วันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๘ CADL จัดวง KM เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป รหัสวิชา ๐๐๓๒๐๐๑ มนุษย์กับอารยธรรมและศาสนา หลังจากผ่านภาคการศึกษาแรก ของหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป (ปรับปรุงใหม่ ๒๕๕๘) มีอาจารย์ผู้สอนมาร่วมการประชุมนี้ ๔ ท่าน ได้แก่ ผศ.ดร.สมชาติ มณีโชติ
ผศ.นารีรัตน์ ปริสุทธิวุฒิพร ผศ.พรรณิกา ฉายากุล และ อาจารย์สายไหม
ไชยศิรินทร์ ผู้ไม่สามารถมาได้ ๒ ท่าน คือ รศ.ดร.ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ และ
อาจารย์วิทยา อรรถโยโค
BAR กันว่า จะทราบกระบวนการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ผ่านมา ปัญหาอุปสรรค และได้แนวทางแก้ไข และปรับแผนการสอนใหม่ให้ดีขึ้น... ต่อไปนี้เป็นข้อสรุปที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา ที่เห็นการเปลี่ยนแปลงได้ชัด ในแต่ละด้าน
ด้านเนื้อหา
รายวิชานี้เป็นรายวิชา ๒ หน่วยกิต มีจุดมุ่งหมายด้านองค์ความรู้พื้นฐานที่จำเป็น ให้นิสิตทุกคนเป็นผู้มีความรู้รอบ รู้กว้างขวาง เพื่อส่งเสริมความภาคภูมิใจในรากเหง้าวัฒนธรรมของตนเอง โดยกำหนดคำอธิบายรายวิชา ไว้ดังนี้
"ธรรมชาติของมนุษย์และสังคม
พัฒนาการและความสัมพันธ์ของมนุษย์ในอารยธรรมและวัฒนธรรมต่าง ๆ ในมิติทางสังคม
ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม เศรษฐกิจ
การเมือง ความเชื่อ ลัทธิและศาสนา
ที่มีผลต่อแนวคิดแนวปฏิบัติของมนุษย์และสังคม"
โดยภาคการเรียนแรก ได้แบ่งเนื้อหาออกเป็นตอนๆ ตามลำดับเวลาและอารยธรรมที่เหตุเป็นปัจจัยต่อกัน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจันปัน ดังสรุปพอสังเขป ต่อไปนี้
หัวข้อหลักที่ ๑ ความหมายของอารยธรรมและแหล่งอารยธรรมที่สำคัญ มีเนื้อหา ๕ หัวเรื่องย่อย ใช้เวลาสอน ๕ สัปดาห์ เรียงตามลำดับเนื้อหา ดังนี้
สัปดาห์ที่ ๑) ความหมายของ อารยธรรม - วัฒนธรรม
สัปดาห์ที่ ๒) อารยธรรมที่สำคัญของโลกตะวันตก ตั้งแต่ ไทกรีส ยูเฟรติส อิยิปต์ กรีก จนมาถึง อารยธรรมโรมัน
สัปดาห์ที่ ๓) อารยธรรมที่สำคัญของโลกตะวันออก : จีน ญี่ปุ่น และการปรับตัวของจีนและญี่ปุ่นจากอิทธิพลของอารยธรรมตะวันตก
สัปดาห์ที่ ๔) อารยธรรมที่สำคัญของโลกตะวันออก : อินเดีย
สัปดาห์ที่ ๕) อารยธรรมที่สำคัญของโลกตะวันออก : เอเชียอาคเนย์/ตะวันออกกลาง
หัวข้อหลักที่ ๒ พัฒนาการที่สำคัญของมนุษย์อันเป็นพื้นฐานของมนุษย์ในปัจจุบัน แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๗ หัวข้อย่อย แต่ใช้เวลาสอนเพียง ๔ สัปดาห์ ดังนี้
สัปดาห์ที่ ๖) - การเกิดรัฐชาติ (Nation State) - การปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Revolution) - การปฏิบัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม
สัปดาห์ที่ ๗) - ความคิดแบบประชาธิปไตยในโลกตะวันตกและโลกตะวันออก - โลกาภิวัฒน์ (Globalization) กับการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ความเชื่อ ลัทธิ และศาสนา
สัปดาห์ที่ ๙) การปรับตัวของจีน - ญี่ปุ่นกับการรับอิทธิพลตะวันตก ... (สัปดาห์ที่ ๘ สอบกลางภาค)
สัปดาห์ที่ ๑๐) การปรับตัวของเอเชียอาคเนย์ กับการรับอิทธิพลตะวันตก
หัวเรื่องหลักที่ ๓ คนไทย-อีสาน การรับรู้เรื่องของคนไทยและอารยธรรมไทย แบ่งออกเป็น ๔ หัวเรื่องย่อย แต่ใช้เวลาสอนเพียง ๒ สัปดาห์
สัปดาห์ที่ ๑๑) - วัฒนธรรมตะวันตก -> ไท -> สยาม -> ไทย -> ลาว -> อีสาน - ลักษณะอารยธรรมไทย สังคมไพร่ เศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง ความเชื่อ ลัทธิ และศาสนา
สัปดาห์ที่ ๑๒) - ความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยเมื่อเผชิญกับวัฒนธรรมตะวันตก - จะรักษาความเป็นไทย-อีสาน ได้อย่างไร
สามหัวข้อหลักที่กล่าวมานี้ เราตกลงเป็นมติในที่ประชุมให้เป็นหน้าที่ของอาจารย์สังกัดภาควิชาประวัติศาสตร์ โดยใช้เวลาสอนทั้งหมด ๑๑ สัปดาห์
หัวเรื่องหลักที่ ๔ มนุษย์กับสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง รับผิดชอบโดยอาจารย์สังกัดภาควิชาสังคมและมนุษยวิทยา ใช้เวลาสอน ๓ สัปดาห์ ตามหัวเรื่องย่อยทั้ง ๓ คือสัปดาห์ที่ ๑๒-๑๔
ผลการถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านเนื้อหา
หลังจากภาคการสอนไปภาคเรียนแรก อาจารย์ผู้สอนสะท้อนว่า เนื้อหาที่กำหนดตามแผนดังกล่าวนี้ มากเกินไป ควรจะปรับให้น้อยลง และขยับสลับลำดับหัวเรื่องเพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตามเหตุการณ์ โดยแบ่งเป็น ๓ ระดับ จากไกลตัวมาใกล้ตัว ได้แก่ โลกภูมิ -> ชาติภูมิ ->มาตุภูมิ และจากอดีตมายังปัจจุบัน คือ เริ่มจาก ประวัติศาสตร์ก่อนค่อยมาต่อศาสตร์ด้านสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา ที่ว่าด้วย สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ดังแผนผังด้านล่าง
โดยกำหนดเป็นแผนการเรียนใหม่ สำหรับ ปีการศึกษา ๒-๒๕๕๘ ตามเอกสาร มคอ. ๓ ของรายวิชา (ดาวน์โหลดได้ที่นี่)
ด้านการบริหารจัดการและกระบวนการเรียนการสอน
การจัดการเรียนการสอนในภาคเรียนแรก เปิดเรียนทั้งหมด ๙ กลุ่มเรียน อาจารย์ผู้สอนแต่ละท่านจะแบ่งกันรับผิดชอบบรรยายตามหัวเรื่องที่ตนเองเชี่ยวชาญ นั่นหมายถึง อาจารย์หนึ่งท่านต้องเวียนไปสอน ๙ รอบ (บรรยายซ้ำ ๙ ครั้ง) ด้วยข้อจำกัดของขนาดห้องเรียน
อาจารย์ผู้สอนสะท้อนว่า การสอนรายวิชานี้ในแต่ละหัวเรื่อง ต้องใช้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในหัวเรื่องนั้นๆ จริงๆ จึงจะสามาถอธิบาย เชื่อมโยง เล่าเหตุการณ์ และตีความให้เห็นอย่างชัดเจน อาจารย์ท่านหนึ่งจึงจะเป็นต้องสอบเวียนกันหลายครั้ง ปัญคือ อาจารย์ผู้สอนมีจำนวนน้อย
แนวทางแก้ไขของปัญหานี้ คือ การจัดห้องเรียนให้มีขนาดใหญ่มากขึ้น ซึ่งสำนักศึกษาทั่วไป ไม่มีห้องเรียนขนาดใหญ่ และการขอใช้ห้องประชุมของคณะ-วิทยาลัย ก็เป็นไปได้ยาก จึงมีข้อสรุปตรงกันว่า ในภาคการเรียนที่ ๒ นี้จะใช้ระบบการสอนแบบถ่ายทอด กล่าวคือ อาจารย์สอนอยู่ห้องหนึ่ง จัดถ่ายทอดสดไปยังห้องอื่นๆ ซึ่งสำนักศึกษาทั่วไป มีศักยภาพที่จะทำได้ และเคยทำมาแล้วในอดีต
.....ด้านอื่นๆ จะมาเล่าต่อบันทึกต่อไปนะครับ
วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558
วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2558
รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๒๐๐๔ ความเป็นมนุษย์กับการเรียนรู้ ถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยน หลังภาคการเรียนแรก
วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ อาจารย์ผู้สอนรายวิชา ๐๐๓๒๐๐๔ ความเป็นมนุษย์และการเรียนรู้ จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียน เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน KM เวทีนี้จัดที่ห้องประชุม ๓ สโมสรบุคลากร มีอาจารย์ผู้สอนเข้ามากันเกือบครบถ้วน ขาดแต่เพียง ๑ ท่าน ที่จำเป็นต้องเดินทางไปราชการเท่านั้น
กำลังจะครบ ๑ ภาคการศึกษา สำหรับวิชาแห่งความหวัง ที่จะสร้างพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงจากภายในอย่างแท้จริง และเป็นรายวิชาที่พัฒนามุ่งตรงพัฒนานิสิตตามปรัชญาของสำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่จะสร้างคนที่ "เข้าใจตนเองและผู้อื่น อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข" ตอนท้ายของการคุยแรกเปลี่ยน มีข้อตกลงว่า เอกสารประกอบการเรียนภาคเรียนต่อไป จะปรับให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ส่งเสริมนิสิตให้ "รู้จักตนเอง" "เข้าใจผู้อื่น" และ "อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข" ... ผมยังคงอาสาที่จะเป็นผู้รวบรวมเหมือนเดิม ...
รายวิชานี้แต่เดิม ใช้ชื่อว่า "จิตวิทยา" แต่เพื่อไม่ให้สับสนกับศาสตร์สาขาวิชาเกี่ยวกับจิตวิทยา จึงปรับชื่อและคำอธิบายรายวิชาใหม่ ให้ชัดเจนขึ้น ไม่ให้เกิดความสับสนกับวิชา เน้นเนื้อหา(วิชาเฉพาะ) แต่เปิดกว้างสำหรับอาจารย์ผู้สอนโดยไม่จำกัดสาขาวิชา ให้ได้มาร่วมกันพัฒนาให้เป็นวิชาที่เน้นกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความเป็นมนุษย์ โดยปรับคำอธิบายรายวิชาให้เป็น "จีอี" ดังนี้
"ธรรมชาติของการเรียนรู้ การจูงใจ และพฤติกรรมมนุษย์ กระบวนการจิตตปัญญาศึกษา สุนทรียสนทนา การพัฒนาจิตเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง การคิดแบบองค์รวม การปรับตัวสู่สังคมสมัยใหม่"
BAR (before action review)
ความคาดหวังร่วมกัน คือประเด็นสำคัญที่ต้องเริ่มคุยกัน วิธีที่เราใช้คือการเอาความคาดหวังของโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนมาเป็น "ตุ๊กตา" แล้วร่วมกันพิจารณาว่าจะปรับอย่างไร หรือจะพูดคุยประเด็นใดก่อนหลัง ดังนี้
สองประเด็นแรกอาจเรียกรวมกันสั้นๆ ว่า "ถอดบทเรียน" ส่วนสามประเด็นหลังเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และระดมสมองเพื่อร่วมกันมองไปข้างหน้าเพื่อกำหนดวิธีการพัฒนาที่ชัดเจน อาจเรียกว่า "แลกเปลี่ยนเรียนรู้"
องค์ประกอบเบื้องต้นที่ต้องมีในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้บรรลุตามจุดประสงค์ ได้แก่ ๑) มีอาจารย์ผู้สอนที่ดี ๒) มีสื่อหรือกิจกรรมการเรียนการสอนที่ดี รวมทั้งมีเอกสารประกอบการสอนที่ดี และ ๓) มีกระบวนการประเมินผลที่ดี .... ตอนนี้เรามีอาจารย์ผู้สอนที่ดี ส่วน ๒ ข้อหลังคือสิ่งที่เราคาดหวังในการสนทนาแลกเปลี่ยนในวันนี้
ถอดบทเรียน
อาจารย์หลายท่านสะท้อนว่า การสอนในภาคเรียนแรก ยังคงเป็นลักษณะของการบรรยาย และเนื้อหายังต้องปรับเนื้อหาให้เป็น "การศึกษาทั่วไปมากขึ้น" และเห็นตรงกันว่า ควรจะปรับใหม่ทั้งเนื้อหาและกระบวนการ และเห็นด้วยว่าเราจะต้องยึดหลักคิด ๓ ประการในการปรับปรุงครั้งนี้ ได้แก่ ๑) เป็นการสอนแบบบูรณาการ อาจารย์ท่านเดียวสามารถสอนได้อย่างต่อเนื่องตลอดเทอม หรืออาจารย์ที่ยังไม่มั่นใจให้จับคู่สอนร่วมกันโดยไม่แบ่งขั้นด้วยการสอบกลางภาคเหมือนภาคเรียนแรก ๒) เป็นวิชาที่มุ่งให้นิสิตได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ลดการบรรยายลงให้เหลือน้อยที่สุด ใช้กิจกรรมนำให้เกิดประสบการณ์ โดยนำเอาทฤษฎีต่างๆ มาอธิบาย ก่อนการสะท้อนและสรุปบทเรียนในแต่ละสัปดาห์ และ ๓) มุ่งเอาเป้าหมายตามปรัชญาของสำนักศึกษาทั่วไปเป็นตัวตั้ง คือ รู้จักตนเอง เข้าใจผู้อื่น และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
ผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยยึด ๓ หลักการนี้ ทำให้เรามีข้อสรุปที่คุ้มค่า ทั้งด้านการกำหนดเนื้อหาของรายวิชา กระบวนจัดการเรียนการสอน และรูปแบบของการจัดทำเอกสารประกอบการสอน ดังสรุปได้ดังนี้
เนื้อหาของรายวิชา
เรากำหนดเนื้อหาไว้ทั้งหมด ๕ บทเรียน ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่มุ่งตรงสู่ การรู้จักตนเอง เข้าใจผู้อื่น และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ดังนี้
สังเกตว่าเนื้อหาน้อยลง และเป็นการศึกษาทั่วไป ที่จะต้องนำไปใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น
กระบวนการจัดการเรียนการสอน
วิธีจัดการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการ และมุ่งให้นิสิตผ่านประสบการณ์ตรง โดยเฉพาะการเรียนรู้ด้วยการเฝ้าสังเกตความคิดและความรู้สึกของตนเอง ผ่านกิจกรรมต่างๆ ตามแนวทางดังนี้
โดยตอนท้ายของการสนทนา เราได้กำหนดรูปแบบของการจัดทำเอกสารประกอบการสอน และแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ มอบหมายให้แต่ละคนรับผิดชอบคนละหัวเรื่อง เพื่อไปจัดทำร่างเอกสาร แล้วให้ส่งมาให้ผมเป็นผู้รวบรวม เพื่อจะจัดประชุมเตรียมสอนก่อนเปิดเทอมต่อไป
ขอขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่าน อีกครั้งหนึ่งครับ
กำลังจะครบ ๑ ภาคการศึกษา สำหรับวิชาแห่งความหวัง ที่จะสร้างพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงจากภายในอย่างแท้จริง และเป็นรายวิชาที่พัฒนามุ่งตรงพัฒนานิสิตตามปรัชญาของสำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่จะสร้างคนที่ "เข้าใจตนเองและผู้อื่น อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข" ตอนท้ายของการคุยแรกเปลี่ยน มีข้อตกลงว่า เอกสารประกอบการเรียนภาคเรียนต่อไป จะปรับให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ส่งเสริมนิสิตให้ "รู้จักตนเอง" "เข้าใจผู้อื่น" และ "อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข" ... ผมยังคงอาสาที่จะเป็นผู้รวบรวมเหมือนเดิม ...
รายวิชานี้แต่เดิม ใช้ชื่อว่า "จิตวิทยา" แต่เพื่อไม่ให้สับสนกับศาสตร์สาขาวิชาเกี่ยวกับจิตวิทยา จึงปรับชื่อและคำอธิบายรายวิชาใหม่ ให้ชัดเจนขึ้น ไม่ให้เกิดความสับสนกับวิชา เน้นเนื้อหา(วิชาเฉพาะ) แต่เปิดกว้างสำหรับอาจารย์ผู้สอนโดยไม่จำกัดสาขาวิชา ให้ได้มาร่วมกันพัฒนาให้เป็นวิชาที่เน้นกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความเป็นมนุษย์ โดยปรับคำอธิบายรายวิชาให้เป็น "จีอี" ดังนี้
"ธรรมชาติของการเรียนรู้ การจูงใจ และพฤติกรรมมนุษย์ กระบวนการจิตตปัญญาศึกษา สุนทรียสนทนา การพัฒนาจิตเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง การคิดแบบองค์รวม การปรับตัวสู่สังคมสมัยใหม่"
BAR (before action review)
ความคาดหวังร่วมกัน คือประเด็นสำคัญที่ต้องเริ่มคุยกัน วิธีที่เราใช้คือการเอาความคาดหวังของโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนมาเป็น "ตุ๊กตา" แล้วร่วมกันพิจารณาว่าจะปรับอย่างไร หรือจะพูดคุยประเด็นใดก่อนหลัง ดังนี้
- ทบทวน สะท้อน การจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมา
- ถอดประสบการณ์ความสำเร็จของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
- ร่วมกันปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชา
- พัฒนาเอกสารประกอบการสอนร่วมกัน
- กำหนดแนวทางพัฒนารายวิชาในปีการศึกษาหน้าร่วมกัน
สองประเด็นแรกอาจเรียกรวมกันสั้นๆ ว่า "ถอดบทเรียน" ส่วนสามประเด็นหลังเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และระดมสมองเพื่อร่วมกันมองไปข้างหน้าเพื่อกำหนดวิธีการพัฒนาที่ชัดเจน อาจเรียกว่า "แลกเปลี่ยนเรียนรู้"
องค์ประกอบเบื้องต้นที่ต้องมีในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้บรรลุตามจุดประสงค์ ได้แก่ ๑) มีอาจารย์ผู้สอนที่ดี ๒) มีสื่อหรือกิจกรรมการเรียนการสอนที่ดี รวมทั้งมีเอกสารประกอบการสอนที่ดี และ ๓) มีกระบวนการประเมินผลที่ดี .... ตอนนี้เรามีอาจารย์ผู้สอนที่ดี ส่วน ๒ ข้อหลังคือสิ่งที่เราคาดหวังในการสนทนาแลกเปลี่ยนในวันนี้
ถอดบทเรียน
อาจารย์หลายท่านสะท้อนว่า การสอนในภาคเรียนแรก ยังคงเป็นลักษณะของการบรรยาย และเนื้อหายังต้องปรับเนื้อหาให้เป็น "การศึกษาทั่วไปมากขึ้น" และเห็นตรงกันว่า ควรจะปรับใหม่ทั้งเนื้อหาและกระบวนการ และเห็นด้วยว่าเราจะต้องยึดหลักคิด ๓ ประการในการปรับปรุงครั้งนี้ ได้แก่ ๑) เป็นการสอนแบบบูรณาการ อาจารย์ท่านเดียวสามารถสอนได้อย่างต่อเนื่องตลอดเทอม หรืออาจารย์ที่ยังไม่มั่นใจให้จับคู่สอนร่วมกันโดยไม่แบ่งขั้นด้วยการสอบกลางภาคเหมือนภาคเรียนแรก ๒) เป็นวิชาที่มุ่งให้นิสิตได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ลดการบรรยายลงให้เหลือน้อยที่สุด ใช้กิจกรรมนำให้เกิดประสบการณ์ โดยนำเอาทฤษฎีต่างๆ มาอธิบาย ก่อนการสะท้อนและสรุปบทเรียนในแต่ละสัปดาห์ และ ๓) มุ่งเอาเป้าหมายตามปรัชญาของสำนักศึกษาทั่วไปเป็นตัวตั้ง คือ รู้จักตนเอง เข้าใจผู้อื่น และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
ผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยยึด ๓ หลักการนี้ ทำให้เรามีข้อสรุปที่คุ้มค่า ทั้งด้านการกำหนดเนื้อหาของรายวิชา กระบวนจัดการเรียนการสอน และรูปแบบของการจัดทำเอกสารประกอบการสอน ดังสรุปได้ดังนี้
เนื้อหาของรายวิชา
เรากำหนดเนื้อหาไว้ทั้งหมด ๕ บทเรียน ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่มุ่งตรงสู่ การรู้จักตนเอง เข้าใจผู้อื่น และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ดังนี้
สังเกตว่าเนื้อหาน้อยลง และเป็นการศึกษาทั่วไป ที่จะต้องนำไปใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น
กระบวนการจัดการเรียนการสอน
วิธีจัดการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการ และมุ่งให้นิสิตผ่านประสบการณ์ตรง โดยเฉพาะการเรียนรู้ด้วยการเฝ้าสังเกตความคิดและความรู้สึกของตนเอง ผ่านกิจกรรมต่างๆ ตามแนวทางดังนี้
โดยตอนท้ายของการสนทนา เราได้กำหนดรูปแบบของการจัดทำเอกสารประกอบการสอน และแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ มอบหมายให้แต่ละคนรับผิดชอบคนละหัวเรื่อง เพื่อไปจัดทำร่างเอกสาร แล้วให้ส่งมาให้ผมเป็นผู้รวบรวม เพื่อจะจัดประชุมเตรียมสอนก่อนเปิดเทอมต่อไป
ขอขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่าน อีกครั้งหนึ่งครับ
วันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2558
รายวิชาศึกษาทั่วไป : วิชา ๑ หลักสูตร ๑ ชุมชน _๐๒ การประชุมชี้แจง "ร่างรายละเอียดรายวิชา ตามกรอบ TQF" ( มคอ.๓) (๑)
วันนี้ วันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๕๘ มีการประชุมชี้แจงอาจารย์ผู้สอนรายวิชา ๐๐๓๕๐๐๑ หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน ที่ห้องประชุม ๑ สโมสรบุคลากร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีผู้เข้าร่วมประชุมเป็นอาจารย์ผู้สอนรายวิชานี้ ประมาณ ๓๐ คน จาก ๑๓ หลักสูตร
วัตถุประสงค์ของการประชุมคือ ชี้แจงรายละเอียด มคอ.๓ ของรายวิชา และกำหนดแผนพัฒนาอาจารย์ร่วมกัน เราสรุปกันว่าจะพัฒนาอาจารย์กันวันที่ ๕-๖ มกราคม ๒๕๕๘ นี้ ครับ เป็นหน้าที่ของผมต่อไปที่ต้องจัดให้มีเวทีพัฒนาอาจารย์ต่อไป
เจตนารมณ์และหลักการ
เจตนารมณ์อันยิ่งใหญ่คือ ส่งเสริมให้ บัณฑิตที่จบจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีอุดมการณ์เพื่อสังคม "พึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน" ดังปรัชญาในตราโรจนากรของมหาวิทยาลัย นิสิตทุกคนไม่เพียงแต่ต้องเข้าใจจดจำ แต่ต้องได้ลงมือทำ ได้ทดลองนำองค์ความรู้ที่ได้ศึกษาไปให้บริการแก่สังคม ... นี่เป็นความดีระดับสูงสุดสำหรับการอยู่ร่วมกันในสังคม ไม่มีเป้าหมายและปรัชญาใด จะยิ่งใหญ่ไปกว่านี้แล้ว...
หลักคิดในการตั้งชื่อวิชาในศาสตร์สาขาต่างๆ ตามกระบวนทัศน์ปัจจุบัน มุ่งเอาเป้าหมายของรายวิชาเป็นตัวตั้ง คือชื่อวิชาจะสื่อว่าเรียนแล้วได้อะไร ได้ความรู้อะไร ได้ทักษะอะไร หรือเจตคติแบบใด อาจแบ่งได้เป็น ๓ แบบ หนึ่งคือ เน้นให้ได้องค์ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ในลักษณะศาสตร์หรือวิชาที่ได้ค้นพบและยอมรับกันมา เช่น วิชาวิทยาศาสตร์ -> เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ -> เคมีอนินทรีย์ อนุกรมวิธาน กลศาสตร์ ฯลฯ ส่วนใหญ่การตั้งชื่อแบบนี้ ใช้กับศาสตร์สาขาวิชาพื้นฐานเฉพาะด้าน แบบที่สองคือวิชาที่เน้นทักษะ ชื่อของวิชาจะบอกได้ว่าเรียนแล้วจะทำอะไรได้ ใช้อะไรเป็น เช่น วิชาการเลี้ยงหมู วิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ฯลฯ แบบที่สาม คือ วิชาที่เน้นเป้าหมายเชิงนามธรรม อุดมการณ์ เพื่อยกระดับจิตวิญญาณ ซึ่งมีทั้งแบบที่เน้นการคิดปรัชญา แบบเน้นศรัทธาทางศาสนา หรือแบบเน้นปัญญาจากการรู้แจ้งความจริงสูงสุด วิชาศิลปะวิจักษ์ วิชากฎหมายและจริยธรรม เป็นต้น
ชื่อของรายวิชา "๑ หลักสูตร ๑ ชุมชน" ไม่ได้สื่อความหมายตามกระบวนทัศน์ในปัจจุบัน แต่มีเป้าหมายยกระดับจิตวิญญาณการแบ่งปัน เอื้อเฟื้อของนิสิต ซึ่งมหาวิทยาลัยกำหนดวิสัยทัศน์ไว้ชัดเจน และดำเนินนโยบาย ไปสู่เป้าหมายนั้นด้วย โครงการ "๑ หลักสูตร ๑ ชุมชน" มาอย่างต่อเนื่อง จนรู้จักกันทั่วไปทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ... นี่จึงเป็นที่มาของการนำชื่อนี้มาใช้เป็นสัญลักษณ์ของเป้าหมายของรายวิชา
หลักการสำคัญ ๓ ประการ ของการพัฒนารายวิชา คือ
เมื่อยึดหลักของการมีส่วนร่วมข้างต้น การดำเนินการพัฒนารายวิชาที่ผ่านมา จึงไป-มาไม่รวดเร็ว ที่ผ่านมาได้ประชุมระดมสมองไปแล้วหลายครั้ง สรุปได้ดังนี้ครับ
ประเด็นที่อภิปรายกันนาน
๑) รายวิชานี้ ๒ หน่วยกิต จัดการเรียนรู้แบบ ๒(๑-๓-๒) นั้นถูกต้อง ตามหลักการและระเบียบการร่างหลักสูตรหรือไม่?
เอกสารที่ละเอียดที่สุดเกี่ยวกับเรื่องนี้ ดาวน์โหลดได้ที่นี่ครับ และหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป (ปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๘) นี้ ได้ผ่านการพิจารณาของกรรมการวิชาการของมหาวิทยาลัย ผ่านสภามหาวิทยาลัย และรับรองจาก สกอ. เรียบร้อยแล้ว จึงถูกต้องแล้วครับ ...
ปัญหาต่อไปคือ ทำไมต้อง (๑-๓-๒) ทำไมต้องเรียนรวม ๖๐ ชั่วโมง ทั้งทฤษฎี (รวม ๑๕ ชั่วโมง) และปฏิบัติ(รวม ๔๕ ชั่วโมง) คำตอบคือ เพื่อให้อาจารย์ผู้สอน สามารถออกแบบเวลาเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ เพื่อให้นิสิตได้มีโอกาสเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ ได้เข้าพื้นที่สำรวจ สัมผัสสถานการณ์จริงๆ ปัญหาจริงๆ ของชุมชน และได้ฝึกฝนและบ่มเพาะจิดอาสาที่จะนำเอาสิ่งที่ได้เรียนรู้ในมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะจากหลักสูตรของตนเอง ไปให้บริการรับใช้สังคม บูรณาการกับโครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชนอย่างเต็มที่
๒) รายวิชานี้เกี่ยวข้องแค่ไหน อย่างไรกับโครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน
แนวคิดในการการสร้างรายวิชานี้มีที่มาจากที่มหาวิทยาลัยได้ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ๓ มิติ คือบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ บูรณาการกับงานทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น และบูรณาการกับการวิจัย เมื่อนำมาคิดร่วมกับวัตถุประสงค์ของรายวิชาศึกษาทั่วไป ที่ไม่ได้มุ่งผลผลิตหรือผลลัพธ์จากทั้ง ๓ ด้านพันธกิจ เพียงมุ่งเตรียมนิสิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามอัตลักษณ์ การบูรณาการจึงเน้นการเรียนรู้ของนิสิต เช่น
๓) ใครจะต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชานี้ ไม่เรียนได้ไหม?
นิสิตรหัส ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชานี้ เพราะเป็นเงื่อนไขของหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป (ปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๘) ซึ่งกำหนดไว้เป็นรายวิชาบังคับเลือก ในหมวดกลุ่มสหศาสตร์
มิเช่นนั้น จะไม่สำเร็จการศึกษา ครับ
๔) จำเป็นต้องเปิดเทอมหน้าไหม?
ไม่ครับ ... หลักสูตรใดพร้อมก่อนเปิดเรียนก่อน หลักสูตรใดพร้อมทีหลังเปิดทีหลังได้ แต่นิสิตรหัส ๕๘ ขึ้นไปต้องได้ลงทะเบียนเรียนรายวิชานี้ .... อย่างไรก็ดี ก.พ.ร. ของมหาวิทยาลัย ได้กำหนดเกณฑ์ให้ทุกคณะ ต้องทำโครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชนอย่างน้อยร้อยละ ๘๐ นั่นหมายถึง ควรจะเปิดสอนรายวิชานี้ทุกปีการศึกษา เพื่อให้นิสิตที่ลงทะเบียนได้ร่วมเรียนรู้กับการดำเนินโครงการฯ
๕) ทุกหลักสูตรต้องมีอาจารย์ผู้สอบประจำหลักสูตรใช่ไหม?
ใช่ครับ ต้องมีอาจารย์ผู้สอนประจำหลักสูตรในรายวิชานี้อย่างน้อย ๑ ท่าน ถ้ามีหลายท่าน จะมีอาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชาประจำหลักสูตร ๑ ท่าน
๖) แต่ละหลักสูตรต้องเปิดกี่กลุ่มเรียน?
แต่ละหลักสูตรมีอย่างน้อย ๑ กลุ่มเรียน หากมีนิสิตจำนวนมาก ให้เปิดได้หลายกลุ่มเรียน ตามความประสงค์ของอาจารย์ผู้สอนประจำหลักสูตรและข้อจำกัดของห้องเรียน
บันทึกต่อไป จะมาลงลึกรายละเอียดแผนการสอนตาม มคอ.๓ ครับ
วัตถุประสงค์ของการประชุมคือ ชี้แจงรายละเอียด มคอ.๓ ของรายวิชา และกำหนดแผนพัฒนาอาจารย์ร่วมกัน เราสรุปกันว่าจะพัฒนาอาจารย์กันวันที่ ๕-๖ มกราคม ๒๕๕๘ นี้ ครับ เป็นหน้าที่ของผมต่อไปที่ต้องจัดให้มีเวทีพัฒนาอาจารย์ต่อไป
เจตนารมณ์และหลักการ
เจตนารมณ์อันยิ่งใหญ่คือ ส่งเสริมให้ บัณฑิตที่จบจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีอุดมการณ์เพื่อสังคม "พึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน" ดังปรัชญาในตราโรจนากรของมหาวิทยาลัย นิสิตทุกคนไม่เพียงแต่ต้องเข้าใจจดจำ แต่ต้องได้ลงมือทำ ได้ทดลองนำองค์ความรู้ที่ได้ศึกษาไปให้บริการแก่สังคม ... นี่เป็นความดีระดับสูงสุดสำหรับการอยู่ร่วมกันในสังคม ไม่มีเป้าหมายและปรัชญาใด จะยิ่งใหญ่ไปกว่านี้แล้ว...
หลักคิดในการตั้งชื่อวิชาในศาสตร์สาขาต่างๆ ตามกระบวนทัศน์ปัจจุบัน มุ่งเอาเป้าหมายของรายวิชาเป็นตัวตั้ง คือชื่อวิชาจะสื่อว่าเรียนแล้วได้อะไร ได้ความรู้อะไร ได้ทักษะอะไร หรือเจตคติแบบใด อาจแบ่งได้เป็น ๓ แบบ หนึ่งคือ เน้นให้ได้องค์ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ในลักษณะศาสตร์หรือวิชาที่ได้ค้นพบและยอมรับกันมา เช่น วิชาวิทยาศาสตร์ -> เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ -> เคมีอนินทรีย์ อนุกรมวิธาน กลศาสตร์ ฯลฯ ส่วนใหญ่การตั้งชื่อแบบนี้ ใช้กับศาสตร์สาขาวิชาพื้นฐานเฉพาะด้าน แบบที่สองคือวิชาที่เน้นทักษะ ชื่อของวิชาจะบอกได้ว่าเรียนแล้วจะทำอะไรได้ ใช้อะไรเป็น เช่น วิชาการเลี้ยงหมู วิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ฯลฯ แบบที่สาม คือ วิชาที่เน้นเป้าหมายเชิงนามธรรม อุดมการณ์ เพื่อยกระดับจิตวิญญาณ ซึ่งมีทั้งแบบที่เน้นการคิดปรัชญา แบบเน้นศรัทธาทางศาสนา หรือแบบเน้นปัญญาจากการรู้แจ้งความจริงสูงสุด วิชาศิลปะวิจักษ์ วิชากฎหมายและจริยธรรม เป็นต้น
ชื่อของรายวิชา "๑ หลักสูตร ๑ ชุมชน" ไม่ได้สื่อความหมายตามกระบวนทัศน์ในปัจจุบัน แต่มีเป้าหมายยกระดับจิตวิญญาณการแบ่งปัน เอื้อเฟื้อของนิสิต ซึ่งมหาวิทยาลัยกำหนดวิสัยทัศน์ไว้ชัดเจน และดำเนินนโยบาย ไปสู่เป้าหมายนั้นด้วย โครงการ "๑ หลักสูตร ๑ ชุมชน" มาอย่างต่อเนื่อง จนรู้จักกันทั่วไปทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ... นี่จึงเป็นที่มาของการนำชื่อนี้มาใช้เป็นสัญลักษณ์ของเป้าหมายของรายวิชา
หลักการสำคัญ ๓ ประการ ของการพัฒนารายวิชา คือ
- ประสานให้เป็นความร่วมมือของทุกหลักสูตร คณะ-วิทยาลัยเพื่อพัฒนาคุณลักษณะนิสิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัย ส่งเสริมอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย
- ให้นิสิตทุกคน รู้จักบทบาทและความสำคัญของหลักหลักสูตร คณะ-วิทยาลัย และมหาวิทยาลัยในการรับใช้สังคม
- มุ่งปลูกฝังและส่งเสริม “จิตอาสา” โดยการบูรณาการการเรียนรายวิชาศึกษาทั่วไปกับโครงการบริการวิชาการ “หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน”
- ต่อยอดองค์ความรู้จากโครงการ “หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน" ของแต่ละคณะ-วิทยาลัย เพื่อให้นิสิตรู้จักบทบาทและความสำคัญของการบริการวิชาการของแต่ละหลักสูตร
- บูรณาการการจัดการเรียนการสอนของรายวิชา กับ โครงการ “หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน” เพื่อส่งเสริมและปลูกฝัง "จิตอาสา" ที่จะพัฒนาและรับใช้สังคม ตามปรัชญา วิสัยทัศน์ และอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย
- เปิดโอกาสให้แต่ละหลักสูตรหรือสาขาวิชาของคณะ-วิทยาลัย ได้ร่วมออกแบบการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้สอดคล้องกับธรรมชาติของเป้าหมายความรู้หรือทักษะที่จะต้องในไปใช้ในการบริการวิชาการฯ
เมื่อยึดหลักของการมีส่วนร่วมข้างต้น การดำเนินการพัฒนารายวิชาที่ผ่านมา จึงไป-มาไม่รวดเร็ว ที่ผ่านมาได้ประชุมระดมสมองไปแล้วหลายครั้ง สรุปได้ดังนี้ครับ
- ๘-๑๐ พ.ค. ๕๘ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ยกร่างรายละเอียดวิชา -> ได้ร่างแผนการเรียนรู้
- ๒๕ ก.ค. ๕๘ ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อาจารย์ผู้สอน ครั้งแรก -> มีคนเข้าร่วมประชุมไม่มาก
- ๑๗ ก.ย. ๕๘ ประชุมคณะอนุกรรมการเครือข่ายพัฒนาการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป -> บอกว่าให้ไปแต่างตั้งอนุกรรมการพัฒนารายวิชา ขึ้นมาเพื่อจัดทำ มคอ.๓ โดยมีคณะผู้บุกเบิกโครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่ืงชุมชนเป็นกรรมการ
- ๒๗ ต.ค. ๕๘ ประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนารายวิชาฯ ยกร่าง มคอ.๓ -> ได้ร่าง มคอ. ๓ และมอบหมายให้แต่ละฝ่ายไปเขียนเนื้อหาเอกสารประกอบการสอนของรายวิชาฯ
- ๑ ธ.ค. ๕๘ ประชุมติดตาม และยกร่าง มคอ.๓ และเอกสารประกอบการสอนรายวิชาฯ -> ได้ มคอ. ๓
ประเด็นที่อภิปรายกันนาน
๑) รายวิชานี้ ๒ หน่วยกิต จัดการเรียนรู้แบบ ๒(๑-๓-๒) นั้นถูกต้อง ตามหลักการและระเบียบการร่างหลักสูตรหรือไม่?
เอกสารที่ละเอียดที่สุดเกี่ยวกับเรื่องนี้ ดาวน์โหลดได้ที่นี่ครับ และหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป (ปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๘) นี้ ได้ผ่านการพิจารณาของกรรมการวิชาการของมหาวิทยาลัย ผ่านสภามหาวิทยาลัย และรับรองจาก สกอ. เรียบร้อยแล้ว จึงถูกต้องแล้วครับ ...
ปัญหาต่อไปคือ ทำไมต้อง (๑-๓-๒) ทำไมต้องเรียนรวม ๖๐ ชั่วโมง ทั้งทฤษฎี (รวม ๑๕ ชั่วโมง) และปฏิบัติ(รวม ๔๕ ชั่วโมง) คำตอบคือ เพื่อให้อาจารย์ผู้สอน สามารถออกแบบเวลาเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ เพื่อให้นิสิตได้มีโอกาสเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ ได้เข้าพื้นที่สำรวจ สัมผัสสถานการณ์จริงๆ ปัญหาจริงๆ ของชุมชน และได้ฝึกฝนและบ่มเพาะจิดอาสาที่จะนำเอาสิ่งที่ได้เรียนรู้ในมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะจากหลักสูตรของตนเอง ไปให้บริการรับใช้สังคม บูรณาการกับโครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชนอย่างเต็มที่
๒) รายวิชานี้เกี่ยวข้องแค่ไหน อย่างไรกับโครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน
แนวคิดในการการสร้างรายวิชานี้มีที่มาจากที่มหาวิทยาลัยได้ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ๓ มิติ คือบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ บูรณาการกับงานทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น และบูรณาการกับการวิจัย เมื่อนำมาคิดร่วมกับวัตถุประสงค์ของรายวิชาศึกษาทั่วไป ที่ไม่ได้มุ่งผลผลิตหรือผลลัพธ์จากทั้ง ๓ ด้านพันธกิจ เพียงมุ่งเตรียมนิสิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามอัตลักษณ์ การบูรณาการจึงเน้นการเรียนรู้ของนิสิต เช่น
- บูรณาการกับงานบริการวิชาการ ใช้โครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชนของหลักสูตรที่ดำเนินการมาแล้ว เป็นกรณีตัวอย่างในการเรียนรู้ หรือใช้เป็นฐานในการเรียนรู้ หรือใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ของการจัดการเรียนรู้แแบบ Project-based Learning หรือกำหนดชุมชนเป้าหมายของโครงการฯ เป็นเป้าหมายในการศึกษาแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning) .... ออกแบบได้หลากหลายแนวทาง โดยอาจารย์ผู้สอนประจำหลักสูตร คือผู้ออกแบบและกำหนด
- บูรณาการกับงานทำนุศิลปวัฒนธรรมหรือการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น โครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชนของหลายหลักสูตรหรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับศิลปะและวัฒนธรรม หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น หากออกแบบการเรียนรู้ให้นิสิตได้มีโอกาสได้เข้าร่วม ศึกษา เรียนรู้ เยี่ยมดูหน้างาน น่าจะทำให้เกิดผลลัพธ์มากกว่า เรียนแบบบรรยายทั่วไป
- บูรณาการกับงานวิจัย มิตินี้จะทำให้นิสิตใหม่ในหลักสูตร ได้เห็นกระบวนการวิจัยในสาขา ที่สามารถนำมาบริการรับใช้สังคมได้อย่างเป็นรูปธรรม ผ่านโครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน
๓) ใครจะต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชานี้ ไม่เรียนได้ไหม?
นิสิตรหัส ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชานี้ เพราะเป็นเงื่อนไขของหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป (ปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๘) ซึ่งกำหนดไว้เป็นรายวิชาบังคับเลือก ในหมวดกลุ่มสหศาสตร์
มิเช่นนั้น จะไม่สำเร็จการศึกษา ครับ
๔) จำเป็นต้องเปิดเทอมหน้าไหม?
ไม่ครับ ... หลักสูตรใดพร้อมก่อนเปิดเรียนก่อน หลักสูตรใดพร้อมทีหลังเปิดทีหลังได้ แต่นิสิตรหัส ๕๘ ขึ้นไปต้องได้ลงทะเบียนเรียนรายวิชานี้ .... อย่างไรก็ดี ก.พ.ร. ของมหาวิทยาลัย ได้กำหนดเกณฑ์ให้ทุกคณะ ต้องทำโครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชนอย่างน้อยร้อยละ ๘๐ นั่นหมายถึง ควรจะเปิดสอนรายวิชานี้ทุกปีการศึกษา เพื่อให้นิสิตที่ลงทะเบียนได้ร่วมเรียนรู้กับการดำเนินโครงการฯ
๕) ทุกหลักสูตรต้องมีอาจารย์ผู้สอบประจำหลักสูตรใช่ไหม?
ใช่ครับ ต้องมีอาจารย์ผู้สอนประจำหลักสูตรในรายวิชานี้อย่างน้อย ๑ ท่าน ถ้ามีหลายท่าน จะมีอาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชาประจำหลักสูตร ๑ ท่าน
๖) แต่ละหลักสูตรต้องเปิดกี่กลุ่มเรียน?
แต่ละหลักสูตรมีอย่างน้อย ๑ กลุ่มเรียน หากมีนิสิตจำนวนมาก ให้เปิดได้หลายกลุ่มเรียน ตามความประสงค์ของอาจารย์ผู้สอนประจำหลักสูตรและข้อจำกัดของห้องเรียน
บันทึกต่อไป จะมาลงลึกรายละเอียดแผนการสอนตาม มคอ.๓ ครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)