเอาไปขาย
  • ลดปริมาณขยะ โดยเฉพาะถุงพลาสติก 
๒) กลุ่มเป็ดน้อย
กลุ่มเป็ดน้อยลงพื้นที่บริเวณตลาดน้อย ที่เป็นเหมือนโรงอาหารหลักของมหาวิทยาลัย   สรุปผลการสำรวจออกมาดังภาพ 




ปัญหาที่บพ
  • ปริมาณขยะมากเกินไป จัดเก็บไม่ทัน 
  • มีสุนัขมาคุ้ยขยะ
  • ขยะส่งกลิ่นเหม็นรบกวนผู้สัญจรไปมาและผู้อาศัยในบริเวณนั้น 
สาเหตุของปัญหา
  • มีบุคคลภายนอกเอาขยะมาทิ้งด้วย 
แนวทางแก้ไข
  • ลดปริมาณขยะ ถุงพลาสติก
  • ซ่อมเครื่องจัดการขยะ
  • คัดแยกขยะตามประเภท
๓) กลุ่มหมาป่าจ่าฝูง

กลุ่มหมาป่าจ่าฝูงลงพื้นที่สำรวจบริเวณสวนสุขภาพมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ผลการสำรวจสรุปดังภาพครับ 




ปัญหาที่พบ

.... ขยะบริเวณนั้นถือว่าเยอะนะคะ.. เพราะเป็นพื้นที่สาธารณะด้วย ...ขยะบางชิ้นอยู่ในป่า คนไม่สามารถเข้าไปเก็บได้...

สาเหตุของปัญหา

... เป็นปัญหาที่เกิดจากตัวคน คือ "จิตสำนึกของคน" ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและธรรมชาติ...

วิธีแก้ปัญหา
...ต้องแก้ปัญหาที่ตัวคน คือ ตนเอง ต้องลดการใช้ขยะ เช่น กระดาษ พลาสติก และแยกขยะ...

๔) กลุ่มม้าขาว 

กลุ่มม้าขาวไปสำรวจขยะบริเวณถนนข้างตลาดน้อย




ปัญหา

  • บริเวณถนนข้างตลาดน้อย (น่าจะเป็นทิศเหนือ) มีขยะอยู่เกลื่อนกลาดทั้งในพุ่มไม้และท่อระบายน้ำ 
  • จำนวนนิสิตและบุคลากรมาก ก่อขยะวันละ ๔-๕ ตัน .... ความจริงตอนวันละ ๑๐ ตันครับ 
ผลกระทบ
  • ท่อระบายน้ำอุดตัน เนื่องจากมีขยะมาอุด
  • เกิดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค.... 
  • ส่งกลิ่นเหม็นรบกวน
แนวทางแก้ไข
  • จัดตั้งถังขยะให้เพียงพอ .....   จริงๆ อยู่ที่จิตสำนึกของคน
  • ปลูกจิตสำนึก ... ทำอย่างไร...
  • ติดป้ายโฆษณา รณรงค์  ... ไม่ได้ผล และไม่ยั่งยืน ....
๕) เพกาซัส

กลุ่มเพกาซัส ไปสำรวจซอยแรกของหมู่บ้านลักษณาวดี หลังที่ว่าการเทศบาลขามเรียง




  • ปัญหาสาเหตุและแนวทางแก้ไขจะคล้ายๆ กันกับกลุ่มข้างต้น 
เนื่องจากปัญหาสาเหตุรวมถึงวิธีการแก้ไขจะคล้ายกัน จึงขอ


๖) กลุ่มฉลาม

กลุ่มฉลามลงพื้นที่สำรวจศึกษาวิธีการจัดการขยะของมหาวิทยาลัย ที่โรงคัดแยกขยะของมหาวิทยาลัย  โดยได้สัมภาษณ์ขอข้อมูลกับพี่เจ้าหน้าที่ที่ดูแลและจัดการเรื่องนี้ สรุปผลออกมาได้ดังรูป




  • สังเกตว่า สาเหตุหลักของปัญหาขยะ คือ ปัญหาเกี่ยวกับจิตสำนึก 



๗) กลุ่มแมวน้อย

กลุ่มแมวน้อยลงพื้นที่บริเวณข้างร้านแจ่วฮ้อนอินเตอร์ ถนนเชื่อมมหาวิทยาลัยไปทางหมู่บ้านดอนยม





๘) กลุ่มมังกร

กลุ่มมังกรลงพื้นที่สำรวจบริเวณหมู่บ้านลักษณาวดี 




๙) กลุ่มพญาอินทรี

กลุ่มพญาอินทรีลงพื้นที่สำรวจบริเวณตลาดน้อย



๑๐) กลุ่มปลาทอง

กลุ่มปลาทองลงสำรวจบริเวณลานจอดรถข้ามจุดเขียว





๑๑) กลุ่มโลมา



๑๒) กลุ่มนกฮูกน้อย



๑๓) กลุ่มทาคิน

กลุ่มทาคินลงสำรวจที่โรงอาหารกลาง ม.เก่า



  • สังเกตว่านิสิตระบุสาเหตุปัญหาชัดเจนคือการไม่แยกขยะ  เป็นเรื่องของจิตสำนึก   และเสนอวิธีแก้ไขโดยให้ทำการแยกขยะ

๑๔) กลุ่มสิงโตผู้น่ารัก




๑๕) กลุ่มแกะ




๑๖) กลุ่มหมี




๑๗) กลุ่มหนู





๑๘) กลุ่มกระทิง





๑๙) กลุ่มช้าง





๒๐) กลุ่มผึ้งน้อย




สรุปภาพรวมของการสำรวจปัญหา

  • เรามีปัญหาขยะ 
  • ปัญหาขยะไม่ถึงขั้นรุนแรง สำหรับพื้นที่ในมหาวิทยาลัย ยกเว้นบริเวณหลังอาคารศิลปกรรมที่จำเป็นต้องใช้วัสดุทั้งธรรมชาติและไม่ธรรมชาติสำหรับการสร้างสรรค์ชิ้นงาน  
  • นิสิตเกือบทุกกลุ่ม กำหนดพื้นทีสำรวจภายในมหาวิทยาลัยตามที่ได้กำหนด มีบางกลุ่มเท่านั้นที่ขออนุญาตสำรวจในชุมชนที่ตนเองอยู่  ซึ่งจะพบว่า ปัญหาขยะรุนแรงกว่าภายในมหาวิทยาลัย 
  • เกือบทุกกลุ่ม สะท้อนตรงกันว่า สาเหตุของปัญหาคือ ไม่มีการแยกขยะเลย ทำให้เกิดปัญหาหลายๆ อย่างตามมา นิสิตสะท้อนว่า เป็นเพราะนิสิตยังขาดจิตสำนึกในเรื่องนี้ 
  • วิธีการแก้ไขที่ทุกกลุ่มสะท้อนตรงกันคือ ให้แยกขยะ 
ชัดเจนว่าต้องเริ่มอย่างไร ... ที่เหลือก็คือ "ความเพียร" (ลงมือทำ) ... เจอกันตอนต่อไปครับ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น