๑) เวทีนำเสนอผลงานและผลการเรียนรู้ระดับคณะ
ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมงานนำเสนอผลงานและคืนข้อมูลสุ่ชุมชน ในโครงการบริการวิชาการสู่สังคม (หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน) ของคณะพยายบาลศาสตร์ ในวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๑ ณ ชุมชนบ้านแหย่ง จึงมีโอกาสได้สัมผัสกับความสำเร็จดังกล่าวโดยตรง ได้สัมภาษณ์และสนทนากลุ่มกับชาวบ้าน ผู้นำชุมชน ผู้แก่แม่เฒ่าที่ได้มาร่วมงาน นานพอสมควร และเมื่อนำข้อสะท้อนผลมาถามนิสิตและอาจารย์ จึงได้ทราบเรื่องราว เหตุผล กลยุทธ์และกระบวนการทำงานของนิสิตพอสมควร ... จึงขอนำเสนอผลงานนี้ด้วยการเล่าเรื่อง (Story Telling) พอสังเขป ดังนี้
คณะพยาบาลศาสตร์ให้ความสำคัญกับโครงการนี้มาก และบูรณาการทั้งบุคลากร พันธกิจด้านพัฒนาจิตอาสาของนิสิต โรงเรียนผู้สูงอายุ และให้การสนับสนุนงบประมาณจัดงานนี้ร่วมด้วย คณบดีท่านมาเปิดงานด้วยตนเองนอกพื้นที่มหาวิยาลัย (ในหมู่บ้านเล็กๆ) แสดงว่างานนี้มีความสำคัญต่อใจของท่านเช่นกัน
ในงานมีชาวบ้านและผู้นำชุมชนมาร่วมงานจำนวนมาก เกือบทั้งหมดเป็นผู้สูงอายุที่มีปัญหาต่างๆ ในชุมชน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะสำหรับโครงการครั้งนี้ที่บูรณาการกับโรงเรียนผู้สูงอายุของคณะพยาบาล (ซึ่งประสบผลสำเร็จมาก ติดตามได้ที่นี่ครับ) ... ขอเล่าด้วยภาพ
๒) กระบวนการศึกษาชุมชน (กลุ่มเล็กในกลุ่มใหญ่ อีกโมเดลหนึ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง)
กระบวนการศึกษาชุมชนของคณะพยาบาลศาสตร์ สามารถสังเคราะห์ได้เป็น ๗ ขั้นตอน แสดงดังชาร์ทด้านล่างนี้ครับ
ขออธิบายเพิ่มเติมเล็กน้อย เพื่อให้เห็นจุดเด่น และจุดต่างจากแผนการเรียนรู้ส่วนกลาง ดังนี้
- กระบวนการทั้งหมดแบ่งได้เป็น ๗ ขั้นตอน ได้แก่
- กำหนดหัวเรื่องหลัก
- ลงพื้นที่สำรวจและศึกษาชุมชน
- วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้และเขียนโครงการ
- ลงพื้นที่ทำประชาพิจารณ์
- จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์
- ลงพื้นที่ดำเนินการตามแผน
- จัดเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน
- เนื่องจากนิสิตยังไม่มีประสบการณ์เกี่ยวกับเครื่องมือและวิธีการศึกษาชุมชน จึงใช้เครื่องมือมาตรฐาน ที่อาจารย์ได้พัฒนาขึ้นใช้ในการทำโครงการวิจัยหรือโครงการบริการวิชาการของคณะฯ ได้แก่
- แบบสอบถาม
- แบบสัมภาษณ์
- แบบสังเกต
- ฯลฯ
- เป็นการบูรณาการองค์ความรู้และทักษะกระบวนการจากประสบการณ์การทำงานบริการวิชาการของคณาจารย์ที่ทำโครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน (โรงเรียนผู้สูงอายุ) ดังนั้น จึงกำหนดกลุ่มเป้าหมายเป็นชุมชนที่เหมาะสมต่อการเดินทางลงพื้นที่ของนิสิต และเลือกช่วงอายุของกลุ่มเป้าหมายให้เชื่อมโยงกับองค์ความรู้ของโรงเรียนผู้สูงอายุ ... นี่เป็นจุดเด่นที่สุดจุดหนึ่ง ซึ่งถือเป็นต้นแบบให้คณะวิชาอื่นๆ ได้หาทางบูรณาการตามนโยบายของรายวิชาเช่นนี้
- มีการทำประชาพิจารณ์ เพื่อยืนยันความต้องการของชุมชนและสื่อสารทำความเข้าใจกับกลุ่มเป้าหมายและผู้นำชุมชน เพื่อให้การดำเนินงานราบรื่นและมีประสิทธิภาพ
- นิสิตรายบุคคลได้เรียนรู้และฝึกฝนการศึกษาชุมชนด้วยตนเอง ต่อเนื่องหลายสัปดาห์ จึงทำให้นิสิตทุกคนได้รับประสบการณ์การศึกษาชุมชน ... ตรงตามเจตนารมณ์ของรายวิชาอย่างยิ่ง
- มีการจัดเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับชุมชน โดยเฉพาะการส่งเสริมให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้ ก้าวไปสู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้ต่อไป ซึ่งเป็นแนวทางที่สำนักศึกษาทั่วไปจะส่งเสริมให้เกิดขึ้นในทุกสาขาทุกคณะในภาคการศึกษาถัดไป
๓) เกิดผลลัพธ์เชิงประจักษ์ต่อชุมชน (ชาวบ้านกลุ่มเป้าหมายมีเจตคติที่ดีต่อมหาวิทยาลัยมาก)
จากที่ผู้เขียนได้เข้าร่วมงานคืนข้อมูลสู่ชุมชน ได้พบและสนทนากับปู่ย่าตายายหลายคน ล้วนแล้วแต่ประทับใจในการมาบริการวิชาการของนิสิตเป็นอย่างยิ่ง บางคนถึงกับน้ำตาไหลเมื่อต้องเล่าถึงสภาพก่อนที่นิสิตจะเข้ามา ผู้ป่วยติดเตียงคนหนึ่งที่ไม่แม้แต่แขนขาก็ขยับไปมาไม่สะดวก เมื่อนิสิตมาช่วยทำกายภาพบำบัด และมาพูดคุยสนทนาด้วยจิตวิทยาเชิงบวก ท่านสามารถมาร่วมงานได้ และขยับแขนขาได้อย่างสะดวก
นิสิตแบ่งเป็นทั้งหมด ๖ กลุ่มย่อย แต่ละกลุ่มย่อยเลือกปัญหาต่างกัน ตามสภาพและลักษณะปัญหาของผู้สูงอายุ ... ขอเล่าเรื่องประกอบภาพ ดังนี้
- กลุ่มหนึ่ง สู้กับปัญหาอาหารไม่อร่อย ซึ่งทำให้ผู้สูงวัยต้องใช้ผงชูรสปริมาณมาก เพื่อลดปริมาณผงชูรส จึงทดลองและพัฒนา "ผงนัว" ขึ้นมาใช้แทน ... ผมชิมแล้ว อร่อยจริง
- หน้าตาผงนัว
- ใส่ได้ทุกเมนู ... อยู่ในรูปนี้คือแกงเห็ด
- น้ำพริกปลาสด
- ยำสมุนไพร
- วุ้นใบเตย
- กลุ่มนี้เลือกปัญหา ช่วยชะลอโรคข้อ ข้อเข่าเสื่อม เนื่องจากพบว่า ผู้สูงวัยมีปัญหาด้านนี้มาก จึงคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ที่ทำจากวัสดุพื้นบ้านอย่างผ้าขาวม้า มาสอนให้ผู้สูงวัยใช้ออกกำลังกายในรูปแบบวิธีการที่ถูกต้อง
- ... เห็นนิสิตคุยกับผู้สูงวัย ... รู้สึกภูมิใจมากๆ ที่ได้มีส่วนร่วม
- อีกกลุ่มหนึ่ง ช่วยทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรเพื่อส่งเสริมการผ่อนคลายและการนอนหลับ อ่านแล้วท่านคงรู้ทันทีว่า ปัญหาคือ ท่านนอนไม่หลับ ท่านเครียด
- ไม่มีใครสามารถบังคับร่างกายตนเองให้หลับได้ สิ่งที่ทำได้ก็แค่ผ่อนคลาย แล้วปล่อยให้มันหลับเอง ปัญหาคือ ท่านไม่ผ่อนคลาย จึงเกิดแนวคิดการหาทางทำให้ท่านผ่อนคลาย และวัสดุที่มีและหาง่ายก็คือสมุนไพรในหมู่บ้านนั่นเอง
- เท้าและฝ่าเท้า คือจุดที่ทำให้คนเราผ่อนคลายได้ง่ายสุด ... จึงมีธุรกิจสปาร์บาทาทั่วโลก ... คิดถึงพ่อและแม่ที่ได้เคยล้างเท้าให้ท่านแบบนี้ ทุกครั้งที่ทำ เราจะรู้สึกดี ... จิตอาสาน่าจะพัฒนามาจากความรู้สึกดี มีความสุขที่ได้ให้แบบนั้น
- ท่านคณบดี กำลังทดสอบกลิ่นสมุนไพร ที่ใช้ให้ผ่อนคลายเมื่อได้รับกลิ่นหอมเย็น
- กลุ่มนี้พบ "ปัญญา" ของชุมชน เรื่องการทำน้ำพริกปลาป่น จึงนำมาแนวคิดนี้มาพัฒนาและต่อยอด ทำผลิตภัณฑ์บรรจุสวยงาม ... ผมได้รับมาทานที่บ้านนานนับเดือน ขอบคุณอีกครั้งครับ
- รูปแบบนี้คือน้ำพริกปลาป่นพร้อมเสริฟ
- อีกกลุ่มหนึ่ง มุ่งไปที่การ "เดินเหินปลอดภัย ผู้สูงวัยไม่หกล้ม" โดยใช้หนังยางมาถัก มัดกับท่อพีวีซี ทำเป็นที่จับหรือที่เหยียบ แล้วพาผู้สูงวัยใช้ทำกายภาพบำบัดอย่างถูกวิธี
ขอจบเท่านี้ครับ .... ภูมิใจที่ได้ทำงานนี้ขึ้นเรื่อยๆ ครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น