วันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๘ CADL จัดวง KM เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป รหัสวิชา ๐๐๓๒๐๐๑ มนุษย์กับอารยธรรมและศาสนา หลังจากผ่านภาคการศึกษาแรก ของหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป (ปรับปรุงใหม่ ๒๕๕๘) มีอาจารย์ผู้สอนมาร่วมการประชุมนี้ ๔ ท่าน ได้แก่ ผศ.ดร.สมชาติ มณีโชติ
ผศ.นารีรัตน์ ปริสุทธิวุฒิพร ผศ.พรรณิกา ฉายากุล และ อาจารย์สายไหม
ไชยศิรินทร์ ผู้ไม่สามารถมาได้ ๒ ท่าน คือ รศ.ดร.ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ และ
อาจารย์วิทยา อรรถโยโค
BAR กันว่า จะทราบกระบวนการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ผ่านมา ปัญหาอุปสรรค และได้แนวทางแก้ไข และปรับแผนการสอนใหม่ให้ดีขึ้น... ต่อไปนี้เป็นข้อสรุปที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา ที่เห็นการเปลี่ยนแปลงได้ชัด ในแต่ละด้าน
ด้านเนื้อหา
รายวิชานี้เป็นรายวิชา ๒ หน่วยกิต มีจุดมุ่งหมายด้านองค์ความรู้พื้นฐานที่จำเป็น ให้นิสิตทุกคนเป็นผู้มีความรู้รอบ รู้กว้างขวาง เพื่อส่งเสริมความภาคภูมิใจในรากเหง้าวัฒนธรรมของตนเอง โดยกำหนดคำอธิบายรายวิชา ไว้ดังนี้
"ธรรมชาติของมนุษย์และสังคม
พัฒนาการและความสัมพันธ์ของมนุษย์ในอารยธรรมและวัฒนธรรมต่าง ๆ ในมิติทางสังคม
ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม เศรษฐกิจ
การเมือง ความเชื่อ ลัทธิและศาสนา
ที่มีผลต่อแนวคิดแนวปฏิบัติของมนุษย์และสังคม"
โดยภาคการเรียนแรก ได้แบ่งเนื้อหาออกเป็นตอนๆ ตามลำดับเวลาและอารยธรรมที่เหตุเป็นปัจจัยต่อกัน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจันปัน ดังสรุปพอสังเขป ต่อไปนี้
หัวข้อหลักที่ ๑ ความหมายของอารยธรรมและแหล่งอารยธรรมที่สำคัญ มีเนื้อหา ๕ หัวเรื่องย่อย ใช้เวลาสอน ๕ สัปดาห์ เรียงตามลำดับเนื้อหา ดังนี้
สัปดาห์ที่ ๑) ความหมายของ อารยธรรม - วัฒนธรรม
สัปดาห์ที่ ๒) อารยธรรมที่สำคัญของโลกตะวันตก ตั้งแต่ ไทกรีส ยูเฟรติส อิยิปต์ กรีก จนมาถึง อารยธรรมโรมัน
สัปดาห์ที่ ๓) อารยธรรมที่สำคัญของโลกตะวันออก : จีน ญี่ปุ่น และการปรับตัวของจีนและญี่ปุ่นจากอิทธิพลของอารยธรรมตะวันตก
สัปดาห์ที่ ๔) อารยธรรมที่สำคัญของโลกตะวันออก : อินเดีย
สัปดาห์ที่ ๕) อารยธรรมที่สำคัญของโลกตะวันออก : เอเชียอาคเนย์/ตะวันออกกลาง
หัวข้อหลักที่ ๒ พัฒนาการที่สำคัญของมนุษย์อันเป็นพื้นฐานของมนุษย์ในปัจจุบัน แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๗ หัวข้อย่อย แต่ใช้เวลาสอนเพียง ๔ สัปดาห์ ดังนี้
สัปดาห์ที่ ๖) - การเกิดรัฐชาติ (Nation State) - การปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Revolution) - การปฏิบัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม
สัปดาห์ที่ ๗) - ความคิดแบบประชาธิปไตยในโลกตะวันตกและโลกตะวันออก - โลกาภิวัฒน์ (Globalization) กับการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ความเชื่อ ลัทธิ และศาสนา
สัปดาห์ที่ ๙) การปรับตัวของจีน - ญี่ปุ่นกับการรับอิทธิพลตะวันตก ... (สัปดาห์ที่ ๘ สอบกลางภาค)
สัปดาห์ที่ ๑๐) การปรับตัวของเอเชียอาคเนย์ กับการรับอิทธิพลตะวันตก
หัวเรื่องหลักที่ ๓ คนไทย-อีสาน การรับรู้เรื่องของคนไทยและอารยธรรมไทย แบ่งออกเป็น ๔ หัวเรื่องย่อย แต่ใช้เวลาสอนเพียง ๒ สัปดาห์
สัปดาห์ที่ ๑๑) - วัฒนธรรมตะวันตก -> ไท -> สยาม -> ไทย -> ลาว -> อีสาน - ลักษณะอารยธรรมไทย สังคมไพร่ เศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง ความเชื่อ ลัทธิ และศาสนา
สัปดาห์ที่ ๑๒) - ความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยเมื่อเผชิญกับวัฒนธรรมตะวันตก - จะรักษาความเป็นไทย-อีสาน ได้อย่างไร
สามหัวข้อหลักที่กล่าวมานี้ เราตกลงเป็นมติในที่ประชุมให้เป็นหน้าที่ของอาจารย์สังกัดภาควิชาประวัติศาสตร์ โดยใช้เวลาสอนทั้งหมด ๑๑ สัปดาห์
หัวเรื่องหลักที่ ๔ มนุษย์กับสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง รับผิดชอบโดยอาจารย์สังกัดภาควิชาสังคมและมนุษยวิทยา ใช้เวลาสอน ๓ สัปดาห์ ตามหัวเรื่องย่อยทั้ง ๓ คือสัปดาห์ที่ ๑๒-๑๔
ผลการถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านเนื้อหา
หลังจากภาคการสอนไปภาคเรียนแรก อาจารย์ผู้สอนสะท้อนว่า เนื้อหาที่กำหนดตามแผนดังกล่าวนี้ มากเกินไป ควรจะปรับให้น้อยลง และขยับสลับลำดับหัวเรื่องเพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตามเหตุการณ์ โดยแบ่งเป็น ๓ ระดับ จากไกลตัวมาใกล้ตัว ได้แก่ โลกภูมิ -> ชาติภูมิ ->มาตุภูมิ และจากอดีตมายังปัจจุบัน คือ เริ่มจาก ประวัติศาสตร์ก่อนค่อยมาต่อศาสตร์ด้านสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา ที่ว่าด้วย สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ดังแผนผังด้านล่าง
โดยกำหนดเป็นแผนการเรียนใหม่ สำหรับ ปีการศึกษา ๒-๒๕๕๘ ตามเอกสาร มคอ. ๓ ของรายวิชา (ดาวน์โหลดได้ที่นี่)
ด้านการบริหารจัดการและกระบวนการเรียนการสอน
การจัดการเรียนการสอนในภาคเรียนแรก เปิดเรียนทั้งหมด ๙ กลุ่มเรียน อาจารย์ผู้สอนแต่ละท่านจะแบ่งกันรับผิดชอบบรรยายตามหัวเรื่องที่ตนเองเชี่ยวชาญ นั่นหมายถึง อาจารย์หนึ่งท่านต้องเวียนไปสอน ๙ รอบ (บรรยายซ้ำ ๙ ครั้ง) ด้วยข้อจำกัดของขนาดห้องเรียน
อาจารย์ผู้สอนสะท้อนว่า การสอนรายวิชานี้ในแต่ละหัวเรื่อง ต้องใช้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในหัวเรื่องนั้นๆ จริงๆ จึงจะสามาถอธิบาย เชื่อมโยง เล่าเหตุการณ์ และตีความให้เห็นอย่างชัดเจน อาจารย์ท่านหนึ่งจึงจะเป็นต้องสอบเวียนกันหลายครั้ง ปัญคือ อาจารย์ผู้สอนมีจำนวนน้อย
แนวทางแก้ไขของปัญหานี้ คือ การจัดห้องเรียนให้มีขนาดใหญ่มากขึ้น ซึ่งสำนักศึกษาทั่วไป ไม่มีห้องเรียนขนาดใหญ่ และการขอใช้ห้องประชุมของคณะ-วิทยาลัย ก็เป็นไปได้ยาก จึงมีข้อสรุปตรงกันว่า ในภาคการเรียนที่ ๒ นี้จะใช้ระบบการสอนแบบถ่ายทอด กล่าวคือ อาจารย์สอนอยู่ห้องหนึ่ง จัดถ่ายทอดสดไปยังห้องอื่นๆ ซึ่งสำนักศึกษาทั่วไป มีศักยภาพที่จะทำได้ และเคยทำมาแล้วในอดีต
.....ด้านอื่นๆ จะมาเล่าต่อบันทึกต่อไปนะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น