อย่างไรก็ดี "วิธี" สำหรับการพัฒนาการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป หมายถึง รูปแบบหรือแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องเหมาะสมกับเป้าหมายและธรรมชาติของแต่ละรายวิชา ซึ่งแตกต่างกันไป เช่น รายวิชาทฤษฎีที่เน้นบรรยาย (lectrue-based learning) รายวิชาเชิงปรัชญาที่ต้องเน้นอภิปราย (discuss-based learning) รายวิชาเน้นทักษะที่ต้องฝึกฝนเรียนรู้จากการปฏิบัติ (learning by doing) รายวิชาที่เน้นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่ต้องจัดให้มีการทำงานเป็นทีม หรือกระบวนการกลุ่ม (cooperative learning) รายวิชาที่เน้นพัฒนาทักษะการเรียนรู้หรือนวัตกรรมโดยใช้โครงงานหรือปัญหาเป็นฐาน (project-based, problem-based learning) หรือรายวิชาที่เน้นสร้างและปลูกฝังนิสิตให้มีจิตอาสาที่จัดการเรียนรู้โดยการบริการสังคมและชุมชน (service-based learning) (ดูข้อเสนอรายวิชา "๑ หลักสูตร ๑ ชุมชน" ที่นี่) ฯลฯ (ผมเคยเขียนข้อเสนอเรื่องเหล่านี้ไว้ ที่นี่) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่กล่าวมาเกือบทั้งหมด เว้นเพียงการสอนแบบบรรยาย จะยึดหลักในการสร้างการเรียนรู้แบบตื่นรู้ (ผู้เขียน) หรือ Active Learning (AL) โดยใช้นิสิตหรือผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เนื่องจากงานวิจัยที่ผ่านมา บอกชัดว่า การเรียนรู้ที่ได้ผลเกิดในกระบวนการที่ผู้เรียนเป็นคนสร้างองค์ความรู้นั้นในตนเอง (construcitvism) และบอกชัดเจนว่า AL สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้แบบนี้ดีที่สุด
ร่างโครงการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning
สำนักศึกษาทั่วไป จะเริ่มกระบวนการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อ "ปรับวิธีเรียน เปลี่ยนวิธีสอน" โดยการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "Active Learning" ขึ้นในวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ นี้ โดยเรียนเชิญ ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาเป็นวิทยากร กลุ่มเป้าหมายที่คาดหวังไว้ เป็นอาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไปจำนวน ๑๐๐ ท่าน โดยเน้นไปยังกลุ่มอาจารย์ผู้สอนรุ่นใหม่ ที่ต้องการนำ AL ไปปรับใช้ในรายวิชาที่ตนเองกำลังสอน
สถานที่จัดฝึกอบรมควรจะเป็นห้องโล่ง เก้าอี้และโต๊ะสามารถเคลื่อนย้ายได้ มีจอฉายสไลด์และกระดานไวท์บอร์ดสำหรับการทำกิจกรรม ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมสามารถเดินไปมาระหว่างที่นั่งและกระดานได้สะดวก ตัวอย่างเช่น ห้องสัมมนาศูนย์นวัตกรรมไหม หรือห้องประชุมชั้น ๓ ของอาคารวิทยพัฒนา คณะศึกษาศษสตร์ ม.เก่า เป็นต้น
สิ่งที่ต้องเตรียมคือ กระดาษสี กรรไกร กระดาษปลุ๊ฟ และกระดาษกาวติดกระดาษ สำหรับติดแสดงความเห็น ผลการอภิปราย หรือนำเสนอผลงานของกลุ่ม หากผนังห้องเป็นผ้าม่านควรเตรียมเข็มหมุดไว้ให้เพียงพอ วัสดุอุปกรณ์อื่นๆ อาจต้องเพิ่มเติมตามความต้องการของวิทยากร
วัตถุประสงค์ ของโครงการฯ
- เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ให้กับอาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไป
- เพื่อให้อาจารย์ผู้สอนได้รับประสบการณ์ตรงในการสาธิตการสอนแบบ Active Learning สำหรับรายวิชาศึกษาทั่วไป
- เพื่อส่งเสริมเครือข่ายอาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- เป็นอาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไป ที่สมัครใจ และยืนยันการเข้าร่วมจำนวน ๑๐๐ ท่านแรก
- ๑ วัน คือวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
- ๘.๓๐ - ๙.๐๐ น. ลงทะเบียน
- ๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง Active Learning และ Service based Learning โดย ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ช่วงเวลาอาหารว่างและพักรับประทานอาหารจัดตามสมควร เลี้ยงอาหารเที่ยง
- ควรเชิญวิทยากรเดินทางโดยเครื่องบิน มาพักที่มหาสารคามในวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ และส่งเดินทางกลับในเที่ยวบินสุดท้ายของวันที่ ๔ กุมภาพันธ์
- อาจมีการเปลี่ยนแปลง ให้ติดต่อกับเลขานุการของ วิทยากรโดยตรง (ขอเบอร์ได้จาก อ.ต๋อยครับ)
ได้ติดต่อประสานและกำหนดเวลากับเลขานุการของ ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตตกุล แล้ว ผู้รับผิดชอบโครงการ ต้องส่งหนังสือเชิญและประสานงานเรื่องการเดินทางต่อไป และเขียนโครงการและทำกำหนดการประชาสัมพันธ์และดำเนินโครงการได้เลยทันที