วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

GE Concept ความคิดรวบยอด "วิชาศึกษาทั่วไปคืออะไร"

วันนี้ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ ฝ่ายพัฒนาอาจารย์ด้านการเรียนการสอนของสำนักศึกษาทั่วไป เปิดหลักสูตรอบรมอาจารย์ใหม่ แบบกลุ่มเล็ก ๔ ท่าน ... ผม AAR ว่า การอบรมแบบสนทนากลุ่มย่อยนี้ มีประสิทธิภาพมาก ผมเองรู้สึกมีพลังมาก รู้สึกมั่นใจว่าอาจารย์ได้อะไร ๆ ที่เรา BAR ว่าจะให้ท่านเข้าใจใน Concept of General Education (concep GE) อย่างยิ่ง ... อยากบันทึกไว้ให้ท่านอาจารย์ที่เพิ่งจากผ่านการอบรมไป ได้อ่านอีกครั้ง เผื่อมีประเด็นตกหล่นอะไร จะได้แลกเปลี่ยนพัฒนาต่อไปเป็นลำดับ

ขอสรุปไว้เพียง ๓ ประเด็น ดังนี้

๑) เป้าหมายของ GE คือ Softskills ไม่ใช่ Hardskills ดังนั้น เนื้อหาจึึงไม่ใช่วิชาเฉพาะวิชาชีพ

  • Softskills หรือ จริยทักษะ พูดง่ายก็คือ "เก่งคน" ทักษะทางสังคม ซึ่งจะเป็นต่อการดำเนินชีวิตในสังคม โดยเฉพาะการตระหนักรู้จักตนเอง เข้าใจผู้อื่น สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่น ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ รู้จักให้ รู้จักรับ รู้จักเลือก และยับยั้งชั่งใจไม่ทำในสิ่งที่ไม่ดี 
  • สรุป ผู้มี Softskills  ก็คือ "มนุษย์ที่สมบูรณ์"  สมบูรณ์ทั้งกายและใจ มีคุณธรรม จริยธรรม สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณค่าและมีความสุข
๒) การสอน GE ต้องไม่ใช้วิธีแบบ Passive Learning (ถ่ายทอด-ส่งผ่าน)
  • เนื้อหาในรายวิชา GE มีจำนวนมากมายมหาศาล นิสิตสามารถสืบค้นอ่านผ่านมือถืออินเตอร์เน็ตได้อย่างง่ายได้ ... ไม่สามารถนำมาสอนแบบบอกหรือถ่ายทอดได้หมด และไม่จำเป็นต้องทำแบบนั้น เพราะในโลกปัจจุบันนิสิตติด(ตัว)มือถือกันทุกคน
  • สิ่งสำคัญคือ วิจารณญาณในการรับรู้ ตัดสินใจ เลือกใช้ความรู้ที่สืบค้นได้ และที่สำคัญก็คือความใฝ่รุ้และทักษะในการสืบค้น หรือเรียกรวมว่า "ทักษะในการเรียนรู้" นั่นเอง 
  • การสอนเพื่อให้นิสิตได้ "ทักษะในการเรียนรู้" ไม่ใช่การสอนแบบถ่ายทอดหรือบอกความรู้  ต้องเป็นการสอนแบบให้ "ฝึกเรียนรู้" ซึ่งทำได้โดยการสอนแบบ "Active Learning"
  • การสอนแบบ "Active Learning" คือการสอนแบบสองทาง ผู้เรียนมีการโต้ตอบหรือปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนหรือผู้เรียนด้วยกัน ซึ่งมี ๓ แบบ คือ 
    • สอนแบบให้ "ฝึกคิด" วิธีการคือ ต้องใช้คำถาม ผู้สอนต้องใช้คำถามกระตุ้นให้ผุู้เรียน(ค้น)หาคำตอบ ก่อนจะสรุปบอกองค์ความอันเป็นแก่น ... จะให้เก่งคิด ต้องสอนแบบให้ได้ฝึกคิด
    • สอนแบบให้ "ฝึกทำ" วิธีการคือ การสร้างสถานการณ์หรือปัญหาให้นิสิตได้ฝึกทำ ฝึกแก้ปัญหา ฝึกทดลองหาคำตอบด้วยตนเอง
    • สอนแบบให้ "ฝึกคิดและทำ" วิธีการคือ การมอบหมายงานกลุ่ม ให้ทำงานกันเป็นกลุ่ม อาจเป็นการสอนผ่านโครงการ Project-based Learning หรือให้ร่วมกันแก้ปัญหา Problem-based Lerning หรือ สอนผ่านการให้บริการสังคม Service-based Learning เป็นต้น 
๓) การสอน GE ไม่ใช่การสอนให้เตรียมตัวไปสู่ชีวิตจริง แต่ต้องออกแบบให้นิสิตได้เรียนรู้ผ่านการดำเนินชีวิตจริง ขณะที่กำลังเตรียมตัวไปประกอบอาชีพ 
  • วิชา GE ต้องไม่ใช่วิชาปูพื้นฐานสำหรับการไปเรียนวิชาอื่น และไม่ใช่วิชาที่เรียนต่อเนื่องจากวิชาอื่นที่เคยเรียนมาแล้ว  
  • แต่ต้องเป็นวิชาที่มุ่งให้นิสิตได้ศึกษาและเรียนรู้จากการดำเนินชีวิตจริง ๆ  ณ ขณะที่เป็นนิสิตอยู่ 
    • ได้นำองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่กำลังเรียนที่ผ่านมาและกำลังเรียนอยู่ ไปใช้จริง ๆ ในการดำเนินชีวิต 
    • ได้คิดและใช้วิจารณญาณของตนเองในการเรียน รับรู้ และตัดสินใจ และตอบสนองออกไปในการเผชิญชีวิตจริง ๆ  
    • ได้รู้จักตนเองจริง ๆ  ได้พัฒนาความเข้าใจผู้อื่นจากปฏิสัมพันธ์จริงๆ ได้ทดลองดำเนินชีวิตจริงจากการทดลองทำงานจริง ๆ  ด้วยการบริหารจัดการเวลาของตนเองจริง   
  • การจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมวิธีหนึ่งเพื่อ GE บรรลุวัตถุประสงค์นี้คือ Work-Integrated Learning เรียนจากการทำงานจริง ๆ  และ Phenomenon-based Learning เรียนจากการสัมผัสปรากฎการณ์จริง ๆ
ความจริงแล้วมีประเด็นมากมาย ที่เราได้แลกเปลี่ยนกันในการประชุม ผมพยายามสาธิตให้อาจารย์เห็นว่า การสอน GE ควรจะเป็นแบบสองทาง เหมือนกับที่ผมกำลังทำกับกิจกรรมวันนี้นั่นเอง  รายละเอียดที่น่าสนใจที่ได้คุยกันในรายละเอียด ได้แก่

  • GE คือวิชาที่จะทำให้นิสิตเคารพและปฏิบัติตัวได้อย่างเหมาะสมกับคนหรือในสังคมที่แตกต่าง 
  • GE ไม่ได้เน้นทฤษฎี แต่เน้นการสร้างแรงบันดาลใจและความคิดสร้างสรรค์ 
  • GE ที่ดีทั้งผู้สอนและผู้เรียนจะได้เรียนรู้ไปด้วยกัน เพราะต่างตระหนักรู้ว่าเรากำลังอยู่ในห่วงเวลาที่ 
    • Volality (เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว)
    • Uncertainty (ไม่แน่นอน คาดเอาอะไรไม่ได้ unpredicable)
    • Complexity (ซับซ้อน หลายชั้น เชื่อมโยงกันหมด)
    • Ambiguous (คลุมเครือ ไม่ชัดเจน blind บอด) 
  • ฯลฯ 
ขอบคุณอาจารย์ทั้ง ๔ ท่าน ที่แลกเปลี่ยนกันอย่างเต็มที่ ทำให้การอบรมในวันนี้บรรลุประสงค์อย่างดีอีกครั้งหนึ่ง 






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น