กำลังจะครบ ๑ ภาคการศึกษา สำหรับวิชาแห่งความหวัง ที่จะสร้างพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงจากภายในอย่างแท้จริง และเป็นรายวิชาที่พัฒนามุ่งตรงพัฒนานิสิตตามปรัชญาของสำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่จะสร้างคนที่ "เข้าใจตนเองและผู้อื่น อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข" ตอนท้ายของการคุยแรกเปลี่ยน มีข้อตกลงว่า เอกสารประกอบการเรียนภาคเรียนต่อไป จะปรับให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ส่งเสริมนิสิตให้ "รู้จักตนเอง" "เข้าใจผู้อื่น" และ "อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข" ... ผมยังคงอาสาที่จะเป็นผู้รวบรวมเหมือนเดิม ...
รายวิชานี้แต่เดิม ใช้ชื่อว่า "จิตวิทยา" แต่เพื่อไม่ให้สับสนกับศาสตร์สาขาวิชาเกี่ยวกับจิตวิทยา จึงปรับชื่อและคำอธิบายรายวิชาใหม่ ให้ชัดเจนขึ้น ไม่ให้เกิดความสับสนกับวิชา เน้นเนื้อหา(วิชาเฉพาะ) แต่เปิดกว้างสำหรับอาจารย์ผู้สอนโดยไม่จำกัดสาขาวิชา ให้ได้มาร่วมกันพัฒนาให้เป็นวิชาที่เน้นกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความเป็นมนุษย์ โดยปรับคำอธิบายรายวิชาให้เป็น "จีอี" ดังนี้
"ธรรมชาติของการเรียนรู้ การจูงใจ และพฤติกรรมมนุษย์ กระบวนการจิตตปัญญาศึกษา สุนทรียสนทนา การพัฒนาจิตเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง การคิดแบบองค์รวม การปรับตัวสู่สังคมสมัยใหม่"
BAR (before action review)
ความคาดหวังร่วมกัน คือประเด็นสำคัญที่ต้องเริ่มคุยกัน วิธีที่เราใช้คือการเอาความคาดหวังของโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนมาเป็น "ตุ๊กตา" แล้วร่วมกันพิจารณาว่าจะปรับอย่างไร หรือจะพูดคุยประเด็นใดก่อนหลัง ดังนี้
- ทบทวน สะท้อน การจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมา
- ถอดประสบการณ์ความสำเร็จของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
- ร่วมกันปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชา
- พัฒนาเอกสารประกอบการสอนร่วมกัน
- กำหนดแนวทางพัฒนารายวิชาในปีการศึกษาหน้าร่วมกัน
สองประเด็นแรกอาจเรียกรวมกันสั้นๆ ว่า "ถอดบทเรียน" ส่วนสามประเด็นหลังเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และระดมสมองเพื่อร่วมกันมองไปข้างหน้าเพื่อกำหนดวิธีการพัฒนาที่ชัดเจน อาจเรียกว่า "แลกเปลี่ยนเรียนรู้"
องค์ประกอบเบื้องต้นที่ต้องมีในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้บรรลุตามจุดประสงค์ ได้แก่ ๑) มีอาจารย์ผู้สอนที่ดี ๒) มีสื่อหรือกิจกรรมการเรียนการสอนที่ดี รวมทั้งมีเอกสารประกอบการสอนที่ดี และ ๓) มีกระบวนการประเมินผลที่ดี .... ตอนนี้เรามีอาจารย์ผู้สอนที่ดี ส่วน ๒ ข้อหลังคือสิ่งที่เราคาดหวังในการสนทนาแลกเปลี่ยนในวันนี้
ถอดบทเรียน
อาจารย์หลายท่านสะท้อนว่า การสอนในภาคเรียนแรก ยังคงเป็นลักษณะของการบรรยาย และเนื้อหายังต้องปรับเนื้อหาให้เป็น "การศึกษาทั่วไปมากขึ้น" และเห็นตรงกันว่า ควรจะปรับใหม่ทั้งเนื้อหาและกระบวนการ และเห็นด้วยว่าเราจะต้องยึดหลักคิด ๓ ประการในการปรับปรุงครั้งนี้ ได้แก่ ๑) เป็นการสอนแบบบูรณาการ อาจารย์ท่านเดียวสามารถสอนได้อย่างต่อเนื่องตลอดเทอม หรืออาจารย์ที่ยังไม่มั่นใจให้จับคู่สอนร่วมกันโดยไม่แบ่งขั้นด้วยการสอบกลางภาคเหมือนภาคเรียนแรก ๒) เป็นวิชาที่มุ่งให้นิสิตได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ลดการบรรยายลงให้เหลือน้อยที่สุด ใช้กิจกรรมนำให้เกิดประสบการณ์ โดยนำเอาทฤษฎีต่างๆ มาอธิบาย ก่อนการสะท้อนและสรุปบทเรียนในแต่ละสัปดาห์ และ ๓) มุ่งเอาเป้าหมายตามปรัชญาของสำนักศึกษาทั่วไปเป็นตัวตั้ง คือ รู้จักตนเอง เข้าใจผู้อื่น และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
ผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยยึด ๓ หลักการนี้ ทำให้เรามีข้อสรุปที่คุ้มค่า ทั้งด้านการกำหนดเนื้อหาของรายวิชา กระบวนจัดการเรียนการสอน และรูปแบบของการจัดทำเอกสารประกอบการสอน ดังสรุปได้ดังนี้
เนื้อหาของรายวิชา
เรากำหนดเนื้อหาไว้ทั้งหมด ๕ บทเรียน ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่มุ่งตรงสู่ การรู้จักตนเอง เข้าใจผู้อื่น และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ดังนี้
สังเกตว่าเนื้อหาน้อยลง และเป็นการศึกษาทั่วไป ที่จะต้องนำไปใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น
กระบวนการจัดการเรียนการสอน
วิธีจัดการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการ และมุ่งให้นิสิตผ่านประสบการณ์ตรง โดยเฉพาะการเรียนรู้ด้วยการเฝ้าสังเกตความคิดและความรู้สึกของตนเอง ผ่านกิจกรรมต่างๆ ตามแนวทางดังนี้
โดยตอนท้ายของการสนทนา เราได้กำหนดรูปแบบของการจัดทำเอกสารประกอบการสอน และแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ มอบหมายให้แต่ละคนรับผิดชอบคนละหัวเรื่อง เพื่อไปจัดทำร่างเอกสาร แล้วให้ส่งมาให้ผมเป็นผู้รวบรวม เพื่อจะจัดประชุมเตรียมสอนก่อนเปิดเทอมต่อไป
ขอขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่าน อีกครั้งหนึ่งครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น