คุณธรรมเป็นเรื่องที่ต้องบ่มเพาะ เป็นเรื่องที่ต้องค่อยๆ ปลูกฝัง ไม่ใช่เพียงเข้าไปนั่งเรียนวิชาใดในโลกนี้แล้วจะเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรม ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนแบบบรรยายถ่ายทอดโดยถ่ายเดียว จึงไม่ใช่วิธีที่จะสร้างคุณธรรมจริยธรรมในตัวนิสิตได้ และนี่คือหน้าที่โดยตรงของสำนักศึกษาทั่วไป ที่ต้องหาวิธีการสร้างรากฐานของสังคมนี้ผ่านการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้
ในการจัดการเรียนการสอนแบบเก่า กระบวนการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม จะทำกันแบบ "แยกส่วน" แยกการเรียนออกจากกิจกรรม แยกกิจกรรมออกจากชีวิต แยกเป้าหมายของชีวิตออกจากแนวทางสู่ความสุขที่แท้จริง แนวทางที่ถูกต้องควรจะมองอย่าง "องค์รวม" คือ พัฒนาอย่างบูรณาการ ๓ หน่วยหลัก ได้แก่ ชั้นเรียน (ฝ่ายวิชาการ) กิจกรรม (กองกิจการนิสิต) และการดำเนินชีวิต (หลักสูตรฯ ซึ่งดูแลการสร้างทักษะวิชาชีพ) ด้วยเหตุ ๒ ประการต่อไปนี้ ผมเสนอว่า สำนักศึกษาทั่วไป (GE) ควรจะมีฝ่ายพัฒนานิสิตเหมือนในคณะ-วิทยาลัย
๑) นิสิตทุกคนในมหาวิทยาลัยต้องเรียนวิชาศึกษาทั่วไปอย่างน้อยตั้ง ๓๐ หน่วยกิต โดยมีจุดมุ่งหมายในการสร้างนิสิตทุกคนในมหาวิทยาลัยให้
เป็น "มนุษย์ที่สมบูรณ์" เป็นคนดีมีคุณธรรม
ซึ่งการเรียนการสอนต้องสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมและปลูกฝังผ่านกิจกรรมในชั้น
เรียนและการทำงานของนิสิต
๒) ฝ่ายพัฒนานิสิตจะได้ทำงานร่วมกับกองกิจการนิสิตอย่างบูรณาการ โดยเฉพาะการบูรณาการระหว่างการเรียนการสอนกับกิจกรรมพัฒนานิสิตอย่างเป็นองค์รวมไม่แยกส่วน
สำหรับปัจจัยที่จะทำให้การปลูกฝัง บ่มเพาะ คุณธรรมจริยธรรมสำเร็จได้ ก็ต้องไม่แยกส่วนวิชาการหรือความรู้ออกจากคุณธรรม ไม่แยกการกระทำออกจากการพัฒนาการคิด วิธีที่ดีที่สุดคือการน้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมี ๒ เงื่อนไขคือความรู้และคุณธรรมกำกับการคิดบนหลัก ๓ ห่วง ๔ มิติ ...ผมขอเสนอให้ทุกคณะ-วิทยาลัย น้อมนำมาศึกษาและส่งเสริมให้นิสิตนำไปใช้กับการตัดสินใจทุกเรื่อง ทุกอย่าง และทุกคน ตั้งแต่การพัฒนาอาจารย์ พัฒนาการเรียนการสอน (ชั้นเรียน) และสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีในการเรียนรู้ ดังนี้ ดร.ปรียานุช ธรรมปิยา ไว้ในการมาบรรยายที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ไว้ดังภาพด้านล่าง (อ่านบันทึกนั้นที่นี่)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น