วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

CADL ขับเคลื่อน ปศพพ. ใน มมส. _ ๑๓ : รายวิชา ๐๐๓๒๐๐๕ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พัฒนาเอกสารประกอบการสอน (๑)


วันที่ ๙-๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๙ อาจารย์ผู้สอนรายวิชา ๐๐๓๒๐๐๕ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๑๒ ท่าน (จากทั้งหมด ๒๕ ท่าน) เข้าร่วมโครงการพัฒนาเอกสารประกอบการสอน ประจำปี ๒๕๕๙ ที่จัดขึ้นที่โรงแรมอินเตอร์รีสอร์ท อ.หนองแสง จ.อุดรธานี ร่วมกับอีก ๘ รายวิชาที่ไปในคราวเดียวกัน

เอกสารประกอบการสอนที่ใช้ผ่านมา ๒ ภาคเรียน ทีมอาจารย์เรายังไม่ได้เป็นเขียนหรือผู้เรียบเรียง เป็นเพียงการรวบรวมและคัดลอกเอาเนื้อหาจากหนังสือของ ดร.ปียานุช ธรรมปิยา และเอกสารเผยแพร่จากสำนักงานคณะกรรมการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรือ กปร. เกือบทั้งหมด ด้วยวัตถุประสงค์ให้อาจารย์ผู้สอนได้เข้าใจถึงแนวทางของรายวิชาให้ตรงกัน 

มาถึงเวลา ณ เวทีนี้ ผมเสนอต่ออาจารย์หลายท่านว่า ถึงเวลาแล้ว ที่ทีมอาจารย์ผู้สอนน่าจะเรียบเรียงหรือเขียนเอกสารประกอบการสอนขึ้นเอง จึงได้ตกลงกันจัดแบ่งให้แต่ละกลุ่มอาจารย์ร่วมด้วยช่วยกันเขียนยกร่างขึ้น อย่างไรก็ดี คงจะไม่ทันใช้ในภาคเรียนที่ ๑/๒๕๕๙ นี้ จึงได้ตั้งเป้าหมายและทำไทม์ไลน์กันว่า เอกสารเล่มใหม่ที่จะได้จากการรวบรวมเรียบเรียงขึ้นนี้ จะใช้ในปี ๒/๒๕๕๙ เป็นปีแรก โดยผ่านกระบวนการของทางสำนักศึกษาทั่วไป

เนื่องจากอาจารย์หลายท่านไม่สามารถไปร่วมในการประชุมครั้งนี้ได้  จึงขอสรุปให้เข้าใจข้อตกลงต่าง ๆ ร่วมกัน ดังนี้ครับ

เอกสารประกอบการสอนสำหรับปีการศึกษา ๑/๒๕๕๙

  • นำเอกสารที่ใช้ในปีการศึกษา ๒๕๕๘  มาปรับให้เป็นไปตามรูปแบบที่สำนักศึกษาทั่วไปกำหนด (อ่านได้ที่นี่)
  • สิ่งที่ต้องทำสำหรับการปรับปรุงครั้งนี้มี ๓ ประการ ได้แก่ ๑) ตรวจทานเวิร์ดดิ้งของเอกสารฉบับเดิมให้ดีขึ้น ๒)เขียนเพิ่มเติมองค์ประกอบที่กำหนด เช่น วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม วิธีการสอน/กิจกรรมการเรียนรู้ วิธีประเมินผล และหนังสืออ้างอิง   และ ๓) ออกข้อสอบสำหรับปีการศึกษา ๒๕๕๙ บทละ ๓๐ ข้อ โดยแบ่งหน้าที่กันแต่ละบทเรียนดังนี้ 
    • บทที่ ๑ ที่มาของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผู้รับผิดชอบคือ อ.จิรภา อ.วิลาวัณย์ อ.วรรณชัย อ.โสภา 
    • บทที่ ๒  ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผู้รับผิดชอบคือ อ.ธวัช อ.เบญจวรรณ อ.ประสิทธิ์ อ.ประภัสสร ....  (ท่านอาจารย์ประภัสสรได้ออกข้อสอบและส่งมาที่ผมแล้วส่วนหนึ่งครับ)
    • บทที่ ๓ ศาสตร์พระราชาและหลักการทรงงาน ผู้รับผิดชอบคือ อ.มัณฑนา อ.อุษา อ.พรทิพย์ อ.วรัญญู และ อ.เกรียงศักดิ์ ... (อ.เกียงศักดิ์ได้ส่งข้อสอบให้ผมแล้วขอบพระคุณมากครับ)
    • บทที่ ๔ เกษตรทฤษฎีใหม่ ผู้รับผิดชอบคือ อ.เบญจพร อ.พัฒนพล อ.บังอร อ.ปณรัตน์ และ อ.วรากร 
    • บทที่ ๕ การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต ผู้รับผิดชอบ คือ  อ.มาระตี อ.สุดารัตน์ อ.ขวัญใจ อ.วันทกาญจน์ และ อ.วันทนา 
ขณะนี้หน้าที่ ๒ ประการแรกได้เสร็จเรียบร้อยครับ เหลือเพียงการจัดทำข้อสอบสำหรับ ปีการศึกษา ๒๕๕๙  ซึ่งอาจารย์กำลังทยอยส่งมาครับ  เรามีนัดหมายกันที่จะประชุมหารือกันในวันที่ ๒๖ ก.ค. ๒๕๕๙ นี้

เอกสารประกอบการสอนสำหรับปีการศึกษา ๒/๒๕๕๙ เป็นต้นไป

สรุปตกลงกันดังนี้ครับ 
  • ปรับปรุงเอกสารประกอบการสอนให้มี ๘ บทเรียน (จากเดิม ๕ บทเรียน) โดยให้ผู้รับผิดชอบไปเขียนในลักษณะเรียบเรียงหรือรวบรวม ไม่ใช่การคัดลอก เพื่อจะได้พัฒนาเป็นหนังสือหรือตำราต่อไป 
  • กำหนดทีมผู้เขียนยกร่างในแต่ละบทเรียน และกำหนดให้มีผู้ประสานงานกลุ่มย่อย ด้งนี้  
    • บทที่ ๑ ที่มาของ ปศพพ.  ผู้เขียน ๔ ท่าน คือ อ.ฤทธิไกร อ.จิรภา อ.วิลาวัณย์ และ อ.วรรณชัย  มอบให้ อ.จิรภา เป็นผู้ประสานงานกลุ่มย่อย 
    • บทที่ ๒ ปศพพ.  ผู้เขียนมี ๔ ท่าน ได้แก่ อ.ธวัช อ.ประสิทธิ์ อ.เบญจวรรณ อ.เทอดศักดิ์  โดยมี อ.ธวัช เป็นผู้ประสานงานกลุ่มย่อย 
    • บทที่ ๓ ศาสตร์พระราชาและหลักการทรงงาน ผู้เขียนมี ๒ ท่าน คือ อ.มัณฑนา กับ อ.วรัญญู ให้ อ.วัญญูเป็นผู้ประสาน
    • บทที่ ๔ ปศพพ.กับการดำเนินชีวิต มีผู้เขียน ๓ ท่าน คือ อ.มาระตี อ.สุดารัตน์ และ อ.ขวัญใจ  ให้ อ.มาระตีเป็นผู้ประสานงานกลุ่มย่อย
    • บทที่ ๕ เกษตรทฤษฎีใหม่ มีผู้เขียน ๔ ท่าน ได้แก่ อ.เบญจพร อ.พัฒนพล อ.วรากร และ อ.บังอร โดยให้ อ.เบญจพร เป็นผู้ประสานกลุ่มย่อย 
    • บทที่ ๖ เศรษฐศาสตร์กับความพอเพียง มีผู้เขียน ๓ ท่าน ได้แก่ อ.โสภา อ.จันทร์ฉาย และ อ.วันทกาญจน์ ให้ อ.โสภาเป็นผู้ประสานกลุ่มย่อย
    • บทที่ ๗ ปศพพ. กับการพัฒนาท้องถิ่น มีผู้เขียน ๔ ท่าน คือ อ.พรทิพย์ อ.เกรียงศักดิ์ อ.อุษา อ.ประภัสสร โดยให้ อ.พรทิพย์ เป็นผู้ประสานกลุ่มย่อย
    • บทที่ ๘ ปศพพ. กับการพัฒนาที่ยั่งยืน (ระดับประเทศ&โลก)  มีผู้เขียน ๓ ท่าน คือ อ.ปณรัตน์ อ.สิริภัค และ อ.วันทนา
  • กำหนดเวลาคือ ร่างฉบับแรกเสร็จก่อนสอบกลาง (ประมาณกลางกันยายน ๒๕๕๙)  และมีกำหนดรวบรวมกันแล้วนำเข้าวิพากษ์กันในช่วงสอบกลางภาค ก่อนจะส่งให้สำนักศึกษาทั่วไป นำไปผ่านผู้ทรงคุณวุฒิต่อไป 
  • วันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๙ นี้ ให้แต่ละกลุ่มนำร่างการเขียนแต่ละบทเรียน (หัวข้อย่อย) มานำเสนอและร่วมกันวิพากษ์ ก่อนจะเริ่มเขียนตามแนวทางที่กำหนดร่วมกันต่อไป  
จบครับ.... เชิญดูรูปครับ ...








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น