วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ดูงานรายวิชาศึกษาทั่วไป _ ๐๒ : ม.ธรรมศาสตร์ "ธรรมศาสตร์เพื่อประชาชน" (๒)

ดูงานรายวิชาศึกษาทั่วไป _ ๐๑ : ม.ธรรมศาสตร์ "ธรรมศาสตร์เพื่อประชาชน" (๑)

ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต มีเนื้อที่ในครอบครองทั้งหมด ๒,๗๗๗ ไร่ ให้สถาบันเอไอทีเช่า ๘๓๔ ไร่ สวทช.เช่า ๑๘๕ ไร่ ดูแลและใช้ประโยชน์เองประมาณ ๑,๗๕๗ ไร่  (ถ้าเทียบกับ มมส.ใหม่ (ขามเรียง) ๑,๓๐๐ ไร่ ถือว่าไม่ใหญ่ไกลกันมากนัก) ผมตีความจากการหยิบและยกผลงานของอาจารย์มาโชว์บนเวทีในงาน  "ธรรมศาสตร์วิชาการเพื่อประชาชน" ว่า สิ่งที่เป็นไฮไลน์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เสนอต่อผู้มาร่วมงานคือ ความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่ส่วนใหญ่ใช้มอเตอรไซด์ เปลี่ยนเป็นใช้ "รถ NGV ประจำทาง" และจักรยาน

ผลงานอาจารย์

หลังพิธีเปิดงาน ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รับหน้าที่เป็นพิธีกรนำเสนอ ผลงานเด่นของอาจารย์ ที่ถือเป็นไฮไลต์นำสู่สาระและเจตนารมณ์ว่า "เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน"  ๔ ผลงานได้แก่ รถบัสพลังคนขับ รถก๊อฟพลังลม แอ็ปธรรมะทรานส์ และหมากรุกยักษ์ไทย  ซึ่งผมจะให้รายละเอียดพอสังเขปให้เข้าใจดังนี้ครับ

๑) รถบัสพลังคน

ผมสืบค้นพบว่า ม.ธรรมศาสตร์ เปิดตัว "รถบัสพลังคน" ไปแล้ว โดยใช้ชื่อว่า "รถเมล์ปั่นพลังคน" ตั้งแต่วันที่ ๑๕ ก.ย. ๒๕๕๗ แล้ว  ท่านบอกว่าเป็นรถบัสปั่นด้วยพลังคนคันแรกในประเทศไทย จุได้ทั้งหมด ๒๐ ที่นั่ง โดยที่ทุกที่นั่งสามารถสามัคคีร่วมกันปั่นได้ หรือต้องปั่นอย่างน้อย ๑๐ คน ต้นทุนเบื้องต้นของรถต้นแบบอยู่ที่ ๔๐๐,๐๐๐ บาท  ผมตีความว่า การทำรถคันนี้ มีผลทางยุทธศาสตร์ภายในใจที่คุ้มค่าในเชิงสัญลักษณ์ มากกว่าจะสร้างไว้ให้ใช้จริง ผมคิดว่าผู้บริหารเองก็คงหวังแบบนั้น


(ขอบคุณภาพจาก http://pantip.com/topic/32587270)


๒) รถพลังลม

ผลงานที่สองคือ  รถพลังลม  ผู้ทำได้โจทย์ว่า ทำอย่างไรจะไปไหนมาไหนด้วยพลังงานสะอาด จากประสบการณ์และความรู้ที่มี จึงใช้วิธีอัดลมใส่ถังดำน้ำ แล้วควบคุมทิศทางด้วยการทิศทางลมไหล และความเร็วด้วยอัตราการไหล  โดยใช้รถก๊อฟมาดัดแปลง  ความเร็วสูงสุดที่ทำได้คือ ๗ กิโลเมตรต่อชั่วโมง  และที่สำคัญใช้เวลาเติมลมเพียง ๖๕ นาที สั้นกว่าการชาร์ทไฟล์หลายชั่วโมง





๓) App Thamma Trans แอปพลิเคชั่นสำหรับ iphone และ android 

ผลงานที่สามเรียกว่า ธรรมะทรานส์  เป็นแอปในการบริหารจัดการเวลารอรถ NGV ใน ม. ธรรมศาสตร์ ซึ่งมีอยู่ ๓ สาย ๒๕ คัน ปัญหาคือ ไม่รู้ว่าตอนนี้รถอยู่ที่ไหน  สามารถดาวโหลดมาใช้ได้ฟรี ผู้สนใจคลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ 

๔) หมากรุกไทยยักษ์

งานชิ้นที่สี่คือหมากรุกไทยยักษ์ เป้าหมายเพื่อให้นักศึกษามีส่วนร่วมกันในกิจกรรมสร้างสรรค์ โดยใช้กิจกรรมการปั้นตัวหมากรุกขนาดเล็ก ก่อนจะคัดเลือกตัวต้นแบบ ทำเป็นหมากรุกยักษ์อีกครั้งหนึ่ง...




บันทึกนี้จบไว้ก่อนนะครับ  ผลงานนักศึกษาเป็นอย่างไร จะมาเล่าให้ฟังบันทึกหน้า...

ผมคิดว่า ผลงานอาจารย์ทั้ง ๔ อย่างนี้ เป็นเครื่องมือและวิธีสำคัญ ที่จะแบ่งปันและปลูกฝังค่านิยมร่วมของธรรมศาสตร์ ให้ทุกคนรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน
เมื่อพูดถึงการเสียสละให้ประชาชน ความรู้สึกภูมิใจในมหาวิทยาลัยมหาสารคามก็ผุดขึ้นเต็มหัวใจ เพราะว่าที่นี่เราก็มุ่งสอนให้บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต "ผู้มีปัญญาพึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน" ตลอดมา.....

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น