๑) "ปัญหา" และ "ปัญญา" ของชุมชนบ้านเกิ้ง
ผลงาน "อัศจรรย์ชุมชนริมน้ำชี ของดีบ้านเกิ้ง" เป็นชิ้นงานสำคัญหนึ่งของรายวิชาฯ อันเป็นผลมาจากการลงพื้นที่เรียนรู้ ยกย่อง ชื่นชม "ปัญญาของชุมชน" เพื่อขยายบอกต่อให้คนในชุมชนและสังคมรู้ว่า ชุมชนบ้านเกิ้งมีของดี โดยใช้ความสามารถด้านการสร้างสื่อการเรียนรู้มาใช้ในการสร้างชิ้นงานส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชนบ้านเกิ้ง และอำเภอเมืองมหาสารคาม
๒) Best Practice (BP)
กรรมการผู้ตัดสินบอกว่า ผลงานชิ้นนี้ ถือเป็น BP หลายๆ ด้าน ดังจะบรรยายพอสังเขปดังนี้
๒.๑) กระบวนการทำงานดีเด่น
การทำงานของทีมนี้ ถือเป็นต้นแบบหนึ่งในการนำวงจร PDCA (วงจรคุณภาพของเดมลิง Demling Cycle) ไปใช้ในการศึกษาชุมชน ดังนี้
- Plan (วางแผน)
- ประชุมนิสิตเพื่อวางแผนก่อนการดำเนินงาน
- กำหนดชุมชมที่ต้องการลงพื้นที่สำรวจ
- กำหนดเป็นตำบลเกิ้ง
- ลงพื้นที่ศึกษาชุมชน
- ศึกษาปัญหาและความต้องการของชาวบ้านในตำบล
- ศึกษาบริบท วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน
- การประชุมติดตามผลและวางแผนการดำเนินงาน
- นำข้อมูลปัญหาและความต้องการมาศึกษา วิเคราะห์ และสื่อสารให้ทุกคนทราบ
- เขียนโครงการเพื่อเสนอขอรับการพิจารณาอนุมัติจากสาขาวิชา
- สิ่งที่ได้ในขั้นตอน Plan คือ ข้อมูลการดำเนินงานในโครงการ กล่าวคือ
- การสร้างเพจประชาสัมพันธ์ของดีตำบลเกิ้ง ได้แก่
- สถานที่ท่องเที่ยว
- ผลิตภัณฑ์จากชุมชน
- ร้านอาหาร
- มหาวิทยาลัยชีวิต
- ประวัติความเป็นมาของตำบลเกิ้ง
- วัตถุประสงค์โครงการ
- ผลที่ได้รับจากการทำโครงการ
- การแบ่งงานในการดำเนินโครงการ โดยแบ่งการทำงานออกเป็น ๕ กลุ่ม ได้แก่
- กลุ่มที่ ๑ บอกเล่าข้อมูลทั่วไป และแนะนำมหาวิทยาลัยชีวิต
- กลุ่มที่ ๒ แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในตำบลเกิ้ง
- กลุ่มที่ ๓ แนะนำร้านอาหารในตำบลเกิ้ง
- กลุ่มที่ ๔ ส่งเสริมผลิตภัณฑ์จากตำบลเกิ้ง
- กลุ่มที่ ๕ หนังสั้นแนะนำตำบลเกิ้ง
- Do (ลงมือทำ) สิ่งที่ได้ในขั้นตอน Do
- ลงพื้นที่เก็บข้อมูล (ครั้งที่ ๒)
- ประชุมเพื่อติดตามผลการดำเนินการ ทั้ง ๕ กลุ่มย่อย
- จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ แต่ละกลุ่มย่อย สร้างสื่อประชาสัมพันธ์ที่วางไว้ ดังนี้
- กลุ่มที่ ๑ ทำอเนิเมชั่นกราฟฟิค และ MEMEs (หมายถึง สื่อที่ส่งต่อกันคนต่อคนไปเรื่อยๆ เช่น ข้อความ วีดีโอ ภาพ ฯลฯ) บอกเล่าข้อมูลทั่วไปตำบลเกิ้ง และวิดีโอแนะนำมหาวิทยาลัยชีวิต
- กลุ่มที่ ๒ ทำวีดีโอและ MEMEs แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในตำบลเกิ้ง
- กลุ่มที่ ๓ วีดีโอแนะนำร้านอาหารในตำบลเกิ้ง
- กลุ่มที่ ๔ ออกแบบโลโก้และสื่อแนะนำผลิตภัณฑ์ เพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ตำบลเกิ้ง
- กลุ่มที่ ๕ หนังสั้นแนะนำตำบลเกิ้ง
- ลงพื้นที่ชุมชน (ครั้งที่ ๓) เพื่อนำสื่อประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนลองชม และแก้ไขตามคำแนะนำ
- นำเสื่อประชาสัมพันธ์ลงเพจ "อัศจรรย์ชุมชนริมน้ำชี ของดีตำบลเกิ้ง"
- ส่งมอบเพจให้องค์การบริหารส่วนตำบลเกิ้งเป็นผู้ดูแล
- Check (ตรวจสอบงาน) ตรวจสอบงานตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไวั ได้แก่
- เพื่อนำความรู้ในสาขาวิชาไปทำประโยชน์ให้แก่ชุมชน
- นิสิตได้เรียนรู้ความเป็นอยู่ของชุมชน ได้รับประสบการณ์ในการทำงานกับชุมชน
- นิสิตได้ทำงานร่วมกัน มีความสามัคคีกัน
- ประชาสัมพันธ์ของดีตำบลเกิ้งให้เป็นที่รู้จัก
- Act (การปรับปรุง แก้ไข) หลังจากได้ตรวจสอบผลการดำเนินงาน ชิ้นงาน และได้รับข้อเสนอแนะต่างๆ แล้ว ได้ทำการปรับปรุงแก้ไข เช่น การปรับปรุงแก้ไขรูปแบบโลโก้โครงการ เป็นต้น
๒.๒) คุณภาพผลงานดีเด่น
- Motion Graphics ประวัติความเป็นมาของบ้านเกิ้ง ... (เชิญรับชมที่นี่)
- MEME ข้อมูลทั่วไปของบ้านเกิ้ง
- วีดีโอแนะนำมหาวิทยาลัยชีวิต (เชิญชมที่นี่)
- MEME สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจในตำบลเกิ้ง (เชิญชมตัวอย่างที่นี่)
- วัดป่าวังน้ำเย็น
- วัดป่าเกาะเกิ้ง
- วัดวังยาววารี
- สถาบัญวิจัยวลัยรุกขเวช
- วังมัจฉา
เพจเฟส "อัศจรรย์ชุมชนริมน้ำชี ของดีตำบลเกิ้ง" จึงเป็นแหล่งประตูทางเข้าของคนรุ่นใหม่ที่เกือบทั้งหมดใช้ช่องทางอินเตอร์เน็ตค้นหา และที่สำคัญคือ เป็นช่องทางการค้าขายผลิตภัณฑ์ของดี สามารถสั่งซื้อของทางอินเตอร์เน็ตตามที่อยู่ที่แสดงไว้อย่างชัดเจน เป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน การท่องเที่ยวชุมชน อย่างน่าสนใจ
๒.๓) การมีส่วนร่วมดีเด่น
การมีส่วนร่วมในที่นี้ หมายรวมทั้ง ๒ มุมมอง คือ การมีส่วนร่วมของนิสิตทุกคนในสาขา ในการสร้างสรรค์และพัฒนาผลงานดังกล่าวเหล่าข้างต้นนั้น ซึ่งสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนผ่านคลิปวีดีโอนำเสนอผลงาน และที่สำคัญที่สุด คือการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมระหว่างนิสิตและชุมชน แนวปฏิบัติที่ดีที่ควรทำตาม ได้แก่
- ลงพื้นที่ฯ อย่างเป็นระบบ ทั้ง สำรวจเบื้องต้น สำรวจและเก็บข้อมูล คืนข้อมูลเพื่อวิพากษ์ และส่งมอบข้อมูลและผลงานต่อชุมชน
- ทำงานร่วมกับ อบต.บ้านเกิ้ง โดยทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่อย่างเป็นทางการและต่อเนื่อง จนได้ข้อมูลที่ละเอียด ถูกต้อง และเป็นระบบ นิสิตได้เรียนรู้ชุมชนได้ชิ้นงาน เรียกได้ว่า ได้ประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย
- มีการสำรวจความคิดเห็นและเปิดโอกาสให้ชาวบ้าน เจ้าของชุมชน ได้สะท้อนความเห็นและความพึงพอใจ รวมถึงได้เสนอขอแก้ไขปรับแก้ผลงาน จนเป็นที่พึงพอใจมาก โดยเฉพาะโลโก้โปรโมทผลิตภัณฑ์
- ฯลฯ
๒.๔) ประโยชน์ต่อชุมชนดีเด่น
ปัจจุบันเพจ "อัศจรรย์ชุมชนริมน้ำชี ของดีตำบลเกิ้ง" ยังเป็นช่องทางสำคัญยิ่ง ที่ทำให้ตำบลเกิ้งเป็นที่รู้จักมากขึ้นเรื่อยๆ แม้จะยังไม่ได้ดำเนินการประเมินผลกระทบจากผลงานดังกล่าว แต่เมื่อพิจารณาจำนวนคนที่เข้าชมสื่อและ MEME ต่างๆ จากเพจ จะพบว่า มีผู้เข้าชมเรื่อยๆ
ผมรู้สึกมีพลังมากๆ หลังจากที่เขียนบันทึกมาถึงตรงนี้ ... พบกับบันทึกต่อไป เร็วๆ นี้ครับ
ผมรู้สึกมีพลังมากๆ หลังจากที่เขียนบันทึกมาถึงตรงนี้ ... พบกับบันทึกต่อไป เร็วๆ นี้ครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น