กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ผมทำหน้าที่เป็น "คุณอำนวย" หรือ Facilitator อำนวยการให้เกิดการระดมสมองของอาจารย์ผู้ประสานงานทั้งหมด เราตั้ง "หัวปลา" ทำนองว่า อาจารย์ผู้ประสานงานฯ มีความเห็นและข้อเสนอแนะอย่างไรต่อการปรับปรุงหลักสูตร หมวดวิชาศึกษาทั่วไป โดยผมกำหนดแบ่งไว้เป็น ๔ ประเด็น ได้แก่ ๑) วัตถุประสงค์การเรียนรู้ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ควรมีการปรับเปลี่ยนหรือไม่อย่างไร ๒) รายวิชาที่มีอยู่ควรจะปรับปรุงอย่างไร ๓) ควรจะเพิ่มเติมรายวิชาอะไร (ในกลุ่มวิชาใด) ๔) อาจารย์ผู้ประสานงานควรจะมีส่วนร่วมในการปรับปรุงหลักสูตรอย่างไร โดยจัดกระบวนการแลกเปลี่ยนแบบสนทนากลุ่มย่อยตามกลุ่มรายวิชา ๖ กลุ่มย่อย ก่อนจะนำเสนอกันหลังเบรคเช้า และขมวดประเด็นที่เห็นร่วมกัน ให้เป็นข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการปรับปรุงหลักสูตรฯ ต่อไป
ก่อนจะเริ่มช่วงเวลาแห่งการระดมสมอง ผมได้นำเสนอมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑ ที่ประกาศใหม่ (ดาวน์โหลดได้ที่นี่) โดยเปรียบเทียบกับมาตรฐานการอุดม พ.ศ. ๒๕๔๙ (ดาวนืโหลดที่นี่) ให้อาจารย์ทุกท่านทราบโดยทั่วกันก่อน โดยนำมาเฉพาะความคิดรวบยอดสำคัญ ๆ ดังสไลด์
- สังเกตว่า มาตรฐานการอุดมที่ประกาศใหม่ เน้นคำสำคัญ ๓-๔ คำ ที่เติมเพิ่มใหม่ หรือ เน้นย้ำ ได้แก่ ทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ เคารพกฎหมาย มีภาวะผู้นำ และ การเรียนรู้สู่การร่วมกันสร้างสรรค์นวัตกรรม
- มาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๙ นั้น เขียนกำหนดวัตถุประสงค์ออกเป็นด้าน ๆ ลักษณะการเขียนเหมือน "นักการศึกษา" กล่าวคือ ไม่เพียงเขียนผลลัพธ์การเรียนรู้ที่มีลักษณะครอบคลุมกว้างขวาง ยังเขียนแนวทางการจัดการเรียนรู้ไว้ด้วย
- ส่วนมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๐ นั้น เขียนลักษณะแบบ "นักวิทย์" หรือ "นักยุทธ์" คือ เขียนกำหนดไว้เฉพาะเป้าหมาย ที่สอดคล้องรองรับกับพันธกิจมหาวิทยาลัย
- ๙ ข้อนี้คือวัตถุประสงค์การเรียนรู้หลัก หรือผลลัพธ์ของผู้เรียน (Learning Outcome) ที่เราต้องการ ซึ่งได้ปรับจาก ๘ ข้อของผลการวิจัยของเครือข่ายการศึกษาทั่วไป
- เป้าประสงค์นี้เป็นหลักในการออกแบบโครงสร้างหลักสูตรหหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ที่แสดงดังตารางด้านล่าง
- สังเกตว่า มีวิชาหลักจำนวน ๒๑ รายวิชา จำนวนหน่วยกิต ๒๘ หน่วยกิต วิชาภาษาอังกฤษบังคับเรียน ๓ วิชา วิชาภาษาไทยและภาษาอื่น ๆ มี ๓ เลือกเรียน ๒ ส่วนวิชากลุ่มสหศาสตร์ มี ๑ วิชาคือ วิชาหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุนชน ทุกคนต้องเรียนวิชานี้้ เพื่อเน้นการปลูกฝังจิตอาสาและจิตสาธารณะ
- LO ทั้ง ๙ ข้อของหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มีความสอดคล้องเชื่อมโยงกับผลการเรียนรู้ ๕ ด้านตามกรอบ TQF ดังภาพ
- และ Mapping กับรายวิชาต่าง ๆ จะสอดคล้องกับจุดเน้น จุดเด่นของรายวิชาดังภาพด้านบนนี้
- จากการสำรวจด้วยแบบสอบถาม ถึงระดับการบรรลุเป้าหมายตาม LO ที่กำหนด ๙ ด้าน กับคนสามกลุ่ม ได้แก่ นิสิตชั้นปี ๓-๔ อาจารย์ผู้สอน และประธานหลักสูตร ได้แบบสอบถามกลับมาจำนวนหนึ่ง แม้ว่าจะยังไม่เป็นไปตามหลักการวิจัย แต่ข้อมูลเหล่านี้อาจจะเป็นผลดีต่อการปรับปรุงหลักสูตรในแง่ของแนวโน้มและมุมมอง
- สังเกตว่า อาจารย์ผู้สอนบอกว่า บรรลุวัตถุประสงค์อยู่ในระดับ "มากที่สุด" เป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ นิสิตและประธานหลักสูตร บอกว่า อยู่ในระดับ "มาก" เป็นส่วนใหญ่
- สังเกตว่า ประธานหลักสูตร ที่ไม่ได้เป็นอาจารย์ผู้สอน บอกว่า การบรรลุผลส่วนใหญ่อยู่ในระดับ "ปานกลาง" เท่านั้น
- อย่างไรก็ตาม ผลการสอบถามโดยเฉลี่ยก็ถือว่า บรรลุผลอยู่ในระดับ "มาก"
- งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่ง ที่สำรวจความเห็นของนิสิตชั้นปี ๓-๔ จำนวน ๔๐๓ คน เกี่ยวกับการบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ ๕ ด้านตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ (TQF) ปรากฎผลดังตาราง
- สังเกตว่า ด้านความรู้ได้คะแนนอยู่ในระดับ "ปานกลาง" ในขณะที่ ด้านอื่นมีผลอยู่ในระดับ "มาก"
- สังเกตว่า นิสิตที่มีเกรดเฉลี่ยต่ำกว่า ๒.๐ บอกว่า บรรลุผลลัพธ์น้อยกว่า ... อย่างไรก็ดี งานวิจัยนี้ไม่ได้บอกว่าจำนวนนิสิตในแต่ละช่วงเกรดนั้นมีมากน้อยเพียงใด แต่หากสังเกตจากค่า S.D. น่าจะต่างมากกับจำนวนนิสิตในช่วงเกรดอื่น
- แนวโน้มของข้อมูลบอกว่า ความรู้ที่ได้จากรายวิชา GE อยู่ที่ระดับปานกลางเท่านั้น ... แสดงว่า การจัดการเรียนรู้ยังไม่ใช่ ... ถ้าใช่วิชาจะได้เรียนรู้เยอะมาก เพราะเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองด้วย และเรียนรู้จากเพื่อนร่วมชั้นด้วย ไม่ใช่เรียนรู้จากครูเป็นศูนย์กลาง
สรุปการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
- ผมออกแบบคำถามเพื่อให้มั่นใจว่าเราจะได้มุ่งไปที่การพิจารณาจากสิ่งที่เราทำมา นำไปสู่การปรับปรุงจากสิ่งที่ทำผ่านมา แม้ว่าอาจจะดูเหมือนการเอาวิชาเป็นตัวตั้ง
- อาจารย์ผู้ประสานงานเห็นว่า วัตถุประสงค์ ๙ ข้อนั้นดีแล้ว ให้ปรับเพิ่มคำสำคัญ ๆ ให้ทันสมัยมากขึ้น เช่น ทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ สัมมาอาชีพ ภาวะผู้นำ การรู้ดิจิตอล จริยะทักษะ ฯลฯ
- ท่านอาจารย์สายไหม ไชยศิรินทร์ ได้เสนอความเห็นที่กระตุกกระตุ้นให้ผมต้องเอาไปปฏิบัติ (ถ้ายังมีโอกาส) คือ ในแต่ละกลุ่มวิชา ต้องจัดให้มีการระดมสมองและแลกเปลี่ยนกันให้ได้ LO ของกลุ่มวิชา ให้ชัดเจน
- จุดเด่นที่สุดของการปรับปรุงหลักสูตรครั้งนี้ จะต้องเป็น "การมีส่วนร่วม" นั่นเอง
- ผู้ประสานงานเห็นว่าควรจะมีการเพิ่มเติมรายวิชาที่มุ่งสร้าง ทักษะชีวิต และจริยะทักษะ ตัวอย่างรายวิชาที่เสนอแสดงดังสไลด์ด้านบน
ขอสรุปไว้เป็นข้อมูลสำหรับการปรับปรุงหลักสูตรฯ ต่อไป เพียงเท่านี้ครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น