๑) รายละเอียดวิชาตามกรอบ TQF หรือ มคอ.๓ ใชให้ฉบับนี้ (เชิญคลิกเพื่อดาวน์โหลด pdf, word)
๒) คณะ-วิทยาลัยหรือสาขาวิชา สามารถนำเอาร่างต้นฉบับเอกสารประกอบการสอน (ดาวน์โหลดที่นี่ pdf, word) ไปเป็นส่วนหนึ่งของเอกสารประกอบการสอนเฉพาะของคณะ-วิทยาลัยหรือหลักสูตร อาจเพิ่มบทเรียนเฉพาะที่สอดคล้องและเหมาะสมกับเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของหลักสูตร
๓) ในปีการศึกษา ๑/๒๕๕๙ นี้ ยังไม่มีการจัดพิมพ์เอกสารประกอบการสอนสำหรับนิสิต มีเพียงเอกสารประกอบการสอน(เนื้อหาส่วนกลาง ๓ บทเรียน) ที่จัดพิมพ์ในรูปเล่มขนาด B5 ส่งให้อาจารย์ผู้สอนทุกท่าน ส่วนนิสิตที่ลงทะเบียนเรียน แนะนำให้อาจารย์ผู้สอน นำไฟล์ต้นฉบับมอบให้นิสิตไปพิจารณาพิมพ์ด้วยตนเอง ...(จะส่งไฟล์ต้นฉบับมาให้อีกครั้ง)
๔) วิธีการประเมินผลการศึกษาของรายวิชาที่กำหนดไว้ใน มคอ.๓ แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ได้แก่
- ส่วนประเมินผลร่วมกัน ๔๐ คะแนน ทุกคณะ-วิทยาลัยจะต้องทำการประเมินเป็น ๒ ช่องคะแนน ได้แก่
- การเข้าร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน ๑๐ คะแนน เพื่อประเมินด้านคุณธรรมจากพฤติกรรมต่างๆ เช่น การตรงต่อเวลา ความซื่อสัตย์ในการเข้าเรียนและการทำงาน เป็นต้น
- สอบกลางภาค ๓๐ คะแนน เพื่อประเมินความรู้และทักษะทางปัญญา ซึ่งมีขอบเขตเฉพาะเนื้อหาส่วนกลาง ๓ บทเรียน โดยสำนักศึกษาทั่วไปร่วมกับอาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชาของแต่ละคณะ-วิทยาลัยที่เปิดสอนในภาคเรียนจะร่วมกันพิจารณาออกข้อสอบ
- ส่วนประเมินเฉพาะของคณะ-วิทยาลัยหรือเฉพาะสาขาวิชา ๖๐ คะแนน ซึ่งคณะ-วิทยาลัยหรือสาขาวิชา สามารถออกแบบวิธีการประเมินผลและสร้างเครื่องมือประเมินผลต่างๆ ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของคณะ-วิทยาลัยและหลักสูตรของตนเองอย่างอิสระ ทั้งนี้ต้องรักษามาตรฐานการประเมินผลของตนเอง ซึ่งจะมีการวิจัยและประเมินผลสัมฤทธิ์โดยสำนักศึกษาทั่วไปต่อไป ทั้งนี้อาจเป็นไปในแนวทางที่คณะ-วิทยาลัยที่เปิดสอนมาก่อน สรุปได้ดังนี้
- ประเมินด้านความรู้และทักษะทางปัญญาเกี่ยวกับเนื้อหาเฉพาะของคณะ-วิทยาลัยหรือเฉพาะสาขาวิชา เช่น วิสัยทัศน์ เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ ค่านิยมของคณะ-วิทยาลัยและหลักสูตร รวมถึงทักษะพื้นฐานในเรียนรู้ชุมชน เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ และเครื่องมือศึกษาชุมชน ต่างๆ โดยใช้วิธีประเมินผลแบบต่างๆ ที่เหมาะสม เช่น การทดสอบย่อย การมอบหมายงานเดี่ยว ฯลฯ คะแนนส่วนนี้อาจเป็น ๑๐-๒๐ คะแนน
- ประเมินด้านทักษะทางปัญญา ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการใช้ตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี โดยประเมินจากผลงานและกระบวนการทำงานกลุ่มในรูปแบบต่างๆ เช่น โครงการบริการวิชาการ โครงการจิตอาสา โครงการเพ็ญประโยชน์ ฯลฯ ซึ่งสำนักศึกษาทั่วไป จะเป็นเจ้าภาพจัดมหกรรมนำเสนอผลงาน/ผลการเรียนรู้จากกิจกรรมการเรียนการสอนรายวิชา ๑ หลักสูตร ๑ ชุมชน ประจำภาคเรียน ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วง ๒ สัปดาห์สุดท้ายของภาคเรียน คะแนนส่วนนี้อาจเป็น ๓๐-๔๐ คะแนน
- ประเมินคุณธรรมด้านจิตอาสาและจิตสาธารณะ โดยอาจประเมินจากผลการเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อส่วนรวม กิจกรรมเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะนิสิตที่พึงประสงค์ของคณะ-วิทยาลัย หลักสูตร หรือของมหาวิทยาลัย ซึ่งสามารถประเมินได้จากหลายรูปแบบ เช่น การเขียนอนุทินสะท้อนการเรียนรู้ การเขียนบันทึกเหตุการณ์ที่ประทับใจในการเข้าร่วม เป็นต้น คะแนนส่วนนี้ ประมาณ ๑๐ คะแนน
- คำนึงถึงความต้องการของชุมชน และระวังผลกระทบเชิงลบต่อชุมชน
- เตรียมความพร้อมก่อนการลงพื้นที่ศึกษาชุมชน ทราบและมีทักษะเบื้องต้นสำหรับการปฏิสัมพันธ์กับชุมชน เช่น ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของชุมชน วิธีการทักทาย วิธีการเก็บข้อมูล ฯลฯ
- สร้างความประทับใจให้ชุมชน โดยเน้นให้นิสิตมีสัมมาคารวะ เคารพนอบน้อม ไปลามาไหว้ รู้จักกาละเทศะ กล้าพูดคุยสนทนา เป็นมิตรกับทุกคน และควรมีบุคคลที่ชุมชนให้ความนับถือเป็นผู้แนะนำ
- เข้าร่วมและศึกษากิจกรรมหรือสถานที่สำคัญ ๆ ในชุมชน เช่น วัด ตลาด แหล่งเรียนรู้ เป็นต้น
- มีข้อควรระวังหรือสิ่งต้องห้ามในการลงพื้นที่ศึกษาชุมชน ได้แก่
- ไม่ฝ่าฝืนค่านิยมของชุมชน
- ต้องระลึกว่านิสิตเป็นคนนอกชุมชน ไม่เข้าไปแทรกแซงหรือมีความเห็นเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในชุมชน หรือเป็นส่วนหนึ่งในความขัดแย้ง ไม่เลือกข้าง
- ไม่ทำตนเด่นเกินไป หรือเป็นจุดสังเกตเกินไป
- ไม่สนิทกับใครคนใดคนหนึ่งเป็นพิเศษ เช่น การมีปฏิสัมพันธ์ฉันชู้สาว ฯลฯ
- ฯลฯ
๖) การทดสอบกลางภาค ๓๐ คะแนน เกี่ยวกับเนื้อหาในบทเรียนที่ ๓ การศึกษาชุมชนและเครื่องมือการศึกษาชุมชน นั้น ให้ออกข้อสอบตามขอบเขตดังนี้
- การสังเกตและสำรวจชุมชน ให้เน้นหลักการและทักษะหรือเทคนิคในการสังเกต โดยไม่เน้นลงลึกถึงทฤษฎีการสังเกตเชิงวิชาการในระเบียบวิธีวิจัยชุมชน
- การสัมภาษณ์ ให้เน้นหลักการและทักษะหรือเทคนิคในการสัมภาษณ์ โดยไม่เน้นลงลึกถึงทฤษฎีการสังเกตเชิงวิชาการในระเบียบวิธีวิจัยชุมชน
- การระดมสมอง (Brainstorming) เน้นทักษะการระดมสมอง จัดหมวดหมู่ วิเคราะห์ และสรุป ไม่รวมทักษะการสนทนากลุ่มย่อย (focus group)
- ประเมินความรู้ในหลักการของเครื่องมือศึกษาชุมชน ๗ ชิ้น ของ นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ซึ่งแสดงไว้ในเอกสาร (หรือดาวน์โหลดศึกษาเพิ่มได้ที่นี่)
๗) ในการจัดการเรียนการสอนในปีการศึกษา ๑/๒๕๕๙ นี้ ไม่มีข้อบังคับให้เชื่อมโยงการจัดการเรียนการสอนของรายวิชากับการดำเนินโครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชนของหลักสูตร แม้จะเป็นเจตนารมณ์ของมหาวิทยาลัยที่จะ ส่งเสริมให้นิสิตที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชานี้ ได้เรียนรู้อย่างบูรณาการกับการบริการวิชาการของหลักสูตร
๘) หลักสูตรหรือสาขาวิชา สามารถกำหนดแผนการเรียน ให้เปิดสอนรายวิชาหนึ่งหลักสูตรฯ สำหรับนิสิตทุกชั้นปี (ปี๑-ปี๔) ตามข้อจำกัดหรือความเหมาะสมของหลักสูตร ทั้งนี้สำนักศึกษาทั่วไป ส่งเสริมให้เปิดสอนในชั้นปี ๓ หรือ ๔ เพื่อให้นิสิตมีศักยภาพสูงขึ้นในการบริการวิชาการ และบูรณาการกับโครงการบริการวิชาการ
จบเท่านี้ครับ....
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น