กิจกรรม : เรียนรู้จากกรณี "เสียงกู่จากครูใหญ่"
ขั้นตอนของกิจกรรมนี้คือ เปิดคลิปวีดีโอ "เสียงกู่จากครูใหญ่" ให้นิสิตดู แล้วจับกลุ่มช่วยกันถอดบทเรียนการเป็นผู้นำของครูใหญ่
(คลิกที่นี่หากดูไม่ได้)
ผู้เขียนเคย ถอดบทเรียนการดูคลิปนี้แล้วหนึ่งครั้ง เพื่อฝึกภาวะผู้นำจากภายใน คือ ทักษะ "การฟัง" โดยใช้ โดยแยกเป็นประเด็น "เห็นอะไร" "คิดอะไร" และ "รู้สึก" อย่างไร (ผู้สนใจอ่านได้ที่นี่) ภาคเรียนนี้ ปรับใหม่ เราถอดบทเรียนโดยใช้คำถามเดียว คือ "อะไรคือภาวะผู้นำของครูใหญ่" โดยเขียนแสดงในกระดาษปลู๊ฟและสีชอร์ค เป็นรายกลุ่ม ดังนี้ครับ
กลุ่มที่ ๑
กลุ่มที่ ๑
กลุ่มที่ ๑ สรุป นพลักษณะของผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง หรือภาวะผู้นำ ๙ ประการ ของการเป็น Change Agent ดังนี้ ๑) ไม่มีอคติ ๒) เป็นตัวอย่างที่ดี ๓) ซื่อสัตย์ ๔) เสียสละ ๕) เห็นแก่ส่วนรวม ๖) มุ่งมั่นเป้าหมายชัด ๗) มีความรู้ ฉลาด แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ๘) กล้าคิด กล้าเริ่ม ๙) มีการวางแผน ... มีเพียงข้อสี่และข้อห้าเท่านั้นที่ซ้ำประเด็นกัน ส่วนข้ออื่นสรุปได้แหลมคมยิ่งนัก ... สรุปคือ ไม่ต้องสอนเรื่องทักษะการคิดสำหรับนิสิตกลุ่มนี้ ซึ่งมีรายชื่อดังนี้
กลุ่มที่ ๒
กลุ่มที่ ๒ มีสมาชิกที่เป็นศิลปิน มีความสามารถด้านศิลปะ (ขอชื่นชมครับ) นอกจากนั้น ยังสรุปปัจจัยแห่งความสำเร็จของครูใหญ่ไว้อย่างมีมิติ (เกือบจาะเป็นขั้นตอน) ๘ ประการ ได้แก่ ๑) เสียสละ ๒) มีวาทศิลป์ ๓) วางแผนก่อนลงมือ ๔) ประสานความคิด (ประชุม) ๕) มีจุดมุ่งหมายที่มั่นคง ๖) คิดบวก ๗) เรียนรู้วิชาการและวิชาชีพ ๘) พัฒนาไม่มีวันหยุด สิ้นสุดที่ความสำเร็จ ... ใครได้ดูคลิปนี้จะรู้ทันทีว่า ภาพที่วาดในชาร์ทนี้ มีความหมายครบถ้วนถึงความสำเร็จของครูใหญ่ ประทับใจผู้ดูเป็นแน่ ... สมาชิกมีดังนี้
กลุ่มที่ ๓
กลุ่มที่ ๒ มีสมาชิกที่เป็นศิลปิน มีความสามารถด้านศิลปะ (ขอชื่นชมครับ) นอกจากนั้น ยังสรุปปัจจัยแห่งความสำเร็จของครูใหญ่ไว้อย่างมีมิติ (เกือบจาะเป็นขั้นตอน) ๘ ประการ ได้แก่ ๑) เสียสละ ๒) มีวาทศิลป์ ๓) วางแผนก่อนลงมือ ๔) ประสานความคิด (ประชุม) ๕) มีจุดมุ่งหมายที่มั่นคง ๖) คิดบวก ๗) เรียนรู้วิชาการและวิชาชีพ ๘) พัฒนาไม่มีวันหยุด สิ้นสุดที่ความสำเร็จ ... ใครได้ดูคลิปนี้จะรู้ทันทีว่า ภาพที่วาดในชาร์ทนี้ มีความหมายครบถ้วนถึงความสำเร็จของครูใหญ่ ประทับใจผู้ดูเป็นแน่ ... สมาชิกมีดังนี้
กลุ่มที่ ๓
กลุ่มที่ ๓ สรุปภาวะผู้นำของไว้ ๑๐ ประการ ๑) ตั้งใจทำงาน ๒) วางแผนอย่างเป็นระบบ ๓) เป็นแบบอย่างที่ดี ๔) เป็นนักพัฒนา ไม่หยุดนิ่ง ๕) อดทน ๖) อุทิศตนเพื่อส่วนรวม ๗) มีทัศนคติที่ดี มองการณ์ไกล ๘) รอบรู้ ๙) แน่วแน่ไม่หวั่งไหว ๑๐) ไม่ถือตัว ... สรุปได้ดี หนึ่งข้อหนึ่งประเด็น ยกเว้นเพียงข้อ ๗) เท่านั้นที่มีสองประเด็น
กลุ่มที่ ๔
กลุ่มที่ ๔ เสนอสรุปด้วยกระบวนคิด ๒ ชั้น โดยแบ่งภาวะผู้นำของครูใหญ่ออกเป็น ๓ หมวด คือ ความคิด นิสัย และวิธีทำงาน แต่ละประเด็นมีองค์ประกอบสำคัญดังภาพ ดังนี้
- วิสัยทัศน์ ... ต้องมีความคิดและจิตใจ ๕ ประการได้แก่ ๑) กว้างไกล ๒)กว้างขวาง (เห็นแก่ส่วนรวม) ๓) มุ่งมั่น ๔) เป้าหมายชัด ๕) มีแรงจูงใจ
- อุปนิสัย ... ผู้ใหญ่มีอนุสัย ๕ ประการ ได้แก่ ๑) มีความกล้า ๒) อดทน ๓) เสียสละ ๔)เชื่อมั่น และ ๖) ขยัน
- การทำงาน ... ๕ ประการ ได้แก่ ๑) วางแผน ๒) ทำเป็นขั้นตอน ๓) วางงานให้เหมาะสม ๔) เป็นแบบอย่างที่ดี ๕) จดบันทึก
บันทึกมาถึงตรงนี้ ... ในใจคิดว่า สัปดาห์หน้า อาจต้องปรับวิธีการสอนใหม่ ... ไม่ต้องทำกิจกรรมฝึกกระบวนคิดอีกต่อไป เริ่มมุ่งไปที่การทำงานร่วมกัน เพื่อเน้นให้นิสิตได้เน้นพัฒนาภาวะผู้นำในกลุ่มเลย ถ้าจะดี ...
กลุ่มที่ ๕
กลุ่มที่ ๕ บอกว่า ครูใหญ่มี ๑) วาทศิลป์กินใจ ๒) ริเริ่ม ๓)มีอุดมการณ์มั่นคง ๔) เสียสละ ๕) เห็นแก่ส่วนรวม ๖) เป็นแบบอย่าง ๗) ผสานความคิดและจิตใจ ๘) เรียนรู้ต่อยอดพัฒนา ๙) มีศรัทธา ... สังเกตว่า กลุ่มนี้เน้นไปที่คุณสมบัติภายในจิตใจของผู้นำผู้ให้ผู้อุทิศ ... นี่แหละผู้นำที่ขาดสำหรับประเทศไทยในตอนนี้
กลุ่มที่ ๖
กลุ่มที่ ๖ สรุปเหมือกับหลายกลุ่มที่ผ่านมา เพิ่มเติมว่าต้องกล้าลงมือทำและมีไหวพริบ
กลุ่มที่ ๗
ชอบที่สุดคือข้อสรุปที่ ๙ ของกลุ่มที่ ๗ คือ รู้จักพึ่งตนเองก่อนพึ่งผู้อื่น
กลุ่มที่ ๘
กลุ่มที่แปด สรุปต่างจากกลุ่มอื่น ๑ ข้อคือ "สำนึกรักในบ้านเกิด" น่าสนใจยิ่ง เพราะสิ่งนี้เองที่จะทำให้เรามีอุดมการณ์เพื่อบ้านเกิดอย่างแท้จริง
กลุ่มที่ ๙
กลุ่มที่ ๙ มีชิ้นงานที่น่าสนใจ ตรงที่ลักษณะของตัวอักษรที่เขียน แตกต่างกันหลายแบบ แสดงว่า เขียนกันหลายคน เห็นความร่วมไม้ร่วมมือชัดเจน ... ชอบที่สุดตรงที่ข้อความอักษรขนาดเล็กสุดว่า "เป็นคนสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่น" ... ใครสักกี่คนที่ทำได้ นี่คุณสมบัติที่สำคัญของผู้นำการเปลี่ยนแปลง
กลุ่มที่ ๑๐
กลุ่มที่ ๑๑ มีประเด็นเรื่อง "สติ และ การควบคุมอารมณ์ได้ดี" ... สิ่งนี้สำคัญยิ่งสำหรับผู้นำ
กลุ่มที่ ๑๑
กลุ่มที่ ๑๑ มีกระบวนคิดถึง ๓ ชั้น คือเชื่อมโยงต่อกันได้ถึง ๓ ระดับ ระดับที่ ๑ บอกว่า ครูใหญ่มีภาวะผู้นำ ๕ ประการ ได้แก่ ๑) มีคุณธรรม ๒) เป็นแบบอย่างที่ดี ๓) พึ่งตนเอง ๔) วางแผน ๕) สร้างแรงจูงใจ ระดับ ๒ ก็จะขยายแยกย่อยออกไป ดังภาพ ... ทุกกลุ่มต้องฝึกคิดหลาย ๆ ชั้นแบบนี้จะดีครับ
นิสิตท่านใดที่ไม่มีชื่อ ให้เขียนอธิบายไว้ใต้บันทึกนี้ก็แล้วกันนะครับ จะพิจารณามอบหมายงานตามสมควรครับ